เทคนิคการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับเทรดเดอร์ที่เทรดเป็นประจำ

คุณอาจเคยได้ยินคำว่า “ล้างพอร์ท” คือการเทรดจนหมดเงินเครดิต คำสั่งซื้อขายติดลบและถูกปิดโดยอัตโนมัติ เป็นเหตุการณ์ที่เทรดเดอร์ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน แต่หากเรารู้จักบริหารจัดการความเสี่ยงก็จะช่วยลดการสูญเสีย และยังสามารถช่วยปกป้องบัญชีของเทรดเดอร์ไม่ให้สูญเสียเงินทั้งหมด การบริหารความเสี่ยงเป็นข้อกำหนดเบื้องต้นที่จำเป็นเพื่อให้การซื้อขายประสบความสำเร็จแต่กลับมักถูกมองข้าม แม้เทรดเดอร์ที่สร้างผลกำไรจำนวนมากก็อาจสูญเสียเงินทั้งหมดไปกับการเทรดหนึ่งหรือสองครั้งได้หากไม่มีกลยุทธ์จัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม เทรดเดอร์มือสมัครเล่นส่วนใหญ่สูญเสียเงินตั้งแต่เริ่มต้น ดังนั้นการบริหารความเสี่ยงจึงมีความสำคัญมาก 

เทคนิคการบริหารจัดการความเสี่ยง

เทรดเดอร์ที่ยังไม่ประสบความสำเร็จมักจะเข้าเทรดโดยไม่ทราบจุดที่จะทำกำไรหรือทำให้ขาดทุน ไม่ต่างจากนักเสี่ยงโชคที่มีวันโชคดีและวันที่เสียหมดตัว เมื่อให้อารมณ์ร้ายเข้ามาครอบงำและเป็นตัวกำหนดการซื้อขายก็จะเกิดการสูญเสียที่กระตุ้นให้เทรดเดอร์ไม่ปล่อยวาง ด้วยความหวังว่าจะได้เงินคืน ในขณะที่ผลกำไรก็สามารถล่อลวงให้เทรดเดอร์ถือสถานะเอาไว้ด้วยความเชื่อว่าจะได้กำไรมากกว่าเดิม เราจึงจำเป็นต้องมีเทคนิคขั้นตอนการบริหารความเสี่ยงเพื่อเป็นหลักให้พิจารณา และไม่เทรดโดยใช้อารมณ์ความรู้สึกเป็นตัวนำ

