ไมว่าจะเป็น สินค้า หรือ บริการ การออกแบบรูปลักษณะ วิธีการบริการ ถือเป็นกลุยุทธ์ที่สำคัญต่อการสร้างความพึงพอใจ ของลูกค้า

แยกให้ได้นะครับ ผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่เพียงแค่ตรายี่ห้อ หรือ บรรจุภัณฑ์ กล่องที่ใส่ เหล่านี้เป็นแค่ “กรอบภายนอก” ทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดความต้องการเท่านั้น ทั้งสองเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของ ผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือบริการที่เรากำลังจะผลิตขึ้นมา

6 แนวทางการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ ให้โดนใจลูกค้า

1.รูปทรง

ต้องเหมาะสมกับงาน และสอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิต (Life Style) ของลูกค้า จะทำให้ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี  ยิ่งเหมาะสมกับลูกค้าเราเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นที่ต้องการ ดีกว่าไม่มีรูปลักษณ์ รูปทรงอะไรเลย

รูปทรง รูปลักษณ์ ควรสอดคล้องกับแนวคิดผลิตภัณฑ์ ของเราด้วย ไม่ใช่ว่า แนวคิดธุรกิจสินค้าเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม แต่รูปทรงออกไปแนวไฮเทค อาจจะไม่เข้ากันเสียเท่าไหร่

2.สี

สีมีผลต่อการตัดสินใจซื้อเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องของอารมณ์ โทนสีร้อน เย็น ต้องดูด้วยว่าลูกค้าเราเป็นกลุ่มไหน ลูกค้าเราเป็นใคร และสีที่นำมาใช้ต้องการสื่อสารอะไรกับลูกค้าที่พบเห็น

3. ขนาด

ขนาดต้องเหมาะสมในการหยิบ จับ ใช้ ของกลุ่มลูกค้า เราต้องศึกษาให้ชัดเจนว่าขนาดไหนที่เหมาะสม เล็กไป ใหญ่ไป ก็ไม่ดีนะครับ เอาที่ลูกค้าใช้แล้วโอเค

ตัวอย่าง ยาสีฟัน  มีการกำหนดขนาด ต่าง ๆ ตามพฤติกรรมของลูกค้า เช่น ขนาดครอบครัว ใช้ที่บ้านก็ขนาดใหญ่หน่อย และขนาดเล็กเพื่อความสะดวกในการเดินทาง

4.คุณภาพของผลิตภัณฑ์

ระบบการควบคุมคุณภาพสินค้า เราต้องโฟกัสตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต จนได้เป็นสิน้า เท่านั้นยังไม่พอต้องไปถึงมือของลูกค้าใช้แล้วปลอดภัย คุณภาพต้องนำราคา

5.การรับประกันคุณภาพ

เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค การรับประกัน ต้องสอดคล้องกับการออกแบบคุณภาพสินค้า ว่ามีขอบเขตแค่ไหนบ้าง เช่น เราซื้อ คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค หรือ smartphone ก็จะมีระยะเวลาในการรับประกัน ในการเปลี่ยน ซ่อม ดูแลต่าง ๆ แต่ทั้งหมดก็จะมีเงื่อนไขเรื่องเวลาจำกัด

6.การบริการ

เราต้องแปลงคำว่า “บริการ” ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า เช่น การจัดส่ง การติดตั้ง บริการหลังการขายต่าง ๆ เหล่านี้เราต้องออกแบบควบคู่ไปกับสินค้าของเราตั้งแต่ต้นว่าจะทำอย่างไร

การออกแบบภาพรวบของผลิตภัณฑ์สินค้าเราตั้งแต่แต่ย่อมส่งผลดีกว่าการที่ทำไปแก้ไป ไม่มีทิศทาง อาจจะเสียเวลาในการออกแบบทั้งหมด แต่หากเราเข้าใจกฎ 80/20 ที่ว่า

ทำงานเรื่องการวางแผน ออกแบบ 80%  ตอนนำไปผลิตจะทำให้เราใช้เวลาแค่ 20%  ทุกอย่างจะสำเร็จ แต่หากเราวางแผนออกแบบ 20% แล้วออกไปลุย ลงมือทำเราอาจจะต้องเสียเวลากว่า 80% ในการแก้ปัญหาที่ไม่รู้จบก็เป็นได้