2 ทักษะหัวหน้างานที่ดี ได้ใจลูกน้อง ได้ผลงานประสิทธิภาพ

การที่ใครสักคนนั้นจะก้าวเข้ามารับตำแหน่งหัวหน้างาน ไม่ว่าจะเข้ามาโดยตรงจากการถูกคัดเลือกด้วยการสมัครงานในตำแหน่งนี้ หรือถูกโปรโมทขึ้นมาจากพนักงานระดับปฏิบัติงานขององค์กรก็ตาม ปัญหาส่วนใหญ่ที่มักพบเจออยู่เสมอคือ การปรับตัวให้เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน อะไรคือการเป็นหัวหน้างานที่ดี พนักงานในองค์กรนี้ชื่นชมและเคารพนับถือหัวหน้างานแบบไหน เหล่านี้คือส่วนหนึ่งที่เป็นปัญหาของหัวหน้างานมือใหม่

ทักษะการเป็นหัวหน้างานงานที่ดี

เชื่อหรือไม่ว่าเหตุผลส่วนใหญ่ที่ทำให้ใครๆ หลายคนในองค์กรตัดสินใจที่จะไม่ไปต่อด้วยกัน หันหลังให้กับองค์กร ด้วยการลาออกนั้น สิ่งที่เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งนั่นก็คือหัวหน้างาน ซึ่งต้องบอกว่าสำหรับองค์กรนั้นถือว่าเป็นความเสียหายอย่างยิ่งเพราะบางครั้งบางทีพนักงานคนที่ตัดสินใจลาออกไป อาจจะเป็นคนที่มีศักยภาพที่ดีคนหนึ่งขององค์กรก็เป็นได้

เพราะอย่าลืมว่ากว่าที่องค์กรจะปลุกปั้น พัฒนาพนักงานคนหนึ่งขึ้นมาตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งเป็นคนที่มีศักยภาพตามที่องค์กรต้องการได้นั้นใช้เวลาทึ่ค่อนข้างนานพอสควร ถ้าหากว่าต้องมาเสียพนักงานคนนั้นไปด้วยเหตุผลที่ไม่สมควรที่จะเกิดขึ้นแล้วละก็ ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดายและเสียหายพอสมควร

จะดีแค่ไหนถ้าเราสามารถที่จะลดการสูญเสียพนักงานที่ดี พนักงานที่มีศักยภาพให้ลดน้อยลงหรือไม่มีพนักงานคนไหนลาออกไปด้วยเหตุผลที่ว่าไม่สามารถร่วมงานกับหัวหน้าของตัวเองได้ ด้วยทักษะการเป็นหัวหน้างานที่ดี

ห้วหน้างานที่ดีต้องเรียนรู้ทักษะอะไรบ้าง

ทักษะที่สำคัญของหัวหน้างานแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ

1.ทักษะการบริหารจัดการงาน

ทักษะในการบริหารจัดการงาน ที่ว่าด้วยหลักการตั้งเป้าหมายที่ดี ที่เราเรียกว่า SMART GOAL การจัดลำดับความสำคัญของงาน งานไหนสำคัญ งานไหนเร่งด่วน และท้ายสุดทักษะในการเผชิญหน้าเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา ว่าเราต้องมีวิธีคิดวิธีจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นมานั้นอย่างไร เพื่อให้การทำงานนั้นเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

  • การตั้งเป้าหมายที่ดี

ผลลัพธ์ที่ดีย่อมมาจากการตั้งเป้าหมายที่ดี SMART GOAL คือเครื่องมือตั้งเป้าหมายที่ว่าด้วยการที่เราตั้งเป้าหมายด้วยพื้นฐานของสิ่งที่เป็นไปได้ภายใต้กรอบเวลาที่กำหนด มีวิธีการ วัดผลได้ชัดเจน การเรียนรู้เกี่ยวกับการตั้งเป้าหมายจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็นของหัวหน้างาน