  1. วางแผนการเทรด นายพลซุนวูเคยกล่าวไว้ว่า “รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” เพราะการรบหากรู้จักการวางแผนที่ดีก็มีสิทธิ์จะชนะทุกครั้ง เปรียบได้กับการบริหารความเสี่ยง เมื่อเราวางแผนล่วงหน้า เราจะเห็นความแตกต่างระหว่างความสำเร็จและความล้มเหลว ให้คุณตรวจสอบว่าโบรกเกอร์ที่เลือกเหมาะกับการซื้อขายเป็นประจำ เพราะโบรกเกอร์บางแห่งเน้นบริการลูกค้าที่เทรดไม่บ่อย แต่คิดค่าคอมมิชชั่นสูงและไม่มีบริการเครื่องมือวิเคราะห์ที่ดีสำหรับเทรดเดอร์ที่เทรดเป็นประจำ และไม่ควรเปิดสถานะมากเกินกว่าที่คุณจะจัดการได้
  2. พิจารณากฎหนึ่งเปอร์เซ็นต์ โดยพื้นฐาน กฎนี้แนะนำว่าคุณไม่ควรลงทุนเกิน 1% ของเงินทุนหรือบัญชีซื้อขายของคุณลงในการซื้อขายเดียว สมมุติว่าคุณมี 10,000 บาทในบัญชีซื้อขาย สถานะที่คุณเปิดในเครื่องมือทางการเงินใดก็ตามไม่ควรเกิน 100 บาท กลยุทธ์นี้เหมาะกับเงินทุนที่ไม่สูงมากนัก แต่สำหรับเทรดเดอร์ที่ลงทุนสูงกว่านี้ก็สามารถปรับเป็น 2% ได้ เทรดเดอร์หลายรายที่บัญชีมีบาลานซ์สูงอาจเลือกใช้เปอร์เซ็นต์ต่ำลง เพราะเมื่อขนาดของบัญชีเพิ่มขึ้น สถานะก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน วิธีที่ดีที่สุดคือการรักษากฎให้ต่ำกว่า 2% เพื่อไม่ให้ตกอยู่ในความเสี่ยง
  3. ปิดสถานะ สิ่งสำคัญคือเราจำเป็นต้องรู้ว่าเมื่อใดควรปิดสถานะ เมื่อคุณวางแผนการเทรดอย่างถูกต้องรอบคอบ คุณจะพบว่าบางคำสั่งซื้อขายอาจไม่มีโอกาสทำกำไร คุณจึงควรรีบปิดสถานะดีกว่ารอให้ขาดทุนเพิ่มขึ้นในภายหลัง
  4. ตั้งค่า Stop Loss (SL) และ Take Profit (TP) เป็นการกำหนดระดับสำหรับคำสั่งซื้อขาย (ตามราคาตลาดหรือคำสั่งซื้อขายล่วงหน้า) เพื่อให้คำสั่งดังกล่าวทำการปิดโดยอัตโนมัติเมื่อได้รับผลกำไรตามที่คาดหวัง หรือเพื่อให้ขาดทุนน้อยที่สุด สิ่งที่อยากแนะนำคือ สมมติว่าหุ้นส่วนใหญ่เป็นขาขึ้น แต่มีสัญญาณสำคัญให้คุณเห็นความอ่อนแอในตลาด นี่เป็นโอกาสดีในการกระจายความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพและตัดผลกำไรจากสถานะที่ผลงานดี แม้ว่าจะยังไม่บรรลุไปถึงเป้าหมายกำไรที่วางไว้ก็ตาม เมื่อหุ้นส่วนใหญ่เป็นขาลง คุณจะได้ใช้แผนจัดการความเสี่ยง
  5. กระจายพอร์ทการลงทุนและป้องกันความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ อย่าใส่ไข่ทุกฟองไว้ในตะกร้าใบเดียวกัน เพราะหากตะกร้าเสียหาย เราก็จะสูญเสียไข่ทุกฟอง หมายความว่าเราควรกระจายความเสี่ยงออกเป็นหลายส่วน เพื่อไม่ให้เราสูญเสียรายได้ทั้งหมด หากคุณกระจายการลงทุนไปทั่วทั้งภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดและกระจายความเสี่ยงในทางภูมิศาสตร์ คุณไม่เพียงสามารถจัดการความเสี่ยงได้เท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสทำกำไรมากขึ้นอีกด้วย ดาวน์โหลด MT5 แพลตฟอร์มเทรดออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ให้เทรดเดอร์วิเคราะห์ตลาดได้อย่างมืออาชีพ

ไม่ว่าคุณจะเทรด Forex เทรดหุ้น เทรดคริปโต หรือเครื่องมือทางการเงินใดก็ตาม การซื้อขายอาจเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและให้ผลกำไรหากคุณมีสมาธิ ขยันวิเคราะห์ และรักษาอารมณ์ให้คงที่ เทรดเดอร์ที่จะประสบความสำเร็จยังต้องนำวิธีจัดการความเสี่ยงไปใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียจนควบคุมไม่ได้ การมีแนวทางเชิงกลยุทธ์และเป้าหมายเพื่อตัดขาดทุน (Cut Loss) ผ่านคำสั่ง Stop  คำสั่ง Take Profit เป็นวิธีชาญฉลาดหากต้องการทำกำไรในโลกแห่งการเงิน