พ.ร.ก.สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ ครม.อนุมัติให้ธนาคารแห่งประเทศไทยควบคุมลีสซิ่ง

สำนักข่าวไทยรัฐได้รายงานเรื่อง ครม.อนุมัติให้ธนาคารแห่งประเทศไทยควบคุมลีสซิ่ง ตั้งกฎเหล็กสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

คุณพรชัย ฐีระเวชผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดแนวทางเพื่อกำกับดูแลกลุ่มธุรกิจที่ประกอบกิจการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์

ทางคณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้การประกอบธุรกิจทางการเงินบางประเภทอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 พ.ศ. … เพื่อช่วยเข้ามากำกับดูแลธุรกิจการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์

สืบเนื่องจากในปัจจุบันมีผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวให้บริการในรูปแบบลีสซิ่งแก่ประชาชนในวงกว้าง โดยมียอดธุรกรรมสูงถึง 12.4% ของหนี้ครัวเรือนและมีแนวโน้มที่จะขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่องในแต่ละปีและที่สำคัญจำนวนผู้ประกอบการถึง 1 ใน 3 ของยอดธุรกรรมที่ปรากฏกลับเป็นการให้บริการโดยผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลโดยเฉพาะ

ในช่วงที่ผ่านมามีเรื่องร้องเรียนการใช้บริการธุรกิจลีสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาช่วยกำกับดูแลจะช่วยให้ประชาชนได้รับบริการทางการเงินที่เป็นธรรม ลดความเสี่ยงที่จะถูกหลอก ถูกบังคับ ถูกรบกวน หรือถูกเอาเปรียบในกรณีต่าง ๆ และที่สำคัญก็คือจะได้รับการเปิดเผยข้อมูลเครดิตอย่างโปร่งใสและเพียงพอต่อการตัดสินใจเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินด้วยราคาที่เหมาะสม โดยมีเป้าหมายสำคัญที่จะไม่เป็นการส่งเสริมให้ผู้บริโภคก่อหนี้สินจนเกินตัวและทำให้เกิดปัญหาในระยะยาวตามมา

สินเชื่อรถ SCB Refinance

ลงทะเบียนขอสินเชื่อรถยนต์ SCB Refinance ได้ที่นี่ 

พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะครอบคลุมผู้ประกอบธุรกิจที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลแต่ไม่รวมผู้ประกอบธุรกิจที่มีหน่วยงานกำกับดูแลอยู่แล้ว เช่น สถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สหกรณ์ เป็นต้น นอกจากนี้การกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจลีสซิ่งจะไม่ทับซ้อนกับการกำกับดูแลธุรกรรมการเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ยังคงมีอำนาจคุ้มครองผู้บริโภคและกำหนดสัญญามาตรฐานเอาไว้อย่างเป็นธรรม

มีความมุ่งหวังกันว่าร่าง พ.ร.ก.ดังกล่าวจะช่วยยกระดับการกำกับดูแลธุรกิจการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์โดยเฉพาะการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้บริการได้รับความเป็นธรรม ไม่ถูกเอารักเอาเปรียบจากผู้ประกอบการที่ไม่มีธรรมมาภิบาล รวมถึงป้องกันไม่ให้ประชาชนทั่วไปก่อหนี้สินเกินตัวจนทำให้วินัยทางการเงินส่วนบุคคลเสียหายและกระทบ

ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/economics/2647970

ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับข่าว พ.ร.ก.สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และมอเตอร์ไซค์

สินเชื่อลีสซิ่งเป็นอีกหนึ่งกลุ่มสินเชื่อที่เราพบเห็นได้บ่อยมากโดยเฉพาะในกลุ่มของรถมอเตอร์ไซด์ที่เรามักเห็นการโฆษณาตามร้านจำหน่ายรถมอเตอร์ไซด์ที่ว่าสามารถซื้อได้โดยไม่ต้องตรวจสอบเครดิตบูโร ซึ่งลูกค้าสามารถขอสินเชื่อและผ่อนชำระค่างวดได้โดยตรงกับทางร้านหรือบริษัทสินเชื่อที่ทางร้านจัดหาไว้ให้

แต่เนื่องด้วยหลาย ๆ แห่งเป็นการให้สินเชื่อที่ไม่มีหน่วยงานใด ๆ มารองรับและไม่มีการควบคุมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงทำให้ลูกค้าหลายรายไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ให้บริการสินเชื่อลีสซิ่งดังกล่าว

นอกจากนี้เพราะไม่ต้องมีการตรวจเช็คเครดิตใด ๆ ประกอบการให้สินเชื่อจึงทำให้ลูกค้าบางกลุ่มที่มีภาระหนี้สินอยู่ก่อนแล้วไม่ถูกควบคุมให้มีวินัยทางการเงินจนสร้างนิสัยการใช้เงินเกินตัวและกลายเป็นปัญหาตามมาอีกมากมายทั้งการทำให้หนี้ที่อยู่ในสถาบันการเงินปกติกลายสภาพเป็นหนี้เสีย หนี้ที่เกิดจากการลีสซิ่งโดยไม่มีการควบคุมก็กลายเป็นหนี้เสียที่ต้องเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายเพื่อฟ้องร้องเรียกมูลหนี้คืน ปัญหาเหล่านี้สุดท้ายมีโอกาสที่จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของลูกหนี้ได้ในที่สุด

ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เองจึงเป็นที่มาของการออก พ.ร.ก. ดังกล่าวเพื่อให้สินเชื่อลีสซิ่งเข้ามาสู่ระบบการควบคุมตรวจสอบโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พ.ร.ก. นี้จึงถูกประกาศออกมาเพื่อควบคุมไม่ให้ประชาชนสร้างหนี้จนเกินตัว เพราะเมื่อใดที่สินเชื่อเหล่านี้เข้าสู่ระบบการพิจารณาสินเชื่อจะมีความละเอียดรอบคอบมากขึ้นและมีการเช็คประวัติของลูกค้าก่อนว่ามีมูลหนี้อื่น ๆ อยู่ก่อนที่จะมาขอสินเชื่อหรือไม่เพื่อตรวจดูความสามารถในการผ่อนชำระของลูกหนี้ก่อนที่จะอนุมัติสินเชื่อให้นั่นเอง

สินเชื่อไชโย SCB

นอกจากนี้เมื่อผู้ให้สินเชื่อทุกคนมีหน่วยงานกำกับดูแลก็จำเป็นที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลของลูกหนี้เข้าสู่ระบบเครดิตบูโร ฐานข้อมูลนี้มีความสำคัญมากในการช่วยป้องกันโอกาสที่จะเกิดหนี้เสียหรือการก่อหนี้ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นโดยไม่มีการควบคุมอย่างเหมาะสมซึ่งมีโอกาสที่จะกระทบไปยังระบบเศรษฐกิจทั้งหมดได้หากประชาชนไม่มีวินัยในการก่อหนี้จนเกินตัวนั่นเอง

ผู้ให้บริการสินเชื่อที่ไม่อยู่ในการควบคุมจึงจำเป็นต้องเข้าระบบและนำส่งข้อมูลของลูกค้าอย่างถูกต้องเพื่อให้เกิดฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับอุตสาหกรรมผู้ให้บริการสินเชื่อและส่งผลดีต่อประเทศด้วยเช่นกัน