ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร คนก็ยังต้องกินข้าวและตราบใดที่ข้อจำกัดในการทำอาหารรับประทานเองของคนในยุคนี้มีมากมาย เช่น ต้องอยู่ห้องเช่า หรืออยู่หอพักไม่มีครัว ไม่สะดวกทำอาหารรับประทาน ไม่มีเวลา ทำให้ธุรกิจร้านอาหารยังคงตอบโจทย์คนในยุคนี้ได้เป็นอย่างดี และไม่ว่าคุณเพิ่งจะเริ่มต้นกระโดดเข้ามาอยู่ในสนามแข่งขันของธุรกิจประเภทนี้ โดยที่มีเงินทุนของตัวเองบางส่วนแต่ยังไม่เพียงพอ หรือดำเนินกิจการมาแล้วสักพักต้องการเงินทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจ คุณคงหนี้ไม่พ้นการยื่นกู้เงินกับธนาคาร

คำถามคือแล้วทำอย่างไรล่ะถึงจะกู้ผ่าน คำตอบง่าย ๆ แบบกำปั่นทุบดินคือ ทำยังไงก็ได้ให้เจ้าของเงิน(ในที่นี้คือธนาคารที่คุณจะยื่นกู้นั่นเอง)มั่นใจว่าคุณสามารถหาเงินมาคืนเขาได้ตามสัญญา นอกจากหลักประกันที่มั่นคง ได้แก่ ที่ดินหรืออาคารที่คุณประกอบธุรกิจอยู่ สิ่งที่ธนาคารต้องการจากคุณมากที่สุดคือ สิ่งที่บ่งบอกว่าธุรกิจคุณไปรอดแน่ ๆ และสิ่ง ๆ นั้นคือ “แผนธุรกิจ” เอาจริง ๆ แล้วแผนธุรกิจก็คือแผนที่ที่จะนำพาคุณและร้านของคุณไปสู่เป้าหมายที่คาดหวังไว้ คือสิ่งที่ทำให้คุณรู้จักธุรกิจของคุณมากที่สุด และสามารถบอกคนอื่นได้ว่า ธุรกิจของคุณเป็นอย่างไรอย่างเป็นรูปธรรม

          ถ้าหาคุณลองเสิร์จหาคำว่าแผนธุรกิจร้านอาหารในอินเทอร์เน็ต คุณจะเห็นตัวอย่างแผนธุรกิจร้านอาหารมากมาย  ซึ่งคุณสามารถเอามาศึกษาเป็นแนวทางได้ แต่มันจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย หากคุณลอกแผนธุรกิจของคนอื่น เพื่อประกอบการกู้เงินเท่านั้น คุณควรจะวิเคราะห์วิจัยแผนธุรกิจร้านอาหารของคุณเอง นอกจากจะสามารถตอบคำถามต่าง ๆ ของธนาคารได้ว่า ทำไมธนาคารต้องให้คุณกู้เงิน คุณยังสามารถนำแผนธุรกิจที่วิจัยด้วยตัวคุณเอง ไปใช้ในการประกอบธุรกิจจริง ๆ ได้ด้วย

เรามาดูรูปแบบมาตรฐานทั่วไป สำหรับแผนธุรกิจร้านอาหารควรจะมีอาจแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ

  1. ส่วนข้อมูลตัวไปของธุรกิจร้านอาหารของคุณ ซึ่งแสดงถึงสถานะในปัจจุบันของร้านรูปแบบการทำ

ธุรกิจ การวิเคราะห์สถานการณ์เบื้องต้นของร้าน ประกอบไปด้วย

  • วัตถุประสงค์ของแผนธุรกิจ บอกถึงเป้าหมายของธุรกิจของคุณว่าคุณมีเป้าหมายในธุรกิจนี้อย่างไร
  • วิสัยทัศน์(Vision) แสดงให้เห็นถึงมุมมองในการทำธุรกิจ เช่น รังสรรค์อาหารรสเลิศ สดสะอาดมีมาตรฐาน ราคาย่อมเยา เพื่อลูกค้าที่เรารัก
  • พันธกิจ (Mission) คือภารกิจหลักที่ต้องทำ ระบุเป็นข้อ ๆ ให้เห็นชัดเจน
  • คำขวัญ เป็นคำที่ทำให้สร้างความประทับใจหรือภาพจำแก่ธุรกิจได้
  • ลักษณะทั่วไปของธุรกิจร้านอาหารของคุณ บรรยายลักษณะร้านอาหารของคุณให้เห็นภาพชัดเจน ถ้ามีภาพประกอบด้วยยิ่งดี
  • ขอบเขตของธุรกิจ ทั้งในแง่พื้นที่และรูปแบบการทำธุรกิจ ว่าเราเน้นลูกค้ากลุ่มใด ขายที่ใด เวลาเปิดปิดร้าน
  • สถานะของธุรกิจร้านอาหาร มีคู่แข่งทางการค้ามากน้อยแค่ไหนในเขตพื้นที่เป้าหมาย มีแนวโน้มคู่แข่งรายใหม่มากน้อยหรือไม่อย่างไร แหล่งวัตถุดิบและแรงงานเราหาจากไหน จัดหาอย่างไร ลักษณะของลูกค้าของเราเป็นอย่างไร มีพฤติกรรมอย่างไร มีกำลังซื้อสอดคล้องกับธุรกิจของเราหรือไม่ ซึ่งการวิเคราะห์สถานะธุรกิจของคุณสามารถใช้ Five Forces Model ในการวิเคราะห์

Five Forces Analysis สำหรับธุรกิจร้านอาหารของคุณ โดยวิเคราะห์แรงผลักดันของธุรกิจร้านอาหาร 5 อย่าง ได้แก่

