สำหรับท่านที่สนใจลงทุนในเงินสกุลดิจิทัล หรือ เงินคริปโต กระดานเทรด Bitkub ถือเป็นกระดานเทรดที่ใหญ่สุดในประเทศ มูลค่าบริษัทกว่า 35,000 ล้านบาท

1.สอนเล่น Bitkub  เริ่มจากนับ 1 ต้องเปิดพอร์ท Bitkub

ขั้นตอนสมัคร Bitkub ให้ทำตามนี้

1.กดปุ่มเพื่อลงทะเบียนด้านล่าง

กดปุ่มด้านล่างเพื่อสมัคร

ขั้นตอนสมัคร Bitkub

หรือ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น Bitkub

สำหรับสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการ Android สามารถดาวน์โหลดได้จาก Play Store

สำหรับสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการ iOS สามารถดาวน์โหลดได้จาก App Store

หรือแสกน QR Code บนรูปด้านบน

2.เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว เข้าสู่แอปพลิเคชั่น Bitkub

3.เลือก “Setting” มุมขวาล่าง

4.เลือก “เข้าสู่ระบบสมาชิก”

5.เลือก “Login”

6.เลือก “ต้องการเปิดบัญชี”

7.กรอก “อีเมลและรหัสผ่าน” โดยรหัสผ่านต้องประกอบไปด้วย

ภาษาอังกฤษตัวอักษรใหญ่ (A,B,C~)

ภาษาอังกฤษตัวอักษรเล็ก (a,b,c~)

ตัวเลขอารบิก (1,2,3~)

8.เลือก สมัครสมาชิก

9.กดยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไข

10.เลือก “สมัคร Bitkub”

11.เลือก “ตกลง”

12.กดปุ่ม “Home” และตรวจสอบกล่องจดหมายขาเข้าของอีเมลที่ใช้สมัคร (บางอีเมลอาจอยู่ใน Junk mail)

13.เปิดอีเมลจาก Bitkub.com

14.เลือก ยืนยันอีเมล

15.เลือก ยืนยัน เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการสมัครบัญชี Bitkub โดยใช้อีเมล

ขั้นตอนสมัคร Bitkub การเข้าสู่ระบบแอปพลิเคชั่น Bitkub

ขั้นตอนสมัคร Bitkub

กดปุ่มด้านล่างเพื่อสมัคร

ขั้นตอนสมัคร Bitkub

 

1.เข้าสู่แอปพลิเคชั่น Bitkub

2.เลือก “Setting” มุมขวาล่าง

3.เลือก “เข้าสู่ระบบสมาชิก”

4.เลือก “Login”

5.กรอกอีเมลและรหัสผ่านตามที่สมัครไว้

6.เลือก “เข้าสู่ระบบ”

7.กำหนด PIN 6 หลัก โดยใส่ 2 รอบเพื่อยืนยัน PIN

8.ตั้งค่า Face ID หรือ Touch ID (ขึ้นอยู่กับสมาร์ทโฟนที่ใช้)

*หากไม่ต้องการตั้ง Face ID หรือ Touch ID สามารถข้ามขั้นตอนนี้ได้ โดยเลือก “ข้าม” มุมขวาล่าง

9.เลือก “ถัดไป” เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการเข้าสู่ระบบ

อย่างไรก็ตาม ท่านยังไม่สามารถซื้อขายได้จนกว่าจะทำการยืนยันตัวตน (KYC) สำเร็จโดยสามารถทำการยืนยันตัวตนได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

ขั้นตอนสมัคร Bitkub การยืนยันตัวตน Bitkub (KYC)

ขั้นตอนสมัคร Bitkub

กดปุ่มด้านล่างเพื่อสมัคร

ขั้นตอนสมัคร Bitkub

1.หลังจากเข้าสู่ระบบแล้วจะขึ้น Pop-up สอบถามว่าต้องการยืนยันตัวหรือไม่? ให้เลือก “Verify Now”

หากไม่ขึ้น Pop-up สามารถไปที่ Setting > ยืนยันตัวตน

2. เลือก Verify

3. เลือก สัญชาติ

4. ยืนยันว่าท่านไม่ติดสถานะ FATCA

5. กรอกข้อมูลและตอบแบบทดสอบตามจริง เมื่อเลื่อนลงมาสุดแล้วให้เลือก “ถัดไป”

(สามารถเลือก “บันทึก” เพื่อบันทึกความคืบหน้าในการตอบข้อมูลของท่าน เผื่อกรณีเน็ตหลุดหรือติดปัญหาอื่นๆได้)

*ข้อมูลในส่วนนี้มีความสำคัญมาก ควรอ่านแต่ละคำถามให้ละเอียดก่อนตอบ และตอบตามความเป็นจริง เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถยืนยันตัวตนให้ท่านได้อย่างรวดเร็ว

6. เมื่อกรอกข้อมูลและทำแบบทดสอบครบ จะเข้าสู่ขั้นตอนการยืนยันตัวตนด้วยบัตรประชาชน ให้เลือก “ถัดไป”

7. เริ่มจากด้านหน้าบัตรประชาชน โดยพยายามเล็งให้หน้าบัตรอยู่ในกรอบสีขาว หากทำถูกต้องโทรศัพท์จะจับภาพโดยอัตโนมัติ จากนั้นเลือก “CONTINUE”

*ขั้นตอนนี้ควรทำในสถานที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ และระวังแสงสะท้อนหรือเงาบังข้อมูลบนบัตรประชาชน

8. เปลี่ยนมาเป็นด้านหลังบัตรบัตรประชาชนและทำตามขั้นตอนก่อนหน้า

*ขั้นตอนนี้ควรทำในสถานที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ และระวังแสงสะท้อนหรือเงาบังข้อมูลบนบัตรประชาชน

9. ถัดมาจะเป็นการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า เลือก TAP TO CONTINUE

*ขั้นตอนนี้ควรทำในสถานที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ และระวังไม่ให้มีบุคคลอื่นอยู่ในรูป

10. พยายามเล็งให้ใบหน้าอยู่ในกรอบสีขาว โดยอาจต้องขยับใกล้หน้าหรือห่างจากหน้าประมาณ 2–3 ครั้งหรือมากกว่า

*ขั้นตอนนี้ควรทำในสถานที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ และระวังไม่ให้มีบุคคลอื่นอยู่ในรูป

11. หากสำเร็จ แอปพลิเคชั่นจะทำการส่งข้อมูลยืนยันตัวตนมาให้ทางบริษัทฯโดยอัตโนมัติ ระยะเวลาที่ใช้ตรวจสอบจะอยู่ที่ประมาณ 3–4 วัน และจะมีอีเมลส่งไปเพื่อแจ้งความคืบหน้าของท่านอีกครั้ง

สำหรับมือใหม่ลงทุนเงินคริปโต แนะนำให้ศึกษาการดูกราฟ  อ่านกราฟ   วิเคราะห์กราฟ  ให้เป็นเพื่อประโยชน์ในการลงทุน รู้จังหวะไหนควรซื้อ จังหวะไหนควรขายทำกำไร และจังหวะไหนควรคัดลอส เพื่อรักษาทุน ควบคู่กันไปด้ว

การลงทุนมีความเสี่ยง ศึกษาข้อมูลให้รอบด้านก่อนตัดสินใจลงทุน

 

2.หน้าตากระดานเทรดเงินคริปโตกับกระดาน Bitkub

กรณีท่านต้องการทำผ่านแอปพลิเคชัน ท่านสามารถตรวจสอบได้ที่ Bitkub App: วิธีการซื้อเหรียญ Cryptocurrency
1. ล็อกอินเข้าสู่บัญชีบิทคับ

2. ไปที่ “ตลาดซื้อขาย” 

mceclip1.png

3. เลือกประเภทเหรียญที่ต้องการซื้อที่ด้านขวา

mceclip0.png

4. ไปที่ด้านล่างของกราฟ เลือกประเภทคำสั่งซื้อ ระหว่าง “ลิมิตออร์เดอร์” / “มาร์เก็ตออร์เดอร์” หรือ “สต๊อปลิมิตออร์เดอร์

mceclip2.png

ลิมิตออร์เดอร์ : กำหนดราคาต่อเหรียญเองโดยผู้ซื้อ
มาร์เก็ตออร์เดอร์: ระบบเลือกราคาต่อเหรียญล่าสุดและถูกที่สุดจากกล่อง “ask”

