ธุรกิจไหนหากวันนี้คุณยังไม่มี “เว็บไซต์” เป็นออฟฟิตร้านค้าของตัวเอง ยังเอาชีวิต เอาธุรกิจไปผูกติดกับโซเชียลออนไลน์ คุณกำลังพาธุรกิจออนไลน์สู่ทางตัน
ท่ามกลางการแข่งขันบนโลกธุรกิจ ทั้งพายุเทคโนโลยี พายุนวัตกรรม ตลอดจนเครื่องไม้เครื่องมือทางการตลาดที่เต็มไปหมด ทำเอา SME มากมายต้องโดนพายุโหมกระหน่ำซ้ำเติม ล้มหายตายจากไปมากมาย
การตลาดออนไลน์ที่ใครบอกว่าช่วยสร้างยอดขายกลับไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสียทั้งหมด หากเจ้าของกิจการไม่สามารถใช้เครื่องมือได้ถูกต้องถูกวิธี เช่นเดียวกับการที่ SME หลายคนพลาดไม่คิดจะมี “เว็บไซต์” เป็นของตัวเอง เอาธุรกิจไปผูกติดกับโซเชียลมากเกินไปสุดท้ายก็ไปไม่รอดเพราะค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น การใช้งานยากยิ่งขึ้น
เว็บไซต์เป็นสิ่งพื้นฐานที่ทุกธุรกิจต้องมี เพราะนี่คือ “สำนักงานออนไลน์” ของคุณ
มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง ดียังไง ?
ในอนาคตจะมีผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ทเพิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มค้นหาสินค้า-บริการ ผ่านเซิร์ทเอ็นจิ้นมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเปรียบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะจักรวาล … เซิร์ทเอ็นจิ้นอย่าง Google ก็ต้องเป็น ศูนย์กลางของระบบธุรกิจอย่างแน่นอน ความสำคัญที่ต้องมีเว็บไซต์นอกจากช่วยสร้างแบรนด์ให้เติบโตแล้ว ยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีกมาก เช่น
- ช่วยเผยแพร่ข้อมูลของร้านค้าให้เป็นที่รู้จัก และเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการโฆษณา และลดค่าใช้จ่ายระยะยาวได้
- ช่วยเก็บทรัพย์สินสำคัญของธุรกิจ ที่เรียกว่าลิสต์รายชื่อและรูปแบบพฤติกรรมของลูกค้า
- ช่วยสร้างรายได้โดยไม่ต้องมีสำนักงาน เป็นการลดคนแล้วทดแทนด้วยเทคโนโลยี
- ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและทันสมัยให้แก่ธุรกิจ
การให้ความสำคัญกับช่องทางที่ไม่เหมาะสมในการทำธุรกิจระยะยาว อาจทำให้คุณเสียพลังงาน เสียเงินมากกว่าที่ควรจะเป็น
ทำไมต้องมีเว็บไซต์ ?
เพราะ เว็บไซต์จะช่วยสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่ และสร้างความสัมพันธ์พัฒนาให้เป็นลูกค้าประจำได้ สุดท้ายจะกลายเป็นผู้บอกต่อสินค้า, บริการของคุณ ซึ่งเว็บไซต์ที่ดีจะทำหน้าที่นี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ จะดีที่สุด คือต้องก้าวนำคู่แข่งก่อนหนึ่งก้าวเสมอ ถ้าทำในสิ่งที่เค้าไม่กล้าทำ เราก็จะได้สิ่งที่เค้าไม่มี ในที่นี้หมายถึง กล้าทำ กล้าลงทุนในระบบและลูกเล่นฟีเจอร์ต่าง ๆ บนเว็บไซต์ที่เราต้องใส่ใจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
สิ่งที่เราสร้างในวันนี้อาจจะยังไม่เห็นผลลัพธ์ แต่มันอาจจะเป็นจุดที่ทำให้เราเหนือคู่แข่งในวันข้างหน้าก็ได้
เมื่อเริ่มต้นอยากมีเว็บไซต์ ต้องทำอย่างไร
มีเพียง 3 ขั้นตอนง่ายๆ สำหรับขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์ด้วยตนเอง
1. เริ่มจากตั้ง Domain name
