จุดเริ่มต้นของ Levi’s เริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1850 ในยุคที่เหมืองทองเฟื่องฟูจนถึงขีดสุด โดยนายลีวาย สเตราส์ (Levi Strauss) พ่อค้าขายของชำชาวเยอรมัน เดินทางมาขายสินค้าทั่วไปในเหมืองทองในเมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา สินค้าที่นายสเตราท์นำมาขายทั้งหมดล้วนแล้วแต่ขายจนหมดเกลี้ยงในระหว่างทาง เหลือเพียงเต๊นท์ผ้าใบที่ใช้คลุมสินค้าที่นำมาขายเท่านั้น

Levi’s แรร์ไอเทมที่คนรักยีนส์จะต้องมีครอบครองอย่างน้อยคนละตัวสองตัว แม้ว่าจะมีกางเกงยีนส์แบรนด์อื่น เข้ามาขอแชร์ส่วนแบ่งการตลาด ทว่า Levi’s ยังคงเป็นสุดยอดยีนส์ในดวงใจของใครหลาย ๆ คนไม่มีวันจืดจาง  รัก Levi’s มากแค่ไหน….ทุกวันนี้ยังคงมีสาวกยีนส์ยังพยายามเสาะหายีนส์ Levi’s มือสองรุ่นหายากไม่ว่าจะเป็นรุ่น Levi’s Original ยีนส์ LEVI’S ป้ายเรดเทป,  Red Tab BigE และ ผ้าริมแดง Selvage จนราคาพุ่งสูงปรี๊ด แต่ก็ใช่ว่า Levi’s รุ่นใหม่ ๆ จะน้อยหน้ารุ่นเก๋า ขึ้นชื่ว่าแบรนด์ Levi’s ไม่ว่าออกรุ่นไหนมาก็ขายดี ไม่ว่าจะด้วยประวัติยาวนานนับร้อยปี หรือ ความเป็นแบรนด์สากลที่เป็นที่นิยมอย่างสูง

กางเกงสุดถึกทนจากเหมืองทองสู่แฟชั่นสุดเท่ห์

        จุดเริ่มต้นของ Levi’s เริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1850 ในยุคที่เหมืองทองเฟื่องฟูจนถึงขีดสุด โดยนายลีวาย สเตราส์ (Levi Strauss) พ่อค้าขายของชำชาวเยอรมัน เดินทางมาขายสินค้าทั่วไปในเหมืองทองในเมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา สินค้าที่นายสเตราท์นำมาขายทั้งหมดล้วนแล้วแต่ขายจนหมดเกลี้ยงในระหว่างทาง เหลือเพียงเต๊นท์ผ้าใบที่ใช้คลุมสินค้าที่นำมาขายเท่านั้น

กระทั่งมีชาวเหมืองคนหนึ่งได้จุดประกายสินค้าชนิดใหม่ของเขา โดยแนะนำให้เขานำกางเกงสที่มีความทนทานสูงมาขาย เพราะกางเกงที่คนงานในเหมืองใช้ไม่มีความทนทานขาดเสียหายง่าย นายสเตราท์จึงนำผ้าใบคลุมสินค้าที่มีอยู่ไปตัดเป็นเสื้อและกางเกงออกขายให้ชาวเหมืองทอง ซึ่งสินค้าของเขาได้ขายหมดไปอย่างรวดเร็ว เมื่อผ้าใบหมดไปนายสเตราท์จึงได้สั่งผ้าใบเรือ รวมทั้งผ้าเนื้อหนาหลากหลายขนิดมาทำการตัดเสื้อและกางเกงขายให้กับคนงานเหมือง

จนกระทั่ง ปี ค.ศ.1860 นายสเตราท์ได้ใช้ผ้าฝ้ายจากฝรั่งเศสที่เรียกว่า “เซิร์จ เดอ นิมส์ (Serge De Nims)” ซึ่งต่อมาได้เรีบกชื่อสั้นลงเป็น “เดนิม” และในปีเดียวกันนั้น นายจาคอบ เดวิส (Jacob Davis) ช่างตัดเสื้อจากรัฐเนวาดา ได้ทำการตอกหมุดลงบนมุมกระเป๋ากางเกงของคนงานเหมืองเพื่อเพิ่มความทนทานเนื่องจากเป็นจุดที่ขาดเสียหายง่าย นายสเตราท์จึงนำวิธีการตอกหมุดมาใช้กับเสื้อและกางเกงของเขาโดยตั้งชื่อว่า “Levi’s” และทำการจดสิทธิบัตรร่วมกับ นายจาคอบ เดวิส ในวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ.1873” โดยกางเกงยุคแรก ๆ  นี้ถูกเรียกว่า “โอเวอร์ออล์ส” (Overalls)