สต๊อปลิมิตออร์เดอร์ : เงื่อนไขราคาล่วงหน้าที่ต้องการให้ระบบเริ่มส่งคำสั่งประเภท Stop-Limit Order โดยผู้เทรดจะเป็นผู้กำหนดเอง 

5. ลิมิตออร์เดอร์
  – a. ใส่จำนวนเงินบาท สำหรับการซื้อ หรือ เลือกจำนวนเงินบาทโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของเงินที่มีอยู่ในกระเป๋า (ตามลูกศรสีเหลือง)
  – b. ใส่ราคาต่อเหรียญ ที่ต้องการซื้อ

  – c. กดปุ่ม “ซื้อ” เพื่อเทรด (กรอกรหัส 2FA ในกรณีที่ท่านเปิดการใช้งาน)

mceclip4.png

6. มาร์เก็ตออร์เดอร์
a. ใส่จำนวนเงินบาท สำหรับการซื้อ (ระบบจะเลือกราคาต่อเหรียญล่าสุดและถูกที่สุดจากกล่อง “รายการขาย”)
b. กดปุ่ม “ซื้อ” เพื่อเทรด (กรอกรหัส 2FA สำหรับท่านที่เปิดการใช้งาน)

mceclip5.png

 ***คิดค่าธรรมเนียมจาก เครดิตค่าธรรมเนียม (ถ้ามี) หากไม่มีจะหักจากจำนวนที่ทำการซื้อหนึ่งครั้ง

 7. ธุรกรรมของคุณจะถูกบันทึกอยู่ใน “รายการที่เปิดไว้ของฉัน” และ “ประวัติการทำรายการของฉัน” 

ด้านล่างสุดของจอซ้ายและขวาตามลำดับ

_____________________________________.png

ขั้นตอนสมัคร Bitkub

รายการที่เปิดไว้ของฉันจะเกิดขึ้นเมื่อทำการซื้อแบบลิมิตออร์เดอร์ เพื่อรอผู้ขายตั้งราคาขายตรงกับที่ท่านตั้งซื้อไว้ 

(เมื่อรายการจับคู่สำเร็จ รายการจะหายไปจากรายการที่เปิดไว้ของฉัน และไปแสดงที่กล่องประวัติการทำรายการของฉันแทน)

***ประวัติการทำรายการของฉันจะเกิดขึ้นต่อเมื่อรายการซื้อเหรียญสำเร็จ*

3.สอนเล่น Bitkub สอนเทรดเงินคริปโต ฉบับมือใหม่กิ๊ก มาทำความรู้จักเหรียญต่างๆ บนกระดาน Bitkub กันก่อนลงทุน

ขั้นตอนสมัคร Bitkub

อยากรู้ไหม เหรียญแต่ละเหรียญที่อยู่บน Bitkub แตกต่างกันอย่างไร? ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร? ในบทความนี้เราจะมาอธิบายทุกเหรียญให้เข้าใจกันแบบง่าย ๆ ก่อนเทรดจริง ฉบับเร่งรัด!

Do you want to discover what makes each coin on Bitkub unique? What was it made for? Before we start trading, we’ll go over each currency and make it simple for everyone to understand.

— — — — —

1.BTC
BTC หรือ Bitcoin ถูกสร้างขึ้นมาโดยผู้ใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto เป็นสกุลเงินดิจิทัลสกุลแรกของโลกที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในการบันทึกธุรกรรม ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ใช้และผู้ใช้ด้วยกันโดยไม่ผ่านตัวกลาง (P2P) Bitcoin ถูกสร้างขึ้นมาให้มีจำนวนจำกัดอยู่ที่ 21 ล้านเหรียญ

The world’s first cryptocurrency, BTC or Bitcoin, was established by Satoshi Nakamoto and uses blockchain technology to record transactions. It was developed to serve as a bridge for transferring value between users and users without middleman (P2P). The max supply of bitcoins is limited to 21 million BTC.

อ้างอิง Bitcoin

2.ETH
ETH หรือ Ethereum ร่วมสร้างขึ้นโดยนาย Vitalik Buterin เป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่ใช้ Smart contract ได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นเครือข่ายแรก ทำให้เหล่านักพัฒนาเข้ามาสร้างแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ขึ้นบนเครือข่ายมากมาย เช่น Uniswap, Cryptokitties หรือ Foundation เป็นต้น

The first blockchain network to properly incorporate smart contracts was ETH, or Ethereum, which was co-founded by Vitalik Buterin. This enables developers to build dApps (Decentralized Application) on Ethereum networks, including Uniswap, Cryptokitties, Foundation, and many more.

อ้างอิง Ethereum

3.KUB
KUB หรือ Bitkub Coin คือเหรียญประจำเครือข่ายบล็อกเชน Bitkub Chain พัฒนาโดยบริษัท บิทคับ เทคโนโลยี จำกัด เพื่อเป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่มีค่าธรรมเนียมตํ่าและสามารถยันยันธุรกรรมได้รวดเร็ว และเพื่อผลักดันให้เกิด Real Business Use Case โดย KUB สามารถใช้เป็นค่า Gas Fee บน Bitkub Chain และสามารถใช้แลกเปลี่ยนเป็น Fee Credit บนกระดานเทรดของ Bitkub ได้

Bitkub Chain, or KU, is a blockchain network designed by Bitkub Technology Co., Ltd. to be a blockchain network with low fees and rapid transaction confirmation to promote Real Business Use Cases.KUB can be utilized as a Gas Fee on the Bitkub Chain and traded for Fee Credit on Bitkub exchanges.

4.XRP
XRP หรือ Ripple เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ออกและควบคุมโดยบริษัท Ripple Inc. ใช้เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนบริการของ RippleNet ที่เป็นเครือข่ายสำหรับการโอนเงินข้ามประเทศที่รวดเร็วและมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำ

Ripple, or XRP, is a cryptocurrency created and controlled by Ripple Inc. it is used as an intermediary in RippleNet’s network for low-cost cross-border money tranfers.

อ้างอิง Coindesk (XRP)

บทความเกี่ยวกับ XRP
สารบัญเหรียญ XRP

5.LTC
LTC หรือ Litecoin ถูกสร้างขึ้นมาให้มีความรวดเร็วในการทำธุรกรรมที่สูงกว่า Bitcoin หากเปรียบเทียบ Bitcoin เป็น “ทองคำดิจิทัล”(Digital Gold) Litecoin ก็คือ “เงินดิจิทัล” (Digital Silver)

LTC, or Litecoin, was designed to be quicker than Bitcoin in terms of transaction speed. Litecoin is “Digital Silver” when compared to Bitcoin’s “Digital Gold” (Digital Gold).

อ้างอิง Investopedia (LTC)

บทความเกี่ยวกับ Litecoin
สารบัญเหรียญ Litecoin

6.BCH
BCH หรือ Bitcoin Cash เป็นเครือข่ายที่แยก (Fork) ออกมาจากเครือข่าย Bitcoin โดยมีความเร็วในการทำธุรกรรมที่สูงกว่าด้วยการเพิ่มความจุของแต่ละบล็อกของบล็อกเชน จากเดิม 1MB เป็น 8MB

BCH (Bitcoin Cash) is a fork of the Bitcoin network that offers faster transaction rates by raising the capacity of each blockchain block from 1MB to 8MB.

อ้างอิง Investopedia (BCH)

บทความเกี่ยวกับ Bitcoin Cash
สารบัญเหรียญ Bitcoin Cash

7.USDT
USDT หรือ Tether เป็น Stablecoin หรือสกุลเงินดิจิทัลที่มีมูลค่าคงที่ ทำได้โดยการนำเงินดอลลาร์ไปผูกมูลค่ากับเหรียญ USDT ในอัตรา 1:1 โดยทํางานอยู่บน Omni Layer ซึ่งเป็นเครือข่ายสร้างอยู่บนบล็อกเชนที่ปลอดภัยที่สุดอย่างบล็อกเชนของ Bitcoin อีกทีหนึ่ง

Tether, often known as USDT, is a stable coin or a cryptocurrency with a set value. This is accomplished by pegging with US dollars at a 1:1 ratio. USDT was first built on the Omni Layer, a layer-2 network of the Bitcoin blockchain, one of the most secure blockchains.

