คงไม่มีใครอยากทำธุรกิจแล้วต้องขาดทุนหรอก และหากเป็นไปได้เราก็อยากให้ธุรกิจของเราอยู่สร้างเงินสร้างรายได้ให้กับเราไปนาน 10 ปี 20 ปี ไม่ใช่เปิดมา 2-3 ปีแล้วต้องเลิกกิจการไป เพียงแค่เรารู้จักปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีบริหาร และให้ความยุติธรรมกับลูกค้าในขณะที่เราเองก็ได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม
เคยสังเกตบ้างไหมว่า ทำไมธุรกิจขนาดเล็กตามตลาดนัด หรือตามศูนย์การค้าที่เราคุ้นหน้าคุ้นตา จู่ ๆ ทำไมถึงหายไป ทั้ง ๆ ที่เราก็เห็นเค้าขายดี มีลูกค้าเข้าร้านตลอด ร้านค้าร้านนั้นแค่ย้ายไปขายที่อื่น หรือจริง ๆ แล้วเขาเริ่มไปไม่รอดกับธุรกิจที่ทำอยู่?..ธุรกิจรายเล็กส่วนใหญ่มักจะไม่สามารถอยู่ได้นานเกิน 2-3 ปี บางร้านอยู่ได้เพียง 3-4 เดือนเท่านั้น มีหลายเหตุผลที่จะบอกได้ว่า เพราะอะไร ธุรกิจรายเล็กจึงมักไปไม่รอด
1.คิดว่าทุนน้อย เอาแค่วันนี้ขายได้ ไม่สนใจสร้างธุรกิจระยะยาว
คิดว่ารายเล็กอย่างเราทุนไม่หนาพอ ขอแค่วันนี้ขายได้วันต่อไปค่อยว่ากันอีกที ไม่คิดเผื่อไปว่าถ้าสินค้าดี ลูกค้าชอบ จะมีการบอกต่อ การรีวิว การกลับมาซื้อใหม่ ซึ่งจะช่วยทำให้ธุรกิจของเราสามารถอยู่ได้แบบยาว ๆ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาในการสร้างความชื่นชอบ สายสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า สักระยะหนึ่ง เพราะคิดว่าตัวเองทุนน้อยไม่สามารถรออะไรนาน ๆ ได้ ธุรกิจรายเล็กตัดสินใจหันหลังให้กับการสร้างแบรนด์ เลือกใช้กลยุทธ์การบริหารลูกค้าแบบขาจรเป็นหลัก แม้บางรายอาจมีรายได้หลักล้านต่อปี แต่กลับไม่สามารถรักษาธุรกิจไว้ได้ในระยะยาวได้
2.บริหารเงินไม่ได้ ขายได้แล้วไม่เก็บ มีแต่เจ็บ แล้วก็เจ๊ง
สิ่งที่รายเล็กส่วนใหญ่มักจะพลาดในการบริหารรายได้ของธุรกิจคือ กำไรได้เท่าไหร่เทเข้ากระเป๋าส่วนตัวให้เกลี้ยง เหลือไว้แค่เงินหมุนในการซื้อวัตถุดิบและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ กับเงินทอนนิดหน่อย ถามว่าทำแบบนี้อยู่ได้ไหม ก็อยู่ได้ แต่อยู่ได้ไม่นาน
ควรแยกรายได้จากธุรกิจกับเงินส่วนตัวออกจากกัน แยกคนละกระเป๋าไม่ต้องเอามาเอี่ยวกันไปเลย กำไรที่ได้มาก็เก็บในส่วนของกำไรจากการทำธุรกิจ รายได้ส่วนตัวก็แบ่งรับเป็นเงินเดือน เสมือนเราเป็นพนักงานคนหนึ่ง อย่าเอากระเป๋า 2 ใบมารวมกัน เพราะรวมกันเมื่อไหร่ ทุนจะหาย กำไรจะหด เงินหมดแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว เพราะเงินหมุนที่เราต้องใช้ในแต่ละเดือนมันไม่ได้จบแค่ค่าวัตถุดิบ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าเท่านั้น มันมีค่าใช้จ่ายอื่นที่อยู่ที่ดี ๆ ก็โผล่มาเฉย ๆ เช่น ค่าภาษี ค่าซ่อมบำรุงอุปกรณ์ต่าง ๆ หากไม่มีการแยกเงินให้เป็นสัดเป็นส่วน สุดท้ายก็ต้องควักเนื้อตัวเองออกมาจ่าย และท้ายสุดธุรกิจก็ไปไม่รอด
