เรื่องเล่าของ “ AliExpress “ ภาค 1
ก่อนอื่นมดขอตั้งชื่อว่าwebsite นี้ว่า “ผู้ที่รวมกำลังพลนักรบออนไลน์ของจีนสู่ต่างแดน” อาจจะยาวหน่อยแต่มีประโยชน์มากๆ…โดยเฉพาะคนขายออนไลน์หรือ Start up ฝั่ง e-commecre ควรที่รู้ไว้ก่อน
อธิบายเพิ่มเติมเพื่อใครที่ยังไม่รู้จัก AliExpress เป็น website ที่เกิดมาจากบริษัท Alibaba Group เป้าหมายของ AliExpress คือให้ผู้ค้าออนไลน์ของจีน ขายสินค้าตรงสู่ผู้บริโภคในต่างประเทศ ความโหดร้ายที่เข้ามาถึงประเทศไทยคือ ปัจจุบันเค้ามาพร้อมภาษาไทยแล้ว เห็นหน้า website น้ำตาลแทบซึม แต่อย่าเพิ่งตกใจไป..จงเชื่อในคำที่ว่า
“รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง”
เข้าเรื่องกันเลยดีกว่านะ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณปีที่แล้ว ที่ AliExpress ร่วมมือกับ 中国邮政หรือ EMS CHINA เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าจากจีนส่งถึงมือผู้บริโภคมดเองก็ไม่แน่ใจว่ามีข่าวออกมามากน้อยแค่ไหน
แต่มดเคยนั่งฟังภาพรวมงานเค้าของมาตั้งแต่ปีที่แล้วและช่วงนี้เพิ่งจะมีเวลามาเขียนบทความ..เลยเพิ่งมาบอกเล่าให้ฟัง..
จะได้รู้ว่าตอนนี้เค้าทำอะไรไปถึงไหนกันแล้วบ้าง..มดขอเรียกกลยุทธ์ที่เค้าใช้ทั้งหมดว่า “บุกแบบพร้อมยิงเป้า” เพื่ออรรถรสในการอ่าน
มดขอเรียบเรียงมาให้อ่านทีละข้อนะคะ
ข้อที่ 1 อาวุธแบบพร้อมมือ
มดค่อนข้างนับถือเครื่องมือหลังบ้านของ Alibaba ที่เค้ามีพร้อมให้กับผู้ประกอบการออนไลน์มากๆ ถ้าใครใช้แค่ facebook ขายสินค้าบ้างที..คุณอาจจะตามไม่ทันเครื่องมือที่ทันสมัยมากของ Alibaba
มันคืออาวุธที่พร้อมให้คนขายยิงไปทุกทีได้แม่นยิ่งขึ้นแบ่งย่อยรายละเอียดให้คุณเสร็จเรียบร้อยพร้อมคำนวนมาตรฐานในการลงแคมเปญรึว่าเปรียบเทียบข้อมูลกับคู่แข่งได้อย่างง่ายดาย ใครตามไม่ทันอาจจะมีตายกันไปข้างหนึ่ง เพราะว่าเค้าเอาสูตร..ที่ผู้บริหาร e-commerceระดับร้อยล้าน มาทำ Big data ให้เรา วางแผนการขายได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็น..
conversation rate,price per pic และอื่นๆอีกมากมาย ทำให้คนขายการวางกลยุทธ์ ได้แม่นย้ำมากๆเลยทีเดียว
.