Domain name คือ ชื่อเว็บไซต์ประกอบด้วยชื่อและนามสกุล เช่น gmail.com , one31.net ซึ่งเป็นด่านแรกที่บ่งบอกถึงความเป็นตัวตนของเรา มีประโยชน์อย่างมากในการทำให้เราเป็นที่รู้จักและถูกค้นเจอจาก Search Engine
การตั้ง Domain name ที่ดี
- ควรเป็นชื่อที่สั้น ไม่ควรเกิน 4-5 พยางค์ จำง่าย พิมพ์ง่าย
- ชื่อเป็นคีย์เวิร์ดของเนื้อหา สื่อถึงบริการ , จุดประสงค์ของเว็บไซต์
- หลีกเลี่ยงการใช้ Hyphen (-) ขีดคั่น เพราะ มักทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสาร
- ออกเสียงง่าย เหมาะแก่การบอกต่อ
ชื่อที่คิดมาจะซ้ำใครไม่ได้เลย ขั้นตอนนี้ต้องคิดให้ดีที่สุด เพราะเมื่อเป็นที่รู้จักแล้วอยากเปลี่ยนชื่อใหม่ใจคงไม่กล้า เมื่อได้ชื่อตามต้องการแล้ว นำชื่อนั้นไปขอจดทะเบียน Domain หรือ จดทะเบียนเว็บไซต์ กับผู้ให้บริการ
การจดทะเบียนโดเมน มี 2 ประเภท คือ
- การจดทะเบียน Domain ภายในประเทศ จะได้นามสกุลเป็น .th , .ac.th , .net.th เป็นต้น (นามสกุล มีไว้เพื่อระบุประเภทของเว็บไซต์ ว่าเป็นเว็บไซต์ประเภทไหน)
- การจดทะเบียน Domain ต่างประเทศ จะได้นามสกุลเป็น .com , .net , .org , .info เป็นต้น
โดยทั้ง 2 แบบ จะมีค่าบริการ ประมาณ 500 -1200 บาท/ปี แล้วแต่ นามสกุลที่เลือกใช้
แนะนำให้เลือก .com ไว้ก่อน เพราะจำง่าย และถูกใจ Google มากกว่านามสกุลอื่น เรียกว่าเป็น Top – level Domain เลยทีเดียว
2.จากนั้นเลือก Hosting
. เมื่อจดทะเบียน Domain แล้ว ขั้นต่อไป คือ หาเช่าพื้นที่ Web Hosting เพื่อใช้เก็บข้อมูลเว็บไซต์ ถ้าเว็บไซต์เปรียบเสมือนบ้าน Hosting คงเปรียบได้กับที่ดินสร้างบ้าน ทำเลที่ดีควรอยู่ติดถนนใหญ่ เดินทางสะดวก ฉันใดก็ฉันนั้น Hosting ที่ดีก็ควรอยู่บนถนนอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อจะให้คนเดินทางมาหาเรา มาได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
Domain และ Hosting ทั้งสองส่วนนี้เป็นอิสระจากกัน สามารถจด Domain และเช่า Hosting กับผู้ให้บริการรายเดียวกัน หรือต่างผู้ให้บริการกันก็ได้
การเลือก Hosting
เริ่มแรกอาจต้องพิจารณาจากการใช้งานของเว็บไซต์ก่อน เพื่อกำหนดขอบเขตความต้องการในการเช่า เช่น
- ผู้ชมเว็บไซต์ ส่วนใหญ่อยู่ใน / ต่างประเทศ
เพื่อให้ผู้ชมเข้าถึงข้อมูลเว็บไซต์ได้รวดเร็ว > พิจารณาเช่า Hosting ใน / ต่างประเทศ
- เว็บไซต์มีข้อมูล, จำนวนผู้เยี่ยมชมมากน้อยแค่ไหน
ถ้ามีข้อมูล, ปริมาณการรับส่งข้อมูลมาก ก็อาจต้องใช้พื้นที่ และ Data Transfer (Bandwidth) มากด้วย > พิจารณาเช่าขนาดพื้นที่จัดเก็บ, Bandwidth ขนาดเท่าไหร่
- เว็บไซต์มีการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลหรือไม่ ถ้าเว็บไซต์มี Blog, Web board ให้ดูว่าจำเป็นต้องใช้ฐานข้อมูลกี่ฐาน เพราะ Hosting หลายรายจำกัดจำนวนเอ าไว้ > ทราบถึงจำนวนฐานข้อมูลที่ต้องการใช้
3 ปัจจัยสำคัญที่ควรนึกถึงในการเลือก Hosting ที่ตรงใจ คือ
- การใช้งานจริง
เริ่มทำเว็บไซต์ในช่วงแรก อาจยังไม่ต้องซื้อบริการที่เกินความจำเป็น ถ้ามีข้อมูลมากขึ้นในอนาคต ค่อยย้ายไปใช้ Hosting ที่ใหญ่ขึ้น วิธีนี้จะทำให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายในช่วงเริ่มต้น แม้ราคาจะเป็นเรื่องแรกที่นึกถึง แต่ขอให้เป็นเรื่องสุดท้ายที่นำมาพิจารณา
- การให้บริการ
