กลุ่มประเทศ CLMV เกิดจากการร่วมตัวกันของประเทศ ลุ่มแม่น้ำโขง นอกจากเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีแล้ว ยังมีการช่วยส่งเสริมการค้าย่อยระหว่างกัน อย่างประเทศที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ กัมพูชากับเวียดนาม หรืออย่างลาวกับเวียดนาม นอกจากนั้นกลุ่มประเทศนี้ ยังได้รับการสนับสนุนการค้าระดับสูงจากนานาประเทศ เช่น เขตการค้าเสรีทางแปซิฟิก (TPP) ที่ทางสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนแก่เวียดนาม, หรือแม้แต่ GSP ที่กลุ่มประเทศเหล่านี้สามารถส่งออกได้จากการลดหย่อนทางภาษี

ดังนั้นภาพรวมทางการค้าของทั้ง CLMV ทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้า เศรษฐกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด, ซึ่งประเทศไทยจัดได้ว่ามีความได้เปรียบจากการค้ากับกลุ่ม CLMV และจีน เนื่องจากกลุ่มประเทศเหล่านี้มีพรหมแดนติดและใกล้กับไทย ทำให้มีความใกล้ชิดทั้งเชิงวัฒนธรรม,ประเพณี, การขนส่งสินค้าและบริการ ที่ให้การยอมรับในสินค้าจากประเทศไทยเป็นทุนเดิม

แต่อย่างไรก็ตาม โอกาสที่ได้เปรียบตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น, บางสถานการณ์ อาจทำให้ผู้ประกอบการไทยและสินค้าไทยเจอสภาวะเสียเปรียบ เกิดอุปสรรค และไม่สามารถสร้างโอกาสทางการค้าได้อย่างแท้จริงในระยะยาว

ลาว จิตใจดี กับโอกาสสินค้าไทยที่เติบโต

ลาว คือพื้นบ้านที่แสนดี กับประเทศไทย มีไลฟ์ไสตล์การใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ร้อนรน มีความใกล้ชิดกับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน จนเรียกว่าเป็น “บ้านพี่ เมืองน้อง” ธุรกิจและสินค้าไทย ทุกประเภทได้รับการสนับสนุนและนิยมชมชอบจากคนลาวเป็นอย่างมาก เนื่องจากบริโภคสื่อทุกแขนงจากประเทศไทยเป็นหลัก โดยเฉพาะช่อง 3 และ 7 แม้ว่าในประเทศลาวเองจะมีสถานีวิทยุและโทรทัศน์เป็นของตนเอง อย่างเช่น ช่อง”ลาว สตาร์”

จำนวนประชากรของลาวที่มีอยู่ในระดับประมาณ 7 ล้านคน, จึงรู้จักและเลือกใช้สินค้าไทยได้อย่างไม่ยากเย็น อีกทั้งระดับรายได้ก็ไม่แตกต่างจากไทยมากนัก ทำให้สินค้าได้การตอบรับ เป็นอย่างดี… เพื่อนของผู้เขียนที่เป็นสุภาพสตรีชาวลาวท่านนึง (เจ้าของบริษัทนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค) เคยพูดประโยคสั้นๆ แต่ได้ใจความจับใจว่า “การทำการค้าใดๆ ให้มองและวิเคราะห์ว่า ลาวมีความเป็นจังหวัดนึงของไทย” ด้วยเหตุผลของการบริโภคสื่อและนิยมสินค้าไทยนั่นเอง

