จะสมัครบัตรเครดิตกับธนาคารไหนดีจึงจะเหมาะกับลักษณะของธุรกิจ งาน และรายได้ที่ตนเองกำลังทำอยู่ คำตอบก็คงเป็นอย่างที่เคยได้รับรู้กันมา นั่นก็คือทำบัตรเครดิตกับธนาคารไหนก็ได้ที่สะดวกและสบายใจ แต่ก็มีปัจจัยบางอย่างที่มีส่วนช่วยในการตัดสินใจเลือกธนาคารนั่นก็คือ ดอกเบี้ย โปรโมชั่น และวงเงิน ที่ธนาคารกำหนดไว้ซึ่งธนาคารแต่ละแห่งก็มีเงื่อนไขที่ต่างกันออกไปให้ได้ศึกษา

ในยุคที่เครดิตและสภาพคล่องเป็นสิ่งสำคัญต่อการทำธุรกิจ แม้กระทั่งมนุษย์เงินเดือน หรือ ฟรีแลนด์ก็ตาม จึงมักมองหาวิธีในการเพิ่มสภาพคล่อง สำรองจ่าย และเป็นเงินหมุน รวมไปถึงเพื่อเป็นการสร้างโอกาสในการขยายกิจการให้กับธุรกิจของตัวเองอยู่เสมอ ซึ่งหนึ่งหลากหลายวิธีการก็คือการใช้ประโยชน์จากบัตรเครดิตให้ถูกต้องและเหมาะสม หลายๆ คนอาจยังสงสัยว่า บัตรเครดิตก็คือบัตรเครดิตจะต่างกันก็น่าจะเพียงแค่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้เท่านั้น แล้วทำไมการเป็นเจ้าของกิจการจึงต้องยุ่งยากในการทำบัตรเครดิตด้วย จริงๆ แล้วมีความแตกต่างระหว่างบัตรเครดิตสำหรับบุคคลและบัตรเครดิตสำหรับเจ้าของธุรกิจอยู่หลักๆ ก็คือเรื่อง วงเงิน โปรโมชั่น และดอกเบี้ย

กฎข้อสำคัญของการใช้บัตรก็คือ ต้องแยกบัตรเครดิตที่ใช้เรื่องส่วนตัวออกจากบัตรเครดิตที่ใช้สำหรับการทำธุรกิจ

เป็นเรื่องพื้นฐานสำหรับวินัยทางการเงินเพื่อไม่ให้เกิดการปะปนกันเมื่อนำไปใช้ ไม่นำค่าใช้จ่ายส่วนตัวไปรวมกับค่าใช้จ่ายทางธุรกิจโดยเด็ดขาด เมื่อวินัยทางการเงินดีเจ้าของธุรกิจจะเห็นได้ชัดเจนว่าธุรกิจของตนนั้นมีหนี้ที่ต้องชำระจำนวนเท่าไหร่และเมื่อหมุนเงินได้ก็สามารถนำไปชำระได้ตรงตามเวลาทำให้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มเครดิตให้กับธุรกิจของตนเอง และยังเป็นการช่วยเพิ่มสภาพคล่องได้อีกด้วย ซึ่งเมื่อธุรกิจมีเงินหมุนเข้าบัญชีธนาคารต่อเนื่องทุกเดือน มีประวัติการชำระที่ตรงตามกำหนดทุกครั้ง เรียกว่าเป็นลูกหนี้ชั้นดี หลายๆ ธนาคารก็มักอยากเสนอบัตรเครดิตให้แต่เจ้าของธุรกิจส่วนมากไม่นิยมใช้บัตรเครดิตหลายใบ เพราะพวกเขาไม่ลืมวัตถุประสงค์ของการใช้ว่าเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง เป็นเงินหมุน ให้ธุรกิจเท่านั้น ดังนั้นบัตรเพียงใบเดียวก็เพียงพอแล้ว

บัตรเครดิตมีกี่ประเภท

บัตรเครดิตมีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างแน่นอนเมื่อใช้อย่างถูกวิธีแต่ก็ยังมีสิ่งที่ควรรู้เพิ่มเติมนั่นคือ ประเภทที่มีหลายรูปแบบหลักๆ แล้วจะแบ่งตามวิธีการใช้งานของบัตร โดยแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

  1. บัตรเครดิตที่สามารถใช้ได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ (International Credit Card) เช่น บัตรเครดิตVISA บัตร Master บัตร Diners Club และบัตร American Express เป็นต้น
  2. บัตรเครดิตที่ใช้ได้เฉพาะภายในประเทศ (Local Credit Card) เช่น บัตรเครดิตของธนาคารต่างๆ ในประเทศไทย เป็นต้น
  3. บัตรเครดิตที่ใช้เฉพาะร้านค้า(Store Card หรือ Private Label) เช่น บัตรเครดิตเพาเวอร์บาย บัตรเครดิตเทสโก้โลตัส เป็นต้น

