ในยุคของการทำการตลาด SMEs 4.0 ผู้ประกอบการหลายท่านพยายามที่จะโฟกัสเพียงแค่จุด ๆ เดียวคือการ “ผลิตสินค้า” พูดอีกนัยหนึ่งก็คือการเข้าถึงโรงงาน การเป็นเจ้าของแบรนด์สินค้ามันง่ายขึ้น แต่….มีสินค้า มีแบรนด์ตัวเองแล้วอย่างไรต่อ

ปัญหาหนักของ SMEs มือใหม่คือ มีสินค้ากองเต็มบ้าน แต่ไม่สามารถที่ผลักดันสินค้าออกสู่ตลาดได้ (Drive Product ) คงเป็นเพราะความอ่อนด้อย ความไม่รู้ หรือ อะไรก็แล้วแต่ทำให้หลาย ๆ ไม่ได้เตรียมงบประมาณทางด้านนี้

ผลก็คือ “ผลิตสินค้ามาแต่ขายไม่ออก” สุดท้ายก็คือ “เจ๋ง”

สิ่งที่อยากบอกสำหรับเรื่องที่กล่าวมาข้างต้นคือ “คุณต้องเตรียมงบการตลาด และวางแผนการใช้เงินในการทำการตลาดด้วย” หลายคนไม่เผื่อไม่วางแผน สุดท้ายมันก็เจ็บ…

พูดถึงเรื่องการวางแผนการตลาดสำหรับบทความนี้คงจะยังไม่กล่าวถึงอะไรมากนัก เพราะหากเรามองแค่ในมิติของ STP หรือ Segmentation,Targeting และ Positioning แล้วคงมีหลายบทความที่กล่าวถึงลองหาอ่านและทำความเข้าใจกันดูครับ หากมีโอกาสบทความต่อ ๆ ผมจะลงรายละเอียดเรื่องพวกนี้ให้ด้วยครับ

เช่นกันครับวันนี้ผมไม่ได้มาสอนวิธีการทำการตลาด ที่ต้องพูดถึงเรื่อง 4P ที่ว่าด้วย Product ,Price,Place และ Promotion นะครับ แต่สิ่งที่ผมจะนำเสนอในมุมมองที่ต่างออกไปในรูปแบบของการ พัฒนาภาพลักษณ์ของเจ้าของกิจการควบคู่ไปกับการพัฒนาแบรนด์ของสินค้า ผมเรียกโมเดลนี้ว่า PPP หรือ Triple P ครับ

โมเดล Triple P หรือบันได 3 ขั้นสู่การสร้างภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือ ผมได้ใช้เวลาทดลองกับตัวเองและนำมาใช้กับเพื่อน ๆ เจ้าของกิจการ SMEs พอสมควรตลอดระยะเวลากว่า 3 ปีที่ผ่านมา ผมจึงค่อนข้างมั่นใจว่าโมเดลนี้ใช้ได้ผล ช่วยให้งบประมาณด้านการตลาดลดต่ำลง ส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีต่อเจ้าของกิจการและแบรนด์สินค้า ท้ายสุดคือยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ

องค์ประกอบของ Triple P Model

1.Personal Brand : ต้องมีสื่อกลางหรือมือที่สามที่นำเรื่องราวของเจ้าของธุรกิจมาบอกเล่าให้ผู้คนฟัง ไม่ใช่ทำ Personal Brand ผ่าน Facebook หรือ หน้า Fanpage ของตัวเอง ต้องมีสื่ออื่นด้วย อย่างเช่น ตัวผมเองผมเลือกจะใช้วิธีที่จะแต่งหนังสือเพื่อเป็นการเปิดตัว เล่าเรื่องราวส่วนตัว เส้นทางธุรกิจ และแนวคิด สื่อกลางก็คือหนังสือ สำนักพิมพ์ และ ร้านหนังสือ

ถามว่าทุกคนสามารถออกหนังสือได้ไหม คำตอบคือถ้าพิมพ์เองขายเองทำได้ครับ ลงทุนเริ่ม ๆ ก็สัก 1-2 แสนครับ ติดต่อสายส่งเพื่อช่วยกระจายหนังสือ แต่ปัญหามันคือทางร้านขายหนังสือเขาจะรับหนังสือเราไหมนั้นมันก็เป็นเรื่องที่ต้องคิด แต่ถ้าไม่ได้พิมพ์เอง ต้องการพิมพ์หนังสือผ่านสำนักพิมพ์ก็ต้องบอกว่าไม่ใช่เรื่องง่ายครับ หินเลยแหละ 555