3.มองรายใหญ่ไห้เป็นแบบอย่าง แต่ไม่จำเป็นต้องทำอย่างเขา เพราะเราตัวยังเล็ก
เราสามารถนำแนวทางการบริหารธุรกิจจากบริษัทใหญ่ ๆ ที่ประสบความสำเร็จมาเป็นแนวทางในการทำธุรกิจของเราได้ แต่ไม่ใช่หยิบเอาของเขามาทั้งดุ้น เพราะเราเป็นธุรกิจรายเล็ก ซึ่งมีวิธีการบริหารธุรกิจที่ต่างกันอยู่แล้ว วิธีการบางอย่างเราสามารถเอาของรายใหญ่มาปรับใช้ได้ แต่บางอย่างเราไม่สามารถทำตามเขาได้ เช่น ทำไมรายใหญ่ถึงขายสินค้าราคาเท่านี้ได้ แต่เราทำไม่ได้ นั่นก็เพราะรายใหญ่สามารถซื้อวัตถุดิบล็อตใหญ่ได้ในราคาถูกกว่า เขาจึงสามารถขายสินค้าในราคานี้ได้โดยไม่กระทบผลกำไร แล้วรายเล็กควรทำอย่างไร?.. เราก็อย่าไปงัดข้อกับเขาสิ รายเล็กเองก็มีแนวทางในการบริหารต้นทุนในแบบของธุรกิจรายเล็กเช่นกัน เราสามารเลือกสร้างจุดขายในแบบของเราได้ มองรายใหญ่ให้เป็นแรงบันดาลใจ แต่ไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างเหมือนเขา เพราะเรายังเล็ก…ก้าวเล็ก ๆ อย่างมั่นใจดีกว่าก้าวใหญ่แล้วหกล้มนะ
4.ส่วนที่ควรลดไม่ลด ส่วนที่ควรเพิ่มไม่เพิ่ม
เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า รายเล็กส่วนใหญ่มีความกังวลเรื่องผลกำไรมาก ต้องการกำไรต่อชิ้นเท่านั้นเท่านี้ ต้นทุนต้องไม่เกินเท่านี้ ต้องขายวันละเท่าไหร่จึงจะมีรายได้ต่อเดือนตามเป้า แต่กลับไม่สามารถขายสินค้าได้เกินราคาท้องตลาด ในเมื่อตั้ง Target ไปแล้วว่าต้องได้กำไรต่อชิ้นเท่าไหร่ ในขณะที่ราคาขายขยับสูงขึ้นไม่ได้ สิ่งที่เลือกปรับลดลงคือต้นทุนสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยน Supplier ปรับสูตร ลดปริมาณ หรืออาจเป็นการลดคุณภาพวัตถุดิบลง ซึ่งทำให้คุณภาพของสินค้าเปลี่ยนไป ลูกค้าที่เคยเป็นขาประจำก็เริ่มหาย เพราะเขาจ่ายเงินเท่าเดิมแต่กลับได้รับสินค้าที่ด้อยคุณภาพลง อย่าคิดว่าเปลี่ยนแล้วลูกค้าจะไม่รู้ นอกจากเขาจะรู้แล้วยังจะบอกต่อกันอีกด้วย อานุภาพของการตลาดแบบปากต่อปากทำให้เราประสบความสำเร็จได้ ในทางกลับกัน มันก็สามารถทำให้เราเจ๊งได้เช่นกัน
5.ตั้งราคาไม่เหมาะสม มีแต่จะสร้างความขื่นขมให้กับธุรกิจ
อะไรคือการตั้งราคาที่เหมาะสม ธุรกิจรายเล็กมักมีปัญหาเรื่องการตั้งราคาสินค้า ขายถูกกำไรน้อย ขายแพงไม่มีคนซื้อ แล้วราคาแบบไหนจึงจะเรียกว่าเหมาะสม?…ราคากับคุณภาพต้องมีความสมดุลกัน คือลูกค้าได้สินค้าคุณภาพดีในราคาที่สูงนิดหน่อย แต่เขาได้ของดี อันนี้ลูกค้ารับได้ หรือหากวัตถุดิบของเราลดเกรดลงมาหน่อย แต่สามารถขายได้ในราคาที่ถูก ลูกค้าก็ยังรับได้ ในขณะที่ลูกค้าแฮปปี้ ในส่วนของผู้ขายเองก็ต้องมีกำไรที่เหมาะสมด้วย ไม่ได้ถูกเกินไปจนเหมือนทำงานเหนื่อยเปล่า หรือสูงเกินไปจนลูกค้ามีความรู้สึกเหมือนถูกเอาเปรียบ และหากธุรกิจเรามั่นคงดีแล้ว อยากจะขยับคุณภาพสินค้าให้ดีขึ้นโดยขายสินค้าในราคาเดิมได้ และไม่กระทบผลกำไรที่ได้รับ อันนี้เรียกว่ายอดเยี่ยมเลย