  • การลำดับความสำคัญของงาน

เป็นเรื่องปกติในองค์กรสำหรับการมอบหมายงานมาให้แต่ละแผนกนั้นไม่ได้มีแค่เพียงครั้งละหนึ่งงาน บางครั้งบางทีมีมากกว่าสองงานด้วยซ้ำไป ในกรอบเวลาที่กำหนดเดียวกัน ดังนั้นการที่หัวหน้างานจะสามารถจัดการเรื่องนี้ได้ก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการจัดลำดับความสำคัญของงาน ว่างานไหนเร่งด่วน งานไหนสำคัญ ด้วยหลักการแบ่งตาราง 4 ช่อง สำหรับจัดลำดับความสำคัญของงาน

  • การแก้ไขปัญหา

การทำงานทุกอย่างสิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือห้ามไม่ให้เกิดได้นั้นก็คือปัญหา เมื่อเราเป็นหัวหน้างานสิ่งที่จำเป็น สิ่งสำคัญที่ต้องมีหนึ่งในนั้นก็คือ Mindset ที่ดีในการเผชิญหน้า และหาทางแก้ไขปัญหา โดยอาศัยใช้หลักการ E + R = O เป็นตัวช่วย ซึ่งหลักการนี้จะช่วยให้เราสามารถกำหนดผลลัพธ์ไปจนถึงวิธีการที่ต้องใช้ในแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นมาได้

2.ทักษะการบริหารจัดการคน

ทักษะด้านที่สองก็คือ ทักษะในการบริหารจัดการคน ที่ว่าด้วยการเรียนรู้และเข้าใจในกลุ่มคนแต่ละประเภท เพราะคนเรานั้นแตกต่างกัน ดั้งนั้นการเข้าใจใครคนอื่นเขาจะช่วยทำให้เราทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น การโน้มน้าวให้เหล่าลูกน้องเข้าใจ พร้อมที่จะทำงานตามที่ได้รับมอบหมายโดยที่ไม่มีข้อโต้แย้งก็เป็นอีกทักษะที่ต้องเรียนรู้ และอีกสิ่งที่สำคัญคือการรับฟังเมื่อลูกน้องเราเข้ามาปรึกษา ฟังให้เป็น ฟังให้เข้าใจแล้วให้ Feedback กลับไปอย่างถูกต้องเหมาะสม

  • การบริหารคนแต่ละประเภท

คนเรานั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ คือผู้กล้า ผู้สร้างสรรค์ ผู้สนับสนุน และผู้ตรวจสอบ ซึ่งคนแต่ละประเภทจะมีจุดดี จุดเด่น จุดด้อยแตกต่างกันไป การที่เรารู้ตัวเราเองว่าอยู่ประเภทใด ลูกน้องเราเป็นคนประเภทไหนจะช่วยทำให้เราสามารถที่จะเข้าใจและปรับตัวให้เข้าหากันได้ดีขึ้น ส่งผลให้การทำงาน การสั่งการเป็นไปได้อย่างราบรื่นไร้ปัญหา

  • การโน้มน้าว

เพราะการที่ถูกสั่งให้ทำงานงานโดยที่ไม่มีรายละเอียดที่มากพอ ไม่ชี้แจงให้เข้าใจถึงเป้าหมายจึงทำให้ลูกน้องหลายๆ คนไม่ให้ความร่วมมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีงานใหม่เข้ามาก็ยิ่งเกิดปัญหา หลักในการโน้มน้าวจะช่วยให้ลูกน้องของเราเข้าใจถึงความสำคัญ ประโยชน์ที่เขาจะได้รับ หากว่างานที่มอบหมายไปไห้ได้ผลสำเร็จ

  • การรับฟังและให้ Feedback

ฟังให้เป็น ฟังให้ได้ยินในสิ่งที่เขาต้องการจะสื่อสาร คืออีกสิ่งที่สำคัญโดยใช้หลักการฟังอย่างไม่ตัดสิน ไม่คิดไปเอง ไม่คิดแทน เมื่อเราเข้าใจในสิ่งที่เขาพูดแล้วขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นไปตามสิ่งที่ถูกต้องจริงๆ ในขณะที่เมื่อลูกน้องทำงานผิดพลาดหลักการที่ต้องใช้คือการให้ Feedback ที่เหมาะสม ไม่ใช่การตำหนิติเตียนอย่างรุนแรง โดยใช้หลักการบอกให้เขาเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดนั้น และช่วยกันหาวิธีป้องกันแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้นมาอีก

ทักษะหลักๆ 2 ทักษะข้างต้น คือสิ่งที่หัวหน้างานที่ดีควรมี เมื่อเรามีทักษะ ภาวะผู้นำของเราก็จะเกิดขึ้นตามมา อย่างที่หลายๆ คนคงเคยได้ยินมาบ้างแล้วว่า ผู้นำแม้จะไม่เป็นมาโดยกำเนิด แต่เรานั้นสามารถสร้างขึ้นมาได้ภายใต้การเรียนรู้ที่ถูกต้อง ลงมือทำอย่างสม่ำเสมอจนเกิดความเชี่ยวชาญ ความชำนาญจนมาเป็นหัวหน้างานที่ดี ที่มีแต่คนรักและชื่นชม

หลักสูตรทักษะหัวหน้างานที่ดี

ตอบโจทย์การพัฒนาบุคคลากรส่งเสริมธุรกิจให้เติบโต

ใครบ้างเหมาะสมกับหลักสูตรนี้

พนักงานระดับหัวหน้างานขึ้นไป

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้และเข้าใจ พร้อมนำไปปฏิบัติใช้ได้ทันที

เพื่อพัฒนาและสร้างความเข้าใจในการเป็นหัวหน้างานที่ดี

เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างพนักงานและหัวหน้างานในองค์กร

เพื่อลดปัญหาการสูญเสียพนักงานจากการลาออกไปเพราะไม่สามารถทำงานร่วมกับหัวหน้างานได้

หัวข้อการอบรม

  1. การเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาสมองของคนเรา (NLP)
  2. ทักษะการบริหารจัดการงาน
  • การตั้งเป้าหมายที่ดี
  • การลำดับความสำคัญของงาน
  • การแก้ไขปัญหา
  1. ทักษะการบริหารจัดการคน
  • การบริหารคนแต่ละประเภท
  • การโน้มน้าว
  • การรับฟังและให้ Feedback

 

รูปแบบการเรียนรู้

บรรยายโดยวิทยากร                             30 %

เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม                             70%

 

วัน / เวลา

1 วัน (09.00-17.00 น.)

 

กำหนดการกิจกรรมการเรียนรู้

เวลาหัวข้อการเรียนรู้รูปแบบการเรียนรู้
09.00-10.30 น.การเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาสมองของคนเรา (NLP)กิจกรรม
10.30-10.45 น.พักเบรค
10.45-12.00 น.เรียนรู้เกี่ยวกับกลุ่มคนแต่ละประเภท การตั้งเป้าหมายกิจกรรม / เกมส์ / บรรยาย
12.00-13.00 น.พักเบรค
13.00-14.30 น.เทคนิคการพูด การฟัง การตั้งคำถาม การให้ Feedbackกิจกรรม
14.30-14.45 น.พักเบรค
14.45-15.30 น.การแก้ไขปัญหา (E + R = O) การจัดลำดับความสำคัญกิจกรรม / บรรยาย
15.30-16.30 น.การโน้มน้าว แนวคิดของการอยู่ร่วม อยู่รวมกันกิจกรรม / บรรยาย
16.30-17.00 น.สรุปและแบ่งปันความคิดเห็นบรรยาย / แลกเปลี่ยนความเห็น

 

หมายเหตุ

สามารถขยับปรับเปลี่ยน เนื้อหา และกิจกรรม ตามความเหมาะสมของสถานการณ์

วิทยากรผู้สอน

ว่าที่ ร้อยตรี บัญชา ฝั้นปันวงค์

วิทยากรออกแบบกิจกรรมฝึกอบรม เพื่อพัฒนาทักษะด้านความสัมพันธ์และพฤติกรรม