เมื่อโจทย์คือ “สื่อกลาง” แต่ตัวของ Content หรือ เนื้อหามันก็ไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสือครับ เราสามารถหาสื่อกลางอื่นได้ บางคนก็เลือกที่จะลงสัมภาษณ์ในนิตยสาร งบประมาณส่วนนี้ก็อยู่ที่ หลัก 2-5 หมื่นแล้วแต่นิตยสารว่าปกไหน กี่สี่กี่หน้านะครับ ถามว่าได้ผลไหมก็ตอบได้ว่าระดับหนึ่งครับ แต่ก็ต้องทำความเข้าใจด้วยว่าเดี๋ยวนี้นิตยสารก็ได้รับความนิยมที่น้อยลงเข้าไปทุกที

อีกทางเลือกหนึ่งคือการเลือกใช้ช่องทางออนไลน์ นำเรื่องราวตนเองไปแบ่งปันในเว็บสื่อกล่าง เช่น Pantip,Sanook,Kapook ฯ ซึ่งสื่อเหล่านี้มีอิทธิพลมากในปัจจุบันแต่ใช่ว่าจะเป็นพื้นที่ฟรีให้พวกเรานำอะไรก็ได้ไปแบ่งปันเพื่อสร้างให้ตัวเองโด่งดังขึ้นได้นะครับ สื่อเหล่านี้มีค่าใช้จ่ายเช่นกันครับเฉลี่ยก็ประมาณ 2-4 หมื่นครับ

แล้วผมทำอย่างไรกับเพื่อน ๆ SMEs คำตอบคือ Taokaemai ก็เป็นสื่อกลางในการนำเรื่องราวเพื่อน ๆ มาบอกเล่าผ่านการสัมภาษณ์บอกเล่าความเป็นมาของธุรกิจ เป็นการเริ่มทำ Personal Brand ขั้นที่ 1 ครับ หลายคนที่ลงสัมภาษณ์ในเว็บ Taokaemai.com แล้วได้รับการติดต่อไปลงนิตยสารฟรี ออกรายการทีวีฟรี เรื่องราวได้ถูกแชร์ต่อไปมากมายจนเป็นที่รู้จัก ลองดูตัวอย่างของคนที่สัมภาษณ์แล้วเขาได้รับการติดต่อจากรายการทีวีเหล่านี้ดูสิครับ

ถ้ามองว่า Taokaemai คือ “สะพาน” ที่ทอดให้คนตัวเล็กๆ ได้มีโอกาสได้ไปเจอกับโอกาสใหม่ที่ใหญ่ขึ้นก็คงไม่ผิดอะไรนักครับ คุณเองก็สามารถที่จะใช้ “สะพาน” แห่งนี้เพื่อก้าวไปพบกับความสำเร็จที่มากขึ้นได้เช่นกัน

อย่ามองเรื่องการทำ Personal Brand เป็นเรื่องเล่น ๆ ผมแนะนำให้จริงจังกับเรื่องนี้ ดูอย่างคุณ ตัน อิชิตัน สิครับ ทุกวันนี้ไม่ว่าเขาจะทำสินค้าอะไรออกมาคนก็มักจะแห่กันไปซื้อสินค้า นั่นเป็นเพราะผลของการทำ Personal Brand ที่แข่งแกร่งจริง ๆ

            2 Product Brand : คนดังสินค้าต้องดีมีคุณภาพ ด้วยความเชื่อที่ว่า คนมันจะช่วยเหลือและให้กำลังใจพร้อมที่จะสนับสนุนคนที่เขาเชื่อถือ คนที่เขารัก นั่นหมายความว่าเมื่อเราทำ Personal Brand จะทำให้คนสนใจเรา สนใจว่าเราทำธุรกิจอะไร ขายสินค้าอะไร ขายแฟรนไชส์ตัวไหน หากเขากำลังที่จะใช้สินค้า หรือ จะลงทุนธุรกิจเขาก็มักจะมีเราเป็นช้อยแรก ๆ ที่จะเลือก

ขั้นตอนนี้เป็นการตอกย้ำ Personal Brand เพื่อดึง Product Brand ขี้นมาให้ได้ ทำอย่างไรหละ !!