อ้างอิง Tether

บทความเกี่ยวกับ USDT
สารบัญเหรียญ USDT

8.BNB
BNB หรือ Binance Coin เป็นเหรียญของกระดานซื้อขาย Binance ใช้เป็นค่าธรรมเนียมในเทรด เป็นคู่ซื้อขายกับสกุลเงินดิจิทัลสกุลอื่น ๆ และยังสามารถใช้ร่วมกับ DeFi ต่าง ๆ ที่อยู่บนบล็อกเชนของ Binance

BNB, or Binance Token, created by Binance. It is utilized as a trading fee and may be used in conjunction with other cryptocurrencies and is also compatible with Binance’s DeFi-based blockchain.

อ้างอิง Investopedia (BNB)

บทความเกี่ยวกับ Binance Coin
สารบัญเหรียญ Binance Coin

9.XLM
XLM หรือ Lumen คือสกุลเงินดิจิทัลของเครือข่ายบล็อกเชน Stellar Network ที่มุ่งเน้นในเรื่องของความรวดเร็วและค่าธรรมเนียมที่ต่ำสำหรับการโอนเงิน Fiat ทั้งในและระหว่างประเทศ

The Stellar Network’s XLM or Lumen focuses on speed and cheap costs for both domestic and international fiat money transactions.

อ้างอิง Stellar

บทความเกี่ยวกับ Stellar
สารบัญเหรียญ Stellar

10.ADA
ADA หรือ Cardano คือเครือข่ายบล็อกเชนที่พัฒนาขึ้นโดย IOHK สามารถใช้ Smart contract ในการสร้างแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้ จึงถูกเปรียบเสมือนคู่แข่งของ Ethereum แต่ Cardano มุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหา Scalability ด้วยการใช้ระบบ Proof-of-Stake

Cardano, often known as ADA, is a blockchain network created by IOHK. Cardano is a rival to Ethereum since smart contracts may be used to create dApps, but ADA focuses on scalability by utilizing the Proof-of-Stake mechanism

อ้างอิง Cardano

บทความเกี่ยวกับ Cardano
สารบัญเหรียญ Cardano

11.BSV
BSV หรือ Bitcoin SV (Satoshi Vision) เป็นเครือข่ายที่แยกออกมาจาก Bitcoin Cash โดยอ้างว่าเป็น Bitcoin ในวิสัยทัศน์ของ Satoshi Nakamoto ผู้สร้าง Bitcoin และเพิ่มความจุบล็อกเป็น 2,000MB (2GB) เทียบกับ Bitcoin ที่บล็อกละ 1MB

BSV, or Bitcoin SV (Satoshi Vision), is a network that is forked from Bitcoin Cash and claims to represent Bitcoin in Satoshi Nakamoto’s vision, with a block capacity of 2,000MB (2GB) as opposed to Bitcoin’s 1MB.

อ้างอิง Gemini

12.WAN
WAN หรือ Wanchain ได้รับการพัฒนาโดย Wanglu Tech บริษัทเทคสัญชาติจีน ตั้งเป้าหมายในการเป็นตัวกลางเชื่อมต่อบล็อกเชนหรือบริการทางการเงินแบบกระจายศูนย์เข้าด้วย โดยมีชุดคำสั่งพื้นฐาน (Code) มาจาก Ethereum

Wanglu IT, a Chinese tech firm, created WAN, or Wanchain. Its goal is to act as a bridge between blockchain and decentralized financial services.

อ้างอิง Crypto Briefing

บทความเกี่ยวกับ Wanchain
สารบัญเหรียญ Wanchain

13.OMG
OMG หรือ OmiseGo คือแพลตฟอร์มการเงินสัญชาติไทย สร้างโดย Omise Go Pte Ltd. บริษัทลูกของ Omise เป็นเครือข่ายบล็อกเชนแบบ Proof-of-Stake ถูกสร้างเพื่อเป็น Layer ที่ 2 ให้กับ Ethereum ที่สามารถลดภาระในการประมวลผลให้กับเครือข่ายหลักอย่าง Ethereum ได้

Omise Go Pte Ltd., a subsidiary of Omise, launched OMG or OmiseGo, a Thai financial platform. By using Proof-of-Stake consensus algorithm, it was designed as a Layer 2 for Ethereum in order to reduce the processing burden of the main network.

อ้างอิง Kraken (OMG)

บทความเกี่ยวกับ OmiseGo
สารบัญเหรียญ OmiseGo

14.ZIL
ZIL หรือ Zilliqa เป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่เป็นผู้ริเริ่มใช้ระบบ Sharding แบ่งการประมวลผลของเครือข่ายออกเป็นกลุ่ม ๆ ทำให้สามารถประมวลผลการทำธุรกรรมได้หลายพันครั้งต่อ 1 วินาที

The blockchain network ZIL, or Zilliqa, is known for being the first to use sharding. It splits the network’s processing into clusters, allowing thousands of transactions to be processed within seconds.

อ้างอิง Zilliqa

บทความเกี่ยวกับ Zilliqa
สารบัญเหรียญ Zilliqa

15.SNT
SNT หรือ Status เป็นแพลตฟอร์มสำหรับส่งข้อความคล้าย ๆ Messenger แต่สามารถเป็น Wallet ที่ผู้ใช้สามารถเก็บหรือโอนสกุลเงินดิจิทัลให้กันได้อีกด้วย โดย Status เป็นแอปพลิเคชั่นสำหรับส่งข้อความระหว่างผู้ใช้ตัวแรกที่สร้างขึ้นบน Ethereum

SNT, or Status, is a messenger decentralized application similar to Facebook’s Messenger or Line. Status can also be used as a wallet to store and transfer cryptocurrency between users. Status was the first P2P messaging dApp that was built on the Ethereum blockchain

อ้างอิง Status

บทความเกี่ยวกับ Status
สารบัญเหรียญ Status

16.CVC
CVC หรือ Civic คือแพลตฟอร์มสำหรับการยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital Identification) Civic สร้างขึ้นบน Ethereum โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในการลดขั้นตอนที่ยุ่งยากสำหรับการยืนยันตัวตนเพื่อรับบริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การเปิดบัญชี กู้ยืม หรือบริการทางการเงินอื่น ๆ เป็นต้น

CVC, or Civic, is a Digital Identification platform. Civic is built on Ethereum and uses blockchain technology to streamline the arduous process of identity verification for services like account opening, borrowing, and other financial services easier.

อ้างอิง Civic

บทความเกี่ยวกับ Civic
สารบัญเหรียญ Civic

17.LINK
LINK หรือ Chainlink คือ Data Oracle ที่ทำหน้าที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากโลกภายนอก ก่อนจะส่งข้อมูลให้กับบล็อกเชน โดย Chainlink ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนและ Smart contract ในการยืนยันข้อมูล เพื่อลดระยะเวลาและความผิดพลาดของมนุษย์ (Human Error)

LINK or Chainlink is The Data Oracle that gathers and analyzes data from the outside world before inputting into the blockchain. Chainlink verifies data by using its own blockchain network and smart contracts in order to save time and avoid human errors.

อ้างอิง Gemini (Chainlink)

18.IOST
IOST คือเครือข่ายบล็อกเชนที่มีความเร็วในการทำธุรกรรมที่สูงมาก โดยใช้ Consensus Algorithm รุ่นใหม่ที่ IOST เรียกว่า Proof of Believability ที่จะเป็นการให้คะแนนความน่าเชื่อถือของโหนดที่อยู่บนเครือข่าย โดยใช้ปัจจัยอย่าง จำนวนเหรียญ IOST ที่ถือครอง จำนวนธุรกรรมที่ยืนยัน หรือคะแนนรีวิวจากเครือข่าย เป็นต้น

IOST is a blockchain network that uses the next-generation Consensus Algorithm, which IOST refers to as Proof of Believability, to achieve extremely fast transaction speeds. This will determine the network’s node dependability. It takes into account things like the amount of IOST coins in circulation and the number of verified transactions. or network evaluations, for example.

