หลักการง่ายๆที่ธนาคารจะพิจารณาสินเชื่อคือการให้สินเชื่อกับผู้ที่สามารถชำระสินเชื่อคืนได้ตรงตามกำหนด หรือง่ายๆ คือ “ปล่อยกู้แล้วได้คืน” นั้นเองพร้อมดอกเบี้ยที่ถือเป็นกำไรในการดำเนินกิจการต่อไป

ปัจจุบันการขอสินเชื่อกับธนาคารนั้นมีมุมมองกับผู้กู้อย่างไรนั้น ลูกค้าหรือคนทั่วอาจมีคำถามที่ยังคงสงสัยกันอยู่ว่า การขอสินเชื่อมีหลายครั้งไม่ผ่านการพิจารณาหรือไม่ได้ตามหวังไว้ ธนาคารมีหลักเกณฑ์ดารปล่อยสินเชื่ออย่างไรคำนึงถึงปัจจัยอะไรบ้างในการอนุมัติสินเชื่อเป็นต้น เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ธนาคารจะมีกฎที่เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดเพราะในปัจจุบันหนี้เสียมีปริมาณมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นทุกวันทำให้ธนาคารจำเป็นต้องให้ความสำคัญการพิจารณาปล่อยสินเชื่ออย่างรอบคอบและรัดกุมที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

หลักการง่ายๆที่ธนาคารจะพิจารณาสินเชื่อคือการให้สินเชื่อกับผู้ที่สามารถชำระสินเชื่อคืนได้ตรงตามกำหนด หรือง่ายๆ คือ “ปล่อยกู้แล้วได้คืน” นั้นเองพร้อมดอกเบี้ยที่ถือเป็นกำไรในการดำเนินกิจการต่อไป การปล่อยสินเชื่อในมุมมองของธนาคารเป็นอย่างไรเราลองมาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

1.อุปนิสัยส่วนตัวของลูกค้า

ลักษณะนิสัยส่วนตัวของลูกค้าถือเป็นปัจจัยแรกที่สำคัญของการพิจารณาว่าตัวลูกค้าว่าเป็นคนอย่างไรโดยแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ

-อุปนิสัยการเงิน นิสัยพื้นฐานทางการเงิน เช่นลูกค้ามีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นคนขยัน ตั้งใจประกอบธุรกิจหรือไม่ มีนิสัยเล่นการพนัน มีการเปลี่ยนงานบ่อยมากผิดปกติ สถานะทางสังคมอย่างไร การใช้จ่ายเงินเกินตัว เป็นต้น นิสัยเป็นคัดกรองมีความสำคัญเพราะอุปนิสัยทางการเงินเป็นตัวที่จะบ่งบอกถึงการเงินของลูกค้าว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร

-ประวัติทางการเงิน คือ  สิ่งที่อุปนิสัยของลูกค้าได้สร้างขึ้นมาในอดีต ประวัติทางการเงินเป็นข้อมูลที่ดี เพราะประวัติจะทำให้เห็นว่าลูกค้านั้นเคยทำอะไรมาบ้าง มีหนี้ค้าง มีประวัติดีหรือไม่ดีอย่างไร เป็นคนตรงต่อเวลาหรือไม่ และถ้ากรณีที่เป็นลูกค้าเก่าของธนาคารก็จะดูได้จากผลการผ่อนชำระกับทางธนาคารที่ผ่านมาว่าปฏิบัติตามสัญญาได้ดีแค่ไหน และถ้าประวัติทากงานเงินของลูกค้าไม่ดีนั้นเป็นการยากที่ธนาคารจะปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ารายนั้นเพราะคำว่าประวัติทางการเงินไม่ดี

ข้อเสนอแนะ: ถ้าเราต้องการจะขอสินเชื่อ เราอาจจะต้องปรับเปลี่ยนนิสัยด้านการเงินให้ดีขึ้น เช่นเลิกนิสัยการพนัน การเปลี่ยนงานบ่อยมากผิดปกติ มีการตรงต่อเวลา การใช้จ่ายเงินเกินตัว เป็นต้น ในส่วนประวัติทางการเงิน เราอาจจะแก้ไขได้โดยทำการชำระหนี้ค้าง อาจจะปิด หรือประนอมหนี้ได้ เพื่อปรับประวัติให้เป็นปกติ