คำตอบคือ “หาสื่อกลางรายการทีวี” เพื่อที่จะเป็นกระบอกเสียงให้เราได้นำเสนอตัวเอง นำเสนอสินค้า ในรูปแบบเจาะลึกประเด็นธุรกิจ เพื่อยกระดับความน่าเชื่อถือตัวเราเอง ยกระดับความน่าเชื่อถือของสินค้าเราไปด้วยกัน

การไปร่วมออกรายการ TV โดยส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายครับ แต่ก็มีบ้างที่ไปฟรี แต่ตัวเราเองต้องมีเรื่องราวที่น่าสนใจหรือสินค้าเราน่าสนใจจริง ๆ จึงจะไปฟรี ซึ่งก็ต้องบอกว่าโอกาสน้อยครับ หากเราไม่ได้สร้างเรื่องเหล่านี้ขึ้นมาให้สื่อฟรี ๆ รู้จักครับ

เมื่อต้องออกรายการทีวี คราวนี้ก็ต้องลงทุนครับ อย่างพวกรายการ Talk กับดาราต่าง ๆ พูดกัน 15-30 นาทีค่าใช้จ่ายก็เกินครึ่งแสนแน่นอนครับ ยิ่งเป็นรายการดัง ๆ หลักแสนนี่เบา ๆ เลยครับ

เมื่อโจทย์คือต้องมีรายการทีวี เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้เรา แต่ต้นทุนเราน้อยจะต้องทำอย่างไร ผมเองก็หาทางออกให้กับเพื่อน ๆ โดยการทำรายการทีวีออนไลน์ชื่อรายการ “แกะรอยเถ้าแก่ใหม่” เพื่อเป็น “สื่อกลาง” ในรูปแบบรายการทีวี เจาะประเด็นความเป็นมาธุรกิจ พูดถึงจุดดีจุดด้อยของธุรกิจ รวมถึงโอกาสที่ผู้ที่สนใจธุรกิจมาร่วมเป็นพันธมิตรทางการค้ากับเจ้าของกิจการ

แม้เป็นแค่สื่อ TV ออนไลน์แต่ก็ส่งผลอย่างมากกับธุรกิจของเล็ก ๆ ที่ยังไม่มีใครรู้จักนะครับ เพราะรายการ TV ออนไลน์ของเถ้าแก่ใหม่ ไม่ได้แค่ถูกเผยแพร่ใน Youtube แต่ยังนำมาถ่ายทอดลงในเว็บไซต์ และ แฟนเพจของ Taokaemai.com และอีกเช่นเคยครับ มีสื่อใหญ่ ๆ มาเห็นนำเรื่องราวไปเล่าบอกต่อ และแชร์ต่อ ๆ กันไป ทำให้ตัวเจ้าของกิจการเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น สินค้าเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ท้ายสุดครับ ยอดขายมันก็ปัง

อย่าได้ดูแคลน TV ออนไลน์ครับ เพราะเดี๋ยวนี้หลายสื่อที่เป็น TV ก็กระโดดลงมาเล่นตลาดนี้อย่างเต็มตัว รายการเกมโชว์,ข่าว,บันเทิง,กีฬาฯ ต่างก็ลงใช้สื่อ TV ออนไลน์ผ่านสื่อที่เรียกว่า Facebook Live นะครับ ดังนั้นหาสื่อกลางแล้วพาตัวเองไปออกรายการครับ และแน่นอนครับว่ามันต้องมีค่าใช้จ่าย แต่เชื่อผมเถอะมันคุ้ม !!!

3.Professional Brand : เราต้องเป็นมืออาชีพในธุรกิจที่เราทำ แล้วคำว่ามืออาชีพมันจะพิสูจน์กันที่ตรงไหนอย่างไร คงมีหลายวิธีการที่จะพิสูจน์ความเจ๋งของเรานะครับ แต่สำหรับโมเดล Triple P ผมเลือกใช้วิธีการที่เจ้าของกิจการเหล่านั้นต้องสามารถถ่ายทอดวิธีการทำธุรกิจของเขาได้ !!

