เช็คเงินทดแทนประกันสังคมกรณีว่างงาน หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ

  • จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงานกับนายจ้างรายสุดท้าย หรือกรณีผู้ประกันตนว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
  • มีระยะเวลาการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป
  • ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (เว็บไซต์ https://empui.doe.go.th) ของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลาออกหรือถูกเลิกจ้าง หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างจึงจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานนับแต่วันที่ 8 ของการว่างงาน
  • ต้องรายงานตัวตามกำหนดนัดผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (เว็บไซต์ https://empui.doe.go.th) ของสำนักงานจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
  • เป็นผู้มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดให้
  • ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
  • ผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณี มีดังนี้
  • ทุจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
  • จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  • ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณี ร้ายแรง
  • ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร
  • ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
  • ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา
  •  ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ

เช็คเงินทดแทนประกันสังคมกรณีว่างงาน สิทธิที่ท่านจะได้รับประโยชน์ทดแทน เงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน ดังนี้

กรณีถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทตัวอย่างเช่น  ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท

กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาท

ในกรณียื่นคำขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้าง หรือเหตุถูกเลิกจ้างและลาออกหรือ สิ้นสุดสัญญาจ้างเกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนทุกครั้ง รวมกันไม่เกิน 180 วัน แต่ในกรณียื่นขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง เกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 90 วัน

หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับเงินทดแทนประกันสังคมกรณีว่างงาน

แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)

หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6 -09) กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้

หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)

หนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัยกรณีเป็นผู้ประกันตนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย

สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน ดังนี้

1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)

2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)

3) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)

4) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)

5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

6) ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)

7) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

8) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)

9) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

10) ธนาคารออมสิน

11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

  สถานที่ยื่นเรื่อง

1.ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรายงานตัวผ่านระบบอินเตอร์เน็ต  (เว็บไซต์ www.empui.doc.go.th) ของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง และรายงานตัวตามกำหนดนัด เพื่อมิให้เสียสิทธิในการรับเงินทดแทน

2.ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7) ได้ที่สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ (ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรสายด่วน 1694 ในวันและเวลาราชการ 08.30-16.30 น.

      หมายเหตุ ประโยชน์ทดแทนทุกกรณีเมื่อมีสิทธิต้องยื่นเรื่องรับเงินภายใน 2 ปี เว้นแต่ กรณีว่างงานผู้ประกันตนจะต้องยื่นขึ้นทะเบียนว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ ต้องยื่นสิทธิภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน หากยื่นสิทธิเกินกว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง และหากยื่นสิทธิเกินวันที่จะได้รับสิทธิไปแล้ว จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน

การจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2563 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565)

เงินทดแทนประกันสังคมกรณีว่างงาน

1. เงินทดแทนประกันสังคมกรณีเลิกจ้าง

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินว่างงานในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายวัน โดยได้รับไม่เกิน 200 วัน ภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน

2.เงินทดแทนประกันสังคมณีลาออก หรือสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินว่างงานในอัตราร้อยละ 45 ของค่าจ้างรายวัน โดยได้รับไม่เกิน 90 วัน  ภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน

** กรณีที่ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเพราะเหตุตามข้อ 1 หรือเหตุตามข้อ 1 และ2  เกินหนึ่งครั้งภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานทุกครั้งรวมกันไม่เกิน 200 วัน แต่ในกรณีขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเหตุตามข้อ 2 เกินหนึ่งครั้งภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานทุกครั้งรวมกันไม่เกิน 90 วัน

เงินทดแทนประกันสังคมกรณีว่างงานเหตุสุดวิสัย

กฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ.2563 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563 ดังนั้น ผู้ประกันตนที่ว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยตามกฎกระทรวงดังกล่าว จึงมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563

        เหตุสุดวิสัย หมายความรวมถึง ภัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคติดต่ออันตรายอื่นตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณชน และถึงขนาดที่ผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้หรือนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ ดังนี้

