ในภาวะวิกฤตโควิด-19 ธุรกิจ Ecommerce ต่างก็ได้รับผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ หลายธุรกิจยอดขายเติบโตขึ้นหลายเท่าตัว!  และมีบางธุรกิจที่ยอดขายลดลง หลายคนมองว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทย เป็นอะไรที่ร้อนแรงและน่าจับตามองอย่างมากในช่วงวิกฤตที่บรรดาร้านค้า หรือแม้แต่ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ต้องปิดให้บริการชั่วคราว คนส่วนใหญ่จึงหันไปซื้อสินค้าทางออนไลน์กันมากขึ้น สำหรับผู้ประกอบการต้องปรับตัวอย่างไรให้ธุรกิจอยู่รอดในยุค “New Normal” จากคลิปสัมภาษณ์ คุณ ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา นายกสมามาคมการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย

ภาพรวมมูลค่าตลาดคอมเมิร์ซ และทิศทางการเติบโต

ในปี 2019  ประเทศจีนมีมูลค่าการซื้อขายผ่านตลาด Ecommerce  อยู่ที่ 25% เมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดค้าปลีกทั้งประเทศ และถือเป็นสัดส่วนมากที่สุดในโลก ในขณะที่สหรัฐอเมริกาที่มียักษ์ใหญ่อย่าง Amazon.com อยู่ที่ 11% เมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดค้าปลีกทั้งประเทศ ส่วนไทยอยู่ที่ 3% เท่านั้น ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่าเปอร์เซ็นต์ที่เหลือ ผู้บริโภคยังคงซื้อสินค้าผ่านทางหน้าร้านหรือทางออฟไลน์ นี่จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่บริษัทยักษ์ใหญ่ด้าน Ecommerce  มองเห็นโอกาสการลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าเป็น “ตลาดเกิดใหม่”  ชี้ให้เห็นว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยมีโอกาสที่จะเติบโตได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ภาพรวมมูลค่าตลาดคอมเมิร์ซไทย ในปี 2019 อยู่ที่ 163,300 ล้านบาท คาดการณ์ว่าในปี 2020 โดยคำนึงสถานการณ์โควิด-19 มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยอยู่ที่ 220,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 35% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตค่อนข้างสูง เราจึงเห็นผู้เล่นในตลาดมีอยู่มากมายทั้งธุรกิจSMEs ไปจนถึงแบรนด์ใหญ่ หลายแบรนด์เริ่มเปิด Official Store บนแพลตฟอร์ม E-Commerce เพื่อขายตรงสู่ผู้บริโภค ซึ่งเรียกกันว่า Direct to Consumer (D2C) เพราะเป็นโอกาสทางการตลาดที่เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญคือได้ข้อมูลลูกค้า สามารถวัดผลได้ว่าเม็ดเงินที่ลงโฆษณาไปแต่ละครั้งนั้น มีความคุ้มค่ามากน้อยแค่ไหน จากเดิมที่ขายผ่านช่องทาง Modern Trade ต้องจ่ายค่า GP อยู่ที่ 20-30%   ส่วนการขายผ่าน Marketplace จะจ่ายในอัตราที่ต่ำกว่า งบที่เหลือสามารถเอาไปจัดโปรโมชั่นการตลาดได้อีกมากมาย

คนไทยขายสินค้าผ่านช่องทางใดบ้าง

สัดส่วนมูลค่าตลาดธุรกิจ B2C และ C2C คาดการณ์จากพฤติกรรมคนไทยช้อปปิ้งผ่าน 3 ช่องทางหลัก

  • ปี 2018 Social Media 40% E-Marketplace 35%  และ E-Tailers/Brand.com 25%
  • ปี 2019 Social Media 38% E-Marketplace 47%  และ  E-Tailers/Brand.com 15%