อ้างอิง IOST

บทความเกี่ยวกับ IOST
สารบัญเหรียญ IOST

19.ZRX
ZRX หรือ 0x (Zero X) คือแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Exchange) สร้างขึ้นบน Ethereum สามารถซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลต่าง ๆ รวมถึงสินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นโทเคน (Tokenized asset) ไม่ว่าจะเป็น ทองคำ หรืออสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

ZRX, often known as 0x (Zero X), is a decentralized cryptocurrency exchange platform. A decentralized Ethereum exchange may trade a variety of cryptocurrencies as well as tokenized assets like gold and real estate.

อ้างอิง Coindesk

บทความเกี่ยวกับ 0x
สารบัญเหรียญ 0x

20.KNC
KNC หรือ Kyber Network คือแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลเป็นอีกสกุลหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง ส่วนเหรียญ KNC คือ Governance Token ที่ทำให้ผู้ถือครองมีอำนาจในการออกเสียงเพื่อช่วยพัฒนาแพลตฟอร์ม

The Kyber Network, or KNC, is a network that allows users to instantly swap one cryptocurrency for another. The KNC currency is a Governance Token that grants its holders the ability to vote on platform development.

อ้างอิง Gemini KNC

บทความเกี่ยวกับ Kyber Network
สารบัญเหรียญ Kyber Network

21.RDN
RDN หรือ Raiden Network เป็นเครือข่าย Off-chain ของ Ethereum ที่สามารถรองรับการทำธุรกรรมด้วยเหรียญ ERC-20 ทุกสกุลได้อย่างรวดเร็วและมีค่าธรรมเนียมต่ำ

RDN, or Raiden Network, is an Ethereum off-chain network that allows low-fee transactions with all ERC-20 tokens.

อ้างอิง Raiden Network

บทความเกี่ยวกับ Raiden Network
สารบัญเหรียญ Raiden Network

22.ABT
ABT หรือ ArcBlock คือแพลตฟอร์มสำหรับเหล่าโปรแกรมเมอร์ที่สามารถเข้ามาสร้างสรรค์แอปพลิเคชันบนบล็อกเชนได้ โดยมีเครื่องมือและอินเตอร์เฟสสนับสนุนให้การเขียนแอปพลิเคชันบนบล็อกเชนมีความสะดวกสบายขึ้นอย่างมาก

ABT, or ArcBlock, is a blockchain application development platform for programmers. It provides tools and APIs that make building blockchain applications easier.

อ้างอิง ArcBlock

บทความเกี่ยวกับ ArcBlock
สารบัญเหรียญ ArcBlock

23.MANA
MANA หรือ Decentraland เป็นเกมเสมือนจริง (Virtual Reality) ที่ผู้เล่นสามารถเป็นเจ้าของที่ดินในเกม และซื้อไอเทมตกแต่งตัวละครได้ สร้างขึ้นบนบล็อกเชน Ethereum โดยมีเหรียญ MANA เป็นเหมือนสกุลเงินในเกม

MANA, also known as Decentraland, is a virtual reality (VR) game in which users may own land. Also, you may purchase cosmetic items to customize your character using MANA as the main currency in Decentraland

อ้างอิง Decentraland

บทความเกี่ยวกับ Decentraland
สารบัญเหรียญ Decentraland

24.SIX
SIX หรือ Six Network โปรเจ็คฝีมือคนไทย เป็นเครือข่ายสำหรับการชำระเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้พัฒนาโดยตรง จึงสามารถลดค่าธรรมเนียมจากการซื้อขายผ่านตัวกลางที่ทำให้เงินส่วนหนึ่งกลับไปไม่ถึงผู้พัฒนา Six Network ได้รับการสนับสนุนจาก 3 บริษัท คือ Ookbee, Yellow Digital Marketing Group และ Computerlogy

SIX, or the Six Network, is a system built by Thai in order to support direct payment for goods and services to the developer. As a result, the costs charged by middlemen are reduced, allowing more money to return to developers. Three firms support Six Network: Ookbee, Yellow Digital Marketing Group, and Computerlogy.

อ้างอิง Bitkub Medium

บทความเกี่ยวกับ SIX
สารบัญเหรียญ SIX

25.JFIN
JFIN คือแพลตฟอร์มสำหรับบริการกู้ยืมแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Lending Platform) ของกลุ่มบริษัท JayMart ที่มีวัตถุประสงค์ในการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้กับการกู้ยืม ทำให้สามารถลดค่าธรรมเนียมและขั้นตอนที่ยุ่งยากลงไปได้

JayMart Group’s JFIN (Decentralized Lending Platform) is a platform for decentralized lending services built on blockchain technology. This allows the reduction of costs and time-consuming procedures.

อ้างอิง JFIN

บทความเกี่ยวกับ JFIN
สารบัญเหรียญ JFIN

26.EVX
EVX หรือ Everex คือแพลตฟอร์มสำหรับการชำระเงินระหว่างผู้ใช้ สร้างขึ้นบน Ethereum โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างระบบชำระเงินที่รวดเร็ว ปลอดภัย และมีค่าธรรมเนียมต่ำ โดยมีเหรียญ EVX เป็นสกุลเงินกลางของแพลตฟอร์ม

EVX, or Everex, is a payment platform based on Ethereum to build a quick, secure, and low-fee payment system using EVX as the platform’s primary currency.

อ้างอิง Everex

บทความเกี่ยวกับ Everex
สารบัญเหรียญ Everex

27.POW
POW หรือ Power Ledger คือแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้สามารถซื้อขายพลังงานได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง ไม่ว่าจะเป็นพลังงานไฟฟ้า พลังงานลม หรือพลังงานแสงอาทิตย์ โดยใช้บล็อกเชนในการบันทึกทุก ๆ ธุรกรรมที่เกิดขึ้น ทำให้มีความปลอดภัยและสามารถตรวจสอบได้

POW, or Power Ledger, is a platform that allows users to exchange energy without the need for middlemen. It doesn’t matter if it’s electric, wind, or solar power. Using blockchain to keep track of all transactions makes it secure and transparent.

อ้างอิง Power Ledger

บทความเกี่ยวกับ Power Ledger
สารบัญเหรียญ Power Ledger

28.DOGE
DOGE หรือ Dogecoin คือสกุลเงินดิจิทัลที่ถูกสร้างขึ้นมาจากภาพลักษ์ของมีม Doge เพื่อแสดงถึงความเป็นมิตร และทำให้เห็นว่าสกุลเงินดิจิทัลเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่าย โดยมีเทคโนโลยีพื้นฐานเหมือนกับของ Litecoin และเป็นเหรียญโปรดของนาย Elon Musk

DOGE, or Dogecoin, is a cryptocurrency designed after the meme called Doge, which stands for friendliness. It also demonstrates that cryptocurrency can be easily accessed by everyone. It uses the same fundamental technology as Litecoin, and is also Elon Musk’s favorite.

อ้างอิง Coinmarketcap (DOGE)

29.DAI
DAI หรือ DAI Stablecoin คือสกุลเงินดิจิทัลที่มีมูลค่าคงที่ ทำได้โดยการนำไปผูกมูลค่ากับเงินดอลลาร์สหรัฐฯในอัตรา 1:1 ผ่านการใช้ Smart contract โดยมี MakerDAO เป็นองค์กรอัตโนมัติแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Autonomous Organization) ที่คอยดูแลปรับปรุง Smart contract ให้สามารถทำงานได้ดีอยู่เสมอ

DAI is an algorithmic stablecoin, which means it keeps its value close to the US Dollar by using a smart contract on Ethereum blockchain to adjust its supply, while the smart contract is oversee by Decentralized Autonomous Organization (DAO)

อ้างอิง Cryptonews (DAI)

บทความเกี่ยวกับ DAI Stablecoin
สารบัญเหรียญ DAI Stablecoin

30.USDC
USDC หรือ USD Coin เป็น Stablecoin หรือสกุลเงินดิจิทัลที่มีมูลค่าคงที่ ทำได้โดยการนำเงินดอลลาร์ไปผูกมูลค่ากับเหรียญ USDC ในอัตรา 1:1 โดยใช้เทคโนโลยีพื้นฐานที่สร้างขึ้นโดย Centre และมี Circle กับ Coinbase คอยกำกับดูแล

USDC, also known as USD Coin, is a stable coin or a cryptocurrency with a set value. This is accomplished by linking the dollar to USDC at a 1:1 ratio. USDC is created and managed by the Circle and Coinbase.