  1. ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย และลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากต้องกักตัวหรือเฝ้าระวังการระบาดของโรค ให้ลูกจ้างดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน ตลอดระยะเวลาที่ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน แต่ไม่เกิน 90 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563 หรือตามระยะเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
  2. ในกรณีมีเหตุสุดวิสัยถึงขนาดที่นายจ้างต้องหยุดประกอบกิจการไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราว และลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตน ไม่สามารถทำงานได้และไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น ไม่ว่านายจ้างจะหยุดประกอบกิจการเองหรือหยุดประกอบกิจการตามคำสั่งของทางราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หรือกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้ลูกจ้างดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่นายจ้างหยุดประกอบกิจการ แต่ไม่เกิน 90 วัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563 หรือตามระยะเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

การจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยตามข้อ 1 และ 2 ให้จ่ายเป็นรายเดือนสำหรับเศษของเดือนให้คำนวณจ่ายเป็นรายวัน และให้นำบทบัญญัติมาตรา 57 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 มาใช้บังคับกับการคำนวณค่าจ้างรายวันเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน โดยอนุโลม

 การยื่นขอรับเงินทดแทนประกันสังคม

1 แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน และเอกสารประกอบการยื่นเรื่อง

– แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2 – 01/7) (สำหรับผู้ประกันตน)

– หนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ (สำหรับนายจ้าง) แนบท้ายกฎกระทรวง

– สำเนาหน้าแรกสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน ดังนี้

1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)

2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)

3) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)

4) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)

5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

6) ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)

7) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

8) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)

9) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

**หมายเหตุ** หนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย สามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมได้ แต่อย่างน้อยต้องมีรายละเอียดไม่น้อยกว่าหนังสือรับรองที่แนบท้ายกฎกระทรวง

– กรณียื่นแบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่ต้องใช้เอกสารประกอบ

– **สำหรับผู้ประกันตนต่างชาติ -สำเนา Passport – สำเนาหน้าแรกสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน

2 ระยะเวลาการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยผู้ประกันตน/ผู้มีสิทธิ ยื่นคำขอฯ ได้ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน

3 สถานที่ยื่นคำขอฯ ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ/ หรือยื่นทางไปรษณีย์

  1. การยื่นหนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย

**4 ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2564 สำนักงานประกันสังคมเพิ่มช่องทางอีก 3 ช่องทางคือ ส่งทางโทรสาร/ อีเมล์/ ไลน์

การพิจารณาเงื่อนไขการเกิดสิทธิ

1 เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และยังไม่สิ้นสภาพการจ้างเท่านั้น ต้องไม่ลาออกจากงานหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือถูกเลิกจ้าง

2 ผู้ประกันตนต้องไม่ได้รับค่าจ้างจากนายจ้างระหว่างว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย

3 จ่ายเงินสมทบกรณีว่างงานไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนที่ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ (มาตรา 79/1)

ให้งดจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย

เงินทดแทนประกันสังคมกรณีว่างงาน

1 ผู้ประกันตนลาออกจากงาน สิ้นสุดสัญญาจ้าง หรือถูกเลิกจ้าง ให้งดจ่ายตั้งแต่วันที่ได้ลาออกจากงาน วันที่สิ้นสุดสัญญาจ้าง หรือวันที่ถูกเลิกจ้าง

2 ผู้ประกันตนกลับเข้าทำงานหรือวันที่สถานประกอบการเปิดดำเนินการได้ ให้งดจ่ายตั้งแต่วันที่กลับเข้าทำงาน หรือวันที่สถานประกอบการเปิดดำเนินการ

เมื่อลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือนายจ้างเปิดกิจการก่อนกำหนด ให้นายจ้าง แจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลในหนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ต่อสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ทาง e-service

กรณีผู้ประกันตนมีสิทธิรับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยแล้ว ต่อมาผู้ประกันตนลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง โดยนายจ้างแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตามแบบ สปส. 6 – 09 ให้งดจ่ายเงินประโยชน์ทดแทนว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยตั้งแต่วันที่นายจ้างแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน และผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (กรณีลาออก หรือเลิกจ้าง) โดยไม่นับรวมระยะเวลากับที่ได้รับเงินว่างงานกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย