กลุ่มประเทศ CLMV เกิดจากการร่วมตัวกันของประเทศ ลุ่มแม่น้ำโขง นอกจากเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีแล้ว ยังมีการช่วยส่งเสริมการค้าย่อยระหว่างกัน อย่างประเทศที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ กัมพูชากับเวียดนาม หรืออย่างลาวกับเวียดนาม นอกจากนั้นกลุ่มประเทศนี้ ยังได้รับการสนับสนุนการค้าระดับสูงจากนานาประเทศ เช่น เขตการค้าเสรีทางแปซิฟิก (TPP) ที่ทางสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนแก่เวียดนาม, หรือแม้แต่ GSP ที่กลุ่มประเทศเหล่านี้สามารถส่งออกได้จากการลดหย่อนทางภาษี
ดังนั้นภาพรวมทางการค้าของทั้ง CLMV ทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้า เศรษฐกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด, ซึ่งประเทศไทยจัดได้ว่ามีความได้เปรียบจากการค้ากับกลุ่ม CLMV และจีน เนื่องจากกลุ่มประเทศเหล่านี้มีพรหมแดนติดและใกล้กับไทย ทำให้มีความใกล้ชิดทั้งเชิงวัฒนธรรม,ประเพณี, การขนส่งสินค้าและบริการ ที่ให้การยอมรับในสินค้าจากประเทศไทยเป็นทุนเดิม
แต่อย่างไรก็ตาม โอกาสที่ได้เปรียบตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น, บางสถานการณ์ อาจทำให้ผู้ประกอบการไทยและสินค้าไทยเจอสภาวะเสียเปรียบ เกิดอุปสรรค และไม่สามารถสร้างโอกาสทางการค้าได้อย่างแท้จริงในระยะยาว
ลาว จิตใจดี กับโอกาสสินค้าไทยที่เติบโต
ลาว คือพื้นบ้านที่แสนดี กับประเทศไทย มีไลฟ์ไสตล์การใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ร้อนรน มีความใกล้ชิดกับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน จนเรียกว่าเป็น “บ้านพี่ เมืองน้อง” ธุรกิจและสินค้าไทย ทุกประเภทได้รับการสนับสนุนและนิยมชมชอบจากคนลาวเป็นอย่างมาก เนื่องจากบริโภคสื่อทุกแขนงจากประเทศไทยเป็นหลัก โดยเฉพาะช่อง 3 และ 7 แม้ว่าในประเทศลาวเองจะมีสถานีวิทยุและโทรทัศน์เป็นของตนเอง อย่างเช่น ช่อง”ลาว สตาร์”
จำนวนประชากรของลาวที่มีอยู่ในระดับประมาณ 7 ล้านคน, จึงรู้จักและเลือกใช้สินค้าไทยได้อย่างไม่ยากเย็น อีกทั้งระดับรายได้ก็ไม่แตกต่างจากไทยมากนัก ทำให้สินค้าได้การตอบรับ เป็นอย่างดี… เพื่อนของผู้เขียนที่เป็นสุภาพสตรีชาวลาวท่านนึง (เจ้าของบริษัทนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค) เคยพูดประโยคสั้นๆ แต่ได้ใจความจับใจว่า “การทำการค้าใดๆ ให้มองและวิเคราะห์ว่า ลาวมีความเป็นจังหวัดนึงของไทย” ด้วยเหตุผลของการบริโภคสื่อและนิยมสินค้าไทยนั่นเอง