อ้างอิง Cryptonews (USDC)

บทความเกี่ยวกับ USD Coin
สารบัญเหรียญ USD Coin

31.BAT
BAT หรือ Basic Attention Token เป็นเหรียญที่สร้างขึ้นบนบล็อกเชนเพื่อปฏิรูปการรับชมโฆษณาบนโลกออนไลน์ โดยใช้ร่วมกับ Brave Browser หากผู้ใช้ยินยอมที่จะดูโฆษณาผ่านบราวเซอร์ ตัวบราวเซอร์ก็จะจ่ายผู้ใช้เป็นเหรียญ BAT ตามระยะเวลาและจำนวนโฆษณาที่รับชมในแต่ละเดือน

BAT, or Basic Attention Token, is a blockchain-based token designed to revolutionize online advertising watching. It is utilized in combination with Brave Browser, if the user chooses to view advertising through the browser . The user is paid in BAT for the amount of time spent to watch ads.

อ้างอิง Basic Attention Token

32.BAND
BAND หรือ Band Protocol คือ Data Oracle ฝีมือคนไทย ทำหน้าที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากโลกภายนอก ก่อนจะส่งข้อมูลให้กับบล็อกเชน โดย BAND ยังเป็น Cross-chain Data Oracle จึงสามารถทำงานร่วมกับบล็อกเชนอื่น ๆ ได้อย่างราบรื่น

BAND, or Band Protocol, is a Data Oracle built by a team of Thai developers. Data Oracle collects and verifies data from the outside world before inputting them into blockchain. BAND is also a cross-chain Data Oracle, allowing it to work with other blockchains smoothly.

อ้างอิง Band Protocol

33.KSM
KSM หรือ Kusama เป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่เปรียบเสมือน Testnet สำหรับ Polkadot ซึ่งเป็นเครือข่ายที่นักพัฒนาจะเข้ามาสร้างและทดลองใช้แอปพลิเคชั่นหรือบล็อกเชน ก่อนนำไปใช้จริงบนเครือข่าย Polkadot

For Polkadot, KSM, or Kusama, is a Testnet-like blockchain network where developers may build and test dApps or blockchains. before deploying on the Polkadot network

อ้างอิง Kusama

บทความที่เกี่ยวกับ Kusama
สารบัญเหรียญ Kusama

34.DOT
DOT หรือ Polkadot คือเครือข่ายบล็อกเชนที่เล็งเชื่อมต่อบล็อกเชนเข้าด้วยกันและทำให้บล็อกเชนเหล่านี้สามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างราบรื่น โดยใช้เทคโนโลยี Parachain นอกจากนี้ Polkadot ยังมีนาย Gavin Wood เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ซึ่งเขาเป็นอดีต CTO ของ Ethereum

Polkadot, or DOT, is a blockchain network that aims to connect blockchains and make them operate together seamlessly with parachain technology. Polkadot is co-founded by Gavin Wood, the former CTO of Ethereum.

อ้างอิง Polkadot

35.NEAR
NEAR หรือ NEAR Protocol เป็นแพลตฟอร์มที่ให้เหล่านักพัฒนาสามารถเข้ามาสร้างแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้ โดยเครือข่ายบล็อกเชนของ NEAR ใช้การประมวลผลแบบ Sharding จึงสามารถยืนยันธุรกรรมได้อย่างรวดเร็ว และสามารถทำงานร่วมกับ Ethereum ได้ด้วยเทคโนโลยี Rainbow Bridge

The NEAR Protocol, also known as NEAR, is a network that allows developers to create decentralized applications. The blockchain network of NEAR employs sharding processing to ensure that transactions are verified rapidly. It also uses the Rainbow Bridge technology, which makes it interoperable with Ethereum.

อ้างอิง NEAR Protocol

บทความเกี่ยวกับ NEAR Protocol
สารบัญเหรียญ NEAR Protocol
รู้จักกับ NEAR Protocol

36.SCRT
SCRT หรือ Secret Network เป็นแพลตฟอร์มให้เหล่านักพัฒนาเข้ามาเขียน Smart contract เพื่อสร้างแอปพลิเคชันขึ้นบนเครือข่าย โดย Smart contract ที่สร้างขึ้นบน Secret Network จะถูกเข้ารหัสเอาไว้เพื่อปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาหรือป้องกันข้อมูลส่วนตัวไม่ให้รั่วไหล

SCRT, or Secret Network, is a platform that allows developers to design smart contracts and encrypt the code in order to safeguard intellectual property or sensitive information.

อ้างอิง Secret Network

บทความเกี่ยวกับ SCRT
สารบัญเหรียญ SCRT (ENG)

37.GLM
GLM หรือ Golem คือแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้สามารถยืมพลังประมวลผลของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอร์เน็ตแบบกระจายศูนย์ (Decentralized) ทำให้นักพัฒนาหรือผู้ให้บริการสามารถยืมพลังประมวลผลผ่านอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องผ่านตัวกลางใด ๆ

GLM, or Golem, is a decentralized platform that allows users to borrow supercomputer processing power without the need of middlemen through the Internet.

อ้างอิง Golem Network

38.YFI
YFI หรือ Yearn Finance คือชื่อของ DeFi (Decentralized Finance) บนเครือข่ายบล็อกเชน Ethereum ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยโปรแกรมเมอร์เพียงคนเดียว นั่นคือนาย Andre Cronje กูรูด้านซอฟท์แวร์ชาวแอฟริกาใต้ โดยเหรียญ YFI คือ Governance Token หรือเหรียญที่มอบสิทธิ์ให้กับผู้ถือครองในการกำหนดอนาคตของ Yearn Finance

YFI or Yearn Finance is a DeFi (Decentralized Finance) on the Ethereum blockchain. It was built by a single programmer, Andre Cronje, a South African software genius . YFI is the Governance Token that provides its holders the power to influence Yearn Finance’s development.

อ้างอิง Coindesk

39.UNI
Uniswap คือแพลตฟอร์มสำหรับแลกเปลี่ยนเหรียญดิจิทัลที่ใช้มาตรฐาน ERC20 เช่น Ethereum (ETH), Basic Attention Token (BAT), หรือ OmiseGO (OMG) โดย Uniswap ถูกสร้างขึ้นบนบล็อกเชน Ethereum และใช้ Smart Contract ในการแลกเปลี่ยนเหรียญโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง

Uniswap is an Exchange platform for ERC20 to ERC20, for example Ethereum (ETH), Basic Attention Token (BAT), or OmiseGO (OMG). Uniswap is built on Ethereum blockchain and uses smart contracts to exchange tokens.

อ้างอิง Decrypt

40.AAVE
เหรียญ AAVE เป็น Governance token ของแพลตฟอร์ม AAVE Protocol ที่เคยมีชื่อเดิมว่า Lend โดยทำงานบนระบบ Aave Protocol ที่เป็นระบบการปล่อยกู้ยืมแบบกระจายอำนาจ (Decentralized Lending Pools) ที่ผู้ใช้สามารถนำเหรียญดิจิทัลมาฝากเพื่อแลกเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์ของ AAVE

The AAVE Protocol platform, formerly known as Lend, is a decentralized lending platform, wherein users are able to lend or borrow from Decentralized Lending Pools. The pools operate with digital coins that are traded back as AAVE tokens.

อ้างอิง AAVE

บทความเกี่ยวกับ AAVE
แนะนำเหรียญใหม่ – AAVE

41.COMP
COMP หรือ Compound Finance คือ Decentralized Finance (DeFi) ที่รับรองทั้งการฝากและการกู้สกุลเงินดิจิทัลต่าง ๆ ผ่าน Smart Contract โดยใช้เพียง Wallet ที่รับรอง Ethereum ก็สามารถเข้าถึง Compound Finance ได้

COMP, or Compound Finance, is a Decentralized Finance (DeFi) that enables users to both borrow and lend various digital currencies through Smart Contract. With Ethereum-based Wallet, users are able to access Compound Finance.