จะเห็นว่าตลาดอีคอมเมิร์ซของไทย ในส่วนของ E-Marketplace แข่งขันกันโหดมาก ซึ่งเป็นการแข่งขันกันเองระหว่างแพลตฟอร์มระดับโลก ที่ต่างก็อยากช่วงชิงข้อมูล เวลาของลูกค้า ให้คนเข้ามาใช้งานแพลตฟอร์มของตัวเองมากขึ้น ในฝั่งของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หน้าใหม่ เดิมทีเริ่มต้นจากการเปิดเพจ ปัจจุบันมุ่งไปขายสินค้าบน Marketplace เป็นหลัก จึงทำให้ยอดขายออนไลน์เทไปฝั่งมาร์เก็ตเพลสมากขึ้น

ในปัจจุบัน Social Media  ได้เปิดตัวฟีเจอร์ที่เอื้อต่อการซื้อขายสินค้าอย่าง Facebook Shop และ Line MyShop  ซึ่งเป้าหมายของ Facebook คือ ทำอย่างไรให้คนใช้งานบนแพลตฟอร์มให้นานที่สุด เพราะนั่น หมายถึงโอกาสในการทำเงินมากขึ้น หลากหลายแพลตฟอร์มบนโลกออนไลน์ต่างก็ต้องการแย่งชิงพื้นที่ และช่วงเวลาการใช้งาน ส่วนช่องทาง E-Marketplace ส่วนใหญ่มาจากจีน มีฟีเจอร์ chat เพิ่มเข้ามา ลูกค้าสามารถติดตามแบรนด์ต่างๆ ได้ เป็นการสร้างคอมมูนิตี้ให้เกิดขึ้น ในขณะที่เว็บไซต์ มีแพลตฟอร์มที่สนับสนุนคือ Google  ถ้าจะเปิดเว็บไซต์เพื่อขายสินค้าของตัวเอง ก็ต้องทำให้สินค้าติดอันดับการค้นหาใน Google  ซึ่ง Google เองก็มีคำแนะนำดีๆ มากมายในการทำให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพ

ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs อยากเข้าสู่โลกออนไลน์ทำยังไงดี

อันดับแรกเลย ต้องถามตัวเองก่อนว่า มีต้นทุนทางด้านดิจิทัลหรือไม่? ถ้ามี มีอะไรบ้าง? เช่น ผู้ติดตามบนโซเชียลมีเดีย กรณีที่เริ่มต้นจากศูนย์ แนะนำว่าให้เปิดตัวบนมาร์เก็ตเพลส เพื่อลองตลาดก่อน เพราะเริ่มต้นได้ค่อนข้างง่าย มีเครื่องมือมีค่อนข้างครบ อาจเปิดเพจควบคู่กันไปด้วยก็ได้ แต่ต้องทำคอนเทนต์ เพื่อให้คนติดตาม เพราะคอนเทนต์เปรียบเหมือนแม่เหล็กในการดึงดูดคนเข้ามา เมื่อคนเริ่มติดตาม

ถึงตอนนั้นการค้าจะเกิดขึ้น เมื่อเริ่มรู้จักตลาด มีคนติดตามแล้ว ก็ให้เปิดเว็บไซต์ เพราะคนยังคงนิยมค้นหาสินค้าผ่านทาง Google โจทย์คือ ทำยังไงให้คนค้นหาสินค้าแล้วเจอเรา? ส่วนจะใช้เวลานานเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ประกอบการสามารถผลักดันให้คนรู้จักแบรนด์ได้เร็วมากน้อยแค่ไหน  ใครที่มีงบประมาณมาก อาจจะเริ่ม 3 ช่องทางพร้อมกันเลยก็ทำได้ ส่วนคนงบน้อย ควรไปในช่องทางที่ต้นทุนต่ำอย่างมาร์เก็ตเพลสตามที่ได้แนะนำไป