ด้วยข้อดี และเหตุผลไลฟ์ไสตล์ที่พี่น้องชาวลาวเป็น… มิติของธุรกิจที่รู้จักกันดีของไทย จึงไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรที่จะผลักดันส่งออกไปยังตลาดลาวที่หอมหวานแห่งนี้ แต่สำหรับกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่เรียกว่ากลุ่ม “Start Up” หรือ SME เกิดใหม่ คุณคิดว่านี่คือโอกาสและอุปสรรค การทำตลาดในประเทศลาว ???  ภูมิศาสตร์และประชากรที่ติดกับชายแดนประเทศไทย จากทางภาคเหนือเรื่อยไปจนถึงภาคอีสาน สินค้าไทยที่ไม่ใช่แบรนด์ที่เป็นที่รู้จักใหญ่โต หรือโด่งดังอะไรจากประเทศไทย สามารถส่งออกไปขายในพื้นที่ของลาวบริเวณชายแดน จึงก่อให้เกิดการค้าชายแดนเช่นเดียวกับเมียนมาร์และกัมพูชาได้อย่างไม่ยากเย็น (มากนัก)

แต่ถ้าหากคุณต้องการให้สินค้าและบริการของคุณถูกกระบวนการนำเข้าและจัดจำหน่ายกระจายทั่วทั้งประเทศลาว โดยจะใช้กลยุทธ์เริ่มจากการค้าชายแดน อาจจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากสำหรับรูปแบบการค้ายุคใหม่ในปัจจุบัน 

 เวียดนาม ศักยภาพและความเติบโตแบบทวีคูณ

เวียดนาม คือประเทศที่มีศักยภาพโดดเด่นที่สุด ไม่เพียงแค่เฉพาะใน CLMV เท่านั้น แต่นับวันยิ่งมีบทบาทจากเวทีการค้าโลกทั้งการได้รับสนับสนุนการค้าเสรีจากสหรัฐอเมริกา (TPP) ภายในประเทศก็มีความเจริญเพียบพร้อมทั้งในเรื่องการผลิตสินค้าเพื่อบริโภคภายในและส่งออกต่างประเทศ หรือแม้แต่การลงทุนจากนานาประเทศ รวมทั้งประเทศไทยเองด้วย

ด้วยบทบาทในเวทีการค้าจากสายตานานาประเทศ ทำให้สินค้าและบริการทุกรูปแบบของเวียดนามได้รับการยอมรับและมีความต้องการมากยิ่งขึ้น, แต่อย่างไรก็ตามด้วยการวางตำแหน่งและแสดงออกจากภาพลักษณ์ผ่านทางสินค้าและบริการ สินค้าจากเวียดนามมีราคาขาย ที่ถูกกว่าประเทศไทย แต่ก็ยังคงเผชิญปัญหาในเรื่องของคุณภาพสินค้าอยู่เสมอ จนกลุ่มผู้บริโภคกล่าวว่า “หากต้องการสินค้าราคาถูก คุณภาพดีปานกลางต้องเวียดนาม…. แต่ถ้าไทยราคาแพง คุณภาพสูง” หากพิจารณาในเชิงลึกเวียดนามก็พร้อมรับสินค้าจากไทย และก็พร้อมจะเป็นคู่แข่งสินค้าจากไทยในการส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นภายใน CLMV หรืออเมริกาและยุโรป

สินค้าไทยก็ยังคงได้รับความนิยมในกลุ่มผู้บริโภคภายในเวียดนามด้วยเช่นกัน แม้ว่าสินค้าและบริการจากไทยมีระดับราคาที่สูงกว่า แต่ผู้บริโภคก็พร้อมแลกกับคุณภาพที่สูงกว่า, และด้วยจำนวนประชากรที่มากถึง 90 ล้านคน หากผู้ประกอบการไทยสามารถส่งออก+ทำการค้าในประเทศเวียดนามได้ ก็จะได้เม็ดเงินจำนวนมหาศาลเช่นกัน… แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการไทยควรระวังก็คือการลอกเลียนแบบสินค้าที่พร้อมจะเกิดขึ้นได้อย่างเสมอ เพราะพื้นฐานของเวียดนามก็เป็นประเทศผู้ผลิตในตลาดโลกเช่นกัน

