เปลี่ยน “ขยะ” ให้เป็น “เงิน” เด็ก 9 ขวบทำเงินล้านจาก “ขยะ

ขยะข้าวของปัจจุบัน สามารถนำมาขายเป็น ขยะรีไซเคิล ได้ทุกท่านก็รู้

แต่จะมีใครสักกี่คนกันครับ ที่ให้ความสำคัญ และให้น้ำหนักกับการจัดการ ขยะภายในบ้าน

เคน มอนรอย (Caine Monroy) หนุ่มน้อยวัย 9 ขวบ เด็กช่างคิด

ผู้ใหญ่ให้การส่งเสริม จากขยะ กล่องของเล่น จนกลายมาเป็นธุรกิจ

Try to do it ? ลองทำเองดูสิ  เป็นประโยคที่พ่อของ เคน มักจะตอบลูก เมื่อเคนมา สอบถามความเห็น

ครอบครัวของหนูน้อย เคน ทำธุรกิจเกี่ยวกับ ขายอะไหล่ รถมือสอง

ถ้าบ้านเราก็คงเป็นร้านแถวเชียงกง หละครับ ขยะที่เจ้าเด็กเคน เอาทำเป็นเงิน ก็คือกล่อง ที่ใส่อะไหล่รถของพ่อหนะแหละ

เริ่มต้น ไม่ได้คิดเรื่อง “เงิน” เป็นที่ตั้ง แต่ เคน เป็นเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์

เขานำกล่องมาตัด ต่อ แปะ ปะ ติด ให้เป็นเครื่องเล่นต่าง ๆ เช่น หุ่นยนต์ ตู้เกม อะไรที่ทำได้

ซึ่งเด็ก ๆ บ้านเราก็ทำกันนะครับ เพียงแต่ทำเล่นกันในบ้าน

แต่เจ้าเคน ดัน เชิญชวนให้คนอื่นมาใช้บริการ เก็บค่าเล่นเล็กน้อย

ทุกวันหลังเลิกเรียน วันหยุดเสาร์อาทิตย์ เคนก็จะทำหน้าที่พนักงานขาย

พนักงานเรียกลูกค้า เก็บเงิน บอกวิธีการเล่นเกม ต่าง ๆ นานา

นี่คือบทเรียน นอกตำรา ที่สถาบันติววิชาที่ไหนไม่เคยสอน

เขาได้รับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ล้ำค่า จากการเปิดโอกาสจากพ่อของเขาเอง


เรื่องมันมาใหญ่โต เป็นธุรกิจขึ้นก็เมื่อ เนอร์แวน มัลลิค นักสร้างภาพยนต์ เข้ามาที่ร้านเพื่อซื้ออุปกรณ์รถ

เขาได้พบเครื่องเล่นธรรมดาของเด็ก ที่เต็มเปี่ยมไปด้วย ความคิดสร้างสรรค์

เขาจึงนำเรื่องราวที่พบเห็น ไปพูดคุยกับเพื่อน ๆ จนเป็นที่มาของหนังสั้นเกี่ยวกับธุรกิจของเคน

จนเรื่องสั้นดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ขึ้นบนโลกโซเชียล บนเว็บไซต์ www.cainesarcade.com

จากกล่องกระดาษไร้ค่ากับสร้างมูลค่าทางจิตใจ ให้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่มากมายทั่วโลก

 

จุดเล็ก ๆ ที่ปล่อยครั้งที่พ่อ-แม่ ละเลย ความพิเศษของลูก

ซึ่งนั่นอาจจะเป็น “พรสวรรค์” ของเขาที่เราไม่เปิดโอกาสให้เขาได้แสดง

อาจจะเป็นเพียง “สิ่งเดียว” ที่เขาทำได้ ทำแล้วมีความสุข สนุก

มากกว่าการพยายามเคี่ยวเขน ให้เข้าโรงเรียนกวดวิชา ที่เป็นเพียงความปรารถนาของ พ่อ-แม่

 

เรียนให้ดี เข้ามหาลัยดี ๆ จบมาจะได้มีงานทำดี ๆ

คำถามก็คือว่าทุกวันนี้สิ่งที่ว่า “ดี ๆ” นั้น มันทำให้เรามี “ความสุข” กับมันหรือไม่

หลายคนทำงานไม่มีความสุข

หลายคนเรียนไม่มีความสุข

ผู้คนมากมาย ต้อง มานั่งแหง่ว !! เพราะต้องจำยอม ที่จะทำงาน ด้วย “ความทุกข์”

จะดีกว่าไหม หากให้เด็กได้มี “ความสุข” ตั้งแต่เขาเริ่มคิดได้ ทำได้ ในวัยที่เป็น

จะดีกว่าไหม หากเรียนรู้ ทั้งนอกและใน โรงเรียน ด้วยการออกมาใช้ชีวิตในแบบที่ตัวเองกำหนด

จะดีกว่าไหม หากสอนให้ลูก สร้างอาชีพ หาเลี้ยงตัวเองได้ตั้งแต่เขายังเด็ก

ถามว่าไม่เป็นการยัดเยียดเขาเกินไปหรอกหรือ ?

ก็คงต้องตอบว่า แล้ว การที่ให้เขาเข้าเรียนกวดวิชาวันละ 3-4 ชั่วโมงคืออะไร ?

เคน ไม่ได้ทำ “ขยะ” ของเขาให้เป็น “เงิน”

แต่เขาเปลี่ยน “ขยะ” ให้เป็น “ความสุข”

ผู้คนก็ไม่ได้ซื้อ “ขยะ” ที่เคนประกอบขึ้น

แต่เขาซื้อ “ความสุข” ที่ได้รับการแบ่งปันจาก เคน

 

วันนี้เรามี “ความสุข” ที่พร้อมจะ “แบ่งปัน” แล้วหรือยัง

หรือมีเพียง “ขยะ” ที่ไร้ค่าส่งมอบให้กับ “ผู้อื่น”