ด้วยข้อดี และเหตุผลไลฟ์ไสตล์ที่พี่น้องชาวลาวเป็น… มิติของธุรกิจที่รู้จักกันดีของไทย จึงไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรที่จะผลักดันส่งออกไปยังตลาดลาวที่หอมหวานแห่งนี้ แต่สำหรับกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่เรียกว่ากลุ่ม “Start Up” หรือ SME เกิดใหม่ คุณคิดว่านี่คือโอกาสและอุปสรรค การทำตลาดในประเทศลาว ??? ภูมิศาสตร์และประชากรที่ติดกับชายแดนประเทศไทย จากทางภาคเหนือเรื่อยไปจนถึงภาคอีสาน สินค้าไทยที่ไม่ใช่แบรนด์ที่เป็นที่รู้จักใหญ่โต หรือโด่งดังอะไรจากประเทศไทย สามารถส่งออกไปขายในพื้นที่ของลาวบริเวณชายแดน จึงก่อให้เกิดการค้าชายแดนเช่นเดียวกับเมียนมาร์และกัมพูชาได้อย่างไม่ยากเย็น (มากนัก)
แต่ถ้าหากคุณต้องการให้สินค้าและบริการของคุณถูกกระบวนการนำเข้าและจัดจำหน่ายกระจายทั่วทั้งประเทศลาว โดยจะใช้กลยุทธ์เริ่มจากการค้าชายแดน อาจจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากสำหรับรูปแบบการค้ายุคใหม่ในปัจจุบัน
เวียดนาม ศักยภาพและความเติบโตแบบทวีคูณ
เวียดนาม คือประเทศที่มีศักยภาพโดดเด่นที่สุด ไม่เพียงแค่เฉพาะใน CLMV เท่านั้น แต่นับวันยิ่งมีบทบาทจากเวทีการค้าโลกทั้งการได้รับสนับสนุนการค้าเสรีจากสหรัฐอเมริกา (TPP) ภายในประเทศก็มีความเจริญเพียบพร้อมทั้งในเรื่องการผลิตสินค้าเพื่อบริโภคภายในและส่งออกต่างประเทศ หรือแม้แต่การลงทุนจากนานาประเทศ รวมทั้งประเทศไทยเองด้วย
ด้วยบทบาทในเวทีการค้าจากสายตานานาประเทศ ทำให้สินค้าและบริการทุกรูปแบบของเวียดนามได้รับการยอมรับและมีความต้องการมากยิ่งขึ้น, แต่อย่างไรก็ตามด้วยการวางตำแหน่งและแสดงออกจากภาพลักษณ์ผ่านทางสินค้าและบริการ สินค้าจากเวียดนามมีราคาขาย ที่ถูกกว่าประเทศไทย แต่ก็ยังคงเผชิญปัญหาในเรื่องของคุณภาพสินค้าอยู่เสมอ จนกลุ่มผู้บริโภคกล่าวว่า “หากต้องการสินค้าราคาถูก คุณภาพดีปานกลางต้องเวียดนาม…. แต่ถ้าไทยราคาแพง คุณภาพสูง” หากพิจารณาในเชิงลึกเวียดนามก็พร้อมรับสินค้าจากไทย และก็พร้อมจะเป็นคู่แข่งสินค้าจากไทยในการส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นภายใน CLMV หรืออเมริกาและยุโรป
สินค้าไทยก็ยังคงได้รับความนิยมในกลุ่มผู้บริโภคภายในเวียดนามด้วยเช่นกัน แม้ว่าสินค้าและบริการจากไทยมีระดับราคาที่สูงกว่า แต่ผู้บริโภคก็พร้อมแลกกับคุณภาพที่สูงกว่า, และด้วยจำนวนประชากรที่มากถึง 90 ล้านคน หากผู้ประกอบการไทยสามารถส่งออก+ทำการค้าในประเทศเวียดนามได้ ก็จะได้เม็ดเงินจำนวนมหาศาลเช่นกัน… แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการไทยควรระวังก็คือการลอกเลียนแบบสินค้าที่พร้อมจะเกิดขึ้นได้อย่างเสมอ เพราะพื้นฐานของเวียดนามก็เป็นประเทศผู้ผลิตในตลาดโลกเช่นกัน
เมียนมาร์ (พม่า) ตลาดใหม่เปิดรับการค้าอย่างแท้จริง
หลังจากที่พม่าที่เปิดประเทศ+เปลี่ยนชื่อประเทศ+ย้ายเมืองหลวงจากย่างกุ้ง เป็นกรุงเนปยีดอ, ทำให้เมียนมาร์ในวันนี้ ได้รับการค้าการลงทุนทุกรูปแบบจากทั่วโลก และทุกอย่างในเมียนมาร์ก็พร้อมต้องการสิ่งเหล่านั้นเช่นกัน ช่วงแรกนั้นสภาวะราคาอาหาร, โรงแรม และสิ่งต่างๆ ราคาถูกดีดขึ้นไปแพงอย่างมหาศาล
โอกาสของผู้ประกอบการไทย มาพร้อมกับการแข่งขันอย่างดุเดือดเช่นกัน, โอกาสและความพร้อมจึงถึงมือผู้ที่ประสบความสำเร็จก่อนหน้านี้ทันที, เพราะทุกอย่างต้องมาพร้อมกับการลงทุนทางด้านธุรกิจและการตลาด อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนเวทีแห่งนี้ ไม่ได้เปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการหน้าใหม่ ที่มีเม็ดเงินการลงทุนอย่างจำกัด
อย่างไรก็ตามเมียนมาร์ ก็ควรจะเป็นตลาดการค้าที่ผู้ประกอบการ ควรวิเคราะห์พิจารณาในเรื่องความพร้อมของตนเอง, ถ้าพร้อมเมื่อไหร่เพื่อสร้างโอกาสและต่อยอดทางธุรกิจจากประเทศนี้ ก็จะยังคงสวยงามอยู่เสมอด้วยรสนิยมในความชื่นชอบสินค้าไทย บวกกับจำนวนประชากรที่มากถึง 60 ล้านคน (ใกล้เคียงกับไทย) ตลอดจนชาวเมียนมาร์ที่มาทำงานในประเทศไทยก็พร้อมจะเป็นโฆษณาเคลื่อนที่ เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการของคุณอยู่เสมอ…. หากย้อนกลับไปมองโอกาสทางการค้าระหว่างไทยกับเมียนมาร์ก็มีมาต่อเนื่องอย่างยาวนาน ผ่านการค้าชายแดนทั้งแม่สาย, แม่สอด หรือระนอง ดังนั้น หากผู้ประกอบการไทย ต้องการเจาะตลาดการค้าแห่งนี้ ก็คงไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นจนเกินไป
กัมพูชา โอกาสของสินค้าและบริการจากไทย
แม้จำนวนประชากรเพียง 16 ล้านคน และอาศัยอยู่ในพนมเปญเป็นหลัก (ประมาณ 2-3 ล้านคน) แต่การค้าประเทศแห่งนี้ กลับไม่ธรรมดาแม้มองดูผิวเผินทั้งเรื่องจำนวนประชากร, ระดับรายได้คนทำงาน, การคมนาคมขนส่ง หรือค่าครองชีพ ที่จัดได้ว่าสูงกว่าระดับรายได้… จนเป็นสิ่งที่น่าสงสัยว่าเขาอยู่กันได้อย่างไร เช่น ข้าว 1 จาน ราคาประมาณ $US1.5 (กัมพูชาสามารถใข้เงินดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา) หรือประมาณ 6500 เรียล (เงินสกุลเรียล คือสกุลเงินของประเทศ สามารถใช้ได้ทั้ง 2 สกุล) เปรียบเทียบกับเงินเดือนประมาณ $US150
ทุกประเทศต่างมีมาตรฐานเพื่อควบคุมคุณภาพสินค้า เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าต่างๆ มีความปลอดภัย ได้รับมาตรฐานที่ดีต่อคนภายในประเทศ บางประเทศต้องได้รับอนุญาติจากหน่วยงานภายในประเทศก่อนที่จะวางขายได้ ระยะเวลาในการดำเนินการก็แตกต่างกันออกไปมีตั้งแต่ 3 เดือน เรื่อยไปจนถึง 1 ปีเต็ม (อาจเลวร้ายถึง 1ปี 6 เดือน) แต่กัมพูชาพร้อมลดหย่อนมาตรฐานความตรึงของการอนุญาติและจำหน่ายสินค้าจากประเทศไทย ทำให้สินค้าสามารถดำเนินการวางขายได้ทันที เมื่อคู่ค้าสามารถกระจายไปวางบนซุปเปอร์มาร์เก็ต และห้างสรรพสินค้า
