ใครหลายคนใฝ่ฝันอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ ใครหลายคนอยากเป็นนายตัวเอง ธุรกิจร้านอาหาร ถือเป็นตัวเลือกลำดับต้น ๆ ของคนที่กำลังมีความหวังความฝันอยากทำธุรกิจเล็ก ๆ ง่าย ๆ หลายคนมองว่าการทำอาหารขายคงไม่ยุ่งยากอะไรก็แค่ทำกับข้าวให้คนกิน แต่เอาเข้าจริง พอจะเริ่มต้น ไม่รู้จะเริ่มยังไง จับต้นชนปลายไม่ถูก หรือเริ่มไปแล้วกลับพบว่าทำไมมันไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ทำไมมันยุ่งยากหยุมหยิมจัง เอาอย่างนี้ก็แล้วกันค่ะ สำหรับว่าที่เจ้าของกิจการมือใหม่ ที่วาดหวังไว้กับธุรกิจร้านอาหารในฝัน ก่อนที่จะได้ลิ้มรสหอมหวานของความสำเร็จ ท่านคงต้องผ่านบททดสอบในหลาย ๆ เรื่อง หากเราเตรียมตัวดีย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง ภาษิตจีนโบราณที่ว่า “รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครา” ยังคงทันสมัยในทุกยุค

ก่อนอื่นเราควรรู้ตัวเองก่อนว่า เราต้องการเปิดร้านอาหารประเภทไหน กลุ่มลูกค้าคือใคร ตรงกับความถนัดหรือ Style ของเราหรือเปล่า เพราะหากเราสามารถกำหนดประเภทร้านอาหารที่ต้องการได้ จะทำให้เราสมารถมองภาพออกทันทีว่าร้านอาหารของเราควรออกมารูปแบบไหน บรรยากาศเป็นอย่างไร เงินทุนคร่าว ๆ ต้องใช้เท่าไร รูปแบบการบริหารจัดการ กระทั้งมองทะลุไปถึงแหล่งวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในร้าน กำลังแรงงานต้องใช้กี่คน  ถ้าอย่างนั้นเรามาทำความรู้จักกับประเภทของธุรกิจร้านอาหารกันก่อนดีกว่า

 

ประเภทธุรกิจร้านอาหารแปดประเภทตามหลักสากล 8 ประเภท

  1. Buffet กินไม่อั้น ธุรกิจร้านอาหารประเภทนี้คงไม่ต้องอธิบายอะไรมาก เรา ๆ ท่าน ๆ คงคุ้นเคยกันดี

ในฐานะผู้ใช้บริการ แต่ถ้าจะขยับมาเป็นเจ้าของร้านอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ คุณต้องบริหารจัดการร้านของคุณเป็นอย่างดี อย่าลืมนะครับ แม้ว่าการบริการแบบบุฟเฟ่ต์ มันเหมือนจะง่ายดาย แต่การวางแผนเป็นสิ่งสำคัญมาก เราจะบริหารวัตถุดิบอย่างไร ทำอย่างไรไม่ให้ลูกค้าทานเหลือ และที่สำคัญทำอย่างไรหักลบทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว เราจะได้กำไร

  1. Casual Style ง่าย ๆ สบาย ๆ คงเป็นร้านอาหารในฝันของหลาย ๆ คนที่อยากเป็นร้านชิล ๆ นั่ง

สบาย ๆ บริการลูกค้าอบอุ่นเป็นกันเอง อย่างพวกสวนอาหารทั่ว ๆ ไป หรือร้านอาหารริมน้ำ เป็นต้น

  1. Fast casual เสิร์ฟเร็วกินเร็ว ง่าย ๆ ถ้าให้นึกภาพง่าย ๆ ก็คือร้านอาหารตามสั่งทั่ว ๆ ไป

ร้านอาหารข้างทาง

  1. Fine Dining ภัตตาคาร ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าภัตตาคาร แน่นอนว่า ต้องเน้นความหรูหราอลังการไม่ว่า

จะเป็นการตกแต่งหรือการบริการ เมนูอาหารที่ต้องพิเศษเลิศรส

  1. Fast Food ทำเร็ว กินเร็ว ไปเร็ว ร้านอาหารประเภทนี้ เน้นลูกค้าเวลาน้อย อาหารราคาไม่แพง

ได้แก่ พวกร้านข้าวแกงตักราด ร้านไก่ทอด ข้าวเหนียวหมูปิ้ง ทำนองนี้

  1. Franchises ถ้าหากเราขี้เกียจคิดสูตรเอง คิดกระบวนการบริหารจัดการเอง ร้านอาหารแฟรน์ไชส์

เป็นตัวเลือกหนึ่งที่ช่วยให้คนอยากมีร้านอาหารประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น เพราะสะดวกง่าย ไม่ต้องคิดเอง ได้ know how การทำ การบริหาร แต่ต้องจ่ายค่าชื่อ และจ่ายค่าธรรมเนียมต่อปี ต่อเดือน หรือ ต้องซื้อวัตถุดิบหลักจากเจ้าของแฟรน์ไชส์ เป็นต้น

