ยิ่งการเติบโตของเทคโนโลยีบล็อกเชนมีการเติบโตมากขึ้นเพียงใดก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสิ่งที่จะตามมาก็คือการถือกำเนิดขึ้นมาของบล็อกเชนที่มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยในปัจจุบันเราพบเครือข่ายบล็อกเชนที่ได้รับการยอมรับไม่ว่าจะเป็น Ethereum, bitcoin, binance chain แต่ด้วยความที่แต่ละบล็อกเชนมีการทำงานที่เป็นอิสระแยกออกจากกันทำให้การใช้งานข้ามบล็อกเชนกลายเป็นอีกหนึ่งความไม่สะดวกสบายที่เรามักพบได้บ่อยสำหรับการใช้งานเหรียญคริปโตในปัจจุบัน เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าวจึงได้มีผู้พัฒนาระบบการทำงานเพื่อเชื่อมต่อบล็อกเชนต่าง ๆ เข้าด้วยกันและหนึ่งในนั้นก็คือระบบของ Polkadot รวมถึงเหรียญคริปโตที่ใช้เป็นสื่อกลางอย่าง DOT ขึ้นมา ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับระบบ Polkadot และเหรียญ DOT กันเพื่อดูว่าระบบและเหรียญนี้มีความน่าสนใจอย่างไร

เหรียญ DOT คืออะไร

ก่อนที่เราจะไปรู้จักกับเหรียญ DOT เราควรทำความรู้จักกับระบบ Polkadot เสียก่อน โดย Polkadot ถูกพัฒนาขึ้นจากการที่เทคโนโลยีบล็อกเชนมีการพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมากในปัจจุบัน จากการพัฒนาที่ก้าวกระโดดนี้เองที่องค์กรต่าง ๆ ได้แข่งขันกันเพื่อสร้างและพัฒนาบล็อกเชนของตนเองขึ้นมา ทำให้เกิดเครือข่ายบล็อกเชนเป็นจำนวนมากขึ้นมาที่ไม่มีตัวกลางที่เชื่อมบล็อกเชนต่าง ๆ เข้าหากันเลย ดังนั้นหากผู้ใช้งานต้องการที่จะโอนย้ายเหรียญคริปโตข้ามบล็อกเชนก็มักจะต้องพบเจอกับความยุ่งยากและที่สำคัญคือค่าธรรมเนียมจำนวนไม่น้อย ด้วยเหตุนี้เอง Dr. Gavin James Wood ผู้ร่วมก่อตั้ง Polkadot โดยเขาเคยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งและมีบทบาทสำคัญในฐานะของ Chief Technology Officer (CTO) ของ Ethereum จึงมีแนวคิดที่ต้องการจะสร้างระบบหนึ่งขึ้นมาเพื่อที่จะทำหน้าที่เป็นตัวประสานเชื่อมต่อบล็อกเชนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน Dr. Gavin James Wood เองไม่ได้มองว่าจะมีเครือข่ายบล็อกเชนใดบล็อกเชนหนึ่งที่ควรจะขึ้นมาเป็นใหญ่แต่เพียงผู้เดียว เพราะแต่ละเครือข่ายบล็อกเชนล้วนแล้วแต่มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไปตามแต่วัตถุประสงค์ในการใช้งานของผู้ใช้งานเป็นหลัก ดังนั้นเขาจึงต้องการที่จะสร้างระบบที่เชื่อมต่อเครือข่ายบล็อกเหล่านี้เข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้งานบล็อกเชนให้มากที่สุด

Polkadot มีวิธีการทำงานโดยการนำ Sharding Multichain มาใช้ซึ่งจากการทำงานดังกล่าวนี้จะทำให้ผู้ที่ถือของสินทรัพย์ดิจิทัลในแต่ละบล็อกเชนสามารถรับและส่งข้อมูลสินทรัพย์ที่ตนมีข้ามไปยังบล็อกเชนที่ตนต้องการย้ายไปเพื่อใช้งานได้เช่นการย้ายเหรียญบิทคอยน์ไปยังบล็อกเชนของ Ethereum เป็นต้น

สำหรับรูปแบบการทำงานนั้น Polkadot มีโครงสร้างการทำงานหลักแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

–  Relay Chain: เป็นเชนหลักของ polkadot

Parachains: เป็นเชนที่แตกออกมาเพื่อสร้างรูปแบบการทำงานอื่น ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้งาน

Bridges: เป็นเชนที่มีหน้าที่หลักในการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายอื่น ๆ

ผลที่ตามมานอกเหนือไปจากการโอนข้ามย้ายสินทรัพย์ดิจิทัลระหว่างบล็อกเชนก็คือผู้ใช้งานก็ยังสามารถควบคุมเว็บไซต์ของตนเองในรูปแบบของ Decentralized ได้เต็มรูปแบบและมีความเป็นส่วนตัว รวมไปถึงสามารถสร้างแอพพลิเคชั่นของธุรกิจ องค์กรต่าง ๆ และบริการต่าง ๆ บน Polkadot ได้อย่างสะดวกมากขึ้น

จุดเด่นที่ทำให้ Polkadot มีความน่าสนใจจึงอยู่ที่ตัวของ Polkadot เองยินยอมให้แต่ละเครือข่ายสามารถทำงานร่วมกันได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของแต่ละบล็อกเชน ทำให้แต่ละบล็อกเชนแม้จะมีการเชื่อมต่อกันในการใช้งานแต่ก็ไม่สูญเสียระบบการทำงานของตนเองไป Polkadot จึงเป็น Bridge chain ที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งานไม่น้อยเลยทีเดียว