2. ความสามารถในการชำระหนี้

ความสามารถในการชำระหนี้คือสิ่งบอกว่าเมื่อให้สินเชื่อแก่ลูกค้าไปแล้วจะได้คืนหรือไม่ ในการพิจารณาสินเชื่อเจ้าหน้าที่สินเชื่อต้องศึกษาถึงธุรกิจหรือสถานะทางการเงินของลูกค้าว่ามีความสามารถในการชำระหนี้คืนให้กับธนาคารได้ดีเพียงใดปกติแล้วการชำระหนี้คืนต้องเป็นการนำเงินรายได้มาชำระหนี้คืนให้ได้  หากวิเคราะห์แล้วพบว่าการลูกค้าไม่สามารถชำระหนี้เพียงพอกับการชำระหนี้ก็ไม่ควรพิจารณาปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าไป ที่สำคัญรายได้ที่นำมาชำระหนี้ต้องเป็นรายได้สุทธิจากการหักค่าใช้จ่ายต่างๆและต้องเป็นรายได้ที่ประจำแน่นอนมากกว่ารายได้ไม่ประจำเพื่อเป็นการยืนยันว่าลูกค้ามีรายได้สม่ำเสมอและสามารถชำระหนี้ได้ และที่สำคัญอีกประการคือ ธนาคารต้องติดตามผลการชำระหนี้คืนตรงตามกำหนดหรือ มีการขาดส่ง ชำระช้ากว่ากำหนด หลายครั้งลูกค้ามีรายได้แล้วแทนที่จะนำมาชำระหนี้กลับนำไปใช้ในทางอื่นที่ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้

เวลาการผ่อนชำระก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องพิจารณาคือระยะเวลาผ่อนชำหนี้ต้องสัมพันธ์กับการปล่อยสินเชื่ออีกด้วยและถือเป็นส่วนสำคัญในการประกอบการพิจารณาสินเชื่อด้วยเช่นกัน

ข้อเสนอแนะ:เราต้องรู้ว่าขอสินเชื่อมาเพื่ออะไร และจุดประสงค์ใด ที่สำคัญเมื่อเราได้เงินมาแล้วเราสามารถชำระคืนได้หรือไม่ คิดง่ายว่า เรามีรายได้รวมทั้งหมดเท่าไหร่เมื่อหักค่าใช้จ่ายที่จำเป็นทั้งหมดจะเหลือเงินพอจะไปชำระหนี้คืนธนาคารได้หรือไม่ นั้นคือสิ่งสำคัญในข้อนี้ ถ้าพอก็ถือว่าเหมาะสมแต่ถ้าไม่พอละ เราต้องคิดให้รอบคอบก่อนที่จะขอสินเชื่อ

3. เงินทุนส่วนตัว

เงินทุนส่วนตัวนั้นเป็นตัวเสริมให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินพิจารณาสินเชื่อได้ง่ายขึ้นไม่ว่าจะสินเชื่อชนิดไหนถ้าเมื่อใดลูกค้าได้นำเงินทุนส่วนตัวหรือสินทรัพย์มาลงทุนด้วยในอัตราส่วนมากก็จะผ่านได้ง่ายขึ้นเพราะการที่ลูกค้านำเงินลงทุนมากธนาคารก็ปล่อยวงเงินสินเชื่อลดลงทำให้ความเสี่ยงของธนาคารลดน้อยลงด้วยถ้าปล่อยกู้ 100 % จะทำให้ธนาคารมีความเสี่ยงมากหากเกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น

ข้อเสนอแนะ: ถ้าเรามีเงินส่วนตัวอาจจะไม่มากเท่าไหร่อาจจะทำให้ธนาคารมองเห็นความตั้งใจและความพยายาม ถ้ายิ่งมีเงินส่วนตัวมากความเสี่ยงลดลง ส่งผลให้ธนาคารมีความมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าได้ง่ายขึ้น ถ้าเป็นไปได้ขอซัก 10 % ก็ยังดี

4. หลักประกัน

สิ่งที่ถือว่าสำคัญอีกอย่างในการให้สินเชื่อหลักประกัน คือสิ่งที่ต้องพิจารณาการปล่อยสินเชื่อไปไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าลูกค้าจะสามารถชำระหนี้ได้ ถ้ามีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้น ทำให้ลูกค้าไม่สามารถผ่อนชำระได้ สิ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงได้นั้นคือหลักประกันการพิจารณาว่าควรมีหลักประกันมากน้อยเพียงไรโดยพิจารณาจากความเสี่ยงของชนิดของสินเชื่อนั้นๆถ้ามีความเสี่ยงน้อยหลักประกันก็น้อยถ้ามีความเสี่ยงมากหลักประกันก็ควรมากเช่นกัน และมีสินเชื่อบางประเภทที่ไม่ต้องให้หลักประกัน เช่นสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อสวัสดิ์การอาชีพพิเศษ เป็นต้น แต่จะมีการคิดระยะเวลาในการชำระและอัตราดอกเบี้ยที่มีข้อกำหนดพิเศษขึ้นเนื่องจากมีความเสี่ยงที่อาจจะสูง