อ้างอิง Coinmarketcap

บทความเกี่ยวกับ COMP
เหรียญใหม่ COMP คืออะไร

42.MKR
MKR หรือ Maker Token คือเหรียญ Governance token ของ Maker Protocol ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการกู้ยืม (Lending Platform) ที่สร้างขึ้นบน Ethereum และ MakerDAO ที่เป็นองค์กรอัตโนมัติแบบกระจายศูนย์ (DAO) ที่คอยดูแล Maker Protocol อยู่เบื้องหลัง

MKR, or Maker Token, is a Governance token of the Maker Protocol, a platform that facilitates lending that is built on the Ethereum network with MakerDAO, a Decentralized Autonomous Organization (DAOs) facilitating the Maker Protocol.

อ้างอิง MakerDAO

บทความเกี่ยวกับ MKR
เหรียญใหม่ MKR คืออะไร

43.ALPHA
ALPHA คือเหรียญของ Alpha Finance Lab ที่เป็น Cross-chain DeFi จึงสามารถทำงานได้ทั้งบนบล็อกเชนของ Ethereum และ Binance Smart Chain โดยมีผลิตภันฑ์ทางการเงินหลัก ๆ เกี่ยวกับการกู้ยืม

ALPHA or Alpha Finance Lab is a Cross-chain DeFi that supports Ethereum and Binance Smart Chain. Its financial products are focused on Lending services that can automatically maximize profit while also minimizing risks for loaners.

อ้างอิง Alpha Finance Lab

บทความเกี่ยวกับ ALPHA
เหรียญใหม่ ALPHA คืออะไร

44.ENJ
ENJ หรือ Enjin Coin คือสกุลเงินของ Enjin Network ซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นตลาดแลกเปลี่ยนของเครือข่ายผู้เล่นเกมออนไลน์ พร้อมช่วยให้ผู้ใช้สามารถโอนสินทรัพย์ดิจิทัลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

ENJ, or the Enjin coin, is a medium currency on the Enjin Network, which was established as a marketplace and trading platform for the online gaming community. The network is also helpful in transferring blockchain assets, which include both gaming assets and currencies, quickly and efficiently.

อ้างอิง Enjin

บทความเกี่ยวกับ ENJ
เหรียญใหม่ ENJ คืออะไร

45.CRV
CRV หรือ Curve Finance คือกระดานแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Exchange) สร้างขึ้นบน Ethereum คล้ายกับ Uniswap หรือ Balancer แต่ Curve เน้นไปที่ Stablecoin อย่าง DAI, USDT หรือ USDC เป็นหลัก

CRV or Curve Finance is the Decentralized Exchange (DEX) built in Ethereum that enables P2P trading between cryptocurrencies, similar to Uniswap or others DEX. However, Curve is made for Stablecoin trading, such as DAI, USDT, or USDC.

อ้างอิง CoinMarketcap

บทความเกี่ยวกับ CRV
เหรียญใหม่ CRV คืออะไร

46.BAL
BAL หรือ Balancer Protocol คือ Decentralized Exchange บนบล็อกเชน Ethereum ที่มี Liquidity pool ที่รวบรวมเหรียญและใช้ Automated Market Maker (AMM) เป็นระบบอัตโนมัติคอบรักษาสภาพความคล่องและปรับสมดุลให้กับตลาด

BAL, or Balancer Protocol, is an Ethereum-based decentralized exchange with a liquidity pool that gathers currencies and utilizes the Automated Market Maker (AMM) to automate, maintain liquidity, and balance markets.

อ้างอิง Coinmarketcap

บทความเกี่ยวกับ BAL
เหรียญใหม่ BAL คืออะไร

47.AXS
AXS หรือ Axie Infinity (Axie Infinity Shards) เปรียบเสมือนสกุลเงินหลักของเกม Axie Infinity เกมออนไลน์ที่สร้างขึ้นบนบล็อกเชน Ethereum ผู้เล่นจะได้ควบคุมน้อง ๆ มอนสเตอร์ที่เรียกว่า Axie เพื่อผจญภัยในโหมด Adventure หรือประลองฝีมือกับผู้เล่นในโหมด Arena โดยผู้เล่นจะได้รับรางวัลเป็นเหรียญ AXS เมื่อทำภารกิจบางอย่างในเกมสำเร็จ

AXS (Axie Infinity) is the main currency of the online game Axie Infinity, a Turn-based Strategy game with a Play-to-Earn concept. The player will take control of little cute monsters called Axie to embark on an Adventure, or test your might with another player in the Arena.

อ้างอิง Coinmarketcap

48.SAND

เหรียญ SAND คือเหรียญมาตรฐาน ERC-20 บนเครือข่าย Ethereum ที่ใช้ในเกม The Sandbox เกมออนไลน์ที่ผู้เล่นสามารถสร้างและแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลได้อย่างอิสระ

SAND is an ERC-20 token on the Ethereum blockchain and acts as the medium currency within the Sandbox platform, a platform for the online gaming community that enable the creation of assets, characters and numerous other features.

49.SUSHI

SUSHI คือโทเคนหลักของแพลตฟอร์ม SushiSwap โดย SUSHI จะถูกมอบเป็นรางวัลให้กับผู้ที่มีส่วนร่วมกับแพลตฟอร์ม SushiSwap และยังเป็น Governance Token ที่มอบสิทธิ์ให้ผู้ถือสามารถร่วมออกเสียงหรือเสนอแนวทางพัฒนา SushiSwap ได้ด้วย

SUSHI is the main token of SushiSwap, a Decentralized Exchange (DEX) on Ethereum. SUSHI is given as the reward for the participants of the platform. It is also the governance token that gives the voting right to the holders when SushiSwap wants to change any condition or to upgrade.

บทความเกี่ยวกับ SUSHI
ทำความรู้จักเหรียญใหม่น่ากินอย่าง SUSHI กันเถอะ!

Credit https://www.bitkub.com/blog/bitkub-all-coins-d822ec801bba

4.วิธีการอ่านค่ากราฟเบื้องต้น

4.1 Indicator ดูเป็น ไม่เสี่ยงดอย

ในโลกของการเทรด ไม่มีใครที่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ว่าราคาจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด แต่ไม่ใช่ว่าเราจะไม่สามารถคาดเดาทิศทางได้เลยเสียทีเดียว นอกจากการติดตามข่าวสารเพื่อประเมินทิศทางของราคาแล้ว Indicator คืออีกหนึ่งเครื่องมือที่จะมาช่วยบอกความเป็นไปได้ของทิศทางราคาที่นักเทรดทั้งมือใหม่และมือฉมังต้องมีติดหน้าจอเอาไว้!

Indicator คืออะไร?

Indicator แปลตรงตัวได้ว่า ตัวบ่งชี้ ซึ่งหน้าที่ของมันก็ตามชื่อเลย คือเป็นตัวบ่งชี้ความเป็นไปได้ของทิศทางราคา การใช้ Indicator เพื่อประเมินทิศทางราคาจะเรียกว่าการวิเคราะห์จากปัจจัยทางเทคนิค (Technical Analysis) ขณะที่การวิเคราะห์ทิศทางราคาจากข่าวสารจะเรียกว่าการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis)

Indicator แต่ละตัวจะมีสูตรในการคิดคำนวณที่แตกต่างกันออกไป เช่น บางตัวอาจคำนวณจากราคาต่ำ-สูง บางตัวคำนวณจากปริมาณการซื้อขาย หรือบางตัวก็ใช้มากกว่า 2 ปัจจัยผสมผสานกัน ซึ่งแอปพลิเคชั่นสำหรับการเทรด ไม่ว่าจะเป็น MetaTrader, TradingView, หรือ Bitkub ต่างก็มี Indicators แถมฟรีมาให้อย่างเพียบพร้อม

วิธีเพิ่ม Indicator บนแอป Bitkub

สำหรับ Smart Phone

เมื่อล็อคอินเข้าแอปพลิเคชั่นแล้ว ให้ไปที่หน้าต่าง “Market” > เลือกเหรียญที่ต้องการ > เลือกเครื่องหมาย “กราฟ” มุมบนขวา > สังเกตุแถบเมนูด้านบนกราฟ ให้ปัดไปทางขวาเล็กน้อยและเลือกปุ่ม Indicator > เลือก Indicator ตัวที่ต้องการเพิ่มเข้าไป

สำหรับ PC

เมื่อล็อคอินเข้าแอปพลิเคชั่นแล้ว ให้ไปที่หน้าต่าง “ราคาตลาด” > เลือกเหรียญที่ต้องการ > เลือกเครื่องหมาย Indicators > และเลือก Indicator ตัวที่ต้องการเพิ่มเข้าไป