Hosting ที่ดีต้องมีหน่วยประมวลผลที่ดี ส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว มีความเสถียร มีระบบ Back up ข้อมูล ใช้เซิร์ฟเวอร์ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งควรมีการบริการที่ดี ทั้งก่อนและหลังการขาย แม้ต้องจ่ายแพงขึ้นอีกนิด มันก็คุ้มที่จะเสีย
- ระบบ Secure Hosting ควรเลือกที่มีการจัดการด้านความปลอดภัยที่ดี มี SSL (Secure Sockets Layer) Certificate รับรอง การได้ Hosting ที่ดี จะเป็นมากกว่า Hosting ให้แก่เว็บไซต์ของคุณ การซื้อบ้านสวยหลังใหญ่ แต่ไม่มีรั้ว ไม่ติดสัญญาณกันขโมย เจ้าของบ้านอย่างเราคงไม่สบายใจ อาจไม่มีใครสนใจเรื่องระบบความปลอดภัยมากนัก จนกว่าจะพบปัญหา แต่นั่นแปลว่าเรากำลังเสี่ยงต่อภัยได้
ส่วนราคาก็จะแตกต่างกันไปตามความต้องการ มีตั้งแต่ หลักร้อยจนถึงหมื่นบาท / ปี การได้ Hosting ที่ดีจะช่วยให้เว็บไซต์เข้าถึงง่าย โหลดเร็ว เสถียร และสบายใจในเรื่องความปลอดภัย ซึ่งนำไปสู่โอกาสที่ดีในการสร้างรายได้ขยายธุรกิจต่อไป
Hosting แนะนำสำหรับ SMEs > คลิ๊กที่นี่
3.การทำ Content ลงใน Web site
คอนเทนต์บนเว็บไซต์เปรียบได้กับพนักงาน ที่ทำหน้าที่ต้อนรับทุกคนที่เข้ามาเยี่ยมชม Content is King เรื่องจริงที่สุดจะช่วยทำให้เว็บไซต์ประสบความสำเร็จในการเข้าถึงผู้คนได้อย่างมากมาย และคอนเทนต์ที่ดีจะส่งผลบวกกับแบรนด์อย่างมาก ถ้าจะบอกว่ามีคอนเทนต์ที่ดีในเว็บไซต์เปรียบได้กับมีเพชรน้ำเอกน้ำมือ ก็คงไม่ใช่คำกล่าวที่เกินจริงนัก
ขั้นตอน & เทคนิค สู่การเขียนบทความคุณภาพ
- เลือกเรื่องที่จะเขียน กำหนดจุดมุ่งหมาย
ควรเป็นเรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจ เหมาะสมกับเว็บไซต์ของเรา และตั้งธงให้ชัดว่าเขียนเพื่ออะไร
จะได้ไม่หลงประเด็น
- ตั้งชื่อบทความ
ถือประตูด่านแรก ถ้าชื่อไม่โดนใจคุณอาจไม่ได้ไปต่อ อาจใส่ตัวเลข ใส่คำพูด เพิ่มลูกเล่นคำคล้อง คำสร้อยเข้าไปในชื่อด้วย เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ
- เกริ่นนำเข้าเรื่องให้ดึงดูดเหมือนแม่เหล็ก
ผ่านด่านชื่อมาแล้ว บทความ 100 -150 คำแรกก็สำคัญ เกริ่นนำต้องดึงใจคนอ่านให้อยู่ อ่านแล้วต้องอยากรู้ต่อ ให้เริ่มเติมเชื้อไฟมานิดๆ ก่อนเนื้อหาจะมาเต็มในบทความ
- เนื้อหาบทความดี มีประโยชน์
ข้อมูลที่เขียนในบทความ ต้องถูกต้อง เชื่อถือได้ อ่านจบแล้วต้องตอบโจทย์ทะลุจุดประสงค์ที่ตั้งขึ้นมาแต่แรก การเขียนควรสร้างลีลาแบบมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว หรือเรียกว่า มีลายเซ็น และถ้าใส่รูปภาพลงไปด้วยก็ช่วยเพิ่มความดึงดูดทางสายตาได้ดี
- สรุปจบแบบน่าประทับใจ
เพราะจะสร้างความประทับใจให้ผู้อ่าน อยากติดตามเราอีกในอนาคต บทสรุปควรต้องสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง & จุดประสงค์ของเรื่องด้วย และเมื่ออ่านตั้งแต่ต้นจนจบ ทุกอย่างควรไปในแนวทางเดียวกัน หรือที่เรียกว่า “อ่านลื่น” นั่นเอง
ทําอย่างไรให้เว็บไซต์ ติดอันดับต้น ๆ ของ Google
ถ้าอยากให้ธุรกิจประสบความสำเร็จบนโลกออนไลน์ คุณต้องรู้จักเครื่องมือทรงพลังอันนี้ “ SEO ” ซึ่งมีเป้าหมายสูงสุด คือ การพาเว็บไซต์ขึ้นไปติดในอันดับต้น ๆ หรือ ติดหน้าแรกของ Google ถือเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจ เมื่อคนรู้จักมากขึ้น เข้าเว็บไซต์มากขึ้น ก็จะขายของได้มากขึ้น สุดท้ายรายได้ก็มากขึ้นด้วย