ในภาวะวิกฤตต้องปรับตัวยังไง ทั้งคนที่ขายออนไลน์อยู่แล้ว และคนที่ยังไม่เริ่ม

1.รู้จุดแข็งของตัวเอง

เรารู้จักสินค้าที่ขายดีแค่ไหน เมื่อลูกค้าทักมาคุย เรามีความรู้เพียงพอที่จะแนะนำได้หรือไม่ สินค้าแบบเดียวกันบางทีต่างกันตรงเรื่องของการบริการ การตอบคำถาม ถ้ารู้ไม่จริงหรือบริการไม่ดี ลูกค้าจะไปซื้อกับคู่แข่งที่ขายสินค้าเดียวกัน

2.ทำคอนเทนต์

ถ้าเราเป็นกูรู มีองค์ความรู้ หรือเชี่ยวชาญด้านไหนเป็นพิเศษ เราก็จะสามารถคิดคอนเทนต์ได้มากมาย ประเด็นคือ ต้องสร้างคุณค่าให้ได้ นำเสนอให้เป็น สร้างตัวตนบนโลกดิจิทัล เพราะโควิด-19 เป็นยุคของคนทำคอนเทนต์ออนไลน์ เมื่อคนเข้ามาเสพคอนเทนต์แล้วเกิดความสนใจ เราต้องเก็บคนให้ได้ ทำให้คนติดตามเราต่อ

3.สร้าง แฟนคลับ พัฒนาเป็น Conversion

ทำยังไงให้ผู้ติดตามกลายเป็นลูกค้า เพราะคนที่ติดตามแสดงว่ามีความชื่นชอบในคอนเทนต์ที่เรานำเสนอออกไป มีแนวโน้มเป็นไปได้ว่าสนใจในตัวสินค้า และอาจเกิดการซื้อขายตามมา ในการทำธุรกิจถ้าอยากโตเร็วต้องซื้อโฆษณา อย่างยั่งยืนต้องสร้างฐานลูกค้า ควรทำควบคู่กันไป

4.เก็บข้อมูลลูกค้า

การทำ CRM ถือว่ามีความสำคัญต่อการทำธุรกิจเป็นอย่างมาก หลายคนขายสินค้าแต่ไม่เก็บข้อมูลลูกค้า หรือไม่นำข้อมูลลูกค้ามาต่อยอด ถ้าเราไม่สามารถทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำได้ในขณะที่ต้นทุนต่ำที่สุด โอกาสทำกำไรในอนาคตอาจทำได้ยาก เพราะต้นทุนในยุคออนไลน์นั้นแพงขึ้นเรื่อยๆ มีเครื่องมือง่ายๆ ที่แนะนำสำหรับผู้ประกอบการในการเก็บข้อมูลลูกค้าอย่าง Google Sheets ที่ใช้งานฟรี! สามารถเก็บข้อมูลได้ว่าลูกค้าเป็นใคร พฤติกรรมลูกค้าเป็นยังไง มีเบอร์ติดต่อ และอีเมล์ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้ทำการตลาดได้ถูกทิศทาง

ทุกวันนี้แบรนด์ใหญ่ต่างก็ขายออนไลน์ ใครๆ ก็หันมาขายออนไลน์ ทุกคนเริ่มต้นบนจุดสตาร์ทเดียวกัน อยู่ที่ว่าใครสามารถเก็บข้อมูลลูกค้า ขยันทำคอนเทนต์  เพื่อดึงลูกค้าให้มาซื้อสินค้าและอยู่กับแบรนด์นานๆ คนทำธุรกิจต้องอ่านเกมส์ให้ออก และปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ ไม่ว่าจะเจอวิกฤตอะไรก็สามารถผ่านไปได้

บริการอบรม ให้คำปรึกษา การทำให้สินค้าค้นหาเจอบน Google การทำ Digital Marketing & Brand Storytelling ทั้งแบบรูปแบบองค์กร กลุ่ม และ ตัวต่อตัวForex signal แม่น ๆ