เมื่อพูดถึงเรื่องของประกันสังคม หลายมักจะเข้าใจว่าเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับบุคคลที่ทำงานบริษัทเท่านั้น แต่รู้หรือไม่ว่าสำหรับบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้มีสวัสดิการใดๆ สามารถขอรับสิทธิประกันสังคมได้เช่นกัน ที่เรียกกันว่า “ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ” ตามมาตรา 39 และ 40 ทั้งสองมาตราได้รับสิทธิอะไรบ้าง ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติอย่างไร บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจ ประกันสังคมมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันอย่างไร


เริ่มต้นขายสินค้า ออนไลน์ แบบไม่ต้องสต็อกกับ PriceZA
ลงทะเบียนฟรี ที่นี่

ประกันสังคมมาตรา 39 คืออะไร ?

ประกันสังคมมาตรา 39 เป็นประกันสังคมผู้ประกันตนโดยสมัครใจ ซึ่งเคยเป็นลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 มาก่อน และไม่ได้เข้าทำงานในฐานะลูกจ้างอีกต่อไป ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ โดยส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเดือนละ 432 บาท ในมาตรา 39 แทน เงื่อนไขคือ

  • นำส่งเงินสมทบในฐานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่ลาออกจากงาน
  • ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม

ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครอง ดังนี้

1.กรณีเจ็บป่วย

ค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยปกติ หรืออุบัติเหตุที่ไม่ได้เกิดจากการทำงาน ได้รับความคุ้มครองตามหลักเกณฑ์ของประกันสังคม โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ  ยกเว้นบางกรณี เช่น  การรักษาภาวะมีบุตรยาก การปลูกถ่ายไขกระดูก ทันตกรรม ยกเว้น การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูน และผ่าฟันคุด

2.กรณีคลอดบุตร

ฝากครรภ์และคลอดบุตรได้ทุกโรงพยาบาล ไม่จำเป็นต้องเป็นโรงพยาบาลตามสิทธิ ผู้ประกันตนสามารถเบิกค่าคลอดแบบเหมาจ่าย 13,000 บาทต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง ผู้ประกันตนหญิงยังได้รับเงินสงเคราะห์จากการหยุดงานเนื่องจากการคลอดบุตรในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน สำหรับการใช้สิทธิลูกคนที่ 3 จะไม่ได้รับเงินสงเคราะห์จากการหยุดงานเพื่อคลอดบุตร

3.กรณีสงเคราะห์บุตร

จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 600 บาทต่อบุตรหนึ่งคน โดยจะจ่ายให้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน

4.กรณีทุพพลภาพ

ทุพพลภาพ หมายถึง การสูญเสียอวัยวะ สูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกาย หรือสูญเสียภาวะปกติของจิตใจ ประกันสังคมจะจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ให้ตามหลักเกณฑ์ของประกันสังคม สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ หากรักษาในสถานพยาบาลเอกชน จะจ่ายตามเงื่อนไขที่ประกันสังคมกำหนด

5.กรณีชราภาพ

หากผู้ประกันตนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินบำเหน็จหรือเงินบำนาญตามเกณฑ์ที่กำหนดของประกันสังคม โดยพิจารณาตามระยะเวลาที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบกับสำนักงานประกันสังคมเป็นหลัก

6.กรณีเสียชีวิต

ประกันสังคมจะจ่ายค่าทำศพ จำนวน 40,000 บาท และจ่ายเงินสงเคราะห์ให้กับสามี ภรรยา และบุตรตามเงื่อนไขที่กำหนด ทายาทมีสิทธิสามารถขอรับประโยชน์ทดแทนได้ภายใน 2 ปี

เริ่มต้นขายสินค้า ออนไลน์ แบบไม่ต้องสต็อกกับ PriceZA
ลงทะเบียนฟรี ที่นี่

 

ประกันสังคมมาตรา 40 คืออะไร ?

ผู้ประกันตนในมาตรา 40 คือ แรงงานนอกระบบ หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น พ่อค้าแม่ค้า รับจ้างทั่วไป ผู้ใช้แรงงาน เป็นต้น ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  • สัญชาติไทย มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์
  • ต้องไม่เคยเป็นผู้ประกันตนประกันสังคมในมาตรา 33 และ 39 มาก่อน
  • ไม่เป็นข้าราชการหรือบุคคลที่ถูกยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม
  • ผู้พิการที่สามารถรับรู้สิทธิประกันสังคมได้

3 ทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40

  • ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบเดือนละ 70 บาท สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต
  • ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบเดือนละ 100 บาท สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี  คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีชราภาพ และกรณีเสียชีวิต
  • ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบเดือนละ 300 บาท สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5  กรณี  คือ  กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และกรณีเสียชีวิต

ความคุ้มครองที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จะได้รับ

ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ

กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย : จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย และใช้สิทธิการรักษาใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ/บัตรทอง (สปสช.) หรือสิทธิเดิมที่มีอยู่ จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้

1.นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท

2.ไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป วันละ 200 บาท

3.ไปพบแพทย์ (ผู้ป่วยนอก) และแพทย์ไม่มีความเห็นให้หยุดพักรักษาตัว หรือให้หยุดพัก รักษาตัวไม่เกิน 2 วัน (มีใบรับรองแพทย์มาแสดง) ครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี

4.ภายใน 1 ปี ได้รับสิทธิตาม (1) และ (2) รวมกันไม่เกิน 30 วันต่อปี

กรณีทุพพลภาพ : จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ

ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 – 1,000 บาท ต่อเดือนขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ เป็นระยะเวลา 15 ปี เสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพได้รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท

กรณีตาย : จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 ใน 12 เดือนก่อนเดือนที่ตาย ยกเว้นกรณีตายเพราะอุบัติเหตุหาก จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 6 ใน 12 เดือน แต่มีการจ่ายเงินสมทบ 1 ใน 6 เดือนก่อนเดือนที่ตายได้รับเงินค่าทำศพจำนวน 20,000 บาท
ได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย 3,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 เดือนก่อนเดือนที่ตาย

ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณีคือ

กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย : จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย และใช้สิทธิการรักษาใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ/บัตรทอง (สปสช.) หรือสิทธิเดิมที่มีอยู่ จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้

1.นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท

2.ไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป วันละ 200 บาท

3.ไปพบแพทย์ (ผู้ป่วยนอก) และแพทย์ไม่มีความเห็นให้หยุดพักรักษาตัว หรือ ให้หยุดพักรักษาตัวไม่เกิน 2 วัน (มีใบรับรองแพทย์มาแสดง) ครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี

4.ภายใน 1 ปี ได้รับสิทธิตาม (1) และ (2) รวมกันไม่เกิน 30 วันต่อปี

กรณีทุพพลภาพ : จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 – 1,000 บาท ต่อเดือน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ เป็นระยะเวลา 15 ปี
เสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ ได้รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท

กรณีตาย : จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 ใน 12 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย ยกเว้น กรณีตายเพราะอุบัติเหตุหากจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 6 ใน 12 เดือน แต่มีการจ่ายเงินสมทบ 1 ใน 6 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย ได้รับเงินค่าทำศพจำนวน 20,000 บาท
ได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย 3,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย

กรณีชราภาพ : อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปี

ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณีคือ

กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย : จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

สิทธิการรักษาใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ/บัตรทอง (สปสช.) หรือสิทธิเดิมที่มีอยู่

(1) นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 300 บาท

(2) ไม่ได้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลแต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 200 บาท *ภายใน 1 ปี รับสิทธิตาม (1) และ (2) รวมกันไม่เกิน 90 วัน

กรณีทุพพลภาพ : จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 – 1,000 บาท ต่อเดือน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ เป็นระยะเวลาตลอดชีวิต เสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ ได้รับเงินค่าทำศพ 40,000 บาท

กรณีตาย : จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 ใน 12 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย ยกเว้น กรณีตายเพราะอุบัติเหตุหากจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 6 ใน 12 เดือน แต่มีการจ่ายเงินสมทบ 1 ใน 6 เดือน ก่อนเดือนที่ตายได้รับเงินค่าทำศพ 40,000 บาท

กรณีชราภาพ : อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปี ได้รับเงินเพิ่มอีก 10,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป
กรณีสงเคราะห์บุตร : จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 24 ใน 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรรายเดือน คนละ 200 บาท คราวละไม่เกิน 2 คน บุตรอายุตั้งแต่แรกเกิดแต่ไม่เกิน 6 ปี บริบูรณ์

 

รหัสคำเชิญของฉัน 183772
รหัสคำเชิญของฉัน 183772

ประกันสังคมมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันอย่างไร ?

1.คุณสมบัติของผู้สมัครเพื่อขอรับสิทธิ

  • มาตรา 39 คือ ประกันสังคมของคนที่ลาออกจากงาน ทำให้สิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 โดยที่ไม่กลับเข้าทำงานในฐานะลูกจ้างอีกต่อไป และต้องการความคุ้มครองต่อเนื่องหลังจากที่ลาออกจากงานประจำ
  • มาตรา 40 คือ ประกันสังคมสำหรับแรงงานนอกระบบ อาชีพอิสระ หรือผู้ที่ต้องการทำประกันสังคม โดยที่ไม่เคยทำมาก่อน

2.จำนวนเงินสมทบที่จ่ายต่อเดือน

  • มาตรา 39 ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเดือนละ 432 บาท
  • มาตรา 40 มี 3 ทางเลือก คือ ส่งเงินสมทบเดือนละ 70, 100 และ 300 บาท หากไม่สะดวกจ่ายรายเดือน สามารถเปลี่ยนทางเลือกการจ่ายเงินสมทบเป็นรายปีได้

3.สิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วย

  • มาตรา 39 มีสทธิเข้ารับการรักษาตามหลักเกณฑ์ประกันสังคม โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ  และยังได้รับสิทธิตรวจสุภาพประจำปีอีกด้วย
  • มาตรา 40 ทดแทนรายได้เมื่อเจ็บป่วยตามหลักเกณฑ์ประกันสังคม ส่วนค่ารักษาพยาบาลสามารถใช้บัตรทอง หรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค)

4.กรณีคลอดบุตและสงเคราะห์บุตร

  • มาตรา 39 สามารถเบิกเงินค่าคลอดบุตรตามเงื่อนไข และได้รับเงิน 600 บาท/เดือน ต่อบุตร 1 คน
  • มาตรา 40 ไม่ได้รับความคุ้มครองกรณีคลอดบุตร ได้รับเงิน 200 บาท/เดือน ต่อบุตร 1 คน กรณีเลือกจ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน

5.เงินชราภาพ

  • มาตรา 39 ผู้ประกันตนได้รับเงินบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพ
  • มาตรา 40 ทางเลือกที่ 2 และ 3 ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ

แม้ว่าในส่วนของผู้ประกันตนมาตรา 40 จะได้รับสิทธิประโยชน์น้อยกว่ามาตรา 39 ถึงอย่างไรนั้นการเข้าระบบประกันสังคมถือเป็นเรื่องที่ดี ทั้งนี้ก็เพื่อลดความเสี่ยงจากค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย และช่วยให้ผู้ประกันตนมีเงินออมหลังเกษียณอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูล : www.sso.go.th