การพาเว็บไซต์ไต่อันดับ Google ด้วยการทำ SEO
การทำ SEO แบ่งได้ 2 ทาง คือ
1.SEO On page : ปัจจัยที่อยู่หน้าเว็บไซต์ สามารถควบคุม, ปรับแต่งได้ เช่น
- บทความที่เกี่ยวข้องกับ Keyword
ต้องสร้างบทความดีมีประโยชน์ และสำคัญคือ ต้องแทรก Keyword เข้าไปในเนื้อหานั้นด้วย เพื่อเป็นการบอกให้ Google bot รู้ว่าบทความนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร
- ปรับแต่งเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ
เว็บไซต์ที่ดีและตอบโจทย์ผู้เยี่ยมชม ย่อมมีเสน่ห์สร้างผู้ติดตามมากมาย เมื่อทำอะไรให้นึกถึงประโยชน์ที่ผู้รับจะได้เป็นสำคัญ
- รักษาประสบการณ์ เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน
เช่น ยุคนี้คนอยู่กับมือถือยิ่งกว่าคอมพิวเตอร์ ถ้าเว็บไซต์รองรับการใช้งานบนมือถือ ก็จะสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับผู้ใช้ได้ แต่ถ้าเว็บไซต์เข้าถึงยาก อ่านแล้วงง อาจทำให้เกิดความสับสน ไม่อยากติดตามได้
2.SEO Off Page : ปัจจัยภายนอกเว็บไซต์ ควบคุมได้ยากหรืออาจไม่ได้เลย
เป็นการนำปัจจัยภายนอก เช่น Backlink มากระตุ้นให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จัก จนสามารถสร้าง Traffic ที่มีคุณภาพเข้าสู่เว็บไซต์ได้ ยิ่งมีคนเข้าชมมาก ๆ ก็จะส่งสัญญาณไปถึง Google ว่าเว็บไซต์ของเราดีมีคุณภาพ เมื่อได้รับการยอมรับที่ดีก็จะส่งผลดีต่ออันดับในการค้นหาด้วย
การสร้าง Backlink หรือป้ายบอกทางมายังเว็บไซต์ของเรา จำเป็นที่จะต้องมีความรู้และมีเครื่องมือในการทำบ้าง ส่วนนี้แนะนำให้เจ้าของกิจการใช้บริการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญมาทำให้เราดีกว่า จะได้ผลดีกว่า ประหยัดเงินและเวลาเราอีกด้วย
ที่กล่าวมาถึงขั้นตอนการสร้างและพัฒนาเว็บไซต์ของเราให้เป็นที่รู้จักสามารถขายสินค้าออนไลน์ หากท่านมีทีมงานหรือพัฒนางานก็สามารถสร้างเว็บไซต์ด้วยตนเองได้เลย หากท่านไม่มีก็แนะนำว่าให้ใช้วิธีจ้าง มีบริษัทรับสร้างเว็บไซต์ ที่ให้บริการอยู่มากมายในปัจจุบัน หรือ อาจจะลองปรึกษาทางทีมงานเถ้าแก่ใหม่เบื้องต้นก็ได้ครับ
ธุรกิจไหนหากวันนี้คุณยังไม่มี “เว็บไซต์” เป็นออฟฟิตร้านค้าของตัวเอง ยังเอาชีวิต เอาธุรกิจไปผูกติดกับโซเชียลออนไลน์ คุณกำลังพาธุรกิจออนไลน์สู่ทางตัน พาธุรกิจไปยังทะเลทรายดูด ที่จะค่อย ๆ ดูกลืนเงินคุณ ดูดธุรกิจคุณ จนรู้ตัวอีกทีคือ “ธุรกิจได้จมทราย” ไปแล้ว
ได้เวลาที่มารื้อความคิด ปรับธุรกิจ เริ่มสร้างเว็บไซต์เป็นของเราเองกันแล้วหละครับ
บริการอบรม ให้คำปรึกษาการทำธุรกิจออนไลน์ ฝึกอบรมภายในบริษัท แบบตัวต่อตัว การทำ Content Marketing,การโฆษณา Facebook,การโฆษณา Tiktok,การตลาด Line OA และการทำสินค้าให้คนหาเจอบน Google
บริการดูแลระบบการตลาดออนไลน์ให้ทั้งระบบ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสารความรู้การทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ Add Line id :@taokaemai
รับชมคลิป VDO ความรู้ด้านการตลาด กรณีศึกษาธุรกิจ แหล่งเงินทุนน่าสนใจ ติดตามได้ที่ช่อง Youtube : Taokaemai เพื่อนคู่คิดธุรกิจ SME