ผนวกกับกัมพูชา เป็นประเทศที่เน้นการนำเข้าเป็นหลักสูงเกือบ 95% มีความนิยมและเชื่อมั่นสินค้าที่ผลิตจากประเทศอื่นๆ มากกว่าผลิตภายในประเทศเอง, นอกจากนั้นยังมีความเชื่อมั่นและนิยมในสินค้าไทยมากกว่า (ไม่ได้หมายความว่าครอบคลุมทุกหมวดหมู่สินค้า) สินค้าจากประเทศอื่นๆ แม้ว่าราคาสินค้าไทยจะแพงกว่าประเทศอื่นก็ตาม ด้วยเหตุผลสำคัญ 2 ประเด็นนี้ จึงเป็นสิ่งที่ผู้นำเข้าชาวกัมพูชาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และพิจารณานำเข้าสินค้าและบริการจากไทยตลอดเวลา
วิเคราะห์รายละเอียดของกัมพูชา
กัมพูชา มีชายแดนติดกับประเทศไทยทางภาพตะวันออกของไทย มีจุดผ่านแดนสำคัญอยู่ที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว หรือที่รู้จัก ฝั่งไทยคือโรงเกลือ ฝั่งกัมพูชาคือปอยเปต, ในแต่ละวันพ่อค้าและนักธุรกิจกัมพูชาต่างเข้ามาซื้อสินค้าที่ฝั่งไทยเพื่อกลับไปจำหน่ายภายในประเทศ อาจส่งไปถึงพนมเปญและต่อเนื่องไปถึงเวียดนาม (โฮจิมินต์) เนื่องจากพนมเปญสามารถเดินทางต่อไปถึงเวียดนามเมืองโฮจิมินต์ ใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง เท่านั้น และนักธุรกิจชาวไทย ก็นิยมไปเปิดบริษัท,โรงงานที่ปอยเปตด้วยเช่นกัน เพื่อใช้ประเทศกัมพูชาเป็นฐานในการผลิตและจำหน่ายสินค้าไปยังตลาดโลก รวมทั้งย้อนกลับมาจำหน่ายภายในประเทศไทยอีกด้วย
กรุงพนมเปญ คือเมืองหลวงของกัมพูชา (ชื่อเป็นทางการคือราชอาณาจักรกัมพูชา) ซึ่งเพื่อนนักธุรกิจของผู้เขียนเล่าให้ฟังถึงตำนานความเป็นมาของ “พนมเปญ” คือ “พนม” แปลว่าเขา และ”เพ็ญ หรือเปญ” คือชื่อหญิงชรา ผู้ให้พื้นแผ่นดินให้เป็นเมือง จึงสรุปหรือแปลได้ว่า “เขาของยายเพ็ญ” จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในพนมเปญมีมากถึง 2-3 ล้านคน จากจำนวนประชากรทั้งหมดประมาณ 15-16 ล้านคน, และยังมีชาวต่างชาติที่มาเปิดธุรกิจและอาศัยในพนมเปญ อีกด้วย
กัมพูชา มีจังหวัดทั้งหมดคือ 24 จังหวัด, จังหวัดสำคัญและมีโอกาสทางการค้าประกอบด้วย พนมเปญ, เสียมเรียบ,พระตะบอง,บันทายมีชัย (ตำบลปอยเปต), พระวิหาร,เกาะกง และพระสีหนุ โดยมีจุดผ่านแดนสำคัญคือปอยเปต และเกาะกง เพื่อรับสินค้าที่ส่งมาจากจังหวัดสระแก้ว และตราดของประเทศไทย (อธิบายรายละเอีย
บริการอบรม ให้คำปรึกษาการทำธุรกิจออนไลน์ ฝึกอบรมภายในบริษัท แบบตัวต่อตัว การทำ Content Marketing,การโฆษณา Facebook,การโฆษณา Tiktok,การตลาด Line OA และการทำสินค้าให้คนหาเจอบน Google
บริการดูแลระบบการตลาดออนไลน์ให้ทั้งระบบ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสารความรู้การทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ Add Line id :@taokaemai
รับชมคลิป VDO ความรู้ด้านการตลาด กรณีศึกษาธุรกิจ แหล่งเงินทุนน่าสนใจ ติดตามได้ที่ช่อง Youtube : Taokaemai เพื่อนคู่คิดธุรกิจ SME