  1. Food Truck ร้านอาหารเคลื่อนที่ ตอนนี้ในเมืองไทยกำลังเป็นที่นิยมและยังตัดปัญหาสำหรับคนไม่มี

ที่ทางถาวรเป็นของตัวเอง อาศัยจอดในที่ทางที่เหมาะสม ถ้าอาหารอร่อย รับรองจอดที่ไหนคนแน่นที่นั่น

  1. Food catering การบริการจัดเลี้ยงนอกสถานที่ รูปธุรกิจร้านอาหารประเภทนี้ ตัดปัญหาเรื่องหน้า

ร้าน ถ้ามีฝีมือ มีแรงงานสักหน่อย เติมเรื่องการบริหารจัดการที่ดีเข้าไป เผลอ ๆ กำไรดีกว่าร้านที่มีหน้าร้านเสียอีก

เมื่อเราสามารถตอบตัวเองได้แล้วว่า เราจะเปิดร้านอาหารประเภทไหน ขั้นตอนที่สำคัญต่อไปคือการวางแผนธุรกิจ ซึ่งอาจแยกย่อยง่าย ๆ ดังนี้

 

  1. หาทำเลที่ตั้งและขนาดที่เหมาะสม กับร้านอาหารของเรา โดยพิจารณาถึง กลุ่มลูกค้าเป็นสำคัญ ว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร คนทำงาน นักเรียนนักศึกษา คนที่มีกำลังการซื้อสูง หรือคนที่ต้องการอาหารในช่วงเร่งรีบ
  2. วางแผนเรื่องทีมงาน ถึงแม้จะมีเพียงเราคนเดียวก็ต้องมีการวางแผน ถ้าร้านอาหารของเรา ต้องมีการจ้างแม่ครัวพ่อครัว ต้องวางแผนเผื่อเขาลาออก อย่าลืมนะครับ หัวใจสำคัญของร้านอาหารคือคนทำอาหาร ถ้าไม่มีคนทำอาหาร ก็ต้องเรียนว่าเจ๊งตั้งแต่ยังไม่เริ่ม ดังนั้น ไม่ว่าจะจ้างแม่ครัวพ่อครัว หรือลงมือทำเอง อย่าลืมวางแผนด้านกำลังแรงงานไว้ด้วย
  3. แหล่งวัตถุดิบและและบริหารวัตถุดิบ เป็นปัจจัยสำคัญที่ละเลยไม่ได้เลยสำหรับธุรกิจร้านอาหาร อาหารที่อร่อยย่อมมาจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพใหม่และสดดีที่สุด ดังนั้นหากเราอยู่ใกล้ หรือสามารถจัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพแต่ต้นทุนต่ำได้ย่อมทำให้ร้านของเรา มีแนวโน้มที่สดใส
  4. การตั้งชื่อร้าน ชื่อนั้นสำคัญไฉน ซื่อบ่งบอกถึงตัวตนของเรา บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ที่คนจะจำได้ สมัยนี้ขนาดโต๊ะขายข้าวเหนียวหมูปิ้งยังมีชื่อ ดังนั้น อย่าละเลยเรื่องการตั้งชื่อที่สะดุดหูสะดุดตา ที่สำคัญต้องสะดุดใจ จำง่าย ไม่จำเป็นต้องแปลกพิสดารก็ได้แต่ขอให้บ่งบอกความเป็นตัวเราก็เพียงพอแล้ว
  5. การขออนุญาตกับทางราชการ ประเด็นนี้หลาย ๆ คนอาจมองข้าม เช่นเรานึกจะเปิดรถเข็นขายก๋วยเตี๋ยว เราคงไม่อยากเข็นรถเข็นหนีเจ้าหน้าที่ เราคงไม่อยากมีปัญหากับทางเทศบาลหรือเขตพื้นที่ทำมาหากินของเรา และยิ่งถ้าเราเปิดร้านเป็นกิจจะลักษณะ มีการขึ้นป้ายร้าน ก็ควรมีการขออนุญาตและจดทะเบียนร้านค้าให้ถูกต้องด้วยนะครับ

ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมา คือ การเริ่มต้นง่าย ๆ ในธุรกิจร้านอาหาร แต่หัวใจสำคัญที่สุดของที่สุดคือ “คุณต้องทำอาหารเป็น” และที่สุดของที่สุด “คุณต้องมีใจรัก” เพราะธุรกิจร้านอาหารเป็นธุรกิจที่ต้องการความใส่ใจสูงมาก รายละเอียดเยอะ มีเรื่องจุกจิกหยุมหยิมมาก ถ้าพลาดคือทุกอย่างแทบพังทันที

การทำอาหารเป็นไม่ได้หมายความว่าคุณต้องลงมือทำเองทุกอย่าง แต่คุณต้องทราบทุกอย่างเกี่ยวกับอาหารทุกจานที่ออกจากครัวของคุณ และหากคุณไม่มีใจรักในการทำอาหารในการบริการ ประตูเจ๊งเปิดรอคุณอยู่