สรุปเทรนกลยุทธ์การตลาด 4N คือ No Brand, Nichest Market, Nano Influencer  และ Neuromarketing เป็น Trend ของการตลาดที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภครวมถึงธุรกิจมากขึ้น เจ้าของกิจการต้องปรับตัวให้ทันนำแนวคิดเหล่านี้ไปใช้ในการดำเนินธุรกิจให้อยู่รอด

ทุกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนโลก ย่อมส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างเลี่ยงไม่ได้  เช่นเดียวกับ 4N เทรนด์การตลาดที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงในปี 2019 นี้ แต่ละตัวพลิกวิธีคิดของคนทำการตลาดและแบรนด์ไปโดยสิ้นเชิง มีอะไรบ้างนั้นมาทำความเข้าใจไปพร้อมกันเลย

1.No Brand

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า คำว่า No Brand ไม่ใช่ไม่ทำแบรนด์ แต่เป็นการลด Emotion เน้น Function ให้มากขึ้น เรื่องที่ไม่เกี่ยวกับสินค้า ไม่ต้องเล่าเรื่องเยอะ ไม่ต้องเสียเงินไปกับสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับการใช้งานของสินค้ามากเกินไป การตลาดในสมัยก่อนมักจะบอกว่า ถ้าอยากทำการตลาดให้ดี ต้องทำแบรนด์ให้ดี ต้องสร้าง Story สร้าง Emotion สร้างให้เกิดคุณค่าบางอย่างขึ้นมา ให้ลูกค้ารู้สึกว่าของชิ้นนั้นมันมีความพิเศษกว่าชิ้นอื่น กว่าจะได้มาต้องผ่านขั้นตอนที่ซับซ้อน คุ้มค่าแก่การครอบครอง ซึ่งแนวคิดแบบนี้เป็นสิ่งที่ทำกันมานานและทำได้ดี แต่สำหรับทุกวันนี้ปรากฏว่าคนรุ่นใหม่มองอีกแบบหนึ่งคือ เวลาจะซื้อสินค้าซักอย่างให้มองที่ Function มากขึ้น จากเดิมที่ emotion เยอะ ก็จะเริ่มกลับมาเป็น function เยอะขึ้น แล้วเข้าสู่ยุคที่ No Brand มากขึ้น ยกตัวอย่างแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในรูปแบบนี้ เช่น Muji ที่ทำตัวเหมือนไม่มีแบรนด์ แต่จริงๆแล้วมีแบรนด์ เพียงแต่ไม่มีโลโก้ จึงดูเรียบง่ายกลมกลืนไปกับทุกสิ่ง และพยายามที่จะลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ที่เกี่ยวข้องกับ emotion ลง

2.Nichest Market

เมื่อก่อนการทำตลาดจะเน้นไปที่ Niche Market ซึ่งต้องเป็นลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่สามารถสร้างกำไรได้ดี เช่น กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เป็น Honeymooners คือคนที่กำลังหลงรักกันใหม่ๆ มักจะจ่ายเงินเยอะ ชอบจับจ่ายใช้สอย ในตอนนั้นเอง niche market เป็นกลุ่มที่สำคัญ มีหลายแบรนด์มุ่งไปที่ตลาดกลุ่มนี้ แต่สำหรับตอนนี้ทุกคนสามารถเข้าถึง niche market กันหมดแล้ว การตลาดจึงบอกว่าต้องเปลี่ยนไปเป็น Nichest Market หมายความว่า แค่เล็กอาจไม่พอ ต้องเล็กมากๆ เฉพาะมากๆ ลองย้อนกลับไปที่ Honeymooners อาจไม่ใช่แค่ Honeymooners เฉยๆ อาจเป็นกลุ่ม Honeymooners ที่เป็นเพศเดียวกัน ซึ่งเป็นที่พูดถึงกันมากขึ้น กลายเป็นว่าเวลามีการพูดคุยกันก็จะแตกต่างไปอีกรูปแบบหนึ่ง และตรงใจกลุ่มลูกค้ามากขึ้น ดังนั้นอะไรที่เล็กลงอยู่แล้ว ทำให้เล็กลงไปอีก เพื่อโดนใจลูกค้ามากขึ้น

