“…ตลอดชีวิตฉันเชื่อในสิ่งที่คิด  …   หรือมันจะเป็นอะไรที่ผิด และฉันเองที่หลงทาง   …   ชีวิตมันต้องเดินตามหาความฝัน     หกล้มคลุกคลานเท่าไหร่   …   มันจะไปจบที่ตรงไหน เมื่อเดินเท่าไหร่มันก็ไปไม่ถึง   …”

พี่ตูน บอดี้สแลม ไม่กล่าวไว้  แต่ร้องไว้

เกริ่นกันไปถึงใจ วันนี้ขอเสนอมุมมองสำหรับคนที่อยากมีธุรกิจของตัวเอง แต่ปัจจุบันยังทำงานประจำอยู่ เรามาคุยกันว่า ตรงไหนที่ที่เป็น

“สัญญาณปีน” ให้ “เรือเล็กออกจากฝั่ง”  

ใจอย่างเดียวยังพอไหม หรือต้องใช้สมองคิดตรงไหน

“โอกาส” ในยุคนี้มีตัวช่วยมากมาย ทั้งจากเทคโนโลยีรอบตัวที่รุดหน้าไปเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเปิดร้านค้าขายออกไลน์ ธุรกิจการจัดส่งของได้เพียงกดผ่านแอพลิเคชั่น ธุรกรรมทางการเงินไร้เงินสด ฯลฯ

วันนี้จึงขอแนวคิด หาจุดคุ้มทุน หรือจุดน่าเสี่ยง (หรือจะเรียกสัญญาณปล่อยเรือออกจากฝั่ง ก็ได้ครับ ^^)

ในเรื่องคนมีความฝัน อยากจะมีธุรกิจส่วนตัวก็เป็นสิ่งที่ดี แต่การทุ่มเทหมดหน้าตัก หรือการไม่มีแผนสำรอง อาจทำให้ชีวิตเราเหมือนการทุบหม้อข้าวตีเมือง ฉะนั้นการเตรียมตัว การวัดค่าที่เป็นรูปธรรมอาจจะเริ่มจำเป็นเพื่อให้การตัดสินใจจับต้องได้ เหมือนกับเราต้องรักษาสมดุลใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ เหมือนกับใจและสมอง ที่เป็นของคู่กัน

ว่ากันที่ใจก่อน

หากเราพบแล้วว่าเราอยากทำธุรกิจเป็นของตัวเองมากกว่าเป็นลูกจ้าง และรู้ว่าเราชอบอะไร ขอแสดงความยินดีด้วยครับ การค้นพบสิ่งที่ตนเองรักและสนุกกับมันเป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก หลายคนใช้เวลานาน บางคนอาจจะหาไปทั้งชีวิตก็คงไม่พูดเกินไปครับ เพราะฉะนั้นส่วนนี้ไม่ขอลงลึกในรายละเอียดครับ

  • หมื่นลี้เริ่มต้นที่ก้าวแรก…
  • ฝันให้ไกลไปให้ถึง…
  • ชีวิตของเรา..ใช้ซะ… คำปลุกใจมากมาย เมื่อใจพร้อมแล้วเราไปกันต่อเลยครับ

ในส่วนของการใช้สมองคำนวน เราต้องเตรียมตัวอะไรบ้างกันดี

เงิน.. แน่นอนคงหนีไม่พ้น ไม่งั้นหิวแล้วจะเอาไรกิน.. มันก็ถูกเพราะเรามาหาจุดคุ้มทุนกันนี่นา อย่างไรมีประเด็นพอสังเขปที่ควรจะคิดเตรียมตัวไว้ก่อนตามนี้

1.รายรับรายจ่ายตัวเรา เรารู้ไหม แบ่งเป็นคงที่เท่าไหร่ แบบผันแปรเท่าไหร่ หากไม่รู้ อาจจะลองหาความรู้เทคนิคการทำบัญชีส่วนตัวตามสื่อต่าง ๆ ได้ทั่วไปครับ