เมื่อมีระบบเครือข่ายในการทำงานแล้ว Polkadot จึงออกเหรียญคริปโตเพื่อใช้งานในเครือข่ายของตนเองโดยเหรียญนั้นมีชื่อว่า DOT ซึ่งเราจะพูดถึงหน้าที่ของเหรียญชนิดนี้ในหัวข้อต่อไป

เหรียญ DOT ดีไหม ? ใช้ทำอะไร ใช้ที่ไหนบ้าง

เหรียญ DOT เป็น native token ซึ่งเป็นเหรียญตัวแรกในระบบเครือข่ายของ Polkadot โดยเหรียญนี้จะให้สิทธิ์แก่ผู้ถือครองเหรียญในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

Governance: โดยผู้ที่ถือครองเหรียญนี้จะได้รับสิทธิ์ในการออกเสียงเพื่อกำหนดทิศทางสำหรับการพัฒนาเครือข่าย

Staking: ผู้ถือครองเหรียญสามารถ stake เหรียญเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบข้อมูลให้กับเครือข่าย ถ้าผู้ตรวจสอบทำหน้าที่ได้ดีก็จะได้รับเหรียญ DOT เป็นการตอบแทนแต่หากผู้ตรวจสอบไม่ทำหน้าที่ ละเลยหรือทุจริตก็มีสิทธิ์ที่จะถูกระบบริบเหรียญคืนไปได้

Bonding: ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยหากผู้ใช้งานต้องการที่จะเชื่อมต่อบล็อกเชนใดเข้ากับ Relay chain ของ Polkadot ผ่านระบบ Bridge ก็จำเป็นที่จะต้องฝากเหรียญ DOT เข้าไปในเครือข่ายจำนวนหนึ่งก่อนเพื่อที่จะสามารถประสานเครือข่ายเข้าด้วยกันได้

เหรียญ DOT ดีไหม ? อนาคตจะเป็นอย่างไร

 

 

 

 

 

 

 

Polkadot เองไม่ได้มีดีเพียงแค่ต้องการจะเป็นเครือข่ายที่ทำหน้าที่เชื่อต่อบล็อกเชนต่าง ๆ เข้าด้วยกันเท่านั้น เพราะในแผนงานที่วางไว้ Polkadot เองก็ต้องการที่จะผลักดันให้นักพัฒนามาช่วยกันต่อยอดและสร้างฟีเจอร์ต่าง ๆ ให้ Polkadot มีโอกาสเติบโตมากขึ้นในอนาคต

Polkadot เองยังเปิดโอกาสให้นักพัฒนาสามารถทดสอบการสร้างแอพพลิเคชั่นที่มีการทำงานบน Polkadot โดยสามารถนำไปทดสอบบนเครือข่ายที่ชื่อว่า Kusama ที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับตัวของ Polkadot การที่ Polkadot เปิดโอกาสเช่นนี้ก็เพื่อมุ่งหวังให้มีการใช้งานจริงจังบนเครือข่าย Polkadot นั่นเอง

และด้วยการทำงานที่น่าสนใจของเครือข่ายรวมถึงความพยายามเปิดรับนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นให้หันมาสร้างแอพพลิเคชั่นเพื่อมาใช้งานใน Polkadot นี้เองที่ทำให้ Spartan Black ซึ่งเป็นผู้ประกอบการเหรียญดิจิทัลรายใหญ่ฝั่งเอเชียทำการประเมินเอาไว้ว่า Polkadot มีศักยภาพที่มากพอที่จะเติบโตจนกลายเป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่ใหญ่ที่สุด 3 อันดับแรกของโลกได้ และหากเป็นเช่นนี้จริงก็จะยิ่งทำให้เหรียญ DOT ทวีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต แต่กระนั้นนักลงทุนเองก็จำเป็นต้องศึกษาและติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับเหรียญนี้อย่างใกล้ชิดเช่นกัน

 

ก็นับเป็นอีกหนึ่งเหรียญคริปโตที่มีความน่าสนใจไม่น้อยสำหรับเหรียญ DOT ที่มีพื้นฐานการทำงานที่ดีของเครือข่ายบล็อกเชน Polkadot มารองรับ ซึ่งเหตุผลหลักที่ทำให้ Polkadot มีโอกาสเติบโตได้อีกมากก็เนื่องมาจากความต้องการที่จะเข้ามาอำนวยความสะดวกในการใช้งานเหรียญเพื่อข้ามเครือข่ายในระบบบล็อกเชนต่าง ๆ นั่นเอง แต่กระนั้นแม้เหรียญ DOT จะมีพื้นฐานที่ดีมารองรับก็ตาม นักลงทุนก็ไม่ควรที่จะประมาทในการศึกษาเทคนิคและวิธีการในการทำกำไรจากเหรียญ DOT เอาไว้ให้ดี เพราะแม้เหรียญจะมีพื้นฐานที่ดีเพียงใดแต่หากคุณเข้าถือครองในจังหวะที่ไม่ถูกต้องนอกจากที่จะทำให้คุณมีโอกาสขาดทุนคุณเองยังมีสิทธิ์ที่จะเสียโอกาสในการสร้างผลกำไรจากระยะเวลาที่เสียไปเพราะติดดอยจากการลงทุนได้เช่นกัน