เรายังสามารถบันทึก Indicators ที่เราเลือกใช้เป็น Template สำหรับการใช้งานครั้งต่อๆไปได้เช่นกัน โดยไปที่ Indicator templates (ข้างๆไอคอน Indicators)> เลือก Save Indicator template > ตั้งชื่อตามที่ต้องการและคลิกปุ่ม Save

สำหรับการเลือกใช้งานในครั้งต่อไปก็สามารถเลือก Indicator templates และเลือก Template ตามที่บันทึกเอาไว้ได้เลย ฟังก์ชั่นนี้สามารถใช้ได้ทั้งบน PC และ Smartphone

Indicators พื้นฐานที่ต้องรู้

จะเห็นได้ว่าบนแอป Bitkub ของเรา มี Indicators ให้เลือกกันเยอะแยะจนตาลายกันเลยทีเดียว แล้วทีนี้เราจะเลือกตัวไหนดีล่ะ!? ในบทความนี้เราจะแนะนำ Indicators พื้นฐานที่เป็นที่ยอมรับกันในวงการ ดังต่อไปนี้

1.Moving Average (MA)

Moving Average หรือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนไหว นับว่าเป็น Indicators พื้นฐานที่เหล่านักเทรดและนักวิเคราะห์ใช้เป็นขั้นตอนแรกๆของการวิเคราะห์ กรอบเวลาย้อนหลังของ MA สามารถถูกกำหนดได้ตามที่ต้องการเพื่อวิเคราะห์ทิศทางได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

วิธีดูเทรนราคาจาก MA นอกจากการดูการเคลื่อนไหวของ MA เพียงเส้นเดียวแล้ว ยังสามารถดูได้จากการเคลื่อนไหวของ MA มากกว่า 2 เส้นขึ้นไป โดยสมมติว่ามีเส้น MA 50 วัน (ระยะสั้น) กับ MA 100 วัน (ระยะยาว) หาก MA ระยะสั้นเคลื่อนไหวตัดกับ MA ระยะยาว โดยที่ระยะสั้นอยู่สูงกว่าระยะยาวจะเป็นสัญญาณขาขึ้นหรือเรียกว่า Bullish Crossover ในทางกลับกัน หากเส้นระยะสั้นตัดกับระยะยาวโดยระยะสั้นอยู่ต่ำกว่าระยะยาวจะสะท้อนถึงทิศทางขาลงหรือ Bearish Crossover

นอกจากนี้ MA ก็มีประเภทแยกย่อยลงไปอีกมากมาย ตัวที่นิยมใช้กันจะมี Simple Moving Average (SMA) กับ Exponential Moving Average (EMA) แต่ละตัวจะมีสูตรในการคำนวณที่แตกต่างกันออกไปเล็กน้อย โดย EMA จะมีความอ่อนไหวต่อการเคลื่อนไหวของราคาปัจจุบันมากกว่า SMA ทำให้นักวิเคราะห์นิยมใช้ EMA ในการวิเคราะห์ทิศทางระยะสั้น ขณะที่ SMA มักจะใช้ในการวิเคราะห์ทิศทางระยะยาว เป็นต้น

2. Relative strength index (RSI)

RSI คือ Indicators ประเภท Momentum Oscillator หรือตัวชี้วัดการแกว่งตัวของราคา การวิเคราะห์จาก RSI หลักๆจะอยู่ที่การดูว่าราคากำลังอยู่ในภาวะใด ระหว่าง Overbought (ซื้อมากเกิน) หรือ Oversold (ขายมากเกิน) หากเส้น RSI กำลังเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 30 จุดเป็นการสะท้อนว่าตลาดกำลังอยู่ภาวะ Oversold ในทางกลับกัน หาก RSI อยู่สูงกว่า 70 จุดก็จะเป็นภาวะ Overbought ทั้งนี้ นักวิเคราะห์บางคนอาจไม่ใช้ระดับ 70 กับ 30 เป็นตัวชี้วัด ซึ่ง RSI ก็สามารถปรับแต่งได้ตามความเหมาะสมเช่นเดียวกัน

ภาวะ Overbought หรือ Oversold เป็นสัญญาณเตือนว่าราคาอาจเกิดการปรับฐานจากภาวะดังกล่าวในอีกไม่นาน เช่น หากราคาปรับตัวสูงขึ้นและ RSI เป็นภาวะ Overbought ราคาก็อาจมีโอกาสที่จะย่อตัวลงมาเพื่อปรับฐาน เป็นต้น ดังนั้นกลยุทธ์ที่นิยมใช้กันเมื่อพิจารณาจาก RSI คือ หากเป็น Overbought ให้ขาย และหากเป็น Oversold ให้ซื้อ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก RSI เป็นดัชนีที่เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 0 ถึง 100 จึงเหมาะสมที่จะใช้วิเคราะห์ทิศทางราคาที่แกว่งตัวอยู่ในกรอบแบบ Sideways มากกว่า แต่สำหรับราคาที่เคลื่อนไหวแบบมีเทรนชัดเจนควรใช้ RSI ควบคู่กับ Indicators ตัวอื่นๆที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้

3. Moving average convergence divergence (MACD)

MACD คือ Indicators ที่เปรียบเทียบการเคลื่อนไหวระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยแบบ EMA 2 เส้น ทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ทั้งเทรนของราคาและแรงแกว่งตัวของราคา โดย MACD จะมีส่วนประกอบ 3 อย่าง ได้แก่

1. MACD Line (เส้นสีน้ำเงิน) = เป็นเส้นที่เฉลี่ยระหว่าง EMA 12 กับ 26 วัน ใช้เพื่อเทียบความห่างของเส้นค่าเฉลี่ยทั้ง 2 เส้น

2. Signal Line (เส้นสีแดง) = เส้นค่าเฉลี่ย EMA 9 วัน ใช้เพื่อวัดแนวโน้มของราคา และเพื่อดูสัญญาณเข้าซื้อหรือขาย

3. Histogram (แท่งสีเทา) = ใช้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยทั้ง 2 เส้น (MACD line กับ Signal Line)

สำหรับวิธีการวิเคราะห์ MACD ขั้นพื้นฐานสามารถดูได้จากเส้น MACD (เส้นสีน้ำเงิน) เป็นหลัก หากเส้นน้ำเงินเคลื่อนไหวตัดลงต่ำกว่าเส้น Signal Line (สีแดง) จะเป็นสัญญาณสะท้อนภาวะขาลง จึงควรที่จะเทขาย ในทางกลับกัน หากเส้นน้ำเงินตัดขึ้นเหนือเส้นแดง จะเป็นสัญญาณขาขึ้นและควรเข้าซื้อ

ในส่วนของ Histogram หรือแท่งสีเทา ก็คือระยะห่างระหว่าง MACD และ Signal Line สามารถใช้วิเคราะห์ความแกว่งตัวของราคาได้ โดยยิ่ง Histogram ยาวไปไหนทิศทางไหนมากเท่าไหร่ หมายความว่าราคามีแรงแกว่งตัวในทิศทางนั้นมากเท่านั้น และหาก Histogram แกว่งตัวใกล้ระดับ 0 จุดจะเป็นสัญญาณเตือนว่าทิศทางอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในไม่ช้านั่นเอง

4. Ichimoku Cloud

Ichimoku Cloud หรือนิยมเรียกกันสั้นๆว่า Ichimoku โดยในภาษาญี่ปุ่น Ichimoku แปลว่า One Glance หรือมองเพียงแวบเดียวก็เข้าใจ ดังนั้น จุดเด่นของมันก็คือเป็น Indicator ที่แค่มองก็เข้าใจทิศทางราคาได้เลย

สัญญาณของ Ichimoku ที่เห็นได้ในทันทีบนกราฟก็คือบริเวณสีทึบที่เหมือนกับก้อนเมฆ (Cloud) นั่นเอง ก้อนเมฆนี้ก็คือตัวบ่งชี้ทิศทางราคา หากราคาเคลื่อนไหวต่ำกว่าก้อนเมฆจะบ่งชี้ทิศทางขาลง หากราคาอยู่เหนือก้อนเมฆจะบ่งชี้ทิศทางขาขึ้น และหากราคาอยู่ระหว่างก้อนเมฆจะสะท้อนว่าราคากำลังเคลื่อนไหวแบบไร้ทิศทาง (Sideways) หรือกำลังจะเปลี่ยนทิศทาง นอกจากนี้ ก้อนเมฆในส่วนที่ราคายังไปไม่ถึงยังสามารถบ่งชี้ถึงระดับราคาที่มีแนวโน้มจะกลายเป็นแนวรับ-แนวต้านสำคัญของราคาในอนาคตได้อีกด้วย