แต่หากจะมองในแง่ของการชำระหนี้แล้วก็สามารถแบ่งออกเป็นได้เป็น

1 Charge Card 

เป็นบัตรเครดิตที่ผู้ถือต้องชำระหนี้ให้เสร็จภายในระยะเวลาอันสั้นตามที่ธนาคารได้กำหนดไว้ โดยปกติจะแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 1 เดือน บัตรเครดิตประเภทนี้มีจุดประสงค์ในการใช้สอย ชำระค่าบริการต่างๆ หรือการเดินทางและท่องเที่ยว เป็นหลัก กลุ่มเป้าหมาย คือ นักบริหาร หรือผู้ที่มีฐานะทางการเงินค่อนข้างดี

2 Credit Card หรือ Bank Card

ส่วนมากแล้วจะออกโดยสถาบันการเงินร่วมกับสถาบันบัตรเครดิตต่างประเทศ หรือ สถาบันการเงินออกบัตรเครดิตเป็นของตนเองก็ได้ โดยการชำระค่าใช้จ่ายบัตรนั้นต้องชำระยอดหนี้ให้เสร็จภายในระยะเวลาที่ถูกกำหนดโดยไม่เสียดอกเบี้ย แต่ผู้ถือบัตรก็สามารถเลือกชำระเงินคืนเพียงบางส่วนได้ด้วย โดยต้องเสียดอกเบี้ยด้วยให้ธนาคาร ซึ่งยอดค้างชำระของบัตรเครดิตจะกลายเป็นเงินกู้ที่ต้องผ่อนชำระเป็นรายงวด

บัตรเครดิตประเภทนี้ถูกกำหนดให้มีวัตถุประสงค์ในการอำนวยความสะดวกในการซื้อสิสนค้า ชำระค่าสินค้าและบริการ และมักมีจำกัดวงเงินให้สินเชื่อการใช้บัตร

3 Store Card หรือ Private Label

 

 

เป็นบัตรเครดิตที่ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าออกให้แก่ลูกค้า เพื่อใช้ซื้อสินค้าและบริการของห้างฯและร้านค้าในเครือ เพื่อส่งเสริมการขายโดยตรงนั้นเอง

4 Cash Card

 

 

เป็นบัตรเครดิตที่ผู้ถือบัตรสามารถนำไปเบิกเงินสดล่วงหน้าได้แต่จะทำธุรกรรมได้เฉพาะกับธนาคารผู้ออกบัตรหรือร่วมให้บริการหรือใช้กับตู้เอทีเอ็มจากธนาคารที่ร่วมให้บริการเท่านั้น

5 Debit Card 

เป็นบัตรที่ใช้สำหรับเบิกเงินสด ชำระค่าสินค้าและบริการ โดยร้านค้าจะเรียกเก็บเหมือนบัตรเครดิต แต่จะเป็นการหักเงินโดยตรงจากบัญชีของเจ้าของบัตร

เมื่อรู้จักประเภทและชนิดของบัตรเครดิตแล้วทีนี้ก็ถึงเวลาที่เจ้าของธุรกิจจะต้องเลือกแล้วใช่ไหมว่าจะสมัครบัตรเครดิตกับธนาคารไหนดีจึงจะเหมาะกับลักษณะของธุรกิจที่ตนเองกำลังทำอยู่ คำตอบก็คงเป็นอย่างที่เคยได้รับรู้กันมา นั่นก็คือทำบัตรเครดิตกับธนาคารไหนก็ได้ที่สะดวกและสบายใจ แต่ก็มีปัจจัยบางอย่างที่มีส่วนช่วยในการตัดสินใจเลือกธนาคารนั่นก็คือ ดอกเบี้ย โปรโมชั่น และวงเงิน ที่ธนาคารกำหนดไว้ซึ่งธนาคารแต่ละแห่งก็มีเงื่อนไขที่ต่างกันออกไปให้ได้ศึกษา แต่สิ่งที่ต้องคำนึงเหมือนกันทุกธนาคารก็คือต้องมีเงินหมุนเวียนในบัญชีย้อนหลัง 6 เดือนนับจากวันที่ยื่นเรื่องสมัครบัตรเครดิต และมีเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่ธนาคารต้องการครบ โดยกิจการนั้นๆ ต้องดำเนินธุรกิจมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี และประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาก็คือ วงเงินที่จะได้รับการอนุมัติจากทางธนาคาร ควรเลือกบัตรที่มีวงเงินครอบคลุมกับรายจ่ายของธุรกิจ เผื่อกรณีฉุกเฉินจำเป็นจะได้มีวงเงินมากพอใช้หมุนเวียน และ เป็นบัตรที่ตอบโจทย์การเดินทางได้ด้วย บัตรประเภทนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจที่ต้องมีการเดินทางบ่อยครั้ง

ทั้งหมดที่บอกเล่ากันมาก็คือหนึ่งในแง่มุมการทำธุรกิจที่เจ้าของจำเป็นต้องมีความรู้และรอบคอบก่อนตัดสินใจ โดยเฉพาะเมื่อมีบัตรเครดิตแล้วก็ต้องมีวินัยทางการเงินที่ดีไม่นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ เมื่อนั้นธุรกิจก็จะประสบความสำเร็จและเติบโตได้ไม่ยาก