ข้อที่ 2 วิถีการทำให้คนขยัน
แคมเปญนี้..มดถือว่าฉลาดมากๆค่ะ ถ้าใครทำ start up สามารถลอกเลียนแบบวิธีการนี้โดยทุกคนที่ลงขายเงิน
จะต้องมีประกันกับ AliExpress จำนวน 10,000 หยวนประมาณ 50,000 บาท และสามารถรับคืนได้กรณีที่ขายได้ตามเป้าที่ตั้งเอาไว้ จะแบ่งย่อยเป็นรายสินค้าลงไป ตัวอย่างคราวๆนะคะ…เช่น ขายรองเท้า ถ้าขายได้ 15,000 USD(ประมาณ 525,000บาท) จะได้รับเงินคืน..ครึ่งหนึ่งของเงินประกันคือ 5,000 หยวน ถ้าขายสินค้าได้ 30,000 USD(ประมาณ 1,050,000บาท) จะได้รับเงินประกันคืน แบบเต็มจำนวนคือ 10,000หยวน สิ่งนี้ทำให้ทุกคนรักษาหน้าที่ของตัวเอง ที่ขายสินค้าให้ได้มากที่สุด เพราะว่ามีเงินประกันในการขายสินค้า.เป็นการรันตี สิ่งนี้ Alibaba ทำสำเร็จมาแล้วในประเทศจีน เพื่อให้คนขายออนไลน์ทำกันแบบจริงจัง
ข้อที่ 3 ค่าขนส่งในราคาพิเศษ
เพื่อคนขายใน AliExpress ความร่วมมือที่เกิดขึ้นเพื่อส่งออก ไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะ ราคาค่าขนส่งที่ถูกลงกว่าปกติมากทีเดียว เพื่อส่งเสริมให้การส่งออกเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น การโปรแกรมหลังบ้าน เพื่อคำนวนค่าขนส่งระยะเวลาในการขนส่ง เอกสารที่ต้องใช้ในการขนส่ง ถือว่าเป็นหมัดที่ดีมากในการส่งเสริมการขายค่ะ
ข้อที่ 4 การโอนเงินเข้าบัญชีแบบรวดเร็ว
ในการขายสินค้าเข้าสู่บัญชีผู้ขายภายใน 3วัน กรณีที่ผู้ขายมีบัญชีบริษัทที่รับได้สกุล USD *บัญชีที่จีนสามารถสร้างบัญชี ที่รับได้ทั้งเงินหยวนและUSD และ 5 วันทำการการรับเงินยอดขายเป็นเงินหยวน โดยทั้งหมดจะมีค่าธรรมเนียม
ในการนำเงินออกจากระบบอยู่ที่ 15$ ต่อครั้ง อัตราแลกเปลี่ยนคิดจากธนาคารกลาง
ข้อที่ 5 ตั้งหมายประเทศที่จะขายกันไว้แล้ว
จากการประชุมครั้งล่าสุด การตั้งเป้าหมายประเทศที่จะขายโดยเริ่มที่ รัสเซีย,อเมริกา,ฝรั่งเศส,สเปน ยังไม่มีประเทศไทยนะจ๊ะ ยังพอรอดตัวไปได้สักพัก…….
คำเตือนก็คือว่า”อย่าให้รอให้มาถึงเลยค่ะ” ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้ได้แล้วค่ะ ถ้าคลื่นนี้เข้ามาถึงไทย…
การขายออนไลน์ในบ้านเราจะยากยิ่งขึ้น สินค้าจีนจะเข้ามาไทยมากยิ่งกว่าเดิม ดังนั้นใครที่ขายสินค้าโดยใช้ e-commerce เป็นหลัก ต้องลองปรับเปลี่ยนกลยุทธ์กันดูนะคะ
วันนี้เล่าถึงแค่นี้ก่อน วันหลังถ้ามีเวลามากพอ จะมาเขียนเรื่องฝั่งการค้าที่จีนในส่วนของออนไลน์ให้ฟังกันใหม่
ยังมีข้อมูลในส่วนของ Taobao และ wechat อีกเยอะ ที่ยังไม่ได้ถ่ายทอดออกไปให้ฟังกัน
ขอบคุณข้อมูลจากคุณมดเพจ China commerce การค้าไทยสู่จีน
บริการอบรม ให้คำปรึกษาการทำธุรกิจออนไลน์ ฝึกอบรมภายในบริษัท แบบตัวต่อตัว การทำ Content Marketing,การโฆษณา Facebook,การโฆษณา Tiktok,การตลาด Line OA และการทำสินค้าให้คนหาเจอบน Google
บริการดูแลระบบการตลาดออนไลน์ให้ทั้งระบบ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสารความรู้การทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ Add Line id :@taokaemai
รับชมคลิป VDO ความรู้ด้านการตลาด กรณีศึกษาธุรกิจ แหล่งเงินทุนน่าสนใจ ติดตามได้ที่ช่อง Youtube : Taokaemai เพื่อนคู่คิดธุรกิจ SME