หลายคนไม่รู้ว่านอกเหนือจากสวัสดิการประกันสังคมต่าง ๆ ที่ได้รับในระหว่างการเป็นผู้ประกันตนแล้ว ยังมีเงินส่วนหนึ่งที่เราสามารถขอรับเงินคืนจากประกันสังคมได้ด้วย ประกันสังคมจะจ่ายคืนยังไง จ่ายในกรณีไหนบ้าง ?
เริ่มต้นขายสินค้า ออนไลน์ แบบไม่ต้องสต็อกกับ PriceZA ลงทะเบียนฟรี https://bit.ly/3fyJuUw
เมื่อเราเข้าทำงานเป็นลูกจ้างในสถานประกอบการ เรามีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมในทุก ๆ เดือน เพื่อรับสิทธ์ด้านการรักษาพยาบาล ว่างงาน คลอดบุตร เกษียณ สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ และเสียชีวิต ในอัตราร้อยละ 5 ของรายได้ แต่ไม่เกินรายได้เฉลี่ย 15,000 บาท ซึ่งก็คือเรทสูงสุดอยู่ที่เดือนละ 750 บาทในส่วนของลูกจ้าง และนายจ้างเองก็มีหน้าที่นำส่งเงินสมทบจำนวนเท่า ๆ กันกับเงินสมทบในส่วนของลูกจ้างเช่นกัน
แต่หลายคนไม่รู้ว่านอกเหนือจากสวัสดิการประกันสังคมต่าง ๆ ที่ได้รับในระหว่างการเป็นผู้ประกันตนแล้ว ยังมีเงินส่วนหนึ่งที่เราสามารถขอรับเงินคืนจากประกันสังคมได้ด้วย ประกันสังคมจะจ่ายคืนยังไง จ่ายในกรณีไหนบ้าง
เงินสมทบที่จ่ายไป จะได้คืนมาทั้งหมดหรือไม่?
เงินสมทบประกันสังคมที่เราจ่ายไปในทุก ๆ เดือนนั้น จะถูกจัดสรรปันส่วน กลายเป็นสวัสดิการสังคมในแต่ละประเภท เช่น เงินสมทบประกันสังคมในส่วนของลูกจ้างในอัตราสูงสุดเดือนละ 750 บาท เงินก้อนนี้จะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน
- สวัสดิการพื้นฐาน ในส่วนของ ค่ารักษาพยาบาล ค่าคลอดบุตร เงินสงเคราะห์บุตร ค่าชดเชยทุพพลภาพ และกรณีเสียชีวิต จำนวน 225 บาท
- ค่าชดเชยกรณีว่างงาน โดยจะได้รับเงินตามหลักเกณฑ์ของประกันสังคม ในกรณีที่ลาออกจากงาน และการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด จำนวน 75 บาท
- เงินบำเหน็จ บำนาญชราภาพ เป็นเงินออมระยะยาวที่จะได้รับเมื่อผู้ประกันตนอายุครบ 55 ปี จำนวน 450 บาท
เงินที่จะสามารถขอคืนได้คือส่วนของเงินบำเหน็จ บำนาญชราภาพ เดือนละ 450 บาทนี่แหละ เนื่องจากเงินสมทบในสองส่วนแรกจะเป็นส่วนที่ให้ความช่วยเหลือในส่วนของสวัสดิการสังคม ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่เราเป็นผู้ประกันตน แต่เงินบำหน็จ บำนาญชราภาพ เป็นส่วนของเงินสะสมที่ทางประกันสังคมได้จัดสรรไว้ให้ในกรณีที่ผู้ประกันตนเกษียณอายุแล้ว
เงินประกันสังคมได้คืนตอนไหน ?