ในกรณีที่ราคากำลังเคลื่อนไหวแบบมีเทรนและกลุ่มเมฆก็เคลื่อนไหวไปในเทรนเดียวกับราคา จะเป็นการสะท้อนถึงความแข็งแกร่งของทิศทางนั้นๆ แต่ในรูปตัวอย่างจะเห็นว่าแม้ราคาจะอยู่ต่ำกว่าเมฆ (เป็นทิศทางขาลง) แต่ตัวเมฆก็ไม่ได้เคลื่อนไหวในทิศทางขาลงตาม จึงวิเคราะห์ได้ว่าทิศทางขาลงอาจไม่แข็งแกร่งเท่าไหร่

สรุป

Indicator คือเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ทิศทางของราคาในเชิงเทคนิค มีให้เลือกใช้หลากหลายตามสถานการณ์หรือความถนัด การใช้ Indicator ควรพิจารณาใช้ Indicator ร่วมกัน 2 ตัวขึ้นไป เพื่อป้องกันสัญญาณหลอก (False signal) แต่ก็ไม่ควรใช้ Indicator หลายตัวเกินไปเช่นกัน การใช้ Indicator ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดคือการศึกษาทำความเข้าใจจุดแข็ง-จุดอ่อนของ Indicator แต่ละตัว หมั่นฝึกฝน จดบันทึก และเปรียบเทียบผลลัพธ์

นักเทรดที่ดีคือผู้ที่สามารถวิเคราะห์ในเชิงเทคนิคได้ แต่นักเทรดที่ยอดเยี่ยมสามารถวิเคราะห์เชิงเทคนิคควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานได้

Credit https://www.bitkub.com/blog/indicator-8eefc6fd5a53

4.2 ความสำคัญของ Trading Volume มีผลต่อการเทรดอย่างไร?

ในการซื้อขายสินทรัพย์ เทรดเดอร์ที่ดีไม่ควรดูแค่เรื่องของราคาเท่านั้น อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันนั่นก็คือเรื่องของปริมาณการซื้อขาย หรือ Trading Volume นั่นเอง ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่า Trading Volume นั้นสำคัญอย่างไร และวิเคราะห์ได้อย่างไร?

Trading Volume คืออะไร?

Trading Volume หรือปริมาณการซื้อขาย เทียบง่ายๆก็คือความคึกคักของตลาด ไม่ว่าจะเป็นหุ้น พันธบัตร อนุพันธ์ หรือแม้แต่คริปโทเคอร์เรนซี ตลาดที่มีความคึกคักมากก็เหมือนกับตลาดที่มีคนซื้อคนขายเยอะ ทำให้การซื้อขายเป็นไปได้อย่างคล่องตัว หรือที่เรียกกันว่าสภาพคล่องนั่นเอง

ดู Trading Volume อย่างไร?

โดยทั่วไปแล้ว แอปพลิเคชั่นในการเทรดส่วนใหญ่จะมีกราฟแสดงปริมาณการซื้อขายหรือ Trading Volume ปรากฏอยู่ด้านล่างของราคา ตามภาพประกอบด้านล่างนี้

สอนเล่น Bitkub

กราฟ Trading Volume ถือเป็น Indicator รูปแบบหนึ่งที่สรุปปริมาณการซื้อขายในแต่ละช่วงออกมาเป็นรูปแบบที่เข้าใจง่าย โดยสามารถอธิบายกราฟได้ดังนี้

1.ความสูงของแท่งกราฟ = ปริมาณการซื้อขาย ยิ่งกราฟแท่งสูงเท่าไหร่ ปริมาณซื้อขายในช่วงนั้นก็สูงเท่านั้น

2.แท่งสีเขียว = ปริมาณคำสั่ง “ซื้อ” มีสูงกว่าคำสั่ง “ขาย” ในช่วงเวลาของกราฟแท่งนั้นๆ

3.แท่งสีแดง = ปริมาณคำสั่ง “ขาย” มีสูงกว่าคำสั่ง “ซื้อ” ในช่วงเวลาของกราฟแท่งนั้นๆ

การวิเคราะห์ Trading Volume

หากต้องการซื้อสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่ง นอกจากการดูเทรนราคาแล้ว นักเทรดที่ดีควรพิจารณาจากปริมาณซื้อขายด้วยเช่นกัน โดยส่วนใหญ่แล้ว ปริมาณการซื้อขายมักจะใช้วิเคราะห์เพื่อยืนยันทิศทางของราคาตามตัวอย่างดังต่อไปนี้

1.ยืนยันเทรน — สินทรัพย์ที่อยู่ในช่วงในช่วงขาขึ้น ควรมีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยที่สูงขึ้นตาม เนื่องจากเป็นการสะท้อนถึงความสนใจของตลาดที่มีต่อสินทรัพย์นั้นๆ แต่ถ้าราคาสูงขึ้นแต่ปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยลดลงก็อาจเป็นสัญญาณว่าเทรนราคาอาจเริ่มหมดกำลังหรือเกิดการกลับตัวได้

2.ความอ่อนแรงของเทรน — หากสินทรัพย์กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นหรือขาลงที่ชัดเจน ในช่วงที่เกิดการเคลื่อนไหวของราคาที่รุนแรง พร้อมกับปริมาณซื้อขายที่สูงกว่าปกติ มีความเป็นไปได้ที่ทิศทางขาขึ้นหรือขาลงจะเริ่มอ่อนแรงตามมา

ความสำคัญของ Trading Volume

Trading Volume มีความสำคัญโดยตรงกับการซื้อขายสินทรัพย์แต่ละประเภท อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น สินทรัพย์ที่มี Trading Volume สูงก็เปรียบเสมือนกับตลาดที่มีคนเยอะ การซื้อขายก็เป็นไปได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น หรือเรียกว่ามีสภาพคล่องสูง

ในทางกลับกัน สินทรัพย์ที่มี Trading Volume ในระดับต่ำ ก็เหมือนกับตลาดที่มีคนน้อย โอกาสที่จะขายหรือซื้อสินทรัพย์ในปริมาณที่ต้องการก็จะต่ำลงด้วยเช่นกัน หรือที่เรียกว่าสภาพคล่องต่ำนั่นเอง

นอกจากนี้ สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงมักจะมีความผันผวนของราคาที่ต่ำ เนื่องจากช่องว่างระหว่างคำสั่งซื้อหรือขายในแต่ละช่วงราคาจะค่อนข้างแคบ ยกตัวอย่างเช่น หากคำสั่งขายที่ใกล้ราคาปัจจุบันที่สุด คือ 10 บาท ถัดมาคือ 11, 12, 13 จะเห็นได้ว่าช่องว่างระหว่างราคามีไม่กว้างมากนัก จึงทำให้ราคาไม่ค่อยมีการกระโดดข้ามราคา

อีกด้านหนึ่ง สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำมักจะมีราคาที่ผันผวนสูง ยกตัวอย่าง มีคำสั่งขายแรกอยู่ที่ราคา 10 บาท แต่คำสั่งขายถัดไปกลับกระโดดไปที่ 15 บาท จึงอาจทำให้ราคามีการกระโดดไปมาค่อนข้างรุนแรงได้นั่นเอง

สรุป

Trading Volume หรือปริมาณการซื้อขายถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่นักเทรดที่ดีควรใช้ในการเลือกสินทรัพย์หรือกระดานซื้อขาย เนื่องจากการมีปริมาณซื้อขายสูง นอกจากจะช่วยในเรื่องของการความผันผวนของราคาที่ต่ำกว่าแล้ว ยังช่วยให้สามารถวิเคราะห์ทิศทางของราคาเพื่อสร้างกลยุทธ์ซื้อขายที่ดีได้อีกด้วย

ขั้นตอนสมัคร Bitkub