เมื่อไม่นานมานี้ทางรัฐบาลได้ร่างข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีสำหรับธุรกิจออนไลน์เพื่อนำเม็ดเงินจากธุรกิจประเภทนี้เข้าสู่ระบบการจัดเก็บภาษีอย่างถูกต้อง และเมื่อกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ก็ทำให้บรรดาผู้ค้าออนไลน์ทั้งหมดตื่นตัวและเริ่มศึกษาถึงรูปแบบและขั้นตอนในการคิดคำนวณภาษีและการเสียภาษีกันมากขึ้น ซึ่งแม้ว่าจะมีรายละเอียดการคิดคำนวณที่ค่อนข้างมากและรวมไปถึงรูปแบบของภาษีทั้งการยื่นแบบและการชำระภาษีหลายขั้นตอนแต่กระบวนการทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้ยากเกินกว่าที่ผู้ค้าออนไลน์จะทำความเข้าใจ

ผู้ค้าขายออนไลน์รายใดไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ตนเข้าใจนั้นถูกต้องหรือไม่หรือไม่แน่ใจว่าควรจะต้องคิดคำนวณภาษีหรือต้องเสียภาษีอย่างไร ในบทความนี้เราจะสรุปขั้นตอนการคิดคำนวณและการเสียภาษีให้แก่ผู้ค้าออนไลน์ได้ทำความเข้าใจก่อนจะทำการเสียภาษีกันต่อไปมาฝาก

มีรายได้เมื่อไหร่ก็ต้องทำเรื่องยื่นภาษี อย่าคิดว่าขายของออนไลน์ไม่มีหน้าร้านแล้วจะไม่ต้องเสีย เพราะปัจจุบันสรรพากรตัวสอบได้แล้ว

ในสมัยก่อนทางสรรพากรอาจจะไม่มีมาตรการในการตรวจสอบรายได้จากการขายสินค้าออนไลน์อย่างเป็นรูปธรรม  นี่จึงเป็นช่องโหว่ที่ทำให้ผู้ค้าออนไลน์จำนวนหนึ่งสามารถหลบเลี่ยงการเสียภาษีได้ แต่เพราะการค้าออนไลน์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีเม็ดเงินมูลค่ามหาศาลสะพัดอยู่ในแวดวงนี้ ทางสรรพากรเองจริงต้องมีมาตรการที่จะทำให้เม็ดเงินในจุดนี้เข้าสู่ระบบการจัดเก็บภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในปัจจุบันจึงมีการร่างกฎหมายออกมาให้ทางสถาบันการเงินต่าง ๆต้องมีการนำส่งข้อมูลการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า (e-Payment) ให้กับทางสรรพากรตรวจสอบ โดยมีเงื่อนไขที่สำคัญในการตรวจสอบคือ

  • เมื่อมีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่ายอดรวมทั้งหมดจะกี่บาทก็ตาม
  • ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน 400 ครั้งขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันเกิน 2 ล้านบาท
  • และการโอนเงินนั้นจะไม่นับหากเป็นชื่อบัญชีเดียวกันในสถาบันการเงินแห่งเดียวกันแต่จะถูกนับทันทีหากเป็นการโอนเงินต่างสถาบันการเงินกันแม้จะเป็นชื่อบัญชีเดียวกันก็ตาม

ซึ่งหากบัญชีการเงินทุกบัญชีของคุณมีการเคลื่อนไหวในลักษณะเช่นนี้คุณก็ต้องเตรียมตัวที่จะต้องนำเสียภาษีทันทีตามที่กฎหมายกำหนด

ภาษีมูลค่าเพิ่ม: ภาษีที่ควรนึกถึงเป็นลำดับแรก

หากคุณมีการดำเนินธุรกิจมาก่อนที่จะผันตัวเองมาทำธุรกิจออนไลน์คุณก็อาจจะรู้จักกับคำว่าภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ก่อนแล้ว  แต่หากคุณไม่เคยทำธุรกิจมาก่อนเลย ภาษีแรกที่คุณอาจจำเป็นต้องสนใจก่อนก็คือตัวของภาษีมูลค่าเพิ่มนี้เอง ซึ่งตามกฎหมายได้กำหนดเอาไว้ว่าหากคุณมีรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายเกินกว่า 1.8 ล้านบาทคุณจำเป็นต้องไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันและต้องนำเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากยอดรายได้นี้

ขายออนไลน์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มยังไง หากมีรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทคุณอาจไม่ต้องสนใจภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ก็ได้ แต่หากคุณประเมินแล้วว่ารายได้ของคุณทะลุเกิน 1.8 ล้านบาทแน่ ๆก็อย่าลืมไปจดทะเบียนภาษ๊ตัวนี้เด็ดขาด เพราะมีพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่หลายรายที่พลาดท่าง่าย ๆจากการลืมจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนี้แล้วสร้างปัญหาน่าปวดหัวตามมาภายหลัง