เริ่มต้นขายสินค้า ออนไลน์ แบบไม่ต้องสต็อกกับ PriceZA
ลงทะเบียนฟรี https://bit.ly/3fyJuUw
1.รับคืนในกรณีการจ่ายเงินสมทบเกิน
ตามปกติแล้วนายจ้างจะมีหน้าที่หักเงินค่าจ้างในอัตราร้อยละ 5 เพื่อนำส่งกองทุนประกันสังคมในทุกเดือน แต่ในกรณีที่ลูกจ้างได้ทำงานกับนายมากกว่า 1 รายในเดือนเดียวกัน นายจ้างแต่ละราย ต่างก็ทำหน้าที่หักเงินค่าจ้างเพื่อนำส่งตามกฏหมาย จึงทำให้เกิดเหตุการณ์จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 1 แห่ง ทำให้เงินสมทบที่จ่ายในเดือนนั้นเกินเรทสูงสุดคือ 750 บาท ยกตัวอย่างเช่น
ลูกจ้างมีการเปลี่ยนงานในระหว่างเดือน นายจ้างเก่าทำการหักเงินสมทบจากค่าจ้าง 10,000 บาท ในอัตราร้อยละ 5 เป็นจำนวนเงิน 500 บาท และนำส่งกองทุนประกันสังคม ส่วนนายจ้างรายใหม่ ก็ทำการหักเงินสมทบจากค่าจ้าง 13,000 บาทในอัตราร้อยละ 5 เป็นจำนวนเงิน 650 บาท และนำส่งกองทุนประกันสังคมเช่นกัน ดังนั้น ในเดือนนี้ลูกจ้างรายนี้ได้จ่ายเงินสมทบไปจำนวน 500 + 650 = 1,150 บาท จ่ายเกินไป 400 บาท ซึ่งเงิน 400 บาทนี้สามารถขอรับคืนได้
2.รับคืนในกรณีอายุครบ 55 ปี บริบูรณ์
ประกันสังคมจะมีเกณฑ์การจ่ายเงินคืนโดยอิงตามระยะเวลาในการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม คือ
- จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 12 เดือน ประกันสังคมจะจ่ายคืนในรูปแบบของเงินบำเหน็จชราภาพ คือการจ่ายเงินก้อนให้ในครั้งเดียว ยกตัวอย่างเช่น
จ่ายเงินสมทบเดือนละ 750 บาทมา 5 เดือน จะได้เงินคืนในส่วนของเงินบำเหน็จชราภาพ เดือนละ 450 บาท คูณจำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบเป็นเวลา 5 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จจำนวน 450 x 5 = 2,250 บาท
- จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือน ไม่ถึง 180 เดือน (15 ปี) ประกันสังคมจะจ่ายคืนในรูปของเงินบำเหน็จคือการจ่ายเงินก้อนให้ในครั้งเดียว แต่จะได้ในส่วนของนายจ้างเพิ่มขึ้นมาด้วย ยกตัวอย่างเช่น
จ่ายเงินสมทบเดือนละ 750 บาทมา 120 เดือน (10 ปี) จะได้เงินคืนในส่วนของเงินบำเหน็จชราภาพ เดือนละ 450 บาท และส่วนของนายจ้างอีก 450 บาท รวมเป็นเดือนละ 900 บาท คูณจำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบเป็นเวลา 120 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จจำนวน (450 + 450) x 120 = 108,000 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน พอดี ประกันสังคมจะจ่ายคืนในรูปแบบของเงินบำนาญชราภาพ โดยจะจ่ายคืนให้เป็นรายเดือน ในอัตราร้อยละ 20 ของเงินค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (สูงสุด 15,000 บาท) ไปตลอดชีวิต ยกตัวอย่างเช่น
เงินค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายคือ 15,000 บาท คูณอัตราเงินบำนาญชราภาพร้อยละ 20 จะได้รับเงินบำนาญเดือนละ 15,000 x 20% = 3,000 บาท ไปตลอดชีวิต
จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน (15 ปี ) ประกันสังคมจะจ่ายคืนในรูปแบบของเงินบำนาญชราภาพ โดยจะจ่ายคืนให้เป็นรายเดือน และส่วนของเงินสมทบที่จ่ายเกิน 180 เดือนจะได้รับเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของเงินค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ในทุก 1 ปี ( 12 เดือน) ที่จ่ายเกินมา ยกตัวอย่างเช่น
จ่ายเงินสมทบมา 204 เดือน (เกิน มา 24 งวดคิดเป็น 2 ปี) เงินค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายคือ 15,000 บาท ได้รับเงินบำนาญตามเกณฑ์การจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน เดือนละ 3,000 บาท และเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 เป็นเวลา 2 ปี ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญรวมเงินเพิ่มเดือนละ 3,000 + (15,000 x 1.5% x 2) = 3,450 บาท ไปตลอดชีวิต
จะขอคืนเงินจากประกันสังคมได้อย่างไร ?
