หลายท่านคงทราบดีอยู่แล้วว่าปัจจุบันนี้ธุรกิจการส่งออกกำลังเฟื่องฟูเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศของเรา มีผู้คน เจ้าของธุรกิจมากมายเริ่มคิดถึงเรื่อง การส่งออกสินค้า  สำหรับผู้ส่งออกที่มีประสบการณ์มาแล้ว คงทราบวิธีการส่งออกและขั้นตอนในการส่งออกกันแล้ว

ส่วนคนใหม่ที่ยังไม่เคยส่งออกเลย คงสงสัยไม่น้อยว่า เขาส่งออกสินค้ากันอย่างไร วันนี้ผมจะมาแนะนำขั้นตอนวิธีการแบบง่าย ๆ เป็นที่เข้าใจให้ทราบครับ

6 ขั้นตอนพื้นฐานเตรียมการส่งออกสินค้าสำหรับมือใหม่

1.ขั้นตอนเรื่องเอกสารการส่งออก

ในการส่งออกสินค้า คุณจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบและประกาศที่กรมศุลกากรและหน่วยงานอื่น ๆ กำหนดไว้ให้ครบถ้วนนะครับ โดยมีเอกสารประกอบตามที่กฎหมายกำหนดและต้องจัดเตรียมให้พร้อม

เช่น ประเภทใบขนสินค้าออก บัญชีราคาสินค้า แบบธุรกิจต่างประเทศ ใบอนุญาตส่งออกหรือเอกสารอื่น ๆ สำหรับสินค้าควบคุมการส่งออกเป็นต้น โดยรายละเอียดขั้นตอนเอกสารมีปลีกย่อยเฉพาะอีกมาก คุณจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจและดำเนินการอย่างถูกต้องครับ

2.ขั้นตอนการหาตลาด

มีวิธีการหาตลาดสำหรับสินค้าส่งออกหลายวิธีที่คุณสามารถเรียนรู้ได้ในหลายรูปแบบคือหนึ่งการทำตลาดกับคนรู้จักหรือคนที่สนิทสนมกันเป็นอย่างดีและต้องมีศักยภาพและประสิทธิภาพด้วยครับสองการทำตลาดกับนายหน้าที่เป็นสมาชิกของกรมส่งเสริมการส่งออก โดยให้นายหน้าเป็นคนดำเนินการส่งออกหรือทำการตลาดให้ สามการทำการตลาดทางอินเตอร์เน็ต

โดยจะเป็นการค้าขายทางอินเตอร์เน็ตหรือทางเว็บไซต์ สี่การเข้าร่วมงานแสดงสินค้ากับภาครัฐทั้งในประเทศและต่างประเทศจะทำให้เจอกับคู่ค้าโดยตรง ห้า การทำตลาดเชิงรุก โดยการจัด Road Show โดยสำนักปฏิบัติการพิเศษ STF นำผู้ประกอบการในเมืองไทย ไปเจรจาการค้ากับผู้ซื้อในต่างประเทศซึ่งใครถนัดทำการตลาดแบบไหนก็สามารถเลือกตามความถนัดครับ

3.ขั้นตอนการตกลงซื้อขายระหว่างประเทศ

การที่คุณจะส่งออกสินค้าได้นั้น ต้องเกิดจาการตกลงซื้อขายกันระหว่างประเทศ โดยผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าและผู้ขายหรือผู้ส่งออก ซึ่งอยู่กันคนละประเทศตกลงซื้อขายตามคำสั่งซื้อและผู้ขายหรือผู้ส่งออกได้รับชำระเงินค่าสินค้าแล้ว สิ่งที่ผู้ส่งออกต้องระมัดระวังก็คือเรื่องนี้ครับ การทำสัญญาซื้อขายหรือคำสั่งซื้อ ซึ่งนับว่าเป็นหลักฐานร่วมกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เพื่อป้องกันการบิดพลิ้ว หรือเพื่อใช้ในการฟ้องร้องหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นหลักฐานประกอบการขอสินเชื่อเพื่อการส่งออกด้วยครับ