อะไรนะ ให้สอนหรือ ? ใช่แล้วครับถ้าเราเป็นมืออาชีพในความเห็นผม เราต้องสามารถที่จะถ่ายทอดกระบวนการต่าง ๆ ให้กับคนอื่น ๆ ได้ นี่เป็นหลักการง่าย ๆ ในการทำธุรกิจแบบแฟรนไชส์ หรือ การขยายสาขาครับ เพราะหากเราไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ คนที่ซื้อแฟรนไชส์เราไปเขาจะทำงานได้อย่างไรกัน

ด้วยหลักการนี้ เมื่อเราได้รับการ เจียรนัยจนพัฒนาตัวเองเป็น “ครูสอนอาชีพ” สิ่งที่เราจะได้รับกลับมานั่นคือ “ความน่าเชื่อถือ” ซึ่งเรื่องนี้แหละครับที่มันเป็นสารตั้งต้นของ “Brand” ครับ

ความน่าเชื่อถือ ตีค่าตีราคาไม่ได้ครับ และนี่เป็นต้นทุนที่บอกว่า “สูงมาก” หากเราไม่ได้มีการวางแผนดี ๆ ทำการตลาดดีๆ มีเงินเท่าไหร่ 1 ล้าน 100 ล้าน ก็ไม่สามารถซื้อความ “เชื่อถือ” ได้ครับ

แต่เราสามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้โดยแทบไม่ใช้เงินทุนมากนัก แต่เรา “ทุ่มใจ” เต็มที่

ความน่าเชื่อถือ ไม่ได้ซื้อได้ด้วยเงิน แต่ลงทุนได้ด้วยหัวใจ

การเป็น “ครู” คือการเป็น “ผู้ให้” ให้อะไร คำตอบคือ “ให้อาชีพ”

แล้วให้ฟรีไหม…คำตอบคือ “อย่าให้ฟรี” เพราะคนที่รับจะไม่เห็นคุณค่า แต่จงให้เขาได้ลงทุนด้วยต้นทุนที่เขาสามารถทีจะลงทุนและพยายามได้

ให้คนมาเรียนรู้วิชาชีพจากเรา เขาได้มีอาชีพไปเลี้ยงครอบครัว สร้างฐานะของเขา เมื่อเขาได้ดีเชื่อผมเถอะเราเองก็จะอิ่มเอมในหัวใจ ซ้ำยังเราอาจจะได้ “พันธมิตร” ทางธุรกิจเพิ่มขึ้นอีกด้วยนะครับ

 

       3 ขั้นตอนนี้เป็น กระบวนการที่จะค่อย ๆ สร้าง Brand Image ให้กับธุรกิจเล็ก ๆ ของพวกเราให้ค่อย ๆ ชัดขึ้นครับ

ถามว่าทำวิธีอื่นได้ไหม คำตอบคือ ได้ครับ ท่านทำเถอะถ้ามองแล้วว่ามันช่วยยกระดับ “ความน่าเชื่อถือ” ให้กับตัวท่านเอง ธุรกิจท่านเอง

ทว่าจะดีมากยิ่งขึ้นถ้าท่านเลือกที่จะใช้โมเดลนี้เป็นตัวเสริมในการผลักดันให้ธุรกิจของท่าน ๆ ได้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น เป็นที่ได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น

ผมเชื่อว่าหลายคนคงเริ่มคิดแล้วหละ ว่าจะใช้ Model นี้ยังไง คำตอบคือลองหาสื่อกลาง ที่ผมว่ามาข้างต้นดูครับ และลองพูดคุยขอใบเสนอราคาเขาดูครับ ถ้าได้ฟรีถือว่าโชคดีมากครับ

สำหรับท่านที่มองว่า Taokaemai ก็เป็นหนึ่งสื่อกลางที่น่าจะเป็นประโยชน์กับท่าน ผมแนะนำให้ลงชื่อไว้ตามลิ้งนี้นะครับ ผมจะส่งรายละเอียดแผนงานในการพัฒนา Brand Image ให้กับธุรกิจของท่านครับ

ได้เวลาที่ท่านจะต้อง “จริงจัง” กับธุรกิจแล้วครับ อย่าเพียงแค่มีสินค้าแล้วเป็นการทำธุรกิจแล้ว ยังมีอะไรอีกหลายอย่างที่ท่านต้อง “ลงมือทำ” และ “ลงทุน” ทั้ง “แรงเงิน” “แรงฝีมือ” ครับ….

เราจะก้าวข้ามช่วงเวลา “ตั้งต้นธุรกิจ” ให้ “เติบโต” ไปด้วยกันครับ