เมียนมาร์ (พม่า) ตลาดใหม่เปิดรับการค้าอย่างแท้จริง

หลังจากที่พม่าที่เปิดประเทศ+เปลี่ยนชื่อประเทศ+ย้ายเมืองหลวงจากย่างกุ้ง เป็นกรุงเนปยีดอ, ทำให้เมียนมาร์ในวันนี้ ได้รับการค้าการลงทุนทุกรูปแบบจากทั่วโลก และทุกอย่างในเมียนมาร์ก็พร้อมต้องการสิ่งเหล่านั้นเช่นกัน ช่วงแรกนั้นสภาวะราคาอาหาร, โรงแรม และสิ่งต่างๆ ราคาถูกดีดขึ้นไปแพงอย่างมหาศาล

โอกาสของผู้ประกอบการไทย มาพร้อมกับการแข่งขันอย่างดุเดือดเช่นกัน, โอกาสและความพร้อมจึงถึงมือผู้ที่ประสบความสำเร็จก่อนหน้านี้ทันที, เพราะทุกอย่างต้องมาพร้อมกับการลงทุนทางด้านธุรกิจและการตลาด อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนเวทีแห่งนี้ ไม่ได้เปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการหน้าใหม่ ที่มีเม็ดเงินการลงทุนอย่างจำกัด

อย่างไรก็ตามเมียนมาร์ ก็ควรจะเป็นตลาดการค้าที่ผู้ประกอบการ ควรวิเคราะห์พิจารณาในเรื่องความพร้อมของตนเอง, ถ้าพร้อมเมื่อไหร่เพื่อสร้างโอกาสและต่อยอดทางธุรกิจจากประเทศนี้ ก็จะยังคงสวยงามอยู่เสมอด้วยรสนิยมในความชื่นชอบสินค้าไทย บวกกับจำนวนประชากรที่มากถึง 60 ล้านคน (ใกล้เคียงกับไทย) ตลอดจนชาวเมียนมาร์ที่มาทำงานในประเทศไทยก็พร้อมจะเป็นโฆษณาเคลื่อนที่ เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการของคุณอยู่เสมอ…. หากย้อนกลับไปมองโอกาสทางการค้าระหว่างไทยกับเมียนมาร์ก็มีมาต่อเนื่องอย่างยาวนาน ผ่านการค้าชายแดนทั้งแม่สาย, แม่สอด หรือระนอง ดังนั้น หากผู้ประกอบการไทย ต้องการเจาะตลาดการค้าแห่งนี้ ก็คงไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นจนเกินไป

กัมพูชา โอกาสของสินค้าและบริการจากไทย

แม้จำนวนประชากรเพียง 16 ล้านคน และอาศัยอยู่ในพนมเปญเป็นหลัก (ประมาณ 2-3 ล้านคน) แต่การค้าประเทศแห่งนี้ กลับไม่ธรรมดาแม้มองดูผิวเผินทั้งเรื่องจำนวนประชากร, ระดับรายได้คนทำงาน, การคมนาคมขนส่ง หรือค่าครองชีพ ที่จัดได้ว่าสูงกว่าระดับรายได้… จนเป็นสิ่งที่น่าสงสัยว่าเขาอยู่กันได้อย่างไร เช่น ข้าว 1 จาน ราคาประมาณ $US1.5 (กัมพูชาสามารถใข้เงินดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา) หรือประมาณ 6500 เรียล (เงินสกุลเรียล คือสกุลเงินของประเทศ สามารถใช้ได้ทั้ง 2 สกุล) เปรียบเทียบกับเงินเดือนประมาณ $US150

ทุกประเทศต่างมีมาตรฐานเพื่อควบคุมคุณภาพสินค้า เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าต่างๆ มีความปลอดภัย ได้รับมาตรฐานที่ดีต่อคนภายในประเทศ บางประเทศต้องได้รับอนุญาติจากหน่วยงานภายในประเทศก่อนที่จะวางขายได้ ระยะเวลาในการดำเนินการก็แตกต่างกันออกไปมีตั้งแต่ 3 เดือน เรื่อยไปจนถึง 1 ปีเต็ม (อาจเลวร้ายถึง 1ปี 6 เดือน) แต่กัมพูชาพร้อมลดหย่อนมาตรฐานความตรึงของการอนุญาติและจำหน่ายสินค้าจากประเทศไทย ทำให้สินค้าสามารถดำเนินการวางขายได้ทันที เมื่อคู่ค้าสามารถกระจายไปวางบนซุปเปอร์มาร์เก็ต และห้างสรรพสินค้า