4.ขั้นตอนการเตรียมสินค้า

สินค้าส่งออกลาว

เมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากผู้ซื้อแล้วในกรณีที่เป็นการผลิตสินค้าเอง ทางผู้ส่งออกจะต้องเตรียมผลิตสินค้าให้พร้อมและเสร็จสิ้นก่อนกำหนดส่งสินค้าและในกรณีที่ผู้ส่งออกไม่ได้ผลิตสินค้าเองก็จะต้องทำสัญญากับผู้ผลิตให้กำหนดส่งมอบสินค้าตามเวลาที่กำหนด และทำการทดสอบคุณภาพของสินค้าให้เป็นไปตามข้อตกลงที่ได้ให้ไว้กับผู้ซื้อด้วยครับ

5.ขั้นตอนการขนส่งสินค้า

ต่อไปเป็นขั้นตอนการขนส่งสินค้าแล้วล่ะครับ ก่อนอื่นควรตรวจสอบการขนส่งสินค้าก่อนว่ามีตารางเดินเรือหรือเที่ยวบินในช่วงที่ต้องการส่งสินค้าหรือไม่ และควรจองระวางบรรทุกสินค้าไว้ล่วงหน้า เพื่อความสะดวกแก่ผู้ทำการขนส่ง ซึ่งจะได้จัดเตรียมระวางบรรทุกในเที่ยวที่ต้องการได้ถูกต้องครบถ้วนครับ ต่อมาจัดให้ทำใบกำกับสินค้าหรือบัญชีราคาสินค้า เพราะต้องนำไปใช้ทั้งก่อนการส่งออกและหลังการส่งออก และการจัดทำใบรายการบรรจุหีบห่อ(Packing List) จะต้องจัดทำเมื่อทราบขนาดของหีบห่อที่ใช้บรรจุสินค้านอกจากนี้อาจต้องขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าตามข้อกำหนดของประเทศผู้ซื้อด้วยครับ

6.ชิปปิ้ง shipping

ในการทำธุรกิจส่งออกองค์กรที่จะเข้ามาช่วยประสานงานให้เกิดความเรียบร้อยสะดวกรวดเร็วนั่นก็คือ ชิปปิ้ง shippingซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่คอยดำเนินงานพิธีการศุลกากรแทน ชิปปิ้งจึงต้องมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องพิธีการศุลกากรและระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ

โดยชิปปิ้งจะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ และความยุ่งยากที่เป็นสาเหตุอันเกิดจากการไม่รู้ระเบียบพิธีการ ซึ่งประโยชน์ของการใช้บริการชิปปิ้ง ก็คือช่วยให้เกิดวามรวดเร็ว ไม่ติดปัญหาและติดขัดแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังช่วยในการจัดเก็บภาษีอากรของกรมศุลกากรให้มีความถูกต้องอีกด้วย

โดยปกติแล้วชิปปิ้งแต่ละที่จะเน้นบริการที่มีคุณภาพ เพื่อผู้ส่งออกจะได้ใช้บริการกันต่อไป และมีชิบปิ้งหลายเจ้าให้คุณเลือกใช้บริการ คุณอาจจะลองเปรียบเทียบชิปปิ้งสักสองแห่งก่อนตัดสินใจได้ครับ

ในการส่งออกแต่ละขั้นตอนยังมีองค์ประกอบของรายละเอียดอยู่มาก ซึ่งผู้ส่งออกต้องคอยตรวจสอบว่าตนเองอยู่ในขั้นตอนไหนของการส่งออก แล้วศึกษาให้เข้าใจรายละเอียดแต่ละขั้นตอนแล้วปฏิบัติตามอย่างครบถ้วนถูกต้อง สำหรับคนที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการศึกษาเรียนรู้ก็ไม่ยากเกินไปนักสำหรับการเป็นนักธุรกิจส่งออกมือใหม่ครับ