กรณีการจ่ายเงินสมทบเกิน ?
จะต้องแจ้งความจำนงค์ขอรับเงินคืนภายใน 1 ปีนับจากวันที่ส่งเงินสมทบเกิน โดยสามารถขอรับเงินคืนได้ 2 วิธี คือ นายจ้างเป็นผู้ยื่นขอรับเงินคืนพร้อมแนบหลักฐานและเหตุผลการขอรับเงินคืนกับสำนักงานประกันสังคม และ ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับจดหมายแจ้งจากประกันสังคม สามารถกรอกข้อความแสดงความประสงค์ขอรับเงินคืนพร้อมลงลายมือชื่อ และนำไปยื่นกับสำนักงานประกันสังคม หรือจะส่งทางไปรษณีย์ก็สามารถทำได้เช่นกัน
2.รับเงินประกันสังคมคืน อายุ 55
สามารถ ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (สปส. 2-01) พร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์ เพื่อขอรับเงิน บำเหน็จ บำนาญ ชราภาพได้ที่สำนักงานประกันสังคมท้องที่ โดยจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังนี้
- จ่ายเงินสมทบตามเกณฑ์ที่กำหนด
- อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
- สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนแล้ว (ลาออกจากงาน หรือหยุดจ่ายเงินสมทบในกรณีเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39/40)
เงินประกันสังคมที่เราจ่ายไปในทุก ๆ เดือนไม่ใช่เงินจ่ายทิ้ง และไม่ได้มีสิทธิประโยชน์แค่ค่ารักษาพยาบาล และชดเชยการว่างงาน เท่านั้น หากแต่มีสิทธิ์ประโยชน์อื่น ๆ ที่เราควรรับทราบ เพื่อให้รู้ว่าสิทธิ์ที่เราพึงได้พึงมีจากประกันสังคมนั้นมีอะไรบ้าง และจะสามารถขอรับสิทธิประโยชน์ประกันสังคมในแต่ละประเภทได้อย่างไรบ้าง
ในส่วนของเงินบำเหน็จ บำนาญชราภาพ ถือเป็นสัดส่วน 60% ของเงินสมทบประกันสังคมที่เราจ่ายไปทั้งหมด ซึ่งหากเราไม่รู้และไม่ได้ขอรับสิทธิ์ในส่วนนี้ ก็เท่ากับว่าเราทิ้งเงินประกันสังคมส่วนใหญ่ไปโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว ดังนั้น ตรวจสอบตนเองว่าเป็นผู้ประกันตนประเภทไหน ได้รับสิทธิ์อะไรบ้าง เพื่อประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับในฐานะของผู้ประกันตน เพื่อเงินทุกบาททุกสตางค์ที่จ่ายไปจะไม่ได้สูญเปล่า
บริการอบรม ให้คำปรึกษาการทำธุรกิจออนไลน์ ฝึกอบรมภายในบริษัท แบบตัวต่อตัว การทำ Content Marketing,การโฆษณา Facebook,การโฆษณา Tiktok,การตลาด Line OA และการทำสินค้าให้คนหาเจอบน Google
บริการดูแลระบบการตลาดออนไลน์ให้ทั้งระบบ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสารความรู้การทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ Add Line id :@taokaemai
รับชมคลิป VDO ความรู้ด้านการตลาด กรณีศึกษาธุรกิจ แหล่งเงินทุนน่าสนใจ ติดตามได้ที่ช่อง Youtube : Taokaemai เพื่อนคู่คิดธุรกิจ SME