เมื่อไม่นานมานี้ทางรัฐบาลได้ร่างข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีสำหรับธุรกิจออนไลน์เพื่อนำเม็ดเงินจากธุรกิจประเภทนี้เข้าสู่ระบบการจัดเก็บภาษีอย่างถูกต้อง และเมื่อกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ก็ทำให้บรรดาผู้ค้าออนไลน์ทั้งหมดตื่นตัวและเริ่มศึกษาถึงรูปแบบและขั้นตอนในการคิดคำนวณภาษีและการเสียภาษีกันมากขึ้น ซึ่งแม้ว่าจะมีรายละเอียดการคิดคำนวณที่ค่อนข้างมากและรวมไปถึงรูปแบบของภาษีทั้งการยื่นแบบและการชำระภาษีหลายขั้นตอนแต่กระบวนการทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้ยากเกินกว่าที่ผู้ค้าออนไลน์จะทำความเข้าใจ
ผู้ค้าขายออนไลน์รายใดไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ตนเข้าใจนั้นถูกต้องหรือไม่หรือไม่แน่ใจว่าควรจะต้องคิดคำนวณภาษีหรือต้องเสียภาษีอย่างไร ในบทความนี้เราจะสรุปขั้นตอนการคิดคำนวณและการเสียภาษีให้แก่ผู้ค้าออนไลน์ได้ทำความเข้าใจก่อนจะทำการเสียภาษีกันต่อไปมาฝาก
มีรายได้เมื่อไหร่ก็ต้องทำเรื่องยื่นภาษี อย่าคิดว่าขายของออนไลน์ไม่มีหน้าร้านแล้วจะไม่ต้องเสีย เพราะปัจจุบันสรรพากรตัวสอบได้แล้ว
ในสมัยก่อนทางสรรพากรอาจจะไม่มีมาตรการในการตรวจสอบรายได้จากการขายสินค้าออนไลน์อย่างเป็นรูปธรรม นี่จึงเป็นช่องโหว่ที่ทำให้ผู้ค้าออนไลน์จำนวนหนึ่งสามารถหลบเลี่ยงการเสียภาษีได้ แต่เพราะการค้าออนไลน์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีเม็ดเงินมูลค่ามหาศาลสะพัดอยู่ในแวดวงนี้ ทางสรรพากรเองจริงต้องมีมาตรการที่จะทำให้เม็ดเงินในจุดนี้เข้าสู่ระบบการจัดเก็บภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในปัจจุบันจึงมีการร่างกฎหมายออกมาให้ทางสถาบันการเงินต่าง ๆต้องมีการนำส่งข้อมูลการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า (e-Payment) ให้กับทางสรรพากรตรวจสอบ โดยมีเงื่อนไขที่สำคัญในการตรวจสอบคือ
- เมื่อมีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่ายอดรวมทั้งหมดจะกี่บาทก็ตาม
- ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน 400 ครั้งขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันเกิน 2 ล้านบาท
- และการโอนเงินนั้นจะไม่นับหากเป็นชื่อบัญชีเดียวกันในสถาบันการเงินแห่งเดียวกันแต่จะถูกนับทันทีหากเป็นการโอนเงินต่างสถาบันการเงินกันแม้จะเป็นชื่อบัญชีเดียวกันก็ตาม
ซึ่งหากบัญชีการเงินทุกบัญชีของคุณมีการเคลื่อนไหวในลักษณะเช่นนี้คุณก็ต้องเตรียมตัวที่จะต้องนำเสียภาษีทันทีตามที่กฎหมายกำหนด
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: ภาษีที่ควรนึกถึงเป็นลำดับแรก
หากคุณมีการดำเนินธุรกิจมาก่อนที่จะผันตัวเองมาทำธุรกิจออนไลน์คุณก็อาจจะรู้จักกับคำว่าภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ก่อนแล้ว แต่หากคุณไม่เคยทำธุรกิจมาก่อนเลย ภาษีแรกที่คุณอาจจำเป็นต้องสนใจก่อนก็คือตัวของภาษีมูลค่าเพิ่มนี้เอง ซึ่งตามกฎหมายได้กำหนดเอาไว้ว่าหากคุณมีรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายเกินกว่า 1.8 ล้านบาทคุณจำเป็นต้องไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันและต้องนำเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากยอดรายได้นี้
ขายออนไลน์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มยังไง หากมีรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทคุณอาจไม่ต้องสนใจภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ก็ได้ แต่หากคุณประเมินแล้วว่ารายได้ของคุณทะลุเกิน 1.8 ล้านบาทแน่ ๆก็อย่าลืมไปจดทะเบียนภาษ๊ตัวนี้เด็ดขาด เพราะมีพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่หลายรายที่พลาดท่าง่าย ๆจากการลืมจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนี้แล้วสร้างปัญหาน่าปวดหัวตามมาภายหลัง