6.ใช้เทคโนโลยีไม่ได้ ค้าขายออนไลน์ไม่เป็น ยังไงก็ตามไม่ทันคนอื่นเขา
ธุรกิจรายเล็กส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับการทำการตลาดออนไลน์ เพราะคิดว่ามีหน้าร้านแล้ว ลูกค้าของเราคือคนที่เดินผ่านไปมา เป้าหมายของเราไม่ใช่ลูกค้าออนไลน์ซักหน่อย นั่นเป็นการจำกัดกลุ่มลูกค้าให้แคบลงด้วยน้ำมือของตัวเองเลยนะ เดี๋ยวนี้ทำธุรกิจต้องพึ่งตลาดออนไลน์เกือบ 100% เพราะช่องทางออนไลน์สามารถแทรกซึมไปได้ทุกที่ แม้กระทั่งคนที่ไม่รู้จักร้านเรา ไม่เคยสัมผัสกับสินค้าของเรามาก่อน ก็อาจจะดั้นด้นมาซื้อของกับเราถ้าเขาเห็นรูป เห็นรีวิว เห็นโพสต่าง ๆผ่านโซเชียล นอกจากนั้นเรายังเพิ่มช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ได้ด้วย ดังนั้น ธุรกิจขนาดเล็ก ไม่ควรมองข้ามเรื่องเทคโนโลยีและอิทธิพลของสื่อออนไลน์ ที่สามารถช่วยให้ธุรกิจของเรารอดและรุ่งต่อไปนาน ๆ
คงไม่มีใครอยากทำธุรกิจแล้วต้องขาดทุนหรอก และหากเป็นไปได้เราก็อยากให้ธุรกิจของเราอยู่สร้างเงินสร้างรายได้ให้กับเราไปนาน 10 ปี 20 ปี ไม่ใช่เปิดมา 2-3 ปีแล้วต้องเลิกกิจการไป เพียงแค่เรารู้จักปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีบริหาร และให้ความยุติธรรมกับลูกค้าในขณะที่เราเองก็ได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม อย่างเดอะวอฟเฟิล ที่ผลิตสินค้าด้วยวัตถุดิบคุณภาพสูง รสชาติดี ขนาดพอดีอิ่มในราคาไม่แพง ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่าครบถ้วน ในขณะเดียวกันก็มอบผลตอบแทน หรือผลกำไรให้กับผู้ขายได้อย่างเหมาะสมคุ้มค่ากับการทำธุรกิจ จึงทำให้เดอะวอฟเฟิลสามารถเป็นผู้นำแฟรนไชส์ขนมวอฟเฟิลอันดับหนึ่งมายาวนานถึง 15 ปี หากเราสามารถทำได้อย่างเดอะวอฟเฟิล แม้เราจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กก็จะสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืนแน่นอน
บริการอบรม ให้คำปรึกษาการทำธุรกิจออนไลน์ ฝึกอบรมภายในบริษัท แบบตัวต่อตัว การทำ Content Marketing,การโฆษณา Facebook,การโฆษณา Tiktok,การตลาด Line OA และการทำสินค้าให้คนหาเจอบน Google
บริการดูแลระบบการตลาดออนไลน์ให้ทั้งระบบ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสารความรู้การทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ Add Line id :@taokaemai
รับชมคลิป VDO ความรู้ด้านการตลาด กรณีศึกษาธุรกิจ แหล่งเงินทุนน่าสนใจ ติดตามได้ที่ช่อง Youtube : Taokaemai เพื่อนคู่คิดธุรกิจ SME