หากได้ที่ทำเลที่เหมาะสมก็จะทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ของเราเติบโตไปได้ดี และได้เปรียบคู่แข่ง แต่หากเลือกทำเลที่ไม่ดี กลุ่มลูกค้าเป้าหมายและผู้บริโภคไม่สามารถเข้ามาใช้บริการได้ยากหรือไม่สามารถเข้าใช้บริการได้ก็อาจนำไปสู่ความล้มเหลวได้เหมือนกัน

การเลือกทำเลที่ตั้งร้านถือเป็นหนึ่งองค์ประกอบทีมีความสำคัญ ที่ช่วยธุรกิจแฟรนไซส์สามารถดำเนินธุรกิจค้าประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น เราจำเป็นต้องเลือกทำเลไม่ได้มาจากการคาดเดาแต่ต้องใช้ความรู้ทางด้านการวิเคราะห์ตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค และภาวะเศรษฐกิจเพื่อเป็นตัวช่วยในการพิจารณาคัดเลือกสถานที่ให้เหมาะกับการดำเนินธุรกิจแฟรนไซส์

การเลือกทำเลนั้นมีความสำคัญจำเราจำเป็นต้องมีเงื่อนไขในการเลือกทำเลมาเป็นตัวยกตัวอย่างเช่น ความหนาแน่นของประชากรในทำเลนั้นๆ อำนาจการซื้อ การแข่งขันในพื้น สิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น การวิเคราะห์ข้อมูลจากทำเลจะช่วยให้เรามีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้ ถ้าเรามีเลือกทำเลได้ถูกต้องและเหมาะสม

เมื่อเราต้องหาทำเลสำหรับเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ โดยส่วนมากทำเลที่ดีมักจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงและต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ดังนั้นการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งสำหรับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์จึงต้องทำอย่างละเอียดรอบคอบเพราะเมื่อเราลงทุนไปกับทำเลเป็นการลงทุนที่เยอะและต้องคำนึงถึงผลในระยะยาวให้มากแล้วผู้ที่เข้าร่วมแฟรนไชส์นั้นมักตัดสินใจในการเลือกทำเลเพียงครั้งเดียว ซึ่งหากได้ที่ทำเลที่เหมาะสมก็จะทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ของเราเติบโตไปได้ดี และได้เปรียบคู่แข่ง แต่หากเลือกทำเลที่ไม่ดี กลุ่มลูกค้าเป้าหมายและผู้บริโภคไม่สามารถเข้ามาใช้บริการได้ยากหรือไม่สามารถเข้าใช้บริการได้ก็อาจนำไปสู่ความล้มเหลวได้เหมือนกัน

กฎสำคัญในการเลือกทำเลเพื่อประกอบธุรกิจแฟรนไชส์

1.ประเภทธุรกิจแฟรนไชส์

การเลือกทำเลในการทำธุรกิจมีหลายครั้งที่ผู้ประกอบการต้องให้ออกว่าประเภทธุรกิจแฟรนไชส์นั้นเป็นประเภทไหน และมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เราต้องการคือใคร เมื่อแฟรนไชส์ที่เกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่ม ร้านที่เปิดต้องอยู่ในพื้นที่ย่านชุมชน เข้าถึงได้ง่าย เข้าใช้บริการได้ง่าย เพราะลูกค้าสามารถเข้าร้านใช้บริการได้ตลอดทั้งวัน ถ้าเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทค้าขาย และการบริการ ทำเลที่ดีต้องมีสิ่งที่อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้ามากที่สุด ดังนั้น เรื่องของเดินทาง ที่จอดรถ และตั้งอยู่ในย่านชุมชน

2.ต้นทุนของสถานที่ทำเล

ทำเลดีที่มีคนผ่านเยอะ อยู่ในย่านชุมชน หรือจะเป็นศูนย์การค้า สถานศึกษา โรงพยาบาล ค่าเช่าจะยิ่งสูงมาก ยิ่งถ้าอยู่ใจกลางเมืองด้วยแล้ว ราคาเช่าแพงมหาโหด แต่ถ้าเรามีทุนทรัพย์เพียงพออยู่แล้วก็สามารถซื้อหรือให้เช่าได้อย่างไม่มีปัญหา แต่ถ้าไม่ขอแนะนำว่า การมีทำเลที่คนเยอะหรือแพงที่สุด อาจจะไม่ใช่ทำเลที่ดีที่สุด และอาจไม่ได้ทำกำไรเยอะเสมอไป เพราะบางครั้งที่ทำเลระดับปานกลาง ค่าเช่าปานกลาง อาจจะเหมาะกับสินค้าและบริการของธุรกิจแฟรนไชส์ของเรามากกว่ากลุ่มทำเลที่สุดยอดอีก นั้นก็อาจเป็นข้อเปรียบกว่าที่ทำให้ประหยัดเงินได้เยอะกว่ามาก

