การที่ร้านอาหารจะดำเนินกิจการไปได้อย่างราบรื่น สิ่งสำคัญที่สุดคือการที่เจ้าของกิจการต้องมีนั่นก็คือ “พนักงานที่ดี ซื่อสัตย์และมีความสามารถ” ดังนั้นวันนี้เราจะมาดูเทคนิคในการคัดเลือกพนักงานร้านอาหารกันค่ะว่าจะมีวิธีการคัดเลือกพนักงานอย่างไร ให้ได้ตรงตามความต้องการเรา รวมถึงเทคนิคในการบริหารจัดการพนักงานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุด จะรอช้าอยู่ใยเราไปดูกันเลยครับ

การคัดเลือกพนักงานนอกจากเรซูเม่ที่เราพบเจอและใช้ในการพิจารณาเป็นด่านแรกแล้ว ยังมีขั้นตอนในการคัดเลือกพนักงานสำหรับร้านอาหารอีก 4 ขั้นตอนที่สำคัญๆ ด้วยกัน ที่จะทำให้เราได้พนักงานคนที่ใช่และตรงตามความต้องการของเรามากที่สุด

1.บุคลิกภาพ และรูปร่าง หน้าตา

อย่าลืมนะครับว่าการบริการลูกค้านั้น นอกจากการบริการและอาหารที่สะอาดและอร่อยแล้ว บุคลิกภาพ รูปร่าง หน้าตาของผู้คอยให้บริการก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะพนักงานถือได้ว่าเป็นตัวแทนหรือแบรนด์เคลื่อนที่ของร้านอาหารนั่นเอง ดังนั้นท่าทางและบุคลิกภาพที่ดีของพนักงานนอกจากจะทำให้ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการของเราประทับใจแล้ว ยังทำให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในการให้บริการของทางร้านอาหารอีกด้วย และเมื่อลูกค้าเกิดความประทับใจในรสชาติและการบริการของร้านอาหารแล้วล่ะก็ นั่นก็แปลว่าโอกาสที่ลูกค้าจะกลับมาใช้บริการใหม่อีกครั้งและมีการบอกเล่าเกี่ยวกับร้านอาหารหรือส่งต่อแชร์ความรู้สึกผ่านสื่อสังคมออนไลน์ย่อมมีสูง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีที่จะเพิ่มช่องทางในการโฆษณาให้กับร้านอาหาร เห็นไหมครับว่ามีอะไรดีๆ ตามมาเยอะแยะเลย

2.การทดสอบไหวพริบและการรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด

ในด่านนี้จะเป็นการเช็คความพร้อมและไหวพริบในการตอบสนองต่อลูกค้าในแต่ละเหตุการณ์ โดยเราอาจจะสมมติเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อทดสอบว่า “ว่าที่พนักงาน” ของเราจะมีวิธีการแก้ไขและรับมือต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร ซึ่งในการทดสอบในรูปแบบนี้จะทำให้เราได้รู้และมั่นใจได้ว่า “ว่าที่พนักงาน” ของเราสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดได้ดีขนาดไหน เรียกได้ว่ามีทักษะความสามารถในการสื่อสาร ปฏิญาณไหวพริบในการโต้ตอบกับลูกค้าได้ดี โดยไม่ทำให้ลูกค้าเสียความรู้สึกหรือไม่พอใจนั่นเองครับ

3.มีใจรักในการให้บริการ

หลังจากที่มีการทดสอบเบื้องต้นในการแก้ไขและจัดการกับสถานการณ์เฉพาะหน้าไปแล้วนั่นก็จะทำให้เรารู้ได้ทันทีเลยค่ะว่า “ว่าที่พนักงาน” ของเรานั้นมีใจรักในการบริการจริงและมากน้อยแค่ไหนจากข้อมูลที่ได้เขียนไว้ในเรซูเม่ที่ใช้ในการสมัครงาน หรืออาจจะมีตอบแบบสอบถามทางจิตวิทยาในการวิเคราะห์และประเมินข้อมูลช่วยเพิ่มเติมก็ได้ค่ะ

 

4.การคัดเลือกพิจารณาพนักงาน

จากการที่เราได้ทำการทดสอบและสัมภาษณ์งานไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการพิจารณาคัดเลือกบุคคล ซึ่งถือว่าขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายและสำคัญที่สุดในการรับสมัครพนักงาน

