สินค้าพื้นเมืองของไทย จำพวกกระเป๋า หรือแม้กระทั่งเสื้อผ้าพื้นเมืองของไทย ส่วนตัวมองว่า ถ้าขายคนไทย ก็เหนื่อยครับ เพราะ
คนไทยกลุ่ม A (ระดับบน) ก็จะติดแบรนด์ดังของฝรั่ง
กลุ่ม B (ระดับกลาง-บน) ก็เห่อของนอก ที่เป็นแบรนด์รองลงมา โดยเฉพาะกลุ่มใหญ่พวก Gen Y และ Gen Z ไม่ค่อยมองมาที่ของพื้นเมืองหรอก แต่ถ้าเป็นกลุ่ม Gen X ที่มีอายุมากสักหน่อย ก็อาจมีบ้าง แต่ก็ไม่ได้มากมายนัก
กลุ่ม C (ระดับกลาง-ล่าง) นับเป็นตลาดใหญ่พอสมควร ว่ากันตามตรง ผมมองว่าตลาดกลุ่มนี้ค่อนข้างเหมาะกับของไทยพื้นเมือง แต่ก็จะมีกำลังซื้อค่อนข้างจำกัดพอสมควร ดังนั้นคนทำธุรกิจกระเป๋า เสื้อผ้า พื้นเมืองของไทย จะขายคนกลุ่มนี้ได้ดีที่สุด แต่ก็จะไม่ได้น้ำได้เนื้อ มากนัก เนื่องจากข้อจำกัดด้านกำลังซื้อนั่นเอง
ตลาดที่มองเป็นแนวโน้มที่น่าสนใจ และใหญ่มาก ก็คือ
ตลาดชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นตลาดที่เค้ามาเที่ยวเมืองไทย และซื้อกลับไปใช้ หรือ ตลาดที่เราไปเปิดที่เมืองนอก เช่น ไปออกนิทรรศการ และหาตัวแทนจำหน่ายสินค้าในแต่ละประเทศ
หรือ ตลาดที่ขายผ่านเว็บไซต์ หรือ โซเชียล มีเดีย ไปยังชาวต่างชาติ ก็นับว่าน่าสนใจมาก แถมยังได้กลุ่มลูกค้าที่มีความชื่นชอบสินค้าที่มีลักษณะเป็นงานศิลปะ ของพื้นเมือง ที่ไม่โหล มีลักษณะเฉพาะตัว ทั้งในเรื่อง รูปแบบสินค้า (รูปทรง และ การใช้งาน) และดีไซน์ (ลวดลาย) แถมชาวต่างชาติมีกำลังซื้อสูงมาก ทำให้สินค้าเรา สามารถสร้างแบรนด์ และอัพราคาได้มากเลยทีเดียว
จุดที่ต้องให้นำ้หนักความสนใจ ก็คือเรื่อง แหล่งผลิต ที่ต้องมีคุณภาพ และความน่าสนใจ สามารถผลิตออกมาได้อย่างสม่ำเสมอ และจำนวนมากพอสมควร ยิ่งถ้าเราสร้างแบรนด์ตัวเอง และลงทุนโปรโมทแบรนด์เราแล้วนั้น ยิ่งต้องมั่นใจว่า เราสามารถรับมือกับเรื่อง การผลิตได้คงที่และออกมาดีด้วย
อีกประเด็นคือ เรื่อง Collection ที่นับเป็นหัวใจของสินค้าจำพวก กระเป๋า และเสื้อผ้า แม้จะเป็นของพื้นเมืองไม่ใช่พวกขายความเป็น แฟชั่นจ๋า แต่ถ้าจะสร้างยอดขายที่ต่อเนื่อง ย่อมหลีกไม่พ้น ที่จะต้องพัฒนาออกมาเป็น Collection
การกำหนดราคาขาย จะทำได้ดีมากน้อยแค่ไหน ขึ้นกับปัจจัย 2 ประการคือ
– ช่องทางการขาย หากเราขายผ่านตัวแทน ที่มีศักยภาพ ย่อมทำให้เราสามารถขายราคาได้ดี ถึงดีมาก
– การสร้างแบรนด์ให้กลุ่มเป้าหมายประทับใจเชื่อมั่น และจดจำได้เป็นลำดับต้นๆ ในกลุ่มสินค้าประเภทนี้
ดังนั้นปัจจัยที่จะทำให้ธุรกิจนี้ไปได้ดีมากน้อย น่าจะอยู่ที่….
1. การสร้างแบรนด์ และ Collection ที่ถูกจริต ตรงใจกลุ่มลูกค้าต่างชาติ ดังนั้นจึงควรแบ่งว่า เป็นลูกค้าโซน อเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย เอเชีย เพื่อความชัดเจนในการพัฒนา Collection ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละโซน
2. การสร้าง Story หรือ Legend สำหรับ แบรนด์เรา หรือ Collection แต่ละอัน เพราะสินค้ากลุ่มนี้ ขายด้วยคุณภาพ วัสดุที่ใช้ แต่เพียงอย่างเดียว ดูจะราบเรียบไร้มิติเกินไป
Added Value จะยิ่งมากถ้าเราสามารถสร้าง Story หรือ Legend ที่น่าสนใจไว้ในใจของกลุ่มเป้าหมายได้ จะทำให้ลูกค้าจดจำแบบฝังลึกตราบนานเท่านาน และนั่นเท่ากับว่า เราได้เปรียบคู่แข่งอย่างเห็นได้ชัดไปแล้ว @@
ขอบคุณรูปภาพและบทวิเคราะห์จาก ชื่อพล แต่คนชอบ เรียกพอล
บริการอบรม ให้คำปรึกษาการทำธุรกิจออนไลน์ ฝึกอบรมภายในบริษัท แบบตัวต่อตัว การทำ Content Marketing,การโฆษณา Facebook,การโฆษณา Tiktok,การตลาด Line OA และการทำสินค้าให้คนหาเจอบน Google
บริการดูแลระบบการตลาดออนไลน์ให้ทั้งระบบ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสารความรู้การทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ Add Line id :@taokaemai
รับชมคลิป VDO ความรู้ด้านการตลาด กรณีศึกษาธุรกิจ แหล่งเงินทุนน่าสนใจ ติดตามได้ที่ช่อง Youtube : Taokaemai เพื่อนคู่คิดธุรกิจ SME