3.Nano Influencer

ในยุคหนึ่งเรามี Macro Influencer นั่นก็คือ ดาราหรือสื่อมวลชนที่มีชื่อเสียงเยอะ ทำให้การประชาสัมพันธ์สินค้าออกไปสู่ตลาดได้กว้างขึ้น แต่การที่ดาราหรือสื่อมวลชนที่มีชื่อเสียงมากต่างโดนรุมล้อมจากหลากหลายแบรนด์ที่ต้องการให้โปรโมทสินค้า กลับกลายเป็นว่าผู้บริโภคจำไม่ค่อยได้ว่าเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับใคร ที่สำคัญคือค่าจ้างแพงมากตามระดับชื่อเสียง จึงมีการเปลี่ยนจาก macro influencer มาเป็น Micro influencer แทน คือมีคนติดตามไม่เกิน 1 แสนคน ซึ่งเล็กเพียงพอที่จะจับกลุ่มเฉพาะได้ ปรากฏว่าแต่ละแบรนด์หันมาทุ่มเทที่ Micro influencer มากขึ้น จึงเกิดเป็นแนวทางใหม่ขึ้นมาคือ Nano Influencer ที่จับเฉพาะกลุ่มคนที่เล็กลงไปอีก คือคนที่มีแฟนคลับไม่เกิน 1 พันคน แต่มีความต้องการที่เฉพาะกิจมาก และมีความชอบในกลุ่มค่อนข้างชัดเจน เช่น กลุ่มคนที่รักนาฬิกาโบราณมาก อะไรที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำเก่าๆ เป็นเรื่องราวดีๆในอดีต จะกลายเป็นสิ่งที่พูดคุยกันมากที่สุด และไม่ใช่การพูดคุยแบบธรรมดา ถ้าใช้ Macro หรือ Micro Influencer อย่างมากก็แค่ทำให้รู้จัก และชอบมากขึ้น แต่กลุ่มที่เล็กมากๆก็จะคุยกันไปมาจนเกิดการซื้อ การใช้ Nano Influencer จะส่งผลถึงขั้นซื้อ และมีการซื้อซ้ำ มีการบอกต่อ ในส่วนของการลงทุนก็ไม่เยอะ เพราะเวลาไปติดต่อขอลงโฆษณา ราคาก็ไม่แพง เนื่องจากว่าเขามีกลุ่มคนขนาดเล็ก ดังนั้นต้นทุนจึงต่ำ มากไปกว่านั้นคือ เขาจะมีความรู้สึกภูมิใจ สามารถพูดซ้ำ ทำซ้ำ ด้วยความเต็มใจ เวลามีใครมาถามใน page ของเขาก็จะมาตอบให้เป็นอย่างดี ถือเป็นกลุ่มเล็กๆที่มีพลังส่งผลให้เกิดปฏิสัมพันธ์ของการคุยกันอีกด้วย

4.Neuromarketing

สมัยก่อนนักการตลาดชอบบอกว่า อยากจะทำการตลาด ต้องรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร พอไปถามลูกค้า กลับกลายเป็นว่าลูกค้าเองก็ไม่เคยรู้เลยว่าตัวเองต้องการอะไร จึงควรเปลี่ยนจากการไปถามลูกค้ามาเป็นเรียนรู้เรื่องของระบบประสาท ซึ่งเป็นการนำเอาวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยในการทำอย่างไรให้คนพร้อมซื้อ คือเห็นปั๊บซื้อเลย  เป็นแนวคิดของพวก Neuromarketer คือนักการตลาดที่เข้าใจวิธีคิดของลูกค้าในเชิงลึก แม้แต่ลูกค้าเองก็ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ เช่น การตั้งชื่ออาหารจะทำให้อาหารอร่อยขึ้น โดยไม่รู้ตัว ลองเปรียบเทียบระหว่าง ข้าวต้มหมูธรรมดา กับ ข้าวต้มหมูสูตรลับคุณย่า เป็นข้าวต้มเดียวกันก็จริง แต่พอตั้งชื่อแล้วพบว่า ข้าวต้มหมูสูตรลับคุณย่าอร่อยกว่าข้าวต้มหมู ที่เขียนว่าข้าวต้มหมูเฉยๆ หรือ การใช้จาน ถ้าอยากให้คนกินข้าวเยอะขึ้น ก็ทำให้ขนาดของภาชนะใหญ่ขึ้น ถ้าอยากให้คนกินน้อยลง ก็ทำให้ขนาดภาชนะเล็กลง ซึ่งคนจะทานมาก ทานน้อย โดยไม่รู้ตัว มีโรงแรมหลายแห่งที่ให้รับประทานอาหารเช้าฟรี จะเห็นว่าแก้วน้ำที่ให้ลูกค้าจะมีขนาดที่เล็กกว่าแก้วปกติ ถึงจะเติม 2 หรือ 3 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับแก้วใหญ่แก้วเดียว ดังนั้นโดยปกติแล้ว การใช้ภาชนะที่เล็กลงในร้าน Buffet จะทำให้คนกินน้อยลง และต้นทุนทางการตลาดต่ำลง