ในช่วงปี ค.ศ. 1930-1939  Levi’s ได้ทำการพัฒนากางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX อย่างสมบูรณ์แบบ โดยออกแบบให้มีหูสำหรับร้อยเข็มขัด มีซินช์แบ็ค เบลท์ สำหรับปรับกระชับ และได้ผลิตกางเกงสำหรับผู้หญิง เสื้อเบลาซส์ และแจ๊คเก็ตสำรหรับผู้หญิงอีกด้วย จากนั้นได้มีการปลี่ยนชื่อเรียกจาก โอเวอร์ออลล์ส เดนิม เป็น ยีนส์  และเปลี่ยนจากการใช้กระดุมเป็นใช้ซิปแทนในช่วงปี ค.ศ. 1960 – 1969

ปัจจุบัน  Levi Strauss & Company  มีสาขากระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก มีรายได้ในปี 2017 จำนวน 156,800 ล้านบาท กำไร 9,120  ล้านบาท และมียอดขายเพิ่มมากขึ้นถึง 8% อันเนื่องมาจากกระแสวินเทจที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

เดินตามรอยความสำเร็จของ Levi’s

1.ก้าวเล็ก ๆ สู้ก้าวใหญ่ที่มั่นคง

เมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีก่อน คงไม่มีใครคิดว่า นายสเตราท์ พ่อค้าขายกางเกงสำหรับกรรมกรชาวเหมืองจะประสบความสำเร็จจนมียอดขายนับแสนล้าน  การเริ่มต้นธุรกิจสินค้าที่ขายไม่จำเป็นต้องยิ่งใหญ่อลังการ สินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวันเล็ก ๆ นี่แหละ จะช่วยเปิดโอกาสธุรกิจได้ดียิ่งกว่า

2.เลือกจับให้ถูกจุด

เดิมนายสเตราท์เดินทางมาซานฟรานซิสโก เพื่อนำสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันมาเพื่อขายให้กับกลุ่มชนที่แห่แหนเข้ามาทำเหมืองทอง แต่เมื่อมองเห็นลู่ทางในธุรกิจกางเกงผ้าใบสำหรับทำเหมือง ที่ยังขาดคู่แข่ง เขาก็เริ่มเข้ามาจับธุรกิจนี้อย่างจริงจัง

3.พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส

พูดได้ว่า Levi’s ถือกำเนิดจากวิกฤติโดยแท้ Levi’s คงไม่เกิดหากนายสเตราท์ ไม่ขายสินค้าหมดไประหว่างทางจนไม่เหลือสินค้าเมื่อมาถึงเหมือง และตำนานยิ่งใหญ่คงจบเพียงเท่านี้หากเขาไม่ได้คิดนำผ้าใบคลุมสินค้ามาตัดเย็บเสื้อและกางเกงขาย สร้างตำนวน Levi’s มาจนถึงปัจจุบัน

4.กลยุทธปรับเปลี่ยนได้ ไม่จำเป็นต้องของเดิมเสมอไป

เมื่อเต๊นท์ผ้าใบหมดไป นายสเตราท์ ได้เปลี่ยนใช้วัตถุดิบอื่น ๆ ในการผลิตสินค้าแทนผ้าเต๊นท์ แต่ยังคงเน้นไปที่ความหนาทนทานของเนื้อผ้า

5.คำติต้องมาก่อนคำชม

แม้กางเกงที่ผลิตจากผ้าใบจะเป็นที่นิยมและขายหมดในเวลาอันรวดเร็ว ทว่าเมื่อลูกค้าบอกว่ากางเกงของเขาถลอกเป็นรอยง่าย เขาก็ปรับปรุงคุณภาพของสินค้าเพื่อแก้ไขจุดด้อยของผลิตภัณฑ์

6.รู้จักปรับให้รับกับยุคสมัย

แม่ Levi’s จะเฟื่องฟูในยุคคตื่นทองอยู่นานหลายปี ทว่าเมื่อหมดยุคทอง Levi’s ก็ปรับลุคของสินค้าจากการผลิตเพื่อการใช้งานสมบุกสมบัน มาเป็นกางเกงที่สามารถใส่ได้ในทุกโอกาสไม่ว่าจะทำงานหรือท่องเที่ยว

7.Limited Edition สร้างตำนานคลั่งยีนส์

ทุก 100 จะมีเพียง 1 ตัวที่จะมีป้าย Red Tab ®  ทำให้สาวกยีนส์ ต่างพากันจ้องที่จะเป็นเจ้าของกางเกงยีนส์ หนึ่งในร้อยตัวนั้น ทำให้กลายเป็นแรร์ไอเทมที่ไม่ว่าอย่างไรก็อยากจะได้มาครอบครองสักตัว

บทความโดย ผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร “เขียนบทความสร้างรายได้ รุ่น 2”

คุณ สุภารัตน์  ศรีลา (แต)ปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต

มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา

ปัจจุบัน พนักงานบริษัท และตัวแทนประกันชีวิต

บทความเกี่ยวกับกรณีศึกษา