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา vs ภาษีเงินได้นิติบุคคล ขายออนไลน์เสียภาษียังไง แบบไหนดีกว่ากัน
– ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
แม้ว่าจะทำการค้าขายสินค้าออนไลน์ แต่หากคุณไม่ได้ดำเนินการเปิดหรือจดทะเบียนในรูปแบบของบริษัทมาก่อน รายได้ที่คุณได้รับจากการค้าออนไลน์จะถูกนำมาคิดคำนวณเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและถูกจัดอยู่ในเงินได้ประเภทที่ 8 ซึ่งรวมถึงเงินได้ที่ได้จากการค้าขายนี้ และเมื่อเป็นรายได้ที่ได้จากการค้าทำให้คุณจำเป็นต้องมีการยื่นภาษีใน 2 ช่วงเวลาดังต่อไปนี้
- ยื่นภาษีสิ้นปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90) ช่วงเดือน ม.ค. – มี.ค. เป็นการสรุปรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา
- ยืนภาษีกลางปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94) ช่วงเดือน ก.ค. – ก.ย. เป็นการสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีภาษีแรกที่ผ่านมา โดยค่าลดหย่อนในบางรายการจะถูกหักเหลือครึ่งหนึ่งด้วย เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัวจะลดลงจาก 30,000 เหลือ 15,000
แต่คุณไม่จำเป็นต้องกังวล ว่าการเสียภาษี 2 ช่วงเวลานี้คุณจะต้องเสียภาษีซ้ำซ้อน หรือเสียภาษี 2 ต่อหรือเปล่า เพราะเมื่อคุณต้องเสียภาษีปลายปีหรือ ภ.ง.ด. 90 ก็จะมีการนำภาษีกลางปีหรือ ภ.ง.ด. 94 มาทำการคำนวณไปด้วยเสมอว่าคุณเสียภาษีไปแล้วเท่าไหร่และยังต้องชำระภาษีอีกเท่าไหร่
– ภาษีเงินได้นิติบุคคล
แต่ถ้าหากคุณตัดสินใจว่าจะดำเนินการทำธุรกิจออนไลน์ในรูปแบบของนิติบุคคลและมีการจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนตามกฎหมายแล้ว คุณจะต้องนำส่งงบการเงินให้แก่กรมสรรพากรเพื่อทำการคำนวณภาษีต่อไป ซึ่งนิติบุคคลนี้คุณจำเป็นต้องมีนักบัญชีและผู้ตรวจสอบบัญชีที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องมาทำงบการเงินนี้ให้แก่คุณซึ่งนอกจากจะต้องยื่นให้แก่กรมสรรพการแล้วคุณยังต้องยื่นให้แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าต่อไป สำหรับภาษีจะถูกคำนวณจากกำไรสุทธิเท่านั้น
การหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเราจะคิดคำนวณอย่างไรจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด
หากคุณไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและต้องยื่นแบบแสดงรายได้ในรูปแบบของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คุณสามารถนำสิ่งที่เรียกว่าค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนมาทำการหักตัวรายได้ของคุณเพื่อให้ได้รายได้สุทธิเพื่อการนำไปคำนวณภาษี โดยการคิดค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนสามารถคิดได้ดังต่อไปนี้
– คำนวณค่าใช้จ่ายตามจริง
เป็นการนำค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นมาคิดคำนวณเช่นต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือการซื้อสินค้ามาเพื่อขายต่อทุกรายการที่เกิดขึ้นมาบวกกันจนได้เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมดแล้วจึงนำไปใช้คำนวณภาษีต่อไป สำหรับการคำนวณค่าใช้จ่ายตามจริงนี้คุณจำเป็นต้องเก็บเอกสารหรือหลักบานที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายทั้งหมดเอาไว้เสมอเพื่อให้สรรพากรสามารถตรวจสอบได้ในกรณีที่มีการเรียกตรวจสอบในภายหลัง
– คำนวณค่าใช้จ่ายแบบเหมา