ข้อเสนอแนะ:การขอสินเชื่อกับธนาคารนั้น ธนาคารจะมองหลักประกันเป็นการกำหนดวงเงินสินเชื่อให้กับลูกค้า เราต้องดูว่าจะขอสินเชื่อที่มีหลักประกันแบบไหนและมีอัตราดอกเบี้ยที่เราสามารถรับได้แค่ไหน เราควรจะยื่นขอสินเชื่อโดยที่มีหลักประกันที่เหมาะสม ในหลายธนาคารจะไม่รับหลักประกันบางแบบกับสินเชื่อบางชนิด เช่นถ้ากู้สินชื่อบ้านก็จะใช้บ้านเป็นหลักประกัน แต่ถ้าสินเชื่อส่วนบุคคลก็ไม่ใช้หลักทรัพย์เพียงแต่ใช้ตัวเราเป็นประกันโดยที่แลกกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เป็นต้น สินเชื่อแต่ละชนิดจะมีหลักประกันที่แตกต่างกันและมีอัตราดอกเบี้ยแตกต่างกันไปตามแต่ธนาคารแต่ละแห่งเป็นผู้กำหนด

5. สถานการณ์

สิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมโดยมีปัจจัยหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นสภาวะเศรษฐกิจปัญหาทางของรัฐบาลการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราปัญหาสิ่งแวดล้อมความผันผวนของตลาดการขึ้นลงของราคาสินค้าหรือวัตถุดิบธนาคารจะวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ต่างๆนั้น และคาดหมายสถานการณ์ล่วงหน้าที่เกิดขึ้นกับธุรกิจอยู่เสมอโดยธนาคารจะติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิดรวมไปถึงวิเคราะห์ทิศทางเศรษฐกิจในอนาคตอีกด้วยการที่ธนาคารทำแบบนั้นเพื่อเพิ่มความสามารถปล่อยสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีวิธีลดความเสี่ยงอีกประการหนึ่งคือไม่ควรปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งมากจนเกินไปควรกระจายไปในธุรกิจหลายๆประเภทเพื่อลดความเสี่ยง

ข้อเสนอแนะ:สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศนั้นทางธนาคารจะเป็นผู้พิจารณามองโดยภายรวมอาจถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินใจให้สินเชื่อกับลูกค้า ถ้ากรณีในปล่อยสินเชื่อบางชนิดที่กำลังมีปัญหาก็มีโอกาสที่ธนาคารอาจจะมีการชะลอการให้สินเชื่อได้  แต่ถ้าคุณสมบัติของเรามีครบถ้วนโดยมี มีอุปนิสัยทางการเงินที่ดีมีประวัติการเงินสะอาด สามารถผ่อนชำระและมีหลักประกันสูง ก็ทำให้ธนาคารอาจจะพิจารณาปล่อยสินเชื่อกับเราได้ด้วยเช่นกัน เพราะถือว่าเราเป็นลูกค้าที่มีคุณสมบัติครบก็สามารถปล่อยสินเชื่อได้

สินเชื่อที่ธนาคารหลีกเลี่ยงการปล่อยกู้

1.สินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจผิดกฎหมายเช่นการพนันยาเสพติดการค้าประเวณี เป็นต้น

2.สินเชื่อที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีประกาศให้พึงระมัดระวังในการให้สินเชื่อ

3.สินเชื่อที่ให้แก่บุคคลหรือนิติบุคคลที่ล้มละลายหรือศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์

4.สินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์การใช้เงินกู้เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมือง

5.สินเชื่อที่ให้แก่การเก็งกำไรเช่น ที่ดิน หลักทรัพย์ ค่าเงิน เป็นต้น

6.สินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจที่ขัดกับความสงบเรียบร้อยหรือขัดกับศีลธรรมอันดีของสังคม

  1. สินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจประเภทสีเทาเช่นอาบอบนวดโรงแรมม่านรูด เป็นต้น

การปล่อยสินเชื่อของธนาคารกับลูกค้าในยุคปัจจุบันนั้นจะมีความเข้มงวดเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีบทเรียนมาจากวิกฤตเศรษฐกิจมาหลายครั้ง หลักการง่ายๆที่ธนาคารจะปล่อยกู้กับลูกค้าที่มีโอกาสที่คืนเงินให้กับธนาคาร ไม่มีใครอยากปล่อยสินเชื่อให้แล้วเก็บหนี้ไม่ได้ใช่หรือเปล่าครับ ? หรือใครคิดว่าไม่จริง