ปฎิเสธไม่ได้เรื่องของการทำงานในปัจจุบัน ที่ส่วนใหญ่ มักอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือ ต้องนั่ง ,ยืน เป็นเวลานาน  ยังมีปัจจัยเรื่องของเวลาการทำงานที่ส่งผลให้อยู่ในอิริยาบถเดิมๆ รวมทั้งปัจจัยการกดดันจากงานที่ได้รับมอบหมาย

ความเครียดจากการทำงาน หรือแม้กระทั่งสังคมในที่ทำงาน บางครั้งก็มีผลเรื่องของสภาวะทางอารมณ์ที่ไม่สดใส เกิดภาวะตึงเครียด ทั้งของกล้ามเนื้อส่วนร่างกาย และส่วนจิตใจ กลายเป็นโรคยอดฮิตในกลุ่ม มนุษย์เงินเดือน  ที่เรียกกันว่า “ออฟฟิตซินโดรม”

มีหลายสื่อ นำเสนอท่ากายบริหารช่วยป้องกันและบรรเทาอาการ ออฟฟิตซินโดรม

แต่ .. ก็ยังมีจำนวนไม่น้อยที่ จำท่ากายบริหารไม่ได้ หรือ ไม่สะดวกกายบริหารในที่ทำงาน .. ลองดู

5 วิธีช่วยบรรเทาอาการออฟฟิตซินโดรม แบบแนบเนียน

  1. นั่งให้ถูก : การเริ่มต้นที่ถูกต้องเป็นการแก้ปัญหาได้ดีที่สุด  บ่อยครั้งที่อาการปวดกล้ามเนื้อตามจุดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น บ่า คอ ไหล่ หลัง สะโพก มือ หรือแม้กระทั่ง เข่า  การเริ่มต้นที่ถูกต้องคือ การนั่งให้พอดีกับสรีระของเรา  เก้าอี้ หรือ โต๊ะ ไม่เตี้ยเกินไป หรือ สูงเกินไป  ปรับให้ข้อศอกตั้งฉากกับโต๊ะมากที่สุดในการพิมพ์ คียบอร์ด  นั่งหลังตรง  อย่านั่งหลังค่อม  หลีกเลี่ยงการนั่งไขว้ห้างเป็นเวลานาน
  2. ขยันเปลี่ยนท่า : บ่อยครั้งที่เรามีสมาธิจดจ่อการการทำงาน ทำให้นั่งท่าเดิมเป็นเวลานานเกินไป  ลองเขียนโน๊ตเล็กๆแปะไว้ในที่สังเกตได้ง่าย เช่นริมหน้าจอ หรือ มุมคีย์บอร์ด ให้เปลี่ยนท่าทางการทำงาน เป็นวิธีที่ง่ายและเตือนความจำได้ดี
  3. จัดสิ่งแวดล้อมบนโต๊ะทำงาน : การรักษาความสะอาด หรือ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยบนโต๊ะทำงาน ก็เป็นปัจจัยส่งเสริมอารมณ์ที่แจ่มใสพร้อมลุยงานได้เช่นกัน นอกจากนั้นเรื่องการจัดวางสิ่งของ ก็เป็นตัวช่วยในการเปลี่ยนท่าทางได้ดี  อาทิ วางสิ่งของที่ต้องการใช้ไม่บ่อย ไว้ไกลมือเพื่อมีการขยับเขยื้อนตัว เปลี่ยนท่าไปหยิบบ้าง  ไม่ได้ขยับแค่ส่วน แขน หรือมืออย่างเดียว  พยามยามจัดเป็นหมวดหมู่การใช้สอย ไว้ใกล้กันๆ ในเวลาเร่งรีบจะได้ไม่หัวเสียในการหาของไม่เจอ
  4. หนีจากหน้าจอ :  การจ้องมองหน้าจอมากเกินไป หรือการใช้สายตานานๆ มีผลกระทบเรื่องดวงตาได้  ดวงตาอักเสบ ภาวะเป็นต้อ ตาพร่า  ปวดช่วงกระบอกตา สายตาสั้นลง  มีผลเรื่องการใช้ชีวิตต่อไปในอนาคตหากต้อง ทุกข์ทรมาน กับการใช้สายตาที่ ไม่สมบูรณ์  วิธีหนีอย่างง่ายๆคือการ หลับตา สัก 2-3 นาที กลอกลูกตาขึ้น ลง ซ้าย ขวา  มองออกไปในที่ไกลๆสักพัก  รู้สึกดีค่อยมาลุยงานต่อ หรือ หมั่นกระพริบตา เบี่ยงสายตาออกจากหน้าจอเป็นระยะ ก็พอช่วยได้เช่นกัน
  5. น้ำเปล่าติดโต๊ะ : การดื่มน้ำที่เพียงพอในแต่ละวัน ช่วยให้การทำงานของสมองและระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้นได้  ทั้งยังช่วยเรื่องของตาแห้ง จากการใช้สายตราจ้องหน้าจอเป็นเวลานานๆอีกด้วย  ปริมาณน้ำที่นำมาติดโต๊ะ ควรเป็นขวด หรือแก้วที่พอดีมือ จับถนัดไม่ลื่นหลุดง่าย ใช้โอกาสที่ดีเวลาเติมน้ำ เป็นการขยับร่างกายเปลี่ยนอิริยาบถ  พักสายตาและผ่อนคลายอารมณ์เคร่งเครียดไปได้ในตัวอีกด้วย