ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ทรีนีตี้ จำกัด ได้วิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจโลกไว้ว่าเงินดอลลาร์มีโอกาสอ่อนค่าลง ส่งผลให้เม็ดเงินลงทุนไหลออกไปยังตลาดเกิดใหม่ที่มีลักษณะพึ่งพาตัวเองเป็นส่วนใหญ่อย่าง จีน และเวียดนาม แต่เม็ดเงินลงทุนอาจจะไม่มาประเทศไทย เนื่องจากเราพึ่งพาภาคการส่งออกเป็นหลัก และภาวะเศรษฐกิจยังไม่ได้กลับมาดีขึ้นเหมือนเดิม

ดังนั้นในปีหน้า โอกาสที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะสูงกว่า 1,300 จุดนั้นน่าจะเป็นเรื่องยาก ไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ยังคงมีการผันผวนค่อนข้างมาก โดยคาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยน่าจะอยู่ที่ 1,200 จุด

แนวทางการจัดสรรเงินลงทุนในปี 2564

ดร.วิศิษฐ์ แนะนำว่าเราควรจัดสรรเงินลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงเป็น Basket โดยแบ่งสัดส่วนดังนี้

  1. หุ้นไทย 15%-20% เน้นเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก อาจจะมีหุ้นธุรกิจขนาดใหญ่บ้างเล็กน้อย แต่เป็นการลงทุนเพื่อรอเงินปันผล
  2. ทองคำ 10% โดยควรลงทุนเมื่อราคาทองคำอ่อนตัวลง
  3. ตราสารหนี้ เนื่องจากจะให้เราได้ Cash Flow อย่างสม่ำเสมอ
  4. หุ้นต่างประเทศที่กำลังมาแรง เช่น จีน เวียดนาม
  5. เงินสด 25%-40% ควรถือไว้เป็นสัดส่วนประมาณนี้ เนื่องจากตลาดหุ้นปีหน้าจะผันผวนเหมือนปีนี้

เกณฑ์พิจารณาการลงทุนในปี 2564

  1. Strategic investment กลยุทธ์การลงทุน

1.1 ควรรอจังหวะที่ราคาหุ้นปรับตัวเป็นแบบ W Shape ขาเขย่ง (ดัชนีราคาหุ้นมีลักษณะคล้ายตัวอักษร W บ่งบอกว่าราคาหุ้นจะกลับตัวจากขาลงเป็นขาขึ้น)

1.2 ควรเลือกหุ้นบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มีปรับตัวเพื่อการอยู่รอดจากวิกฤตโควิด ด้วยการขยายกลยุทธ์การทำธุรกิจออกไปเช่น มีการควบรวมกันหรือหาหุ้นส่วนใหม่ๆ ในห่วงโซ่อุปทาน

  1. ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐ

ควรใช้ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ เป็นแนวทาง กล่าวคือ หาก โจ ไบเดน ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี หุ้นที่จะ Outperform ได้แก่ กลุ่มพลังงานทางเลือก พลังงานสะอาด กลุ่มที่เกี่ยวเนื่องกับ Climate change รวมถึงกลุ่มธนาคาร แต่หาก ทรัมป์ ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง หุ้นกลุ่มพลังงานดั้งเดิมอย่างน้ำมัน ถ่านหิน จะ Outperform ขึ้นมา รวมถึงหุ้นกลุ่ม Electronic และ กลุ่ม Industrial Estate (นิคมอุตสาหกรรม)

  1. Business model รูปแบบการทำธุรกิจใหม่

ควรเลือกหุ้นของบริษัทที่มีการปรับ Business Model ใหม่เพื่อให้เกิด S Curve นั่นหมายถึงหุ้นที่จะสามารถทำกำไรได้สูงขึ้นนั่นเอง เช่น บริษัทปรับจากการผลิตและขายสินค้า Commodity ซึ่งได้กำไรเพียง 4%-5% สู่สินค้า High Value Added ซึ่งสามารถทำกำไรได้เพิ่มเป็น 25%-30% หรือ มีกระบวนการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ค้นพบตลาดใหม่ๆ เช่น หุ้นที่มีนวัตกรรมใหม่ที่ดีต่อสุขภาพ หุ้นกลุ่ม Healthcare หรือ บริษัทที่ผลิตอาหาร ที่มีการปรับตัวสร้างมูลค่าเพิ่มจากอาหารทั่วๆไป เป็นอาหารที่มี Nutrition สูง หรือพัฒนาสู่ยารักษาโรค Pharmaceutical เช่น บริษัทที่เคยผลิตพืชสมุนไพร แล้วปรับตัวขึ้นมาผลิตเครื่องสำอาง ผลิตสารสกัดจากพืชเพื่อใช้เป็นยา เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและทำให้กำไรสูงขึ้น