3.กฎหมายและภาษี

ปัจจุบันได้มีกฎหมายบางข้อที่บังคับพื้นที่หรือการจัดพื้นที่ (Zoning) สำหรับการประกอบธุรกิจบางประเภทโดยเฉพาะธุรกิจการผลิตและการบริการ ยกตัวอย่า ร้านอาหารบางประเภทห้ามเปิดในบางพื้นที่ เรื่องภาษีป้ายประชาสัมพันธ์ของธุรกิจแฟรนไชส์ก็จำเป็นต้องเสียภาษีด้วย ซึ่งเรื่องนี้มักคิดว่าไม่ความสำคัญ รู้ตัวอีกทีก็โดยเรียกเก็บภาษีย้อนหลังพร้อมดอกเบี้ยจนเหงื่อตก ดังนั้นผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ต้องศึกษาในเรื่องของกฏหมายและภาษีอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่ตามมาได้ในอนาคต

4.การเดินทาง

กลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ที่ต้องเกี่ยวข้องกับส่งสินค้า เช่น แฟรนไชส์ขนม ต้องเลือกทำเลที่อยู่ในบริเวณที่มีค่าขนส่งวัตถุดิบและสินค้าไม่สูงเกินไป และเดินทางสะดวกแต่สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ที่เกี่ยวกับการค้าขายและบริการ ต้องมองไปที่ความสะดวกสบายในการสัญจรของผู้บริโภค โดยมีหลายคนเข้าใจผิดว่ายิ่งอยู่ติดถนนขนาดใหญ่ยิ่งขายดี แต่พอเอาเข้าจริง ค้าขายไม่ดี เพราะแฟรนไซส์ที่ตั้งบนในถนนใหญ่จะมีรถสัญจรวิ่งผ่านค่อนข้างมาก ทำให้ไม่การจอดแวะไม่สะดวก ถ้าเทียบกับถนนเส้นเล็กกว่า มีรถผ่านน้อยกว่าหรือย่านชุมชน ผู้คนสัญจรผ่านอยู่บ่อยครั้ง และเห็นว่าสะดวกกว่าก็อาจเข้ามาใช้บริการได้ไม่

5.ความชอบผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์

หลายครั้งที่ผู้ประกอบการณ์เป็นคนเลือกเองโดยใช้ความคิดตัวเองเลือก ไม่มีการกำหนดชัดเจนว่าการเลือกทำเลนั้นมีกฎตายตัวซักเท่าไหร่ โดยเฉพาะถ้าเอาความชอบส่วนตัวของผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ นั้นจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจได้ โดยผู้ประกอบการบางรายอาจมีความชอบทำเลใดเป็นพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น เป็นที่ทำเลที่มีประวัติศาตร์ ทำเลถิ่นที่อยู่ดั้งเดิม ทำเลที่มีญาติมิตรและครอบครัวช่วยอุดหนุน หลายคนชอบทำธุรกิจในย่านชุมชน หลายคนชอบที่ทำเลเมืองสงบๆเพื่อหลบหนีความวุ่นวายจากเมืองกรุง การเลือกทำเลที่เราชื่นชอบและคุ้นเคยอาจจะมีข้อดีกว่าที่เราคิดไว้ เช่นเราอาจจะรู้จักกลุ่มลูกค้า รู้จักนิสัยใจคอของคนในบริเวณนั้นดีกว่า ทำเลอื่นๆอีก

ตอนนี้เราพอจะรู้และเข้าใจแล้วว่าอะไรคำว่าทำเลนั้นสำคัญแค่ไหน  อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าการเลือกทำเลนั้นย่อมไม่มีหลักตายตัว  มันขึ้นอยู่ว่าเจ้าของกิจการมีประสบการณ์และความรู้ด้านนี้หรือไม่ ถ้าไม่มีประสบการณ์พอก็ต้องใช้หลักการที่ได้เจอก่อนหน้า ทำเลจะเรียนว่าเป็นความสำเร็จแรกของการเปิดแฟรนไซส์ “ทำเลดีมีชัยไปกว่าครึ่ง” คงไม่ผิดไปจากนี้จริงๆ