“การตั้งราคา” คือกระบวนการที่สำคัญกระบวนการหนึ่งเมื่อคุณผลิตสินค้าออกมา เพราะกระบวนการนี้เกี่ยวพันกับรายได้ที่จะเข้ามาสู่ธุรกิจของคุณครับ แต่เชื่อหรือไม่ว่ากระบวนการในการตั้งราคากลับเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายตกม้าตายกันเป็นแถวเนื่องด้วยความไม่รู้หรือไม่ถี่ถ้วนในการตั้งราคานั่นเอง จากแทนที่ผลิตสินค้าออกมาขายแล้วจะได้กำไรกลับต้องอยู่ในภาวะที่ขาดทุนจากการขายไปได้อย่างไม่รู้ตัว เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าผู้ประกอบการไม่รู้ถึงต้นทุนที่แท้จริงของสินค้าที่ตนเองผลิตนั่นเอง เพื่อให้ผู้ประกอบการตั้งราคาสินค้าของตนได้อย่างถูกต้องในบทความนี้เรามีคำแนะนำดี ๆมาฝากครับ

สูตรการตั้งราคาขายสินค้าเบื้องต้น คุณจะต้องพิจารณาอะไรบ้าง

1. ต้นทุน

ต้นทุนในการผลิตสินค้ามีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบครับ คุณไม่อาจนำต้นทุนใดต้นทุนหนึ่งมาคิดเพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆได้ ต้นทุนที่แท้จริงที่คุณจะต้องนำมาคำนวณมีดังต่อไปนี้ครับ

– วัตถุดิบ:

คือต้นทุนที่เป็นต้นทุนหลักในการผลิตสินค้าเพื่อออกมาจำหน่าย แต่กระนั้นต้นทุนในเรื่องวัตถุดิบก็ยังไม่ใช่ต้นทุนที่แท้จริงที่คุณจะนำมาคิดครับ เพราะต้นทุนที่แท้จริงในการผลิตสินค้ายังคงมีรายละเอียดส่วนอื่นอยู่

– การบริหาร:

การบริหารก็เป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่ถือเป็นส่วนของต้นทุนด้วยเช่นกัน ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้คือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินงานของธุรกิจไม่ว่าจะเป็นค่าบริหารคน ค่าเช่าสถานที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจัดส่งสินค้า คุณจำเป็นต้องนำค่าใช้จ่ายส่วนนี้มาคำนวณอย่างละเอียดและนำไปรวมกับต้นทุนวัตถุดิบในส่วนแรกด้วยเช่นกัน

– การตลาด:

การตลาดเป็นค่าใช้จ่ายที่คนทั่วไปมักจะลืมนึกถึง ค่าใช้จ่ายในด้านนี้ก็คือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาหรือการประชาสัมพันธ์เพื่อให้สินค้าและแบรนด์เป็นที่รู้จักนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการตลาดในรูปแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้คุณก็ต้องคำนวณอย่างละเอียดและนำไปรวมคิดกับต้นทุนใน 2 ส่วนแรกด้วยเช่นกัน

สมมติว่าคุณผลิตสินค้าออกมา 1,000 ชิ้นโดยมีต้นทุนวัตถุดิบอยู่ที่ 100,000 บาท ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหารอยู่ที่ 30,000 บาท และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตลาดอยู่ที่ 20,000 บาท ต้นทุนที่แท้จริงของการผลิตสินค้านี้จะเท่ากับ 100,000 + 30,000 + 20,000 = 150,000 บาทหรือเท่ากับ 150 บาท/ชิ้นครับ ซึ่งหากคุณอยากได้กำไรต่อชิ้นเท่ากับ 20 % คุณก็อาจจะตั้งราคาขายอยู่ที่ 150*20% เท่ากับ 180 บาท…..แต่ช้าก่อนหากตคุณคิดว่าราคาขายที่ 180 บาทคือราคาขายที่คุณจะได้กำไรแล้วละก็ คุณก็อาจจะคิดผิดได้เช่นกันเพราะยังคงมีสิ่งอื่นที่คุณคาดไม่ถึงอยู่ด้วย เพราะฉะนั้นราคาที่แท้จริงที่คุณควรจะตั้งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยใดอีก เราจะตามไปดูกันครับ

ตัวแทนจัดจำหน่าย: เส้นทางการขายสินค้าที่ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่คุณต้องนำมาคิดเสมอในการตั้งราคา

แน่นอนครับว่าการจะขายสินค้าให้ได้มาก ๆหรือต้องการให้สินค้าที่คุณผลิตออกมากระจายออกไปสู่ที่ต่าง ๆลำพังเพียงแค่การขายจากคุณเพียงอย่างเดียวก็อาจจะไม่สามารถสร้างยอดขายได้อย่างที่คุณต้องการ คุณจำเป็นต้องมีตัวแทนในการช่วยคุณขายของ ตัวแทนจำหน่ายสินค้าอาจมีด้วยกันหลายชั้น ซึ่งแต่ละชั้นก็จำเป็นที่คุณจะต้องตั้งราคาเพื่อให้พวกเขาได้กำไรจากการขายสินค้าของคุณด้วยเช่นกัน ตัวแทนจำหน่ายมีได้ดังต่อไปนี้

– Dealer รายใหญ่:

ดีลเลอร์รายใหญ่คือตัวแทนที่จะรับสินค้าออกไปจากคุณเป็นรายแรก และเป็นตัวแทนที่จะซื้อสินค้าของคุณเป็นล็อตใหญ่มากกว่าผู้ซื้อรายอื่น ๆการจะส่งสินค้าให้กับดีลเลอร์รายใหญ่คุณจำเป็นต้องบวกเปอร์เซ็นต์ที่คุณต้องการเข้าไปด้วยโดยหากคุณต้องการกำไรที่ 20 % คุณจะต้องส่งสินค้าให้แก่ดีลเลอร์รายใหญ่ในราคา 150*20% เท่ากับ 180 บาท/ชิ้นครับ

– ตัวแทนขายส่งหรือห้างขายส่ง:

คือตัวแทนในชั้นที่ถัดลงไปจากดีลเลอร์รายใหญ่อีกทีหนึ่ง พวกเขาจะรับเอาสินค้าจากดีลเลอร์รายใหญ่เพื่อนำไปจำหน่ายในรูปแบบของขายส่งในห้างร้านขายส่ง ในชั้นนี้คุณอาจต้องมีการพูดคุยตกลงรายละเอียดของกำไรที่ดีลเลอร์รายใหญ่ต้องการก่อนที่จะกำหนดเป็นราคาที่จะขายให้แก่ตัวแทนขายส่งครับ เช่นหากดีลเลอร์ต้องการกำไรที่ 20% คุณก็อาจจะกำหนดราคาขายไว้ที่ 180*20% เท่ากับ 216 บาท/ชิ้น

– ผู้ค้าปลีกหรือผู้ค้ารายย่อย:

คือตัวแทนที่จะรับเอาสินค้าจากตัวแทนขายส่งมาขายอีกชั้นหนึ่ง โดยพวกเขาจะรับเอาสินค้านั้นไปจำหน่ายที่ร้านค้าปลีกของตนเองครับ ซึ่งก็เช่นกันที่คุณอาจจะต้องกำหนดราคาขายโดยสอบถามความต้องการกำไรของตัวแทนขายส่งเสียก่อนซึ่งหากตัวแทนขายส่งต้องการกำไรที่ 20% คุณก็อาจจะกำหนดราคาที่จะจำหน่ายแก่ผู้ค้าปลีกอยู่ที่ 216*20% เท่ากับ260 บาท / ชิ้น

– ลูกค้า:

ลูกค้าก็คือชั้นสุดท้ายในวงจรการขายสินค้าที่คุณผลิตขึ้นครับ ซึ่งพวกเขาจะซื้อสินค้าจากผู้ค้ารายย่อยหรือพ่อค้าปลีกในขั้นสุดท้าย ซึ่งก็เช่นเดียวกับขั้นตอนการตั้งราคาในชั้นอื่น ๆที่คุณอาจต้องสอบถามว่าผู้ค้ารายย่อยต้องการกำไรอยู่ที่เท่าไหร่ ซึ่งหากพวกเขาต้องการกำไรที่ 20% คุณจะต้องตั้งราคาขายสินค้าอยู่ที่ 260*20% เท่ากับ 312 บาท/ชิ้น ซึ่งราคานี้ก็คือราคาขายสุทธิที่แท้จริงที่ลูกค้าจะซื้อสินค้าของคุณโดยที่ทั้งคุณและตัวแทนจำหน่ายในชั้นต่าง ๆ ล้วนได้กำไรอย่างที่ต้องการแล้วครับ

อย่ามองว่าราคาที่ตั้งนั้นโหดร้ายสำหรับลูกค้าเพราะทุก ๆขั้นในการขายล้วนแต่มีต้นทุนด้วยกันทั้งสิ้น

เมื่อดูราคาที่ยกตัวอย่างมาแสดงนั้นคุณอาจจะรู้สึกว่าราคาสุทธิที่คุณต้องตั้งขายสินค้าอาจดูสูงเกินไปสำหรับลูกค้า แต่คุณอย่าลืมครับว่าในทุก ๆขั้นของการขายล้วนแล้วแต่มีต้นทุนแฝงอยู่ด้วยกันแทบทั้งสิ้นและเป็นธรรมดาของการทำธุรกิจที่คุณหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องก็ล้วนแล้วแต่ต้องการผลกำไรด้วยกันทั้งนั้นครับ แทนที่คุณจะกังวลเรื่องราคาที่อาจดูสูงเราอยากให้คุณโฟกัสไปที่คุณภาพของสินค้าที่ต้องตอบโจทย์และคุ้มราคากับเงินที่ลูกค้าจะต้องจ่ายเพื่อให้ได้สินค้าของคุณจะดีกว่า เพราะสินค้าที่มีคุณภาพและตอบโจทย์ช่วยแก้ปัญหาให้แก่ลูกค้า หากลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มค่าพวกเขาก็พร้อมที่จะจ่ายเงินเพื่อสินค้านั้นครับ นอกจากนี้หากลูกค้าอยากได้สินค้าที่ราคาถูกลงลูกค้าก็มีทางเลือกที่จะเข้าไปซื้อสินค้าในปริมาณมาก ๆก็จะทำให้พวกเขาได้ราคาที่ถูกลงไปอย่างที่เขาต้องการครับ

สูตรการตั้งราคาขายสินค้าเบื้องต้น เป็นสิ่งที่คุณต้องให้ความสนใจอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะการตั้งราคาขายที่ครอบคลุมทุก ๆต้นทุนในแต่ละส่วนย่อมหมายถึงกำไรที่คุณจะได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยตามไปด้วยเช่นกัน อย่าปล่อยให้การตั้งราคามาเป็นอุปสรรคที่ฉุดรั้งความสำเร็จของธุรกิจของคุณครับ เรียนรู้เทคนิคต่าง ๆและพิจารณาต้นทุนทุกอย่างให้ชัดเจนและรอบด้านแล้วคุณจะสร้างผลกำไรได้อย่างที่คุณต้องการ

บริการอบรม ให้คำปรึกษา Digital Marketing & Brand Storytelling ทั้งแบบรูปแบบองค์กร กลุ่ม และ ตัวต่อตัวสูตรการตั้งราคาขายสินค้าเบื้องต้น