การที่จะเปลี่ยนธุรกิจต้นแบบสู่ธุรกิจแฟรนไชส์ เราจำเป็นต้องรู้ว่าธุรกิจต้นแบบของเรานั้นมีคุณสมบัติพอที่เข้าสู่สนามของธุรกิจแฟรนไซส์ได้

ธุรกิจที่จะไปสู่การขยายธุรกิจต้นแบบไปสู่ธุรกิจแฟรนไชส์ได้นั้นไม่ใช่ทุกธุรกิจที่ทำได้ ธุรกิจแฟรนไชส์ก็เหมือนกับการลงทุนในธุรกิจอื่นๆ ต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้อย่างละเอียด

การที่จะเปลี่ยนธุรกิจต้นแบบสู่ธุรกิจแฟรนไชส์ เราจำเป็นต้องรู้ว่าธุรกิจต้นแบบของเรานั้นมีคุณสมบัติพอที่เข้าสู่สนามของธุรกิจแฟรนไซส์ได้ อย่าเข้าใจผิดว่าธุรกิจต้นแบบต้องมีสมบูรณ์พร้อมไปทุกด้านเท่านั้นถึงจะเข้าสู่ธุรกิจขายแฟรนไซส์ได้ เพียงแต่ต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญเป็นตัวนำทางไปก่อนจึงค่อยพัฒนาคุณสมบัติอื่นตามมา ถ้าเรารอให้พร้อมทั้งหมดอาจจะทำให้เราเสียเวลาและโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย ดังนั้นเรามาดูกันว่ามีคุณสมบัติใดสำคัญพาธุรกิจต้นแบบเราไปสู่ธุรกิจแฟรนไซส์ได้ดังนี้

1.ประสบการณ์มากพอ?

ธุรกิจต้นแบบของเราต้องมีอายุมากกว่า 3-5 ปีขึ้นไป และต้องเป็นผู้ชำนาญในด้านนั้น สามารถรับรู้และแก้ไขปัญหาของการดำเนินธุรกิจมากพอ เพราะเมื่อเราขายแฟรนไซส์ให้กับ ผู้ได้รับสิทธิ์ หรือ แฟรนไชส์ซี่ (Franchisee) ถ้ามีต้องการคำปรึกษาหรือเกิดปัญหา เราจะเป็นผู้ช่วยพวกเขาได้

2.มีการขยายสาขา?

เมื่อเราดำเนินธุรกิจต้นแบบได้ดี แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการขยายสาขา ทำไมถึงจำเป็น? เมื่อเราเปิดสาขาขึ้นมา เราเห็นรายรับรายจ่ายรวมไปถึงงบประมาณ ผลกำไร ข้อมูลเหล่านี้จะแสดงต่อแฟรนไชส์ซี่ของเรา เพื่อสร้างความมั่นใจในแผนการดำเนินการบริหารร้านว่ามีโอกาสประสบความสำเร็จมากมายแค่ไหน แต่ถ้าเรามีสาขาที่น้อยเกินไปหรือไม่มีเลย ทำให้เรามีข้อมูลน้อยและความรู้ในการดำเนินธุรกิจก็น้อยตามมา ข้อมูลที่น้อยก็จะทำให้แผนการจัดการธุรกิจเรามีความผิดพลาดได้มากขึ้นด้วย

 3.เปิดสาขาในทำเลที่แตกต่างกัน?

ทำเลถือเป็นจุดหนึ่งที่เราต้องมองด้วย เพราะถ้าสาขาของธุรกิจเรา อยู่ในเขตนั้นที่ใกล้เคียงกัน มันไม่สามารถจะพิสูจน์ความเป็นไปได้ บางธุรกิจอาจจะขายได้เฉพาะทำเลอาจจะทำให้เราไม่เห็นปัญหารอบด้านมากพอ ถ้าสาขาของเราเปิดในทำเลที่แตกต่างกันเราก็รู้ว่ามีปัญหาที่แตกต่างกันมากมาย นั้นเป็นตัวช่วยหนึ่งที่ทำให้เรามีทักษะในการบริหารสาขาที่อยู่ต่างทำเลกัน และสิ่งสำคัญที่สุดคือเรื่องการยอมรับของตลาด ขนาดของตลาดในทำเลที่แตกต่างทำให้เรามีข้อมูลทางการตลาดที่ดี ทำให้มั่นใจได้ว่าสินค้าและบริการของเราสามารถที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันได้หรือไม่

4.มีกำไร?

สิ่งที่ทุกธุรกิจต้องการคือ กำไร กำไรคือจุดที่ต้องสำคัญเป็นอันดับแรก ถ้าผลประกอบการของเราไม่สามารถทำกำไรได้ ก็อย่าหวังที่เราจะขายแฟรนไซส์ให้กับแฟรนไชส์ซี่ถ้าธุรกิจของคุณยังไม่ทำกำไร เพราะทุกคนทำธุรกิจก็เพื่อกำไร

5.สินค้าและบริการเป็นที่รู้จัก?

ธุรกิจต้นแบบของเราถ้าเป็นที่รู้จักหรือมีชื่อเสียง โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการทำระบบแฟรนไชส์สูง แต่ถ้าสินค้าและบริการของเราไม่เป็นที่รู้จักในตลาด  เราอาจต้องหาทางแก้ไขโดยหากลยุทธ์แก้ความบกพร่องในเรื่องนี้ ถ้าแบรนด์ของเราไม่เป็นที่รู้จักก็ไม่สามารถจูงใจคนเข้ามาซื้อสินค้าได้ทันที ในทางกลับกัน ถ้าแบรนด์ของเรามีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในตลาด ลูกค้าก็มีโอกาสที่จะขายสินค้าของเราได้

6.ผู้นำตลาด?

ถ้าธุรกิจสินค้าและบริการของเราสามารถแข่งขันจนกลายเป็นผู้นำการตลาด  เมื่อเราตัดสินใจที่ขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์แล้วเรารู้ว่ามันมีโอกาสที่จะขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเรากำลังก้าวขึ้นสู่ผู้ครองตลาดในวงการ มันเป็นคุณสมบัติของผู้ที่จะทำแฟรนไชส์ที่จะประสบความสำเร็จ

7.มีช่องทางการตลาด?

ธุรกิจต้นแบบที่เหมาะทำระบบแฟรนไชส์นั้นต้องมีช่องทางการตลาดสำคัญ เพราะช่องทางการตลาดนั้นต้องตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ถ้ามีไม่มากนั้นก็ไม่เหมาะในการขยายตัวด้วยวิธีแฟรนไชส์ สินค้าและบริการที่เรามาสร้างระบบแฟรนไชส์ต้องมีช่องทางการตลาดที่ใหญ่พอสมควรจึงจะเป็นไปได้ที่จะทำระบบแฟรนไชส์ได้ดี

8.มีจุดเด่นที่แตกต่าง?

การมีจุดเด่นที่แตกต่างจากคู่แข่ง ถือเป็นจุดดึงดูดให้ลูกค้ามาสนใจแฟรนไซส์ของเรา ถ้าเราแฟรนไซส์เราธรรมดาไม่มีอะไรที่โดดเด่นชัดเจนก็ไม่มีใครสน ความแตกต่างจะดึงลูกค้าให้มาซื้อแฟรนไชส์ของเราได้ไม่ยาก

9.ธุรกิจแฟชั่น?

ธุรกิจที่เป็นแฟชั่นเป็นธุรกิจที่มีฮิตเพียงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้นถ้าธุรกิจของเรามีลักษณะเช่นนี้เราก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จในการทำระบบแฟรนไชส์ เพราะธุรกิจในระบบแฟรนไชส์เป็นธุรกิจที่ต้องทำในระยะยาว สืบทอดต่อไปได้ ธุรกิจเพียงช่วงระยะสั้นจะไม่เหมาะสมที่นำมาทำระบบแฟรนไชส์

10.ธุรกิจที่สามารถถ่ายทอดได้?

ธุรกิจแฟรนไซส์ทีดีต้องเรียนรู้ได้ง่ายไม่ยากเกินไป ถ้าธุรกิจของเรานั้นยากเกินไปหรือมีขบวนการที่ซับซ้อนมากเกินไป ธุรกิจแบบนี้เราก็ไม่ควรที่จะนำมาทำระบบแฟรนไชส์ เพราะเราอาจต้องใช้เวลานานในการถ่ายทอดและยังบางครั้งต้องใช้ความสามารถเฉพาะบุคคลอีกด้วย อย่างนี้ก็ยากในการสร้างระบบแฟรนไชส์เพราะธุรกิจแฟรนไชส์นั้นจะต้องถ่ายทอดสู่ผู้อื่นได้ง่ายและใช้เวลาไม่นานนัก

 11.ธุรกิจที่ใช้ความสามารถเฉพาะ?

ธุรกิจที่ต้องอาศัยความสามารถเฉพาะตัวหรือพรสวรรค์เฉพาะบุคคลเป็นลักษณะธุรกิจที่ไม่เหมาะที่จะทำแฟรนไชส์เช่น งานด้านศิลปะ ถ้าเราพิจารณาดูแล้วว่าธุรกิจของเราจำเป็นต้องอาศัยความสามารถเฉพาะตัว กลุ่มของธุรกิจประเภทนี้อาจจะต้องใช้คนกลุ่มอาชีพเดียวกันอย่างแฟรนไชส์ เช่นการออกแบบและตกแต่งก็จะกำหนดคุณสมบัติของคนที่จบสาขาสถาปนิก เป็นต้น

12.ธุรกิจที่ลอกเลียนได้ยาก?

ธุรกิจสามารถลอกเลียนแบบได้ง่ายเกินไปทำให้ผู้ลงทุนไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อแฟรนไชส์ในราคาแพง พวกเขาสามารถฝึกและทดลองด้วยตัวเองได้ไม่ยาก ยิ่งสมัยนี้สามารถหาดูได้จากอินเตอร์เน็ตได้ไม่ยาก

13.สินค้าและบริการที่ต้องซื้อซ้ำ?

ธุรกิจนี้ถือเป็นธุรกิจที่มีอนาคตไปต่อ เพราะค่าใช้จ่ายในการหาลูกค้าใหม่นั้นสูง และการขายของให้ลูกค้าใหม่นั้นยากกว่ากับลูกค้าเดิมหลายเท่า ไม่ว่าจะเป็นการใช้เงินในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การทำตลาด หรือการส่งเสริมการขาย เพื่อดึงดูดลูกค้าหน้าใหม่ให้มาซื้อสินค้าจากคุณ ดังนั้น หากคุณสามารถทำให้ลูกค้าหน้าเดิมๆ ของคุณกลับมาซื้อหรือใช้บริการซ้ำ อาจสามารถสร้างประโยชน์ให้กับคุณได้อีกหลายเท่า เพราะลูกค้าเดิมอาจมีการบอกต่อเพื่อนคนอื่นๆ อีกหลายทอดให้มาเป็นลูกค้าของคุณก็เป็นได้ ทำให้แฟรนไซส์ซีของเรามีโอกาสที่เติบโตขึ้น

14.ธุรกิจที่แข่งขันสูงมาก?

ธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง มีทั้งคู่แข่งทั้งใหญ่และเล็ก ถ้าธุรกิจเราไม่ดีจริงคงรอดยาก เพราะจะมีการแข่งขันหลากหลายทาง ยิ่งถ้าสินค้าเหล่านั้นในท้องตลาดมีขายเหมือนกัน เกิดการลดราคาบ้าเลือดจนในที่สุดร้านแฟรนไชส์เสียเปรียบเพราะระเบียบข้อกำหนดของระบบแฟรนไชส์ ปัญหาการแข่งขันสูงก็ทำให้ระบบแฟรนไชส์ไปไม่รอดได้

15.ธุรกิจที่ลงทุนสูงเกินไป?

การลงทุนในธุรกิจของคุณ ไม่ควรสูงเกินไป เพราะหากลงทุนสูงเกินไปนั้นอาจทำให้ต้นทุนที่สูงเกินไปทำให้ต้องสร้างยอดขายเพิ่มเพื่อคืนทุน การลงทุนมาถือเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งอีกทั้งยังทำให้การขยายตัวทางธุรกิจยากขึ้นด้วย

16.ธุรกิจมีกำไรมากแค่ไหน?

เราต้องดูธุรกิจของเรามีต้องมีกำไรที่พอจะเลี้ยงแฟรนไซส์ได้ ถ้ากำไรน้อยไปก็ไม่สามารถเลี้ยงตัวเอง อย่างเช่นกลุ่มแฟรนไชส์ที่ลงทุนไม่สูงและมีกำไรที่น้อยเกินกว่าจะเติบโตได้ ไม่มีความก้าวหน้าและไม่เห็นทางที่จะทำให้รวยขึ้นได้เพราะเงินที่ได้รับไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายประจำเดือนและไม่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น

17.ความสามารถของผู้บริหาร?

ถ้าเราขายแฟรนไชส์ออกไปนั้น เราควรจะต้องมีทักษะในการบริหารงานระบบใหญ่ เพราะระบบเริ่มขยายตัวการบริหารก็จะยิ่งขึ้น การบริหารแฟรนไชซี่นั้นที่มีลักษณะที่หลากหลายรูปแบบต้องใช้ผู้บริหารที่มีความสามารถเข้าช่วย ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องมีผู้บริหารที่แข็งแกร่งอีกทั้งมีความสามารถด้วย

สำรวจธุรกิจดูครับว่าพร้อมที่จะก้าวสู่รูปแบบธุรกิจแบบแฟรนไชส์แล้วหรือยัง ถ้ามีมากกว่า 70% ตามหัวข้อที่ว่ามาก็อย่ารอช้าครับ เตรียมขยับขยายธุรกิจได้เลย

เจ้าของแฟรนไชส์ที่ต้องการติดต่อลงโฆษณาเพื่อขยายสาขาให้เติบโตยิ่งขึ้น ติดต่อลงโฆษณา พร้อมรับโปรโมชั่นพิเศษ ได้ที่นี่