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา vs ภาษีเงินได้นิติบุคคล ขายออนไลน์เสียภาษียังไง แบบไหนดีกว่ากัน

– ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

แม้ว่าจะทำการค้าขายสินค้าออนไลน์ แต่หากคุณไม่ได้ดำเนินการเปิดหรือจดทะเบียนในรูปแบบของบริษัทมาก่อน รายได้ที่คุณได้รับจากการค้าออนไลน์จะถูกนำมาคิดคำนวณเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและถูกจัดอยู่ในเงินได้ประเภทที่ 8 ซึ่งรวมถึงเงินได้ที่ได้จากการค้าขายนี้  และเมื่อเป็นรายได้ที่ได้จากการค้าทำให้คุณจำเป็นต้องมีการยื่นภาษีใน 2 ช่วงเวลาดังต่อไปนี้

  • ยื่นภาษีสิ้นปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90) ช่วงเดือน ม.ค. – มี.ค. เป็นการสรุปรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา
  • ยืนภาษีกลางปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94) ช่วงเดือน ก.ค. – ก.ย. เป็นการสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีภาษีแรกที่ผ่านมา โดยค่าลดหย่อนในบางรายการจะถูกหักเหลือครึ่งหนึ่งด้วย เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัวจะลดลงจาก 30,000 เหลือ 15,000

แต่คุณไม่จำเป็นต้องกังวล ว่าการเสียภาษี 2 ช่วงเวลานี้คุณจะต้องเสียภาษีซ้ำซ้อน หรือเสียภาษี 2 ต่อหรือเปล่า เพราะเมื่อคุณต้องเสียภาษีปลายปีหรือ ภ.ง.ด. 90 ก็จะมีการนำภาษีกลางปีหรือ ภ.ง.ด. 94 มาทำการคำนวณไปด้วยเสมอว่าคุณเสียภาษีไปแล้วเท่าไหร่และยังต้องชำระภาษีอีกเท่าไหร่

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

แต่ถ้าหากคุณตัดสินใจว่าจะดำเนินการทำธุรกิจออนไลน์ในรูปแบบของนิติบุคคลและมีการจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนตามกฎหมายแล้ว คุณจะต้องนำส่งงบการเงินให้แก่กรมสรรพากรเพื่อทำการคำนวณภาษีต่อไป  ซึ่งนิติบุคคลนี้คุณจำเป็นต้องมีนักบัญชีและผู้ตรวจสอบบัญชีที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องมาทำงบการเงินนี้ให้แก่คุณซึ่งนอกจากจะต้องยื่นให้แก่กรมสรรพการแล้วคุณยังต้องยื่นให้แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าต่อไป  สำหรับภาษีจะถูกคำนวณจากกำไรสุทธิเท่านั้น

การหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเราจะคิดคำนวณอย่างไรจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด

หากคุณไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและต้องยื่นแบบแสดงรายได้ในรูปแบบของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คุณสามารถนำสิ่งที่เรียกว่าค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนมาทำการหักตัวรายได้ของคุณเพื่อให้ได้รายได้สุทธิเพื่อการนำไปคำนวณภาษี  โดยการคิดค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนสามารถคิดได้ดังต่อไปนี้

– คำนวณค่าใช้จ่ายตามจริง

เป็นการนำค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นมาคิดคำนวณเช่นต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือการซื้อสินค้ามาเพื่อขายต่อทุกรายการที่เกิดขึ้นมาบวกกันจนได้เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมดแล้วจึงนำไปใช้คำนวณภาษีต่อไป สำหรับการคำนวณค่าใช้จ่ายตามจริงนี้คุณจำเป็นต้องเก็บเอกสารหรือหลักบานที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายทั้งหมดเอาไว้เสมอเพื่อให้สรรพากรสามารถตรวจสอบได้ในกรณีที่มีการเรียกตรวจสอบในภายหลัง