หากคุณไม่แน่ใจเรื่องของค่าใช้จ่ายตามจริงหรือเก็บเอกสารหลักฐานไม่ครบหรือไม่ได้เก็บหลักฐานเอาไว้แต่แรก คุณสามารถเลือกการคำนวณค่าใช้จ่ายแบบเหมาแทนได้ แต่ทั้งนี้การจะเลือกคำนวณค่าใช้จ่ายแบบเหมานั้นคุณจำเป็นต้องตรวจสอบว่าธุรกิจของคุณอยู่ในข่ายของธุรกิจ 42 ประเภทที่ทางกฎหมายอนุญาตให้คิดคำนวณค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้หรือไม่ซึ่งหากธุรกิจของคุณอยู่ในข่ายที่ว่านี้คุณสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 60 % ของรายได้มาใช้ในการคำนวณภาษีได้ สำหรับธุรกิจทั้ง 42 ประเภทที่ว่านี้คุณสามารถตรวจสอบได้จากลิ้งค์ที่แนบให้ได้เลย (http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/kormor/newlaw/dc629.pdf?fbclid=IwAR0w-4u3lmmUXP__D-ChGlHSs6okFdzDyx7GfoVjHeLNHcgOw_f8V4irm3s)
– คำนวณค่าลดหย่อน
นอกเหนือไปจากการคำนวณค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำธุรกิจในกรณีที่คุณยื่นแสดงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคุณยังสามารถนำค่าลดหย่อยตามที่กฎหมายกำหนดมาใช้ในการคำนวณภาษีได้เช่นกัน สำหรับรายละเอียดของค่าลดหย่อนแต่ละประเภทว่ามีอะไรบ้างคุณสามารถตรวจสอบได้จากลิ้งค์ที่แนบให้มานี้ได้เช่นกัน (https://www.rd.go.th/publish/557.0.html)
ขายออนไลน์เสียภาษียังไง คำนวณภาษีได้อย่างไรบ้าง
ท้ายที่สุดเมื่อคุณรวบรวมข้อมูลของรายได้ ค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนทั้งหมดได้แล้ว ในกรณีของการเสียภาษีบุคคลธรรมดาคุณยังมีทางเลือกในการเสียภาษีอยู่ 2 ทางเลือก โดยทางเลือกที่ว่ามีดังต่อไปนี้
– คำนวณจากเงินได้พึงประเมินซึ่งหมายถึงการนำรายได้จากช่องทางออนไลน์ (เป็นรายได้ที่ไม่ได้มาจากเงินเดือน)และรายได้นั้นต้องเกินกว่า 1,000,000 บาท โดยคิดเป็นภาษี 0.5 % ของเงินได้พึงประเมินนั้น
– คำนวณจากเงินได้สุทธิหมายถึงการนำรายได้ทั้งหมดมาหักค่าใช้จ่าย(ทั้งค่าใช้จ่ายแบบเหมาและค่าใช้จ่ายตามจริงที่คุณได้เลือกไว้)และหักค่าลดหย่อนทุกประเภทแล้วมาคำนวณตามขั้นบันไดของภาษี
ซึ่งคุณจะต้องนำส่งภาษีจากวิธีการคำนวณที่คุณต้องเสียภาษีสูงสุดนั่นเอง
หน้าที่ของการเสียภาษีคือหน้าที่ที่พลเมืองทุกคนที่มีรายได้ที่ถึงเกณฑ์ในการเสียภาษีทุกคนต้องปฏิบัติตาม เพราะภาษีที่รัฐจัดเก็บนี้คือกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติของเรานั่นเอง ดังนั้นผู้ค้าออนไลน์ทุกคนตัวคุณเองก็สามารถเป็นกลไกหนึ่งในการพัฒนาประเทศชาติของเราได้เช่นกัน แต่หากคุณยังคงละเลย เพิกเฉยหรือเสียภาษีไม่ถูกต้องตามที่ควรจะเป็นไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม
นอกจากที่คุณจะไม่ได้ปฏิบัติตัวตามหน้าที่ของพลเรือนที่ดีแล้ว คุณเองก็ยังคงมีความผิดตามกฎหมายอย่างไม่อาจเลี่ยงได้ และขอให้พึงระลึกไว้เสมอ ว่าผู้ที่มีความผิดเกี่ยวกับภาษีแทบจะไม่มีผู้ใดเลยที่จะชนะคดีความนี้ หากคุณไม่อยากให้ปัญหายุ่งยากเช่นนี้ตามมาในภายหลังก็เพียงแค่เสียภาษีให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดเพียงเท่านี้คุณก็สามารถทำธุรกิจออนไลน์ของคุณได้อย่างราบลื่นและไม่ต้องคอยมาพะวงถึงความผิดเกี่ยวกับภาษีนี้แล้ว
บริการอบรม ให้คำปรึกษาการทำธุรกิจออนไลน์ ฝึกอบรมภายในบริษัท แบบตัวต่อตัว การทำ Content Marketing,การโฆษณา Facebook,การโฆษณา Tiktok,การตลาด Line OA และการทำสินค้าให้คนหาเจอบน Google
บริการอบรม ให้คำปรึกษาการทำธุรกิจออนไลน์ ฝึกอบรมภายในบริษัท แบบตัวต่อตัว การทำ Content Marketing,การโฆษณา Facebook,การโฆษณา Tiktok,การตลาด Line OA และการทำสินค้าให้คนหาเจอบน Google
บริการดูแลระบบการตลาดออนไลน์ให้ทั้งระบบ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสารความรู้การทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ Add Line id :@taokaemai
รับชมคลิป VDO ความรู้ด้านการตลาด กรณีศึกษาธุรกิจ แหล่งเงินทุนน่าสนใจ ติดตามได้ที่ช่อง Youtube : Taokaemai เพื่อนคู่คิดธุรกิจ SME