โดยการคัดกรองชั้นแรก จะเป็นการเลือกคนที่มีความสามารถและน่าสนใจที่สุดจากผู้สมัครทั้งหมดออกมาจำนวน 3 คน และหลังจากนั้นก็ทำการพิจารณาเลือกคนที่มีความโดดเด่นสูงที่สุด เพื่อ “เป็นคนที่ใช่” ในตำแหน่งงานที่เราต้องการ

หลังจากที่เราได้รับพนักงานเข้ามาทำงานกับเราเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทีนี้เราจะมีวิธีและเทคนิคการบริหารจัดการอย่างไร เพื่อที่จะดึงเอาความสามารถและศักยภาพที่มีในตัวพนักงานคนนั้นออกมาให้ได้มากที่สุดล่ะ ซึ่งการบริหารจัดการพนักงานถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจและควรให้ความสำคัญในฐานะนายจ้างไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะกิจการของเราจะรุ่งหรือร่วงนั้นส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับพวกเขานั่นเอง เอาล่ะนั้นเรามาดูกันเลยดีกว่าว่าเราจะต้องอย่างไรบ้าง เพื่อที่เราจะได้เห็นศักยภาพที่มีของพวกเขากันครับ

การทดลองงาน

โดยส่วนใหญ่การทดลองงานจะมีระยะเวลาอยู่ที่ 3  เดือนเป็นอย่างน้อย เพื่อให้พนักงานใหม่ได้มีเวลาเรียนรู้งานและปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงาน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นระยะเวลาการทดลองงานก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของทางร้านอาหารเองด้วยเหมือนกันนะครับ

ให้เขาทำในสิ่งที่รัก และสิ่งที่เขาถนัด

การที่ให้เขาทำในสิ่งที่รักและสิ่งที่เขาถนัดให้เติมที่ ไม่ว่าจะเป็นคนทำอาหาร พนักงานต้อนรับหรือบริการลูกค้า เพราะการที่เขาได้ทำในสิ่งที่รักและถนัดแล้วจะทำให้เขามีความมั่นใจและใส่ใจและมีความยินดีทุกครั้งทุกเวลาในการทำงานนั่นเองครับ จิตใจมีผลต่อการทำงานจริงๆ นะขอบอก

ให้อิสระในการทำงาน

เพื่อแสดงให้พวกเขาเห็นว่าเรามั่นใจและเชื่อใจในการทำงานของพวกเขา เป็นการใช้จิตวิทยาเข้ามามีบทบาทในการสร้างความไว้ใจและความเชื่อใจกันภายในองค์กร

สลับตำแหน่งหน้าที่ในแต่ละฝ่าย (ตามเห็นสมควร)

เมื่อทุกอย่างเข้าที่เข้าทางและไปได้สวย ลองให้พนักงานหลังร้านสลับมาทำหน้าที่ในการต้อนรับหรือบริการลูกค้า และให้พนักงานที่ทำงานอยู่หน้าร้านได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการทำงานหลังร้านดูบ้างนะครับ เป็นการสร้างสีสันในการทำงาน และทำให้พนักงานได้เรียนรู้ระบบการทำงานของคนอื่นด้วย เมื่อพนักงานความเข้าใจรูปแบบในการทำงานของแต่ละคนและมีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันมากขึ้นนั่นเองครับ ทีนี้รับรองได้เลยว่าไม่มีการบ่นให้ได้ยินแน่นอนครับว่าทำไมรายการอาหารมาช้าจัง ลูกค้าสั่งไปตั้งนานละ ในครัวทำอะไรกันอยู่ ดีไม่ดีคุณอาจได้เห็นศักยภาพอื่นๆ นอกจากที่เคยเห็นจากตัวพวกเขาก็เป็นได้นะครับ

 

เห็นไหมครับว่าจากขั้นตอน 4 + 4 ของการคัดเลือกและบริหารจัดการพนักงานเพียงเท่านี้ เราก็สามารถหาคนที่ใช่และได้พนักงานที่มีประสิทธิภาพไว้คอยช่วยงานแบบไร้ความกังวลแล้ว ทีนี้ไม่ว่าจะขยายร้านอาหารหรือเปิดขาสาเพิ่มก็ไม่มีปัญหาแน่นอนจ้า

 

สนใจปรึกษาปัญหาการทำธุรกิจ การตลาดออนไลน์
เพิ่มเพื่อน