– คำนวณค่าใช้จ่ายแบบเหมา

หากคุณไม่แน่ใจเรื่องของค่าใช้จ่ายตามจริงหรือเก็บเอกสารหลักฐานไม่ครบหรือไม่ได้เก็บหลักฐานเอาไว้แต่แรก คุณสามารถเลือกการคำนวณค่าใช้จ่ายแบบเหมาแทนได้  แต่ทั้งนี้การจะเลือกคำนวณค่าใช้จ่ายแบบเหมานั้นคุณจำเป็นต้องตรวจสอบว่าธุรกิจของคุณอยู่ในข่ายของธุรกิจ 42 ประเภทที่ทางกฎหมายอนุญาตให้คิดคำนวณค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้หรือไม่ซึ่งหากธุรกิจของคุณอยู่ในข่ายที่ว่านี้คุณสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 60 % ของรายได้มาใช้ในการคำนวณภาษีได้  สำหรับธุรกิจทั้ง 42 ประเภทที่ว่านี้คุณสามารถตรวจสอบได้จากลิ้งค์ที่แนบให้ได้เลย (http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/kormor/newlaw/dc629.pdf?fbclid=IwAR0w-4u3lmmUXP__D-ChGlHSs6okFdzDyx7GfoVjHeLNHcgOw_f8V4irm3s)

– คำนวณค่าลดหย่อน

นอกเหนือไปจากการคำนวณค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำธุรกิจในกรณีที่คุณยื่นแสดงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคุณยังสามารถนำค่าลดหย่อยตามที่กฎหมายกำหนดมาใช้ในการคำนวณภาษีได้เช่นกัน สำหรับรายละเอียดของค่าลดหย่อนแต่ละประเภทว่ามีอะไรบ้างคุณสามารถตรวจสอบได้จากลิ้งค์ที่แนบให้มานี้ได้เช่นกัน  (https://www.rd.go.th/publish/557.0.html)

ขายออนไลน์เสียภาษียังไง คำนวณภาษีได้อย่างไรบ้าง

            ท้ายที่สุดเมื่อคุณรวบรวมข้อมูลของรายได้ ค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนทั้งหมดได้แล้ว ในกรณีของการเสียภาษีบุคคลธรรมดาคุณยังมีทางเลือกในการเสียภาษีอยู่ 2 ทางเลือก  โดยทางเลือกที่ว่ามีดังต่อไปนี้

– คำนวณจากเงินได้พึงประเมินซึ่งหมายถึงการนำรายได้จากช่องทางออนไลน์ (เป็นรายได้ที่ไม่ได้มาจากเงินเดือน)และรายได้นั้นต้องเกินกว่า 1,000,000 บาท โดยคิดเป็นภาษี 0.5 % ของเงินได้พึงประเมินนั้น

– คำนวณจากเงินได้สุทธิหมายถึงการนำรายได้ทั้งหมดมาหักค่าใช้จ่าย(ทั้งค่าใช้จ่ายแบบเหมาและค่าใช้จ่ายตามจริงที่คุณได้เลือกไว้)และหักค่าลดหย่อนทุกประเภทแล้วมาคำนวณตามขั้นบันไดของภาษี

ซึ่งคุณจะต้องนำส่งภาษีจากวิธีการคำนวณที่คุณต้องเสียภาษีสูงสุดนั่นเอง

หน้าที่ของการเสียภาษีคือหน้าที่ที่พลเมืองทุกคนที่มีรายได้ที่ถึงเกณฑ์ในการเสียภาษีทุกคนต้องปฏิบัติตาม  เพราะภาษีที่รัฐจัดเก็บนี้คือกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติของเรานั่นเอง ดังนั้นผู้ค้าออนไลน์ทุกคนตัวคุณเองก็สามารถเป็นกลไกหนึ่งในการพัฒนาประเทศชาติของเราได้เช่นกัน แต่หากคุณยังคงละเลย เพิกเฉยหรือเสียภาษีไม่ถูกต้องตามที่ควรจะเป็นไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม

นอกจากที่คุณจะไม่ได้ปฏิบัติตัวตามหน้าที่ของพลเรือนที่ดีแล้ว คุณเองก็ยังคงมีความผิดตามกฎหมายอย่างไม่อาจเลี่ยงได้  และขอให้พึงระลึกไว้เสมอ ว่าผู้ที่มีความผิดเกี่ยวกับภาษีแทบจะไม่มีผู้ใดเลยที่จะชนะคดีความนี้ หากคุณไม่อยากให้ปัญหายุ่งยากเช่นนี้ตามมาในภายหลังก็เพียงแค่เสียภาษีให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดเพียงเท่านี้คุณก็สามารถทำธุรกิจออนไลน์ของคุณได้อย่างราบลื่นและไม่ต้องคอยมาพะวงถึงความผิดเกี่ยวกับภาษีนี้แล้ว


บริการอบรม ให้คำปรึกษาการทำธุรกิจออนไลน์  ฝึกอบรมภายในบริษัท แบบตัวต่อตัว การทำ  Content  Marketing,การโฆษณา  Facebook,การโฆษณา  Tiktok,การตลาด  Line  OA และการทำสินค้าให้คนหาเจอบน Google

บริการดูแลระบบการตลาดออนไลน์ให้ทั้งระบบ 
ขายออนไลน์เสียภาษียังไง