สรุปทั้ง 4N คือ No Brand, Nichest Market, Nano Influencer  และ Neuromarketing เป็น Trend ของการตลาดที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภครวมถึงธุรกิจมากขึ้น เจ้าของกิจการต้องปรับตัวให้ทันนำแนวคิดเหล่านี้ไปใช้ในการดำเนินธุรกิจให้อยู่รอด ไม่พ่ายแพ้ในเกมส์การตลาดที่แข่งขันกันอย่างดุเดือด ทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าและสามารถสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นได้นั่นเอง

อ้างอิง

4N – 4 Trend การตลาดยุคใหม่

【4N – 4 Trend พลิกวิธีคิดนักการตลาดยุคใหม่】การตลาดเมื่อไม่กี่ปีก่อนจะต้องเน้นทำ Brand เน้นการใช้ Microinfluencers แต่มาปีนี้ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป เราจะยังใช้วิธีเดิม ๆ ในการทำการตลาดได้อีกหรือไม่?สัปดาห์นี้มารู้จัก 4N – 4 Trend การตลาดสมัยใหม่ โดย อ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล เจ้าของหนังสือ best seller อัจฉริยะการตลาด จากภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของเรากันค่ะ ?#Key_takeawaysแนวโน้มการตลาดสมัยใหม่ ทั้ง 4 N ได้แก่ 1. No Brand – ลูกค้าสมัยใหม่มีแนวโน้มที่จะเน้น function มากกว่า emotion2. Nichest – เพราะ Niche อย่างเดียวอาจจะยังไม่เล็กพอ3. Nanoinfluencer – เพราะ Nanoinfluencer อาจจะช่วยให้ขายได้มากกว่า4. Neuromarketing – เมื่อลูกค้าไม่ทราบว่าตัวเองต้องการอะไร ผู้ขายสามารถสร้างความต้องการลูกค้าได้เพียงแค่หาปุ่มในสมองลูกค้าให้เจอ?!ติดตามข้อมูลดีๆ จาก Space ได้ทาง Line@spacebycbs ได้เช่นกันค่ะ+++#ชมคลิปก่อน ๆตอนที่ 1: เข้าใจงบการเงินภายใน 2 นาที -> https://bit.ly/2l5jZOQตอนที่ 2: บริษัทกำลังเติบโตหรือไม่ สังเกตได้จากอะไร -> https://bit.ly/2tPpeqw ตอนที่ 3: การบริหารเงินทุนที่ดีเป็นอย่างไร -> https://bit.ly/2KKNC7r ตอนที่ 4: กำไรทางบัญชี ต่างกับกำไรทางภาษีอย่างไร -> https://bit.ly/2LvSlcFตอนที่ 5: ต้นทุนของเงินทุนในการทำธุรกิจ -> https://bit.ly/2LsJ315ตอนที่ 6: อธิบายการประเมินความน่าลงทุนของโครงการง่าย ๆ ใน 3 นาที -> https://bit.ly/2P4irT2ตอนที่ 7: เรื่องเงิน ๆ ที่ SME ต้องระวัง -> https://bit.ly/2vXQt3g ตอนที่ 8: ข้อดีของ Cashless Soceity -> https://tinyurl.com/space-chula-09ตอนที่ 9: ท่านรู้จักความเสี่ยงส่วนบุคคลรอบด้านแล้วหรือยัง? -> https://tinyurl.com/space-chula-10ตอนที่ 10: ความเสี่ยงของบริษัท -> https://tinyurl.com/space-chula-11+++พบกับ The Essential Space สกัดความรู้สำคัญทางธุรกิจให้เข้าใจง่ายทุกเช้าวันอังคารทางเพจ SPACE by Chulalongkorn Business School

โพสต์โดย SPACE by Chulalongkorn Business School เมื่อ วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม 2018