แนวทางการเลือกประเภทหุ้นตามวัตถุประสงค์

ในฐานะนักลงทุนเราต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์การลงทุนด้วย โดย ดร.วิศิษฐ์ แนะนำให้พิจารณาความต้องการดังนี้

  1. ต้องการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ (Big capital) ที่มีความเสี่ยงต่ำ ได้รับเงินปันผลสม่ำเสมอ
  2. ต้องการลงทุนในหุ้น Turnaround ที่มีความเสี่ยงสูง โดยเป็นหุ้นกำลังพลิกจากขาดทุนหรือกำไรน้อย มาเป็นกำไรมาก
  3. ต้องการลงทุนในหุ้นที่ผลิตสินค้าใหม่ หรือมีนวัตกรรม หุ้นเหล่านี้มีโอกาสเติบโตมีกำไรในอนาคต ดังนั้นจึงเป็นการลงทุนระยะยาว

เราต้องเลือกประเภทหุ้นตามความต้องการ และระดับความเสี่ยงที่รับได้ จากนั้นกระจายความเสี่ยง โดยทั้ง Basket ควรมีทั้งหุ้นขนาดใหญ่ ขนาดกลางไปจนถึงขนาดเล็ก แต่ต้องพิจารณา ค่า P/E ratio ปีหน้า ซึ่งควรต่ำกว่าค่า P/E ratio เฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง ประมาณ 1 เท่า และควรใช้วิธีพิจารณาแบบ Bottom up  โดยวิเคราะห์จากล่างขึ้นบน คือมอง “การทำกำไรของหุ้นตัวนั้น” ระดับ Micro trend ก่อน แล้วถึงมอง “ภาพรวมอุตสาหกรรม” ระดับ Macro trend

แนวโน้มสถานการณ์ทั่วโลกและประเทศไทยในปี 2564

  1. คาดว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนตัวลง และค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้น ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทย
  2. หุ้นบางบริษัทจะแย่ลง เช่น หุ้นน้ำมัน
  3. จากการที่หุ้นในกลุ่มประเทศที่ให้ผลตอบแทนไม่ดี คือ กลุ่ม TIP ได้แก่ ประเทศไทย อินโดนิเซีย และฟิลิปปินส์ (3 ประเทศนี้ อยู่ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ Emerging Market) โดยให้ผลตอบแทนติดลบ 22% (ไทยติดลบ 19%) จึงคาดว่าปีหน้าจะมีการลงทุนในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ Emerging Market น้อย แต่มีการไปลงทุนในจีน และเวียดนาม มากขึ้น
  4. จะมีการย้ายฐานการผลิตจากประเทศจีนมาที่เวียดนามและไทย ซึ่งเกิดจาก Trade War ระหว่างสหรัฐฯและประเทศจีน ซึ่งการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตส่งผลให้หุ้นกลุ่มนิคมอุตสากรรมของประเทศไทยดีขึ้น
  5. Fund Flow เงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ จะมาในลักษณะ “เงินลงทุนทางตรง” (Foreign Direct Investment : FDI) เพื่อการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตมาไทย มากกว่า “เงินลงทุนในหลักทรัพย์” (Foreign Portfolio Investment : FPI) เนื่องจากตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนน้อยกว่า

โดยสรุป ถ้ามองการบริโภคภายในประเทศไทย ยังเป็น “ปัจจัยท้าทาย” และมีความอ่อนไหวสูง เนื่องจากช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้มีมาตรการกระตุ้นหลายอย่างออกมาแล้ว แต่การบริโภคก็ยังคงเท่าเดิม ดังนั้น นักลงทุนควรหาประโยชน์จากหุ้นกลุ่มธุรกิจที่ปรับตัวสู่ New Normal ที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตไป เช่น การทำอาหารรับประทานเองที่บ้าน หรือ การท่องเที่ยวที่เรียกว่า Gastronomy เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจากคลิป  youtu.be/2Wwo8tJ2kZw

ผลงาน ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรเขียนบทความสร้างรายได้รุ่นสู้โควิด 2020

กางเกงมวยไทย

คุณ Jinalyst


บริการอบรม ให้คำปรึกษาการทำธุรกิจออนไลน์  ฝึกอบรมภายในบริษัท แบบตัวต่อตัว การทำ  Content  Marketing,การโฆษณา  Facebook,การโฆษณา  Tiktok,การตลาด  Line  OA และการทำสินค้าให้คนหาเจอบน Google

บริการดูแลระบบการตลาดออนไลน์ให้ทั้งระบบ 
คอร์สเรียนออนไลน์ผ่าน Facebook Group