2.ความสะดวกสะบายที่จะเปลี่ยนไป สวัสดิการต่างๆที่จำเป็นต้องเตรียมให้ตัวเองไหม เช่น ประกันสังคม การรักษาพยาบาล หรืออุบัติเหตุ ประกันชีวิตเรามีไหม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ท่องเที่ยว การฝึกอบรม 9ฯ9 อาจจะเลือกแต่สิ่งที่สำคัญกับเราจริง ๆ ก่อน เพราะบางสวัสดิการเราได้แต่เราก็ไม่ได้ใช้ อันนั้นไม่ต้องมาคิดรวมครับ

3.ตัวคนเดียวหรือมีคนข้างหลัง ความเป็นอยู่แบบเดิมรับได้ไหม เรื่องนี้หมุนรอบตัวหนึ่งรอบก็น่าจะพอเห็นภาพครับ

4.ส่วนพัฒนาของชีวิตหล่ะ เราอยากไปไกลกว่านั้นแค่ไหน เราพัฒนายังไงต่อ พนักงานประจำบางครั้งเรามีโอกาสได้ไปฝึกอบรม หรือเรียนรู้ตามประสบการณ์ ในการทำธุรกิจส่วนตัว เราจะพัฒนาจากช่องทางไหนได้บ้าง ก็เราบอกจะแลกมาด้วยการเหนื่อยกว่าเดิมนี่นา

5.รับความเสี่ยงเปลี่ยนตามฝัน นานเท่าไหร่ดี มีไทม์ไลน์ไหม เงินฉุกเฉินมีกี่เดือน หากออกมาทำเองของขายไม่ดีกำไรน้อยกว่าเงินเดือน มีทางเลือกที่สองไหม หรือกลับไปสมัครงานแบบเดิม อันนี้คิดแผนสำรองกันไว้ให้ถี่ถ้วนครับ

มายกตัวอย่างกัน

นางสาว สดใส ใจสวย อยากออกมาเปิดร้านทำเล็บ ซึ่งปัจจุบันเป็นพนักงานประจำ มีสวัสดิการ และรายละเอียด ดังนี้

รายได้และสวัสดิการค่าใช้จ่าย
เงินเดือน 30,000 บาท

ประกันสังคม

ชุดพนักงาน สำหรับ 5 วันทำงาน

รถรับส่งไปโรงงาน

ค่ารักษาพยาบาลหากเจ็บป่วย ปีละ 5,000 บาท เบิกตรง

(ไม่ต้องควักเงินจ่าย)

ค่าเช่าหอ 4,000 บาท

ค่ากินอยู่  12,000 บาท

ค่าโทรศัพท์  700 บาท

ให้พ่อแม่  5,000 บาท

(โดนหักประกันสังคม 750 บาท)

(รวมค่าใช้จ่ายคงที่ 10,450 บาทและ ผันแปร 12,000 บาท)

รวม 22,450 บาท

1.พิจารณาเบื้องต้นก่อน

จากตัวอย่าง นางสาวสดใจ มีค่าใช้จ่าย รวม 22,450 บาท ถ้าพูดง่าย ๆ ก็คือหากออกมาทำธุรกิจส่วนตัวแล้ว มีกำไรมากกว่า นี้ก็สำเร็จในขั้นต้น (ย้ำว่าขั้นต้นครับ) ส่วนนี้ขอใช้คำว่ากำไรครับ เนื่องจากนางสาว สดใส อาจจะมีต้นทุนต่างๆในการเริ่มทำธุรกิจ เช่นการซื้ออุปกรณ์ อาจจะมีหุ้นส่วนต้องแบ่งกัน ค่าใช้จ่ายสิ่งของสิ้นเปลืองต่างๆ  ฯลฯ จึงขอพิจารณาว่าเป็นกำไรที่หักค่าใช้จ่ายส่วนธุรกิจออกมาแล้ว เป็นรายเดือนนะครับ ในเรื่องความเสี่ยงทางธุรกิจจะเป็นอีกประเด็นใหญ่ อย่างไรวันนี้ขอเสนอแนวคิดในการเตรียมบริบทรอบตัวครับ

2.เริ่มซับซ้อนแล้วใช่ไหมครับ ใจเย็นนะครับ มาคิดกันต่อ

  • สมมติว่า นางสาว สดใส ทำกำไรได้ส่วนแบ่งแล้วเดือนละ 40,000 บาท ค่าใช้จ่ายเท่าเดิม จะเหลือเงินเดือนละ 17,868 บาท (หักค่าใช้จ่ายตามตารางแต่หักประกันสังคม 432 บาทแทน 750 บาทตามที่จะอธิบายต่อไปแทน)
  • สวัสดิการที่หายไปคือประกันสังคม วางแผนว่าจ่ายต่อเองเอาไว้ใช้แทนสิทธิรักษาพยาบาลด้วยในตัว เหลือจ่ายเดือนละ 432 บาทต่อเดือน (ประหยัด 750-432=318 บาท) (อ้างอิง http://www.sso.go.th/wpr/main และเลือก หาข้อมูล ประกันตนโดยสมัครใจ(มาตรา39))
  • ชุดทำงานกิจการตัวเองใส่ชุดที่มีอยู่ การเดินทางใช้ขึ้นรถเมล์ฟรี ส่วนค่ารักษาพยาบาลไม่ทำประกันเพิ่ม ใช้ส่วนสวัสดิการจากประกันสังคมแทน

ถึงตรงนี้ นางสาว สดใส จะเหลือเงินเข้ากระเป่า เดือนละ 17,868 บาท ตามที่กล่าวไป แล้วแบบนี้มันดีไหม ดีพอหรือยัง…

3.อย่าลืมว่า เรายังไม่ได้เทียบกับเลย ตอนเป็นพนักงานประจำเงินเหลือเท่าไหร่… ใครได้คิดตามบ้าง

…ปิ๊งป่อง.. เหลือ 7,550 บาท (30,000-22,450)… โห

 โดยรวมแล้ว นางสาว สดใส ทำธุรกิจเหลือเงินมากกว่าทำงานประจำ

เงินเป็นจุดเริ่มต้นแต่ไม่ใช่ปัจจัยทั้งหมดของเรื่องนี้

ถ้าตอบเป็นตัวเงินใช่ครับ เรือเล็กออกจากฝั่งได้ กรณีนี้สอบผ่าน ที่จะออกมาเป็นนายตัวเอง โดยเลือกเงื่อนไขว่าจะขอใช้คุณภาพชีวิตเป็นแบบเดิม แต่ในความเป็นจริงมีตัวแปรต่างๆที่เราอาจจะควบคุมไม่ได้ ทำให้เกิดผลกระทบเกินการแผนที่วางไว้ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และ ศักยภาพของเราหรือกิจการหล่ะจะเพิ่มพูนจากไหน เงินที่เหลือเพิ่มนี้พอสร้างการต่อยอดไปได้ไหม อาจต้องคิดเติม เพิ่มรอบด้านซักหน่อย

 

การทำงานประจำหรือทำธุรกิจส่วนตัว ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จไม่ต่างกัน แต่ละบุคคลมีความชอบ ความถนัด หรือเป้าหมายที่ต่างกัน หากคุณยังไม่ได้มีรูปแบบชีวิตแบบที่ต้องการ ใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพียงแต่อยากแสดงให้เห็นว่าในการเปลี่ยนแปลง จากพนักงานประจำ มาสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจ อาจจะต้องคิดและมองให้รอบด้านเพื่อเพิ่มความเป็นไปได้ที่จะไปถึงเป้าหมาย และไม่ใช่แค่การไปถึง ต้องไปถึงอย่างมีความสุขที่ได้เลือกด้วย

ไม่ว่าวันนี้คุณจะยืนอยู่ในสถานะไหน “จงทำดีที่สุด ในจุดที่คุณยืน” และพยายามที่จะ “พัฒนาเพื่อก้าวไปอีกคนละก้าวทุกวัน”

บทความโดย

ผู้ผ่านรับการฝึกอบรม “ใช้เวลาว่างเขียนบทความสร้างรายได้”

คุณ ธิติเศรษฐ์ ธิติโรจนะวัฒน์

ผู้จัดการโครงการ และผู้จัดการโครงการสารสนเทศ