ผนวกกับกัมพูชา เป็นประเทศที่เน้นการนำเข้าเป็นหลักสูงเกือบ 95% มีความนิยมและเชื่อมั่นสินค้าที่ผลิตจากประเทศอื่นๆ มากกว่าผลิตภายในประเทศเอง, นอกจากนั้นยังมีความเชื่อมั่นและนิยมในสินค้าไทยมากกว่า (ไม่ได้หมายความว่าครอบคลุมทุกหมวดหมู่สินค้า) สินค้าจากประเทศอื่นๆ แม้ว่าราคาสินค้าไทยจะแพงกว่าประเทศอื่นก็ตาม ด้วยเหตุผลสำคัญ 2 ประเด็นนี้ จึงเป็นสิ่งที่ผู้นำเข้าชาวกัมพูชาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และพิจารณานำเข้าสินค้าและบริการจากไทยตลอดเวลา

วิเคราะห์รายละเอียดของกัมพูชา

            กัมพูชา มีชายแดนติดกับประเทศไทยทางภาพตะวันออกของไทย มีจุดผ่านแดนสำคัญอยู่ที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว หรือที่รู้จัก ฝั่งไทยคือโรงเกลือ ฝั่งกัมพูชาคือปอยเปต, ในแต่ละวันพ่อค้าและนักธุรกิจกัมพูชาต่างเข้ามาซื้อสินค้าที่ฝั่งไทยเพื่อกลับไปจำหน่ายภายในประเทศ อาจส่งไปถึงพนมเปญและต่อเนื่องไปถึงเวียดนาม (โฮจิมินต์) เนื่องจากพนมเปญสามารถเดินทางต่อไปถึงเวียดนามเมืองโฮจิมินต์ ใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง เท่านั้น และนักธุรกิจชาวไทย ก็นิยมไปเปิดบริษัท,โรงงานที่ปอยเปตด้วยเช่นกัน เพื่อใช้ประเทศกัมพูชาเป็นฐานในการผลิตและจำหน่ายสินค้าไปยังตลาดโลก รวมทั้งย้อนกลับมาจำหน่ายภายในประเทศไทยอีกด้วย

กรุงพนมเปญ คือเมืองหลวงของกัมพูชา (ชื่อเป็นทางการคือราชอาณาจักรกัมพูชา) ซึ่งเพื่อนนักธุรกิจของผู้เขียนเล่าให้ฟังถึงตำนานความเป็นมาของ “พนมเปญ” คือ “พนม” แปลว่าเขา และ”เพ็ญ หรือเปญ” คือชื่อหญิงชรา ผู้ให้พื้นแผ่นดินให้เป็นเมือง จึงสรุปหรือแปลได้ว่า “เขาของยายเพ็ญ” จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในพนมเปญมีมากถึง 2-3 ล้านคน จากจำนวนประชากรทั้งหมดประมาณ 15-16 ล้านคน, และยังมีชาวต่างชาติที่มาเปิดธุรกิจและอาศัยในพนมเปญ อีกด้วย

กัมพูชา มีจังหวัดทั้งหมดคือ 24 จังหวัด, จังหวัดสำคัญและมีโอกาสทางการค้าประกอบด้วย พนมเปญ, เสียมเรียบ,พระตะบอง,บันทายมีชัย (ตำบลปอยเปต), พระวิหาร,เกาะกง และพระสีหนุ  โดยมีจุดผ่านแดนสำคัญคือปอยเปต และเกาะกง เพื่อรับสินค้าที่ส่งมาจากจังหวัดสระแก้ว และตราดของประเทศไทย (อธิบายรายละเอีย