  • อำนาจต่อรองจากลูกค้า (bargaining power of customers)
  • อำนาจต่อรางจากซัพพลายเออร์ (bargaining power of suppliers)
  • การเข้าสู่ธุรกิจของผู้ประกอบการรายใหม่ (Treat of new entrants)
  • การถูกคุกคามจากสินค้าทดแทน (Treat of substitutes)
  • การแข่งกันกับคู่แข่งที่มีอยู่ (Rivalry among exiting competitors)

การใช้ Five Forces Model จะทำให้เห็นถึงสภาพทางธุรกิจของคุณอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ตัวคุณเองและคนที่มาอ่านแผนธุรกิจของคุณจะสามารถเข้าใจสถานการณ์ธุรกิจของคุณได้โดยง่าย

  • ทำเลที่ตั้ง บอกบ้านเลขที่ที่ตั้ง วาดแผนที่ ให้ชัดเจน รวมทั้งช่องทางการติดต่อ
  1. การวิเคราะห์ธุรกิจและวางแผนกลยุทธ์

  • วิเคราะห์ SWOT จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคของธุรกิจ เป็น model สามัญประจำธุรกิจทุกธุรกิจเลยก็ว่าได้ แต่ถ้าวิเคราะห์ดี ๆ เราสามารถสร้างกลยุทธ์ในการบริหารจัดการร้านอาหารของเรา รวมถึงสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจจากการวิเคราะห์ SWOT ได้เลยทีเดียว โดยหลักในการวิเคราะห์ SWOT ง่าย ๆ คือ
    • จุดแข็งจุดอ่อน คือสิ่งที่เราควบคุมได้ สร้างได้แก้ไขได้ นิยมใช้ 7s model ซึ่งใช้วิเคราะห์ 7 สิ่งที่เราควบคุมได้ นั่นคือ กลยุทธ์(Strategy) โครงสร้างธุรกิจ (Structure) ระบบ(System) บุคลากร (Staff) แนวทาง (Style) คุณค่าของธุรกิจ (Shared values)
    • โอกาสและอุปสรรคคือสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ เราทำได้เพียงใช้โอกาสที่มีเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและหลีกเลี่ยงอุปสรรคที่เกิดขึ้น โดยใช้ PEST-HEP วิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคประกอบไปด้วย กฎหมายหรือนโยบายของรัฐบาล(Politics) สภาพเศรษฐกิจ(Economic) สภาพสังคม(Socio-cultural) เทคโนโลยี(Technology) สุขภาพ(Health) สภาพสิ่งแวดล้อม (Environment) สภาพผู้คน (People)
  • กลยุทธ์ของร้าน ถือเป็นหัวใจสำคัญอีกหัวข้อหนึ่งเลยทีเดียวเพราะแผนกลยุทธ์เปรียบเสมือนคัมภีร์ประจำธุรกิจของเรา ว่าเราต้องดำเนินการอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไร และต้องเตรียมตัวรับมือกับปัญหาอย่างไรหากเกิดปัญหาขึ้น ซึ่งกลยุทธ์ของธุรกิจความแสดงให้เห็นถึง
    • รูปแบบการบริหารจัดการ
    • แผนการตลาด
    • แผนการดำเนินงาน
    • แผนการลงทุน
    • แผนการปฏิบัติด้านสุขลักษณะอาหาร
    • แผนปฏิบัติด้านกาความคุมคุณภาพอาหาร
    • คู่มือขึ้นตอนการดำเนินงาน/คู่มือขั้นตอนการประกอบอาหาร
    • แผนป้องการความเสี่ยงและวิธีแก้ไขปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
  • แผนการเงิน เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับแผนธุรกิจ แอบกระซิบบอกกันดัง ๆ ไปเลยว่า ธนาคารพิจารณาจุดนี้เป็นลำดับต้น ๆ เลยทีเดียว ซึ่งสิ่งที่คุณต้องแสดงให้เห็นคือ
    • การประมาณการรายได้รายจ่าย
    • การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน
    • การวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน
    • การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
    • การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน

และขอแนะนำว่าอย่าตกแต่งตัวเลขเป็นอันขาด ถ้าผลการวิเคราะห์การเงินออกมาไม่สวยหรู

คุณควรยอมรับความจริงว่า แผนธุรกิจคุณยังไม่ดีพอ ต้องหาช่องโหว่และอุดมันซะทุกอย่างจะฟ้องด้วยตัวเลขจากสัดส่วนทางการเงินเหล่านี้นี่แหละ

  • แผนฉุกเฉิน ควรมีการคาดการณ์กรณีฉุกเฉินที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของคุณไว้และวางแผนรองรับหรือหาช่องทางการแก้ไข แผนนี้บ่งบอกถึงการป้องกันความเสี่ยงของธุรกิจ
  • แผนในอนาคต ประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจ ปัจจัยสำคัญที่เป็นเงื่อนไขแห่งความสำเร็จของธุรกิจของคุณ
  1. บทสรุป ทั้งหมดของแผนธุรกิจของคุณ ซึ่งอาจทำเป็นบทสรุปสำหรับผู้บริหารก็ได้

 

เคล็ดไม่ลับซึ่งหลาย ๆ คนมองข้าม คิดว่ายุ่งยากเสียเวลาที่ต้องมานั่งทำแผนธุรกิจแค่เปิดร้านอาหาร

ทำไมต้องวิเคราะห์อะไรให้ยุ่งยากวุ่นวาย เหมือนทำรายงานส่งอาจารย์

          อย่าลืมนะครับ แผนธุรกิจดี ๆ ก็เหมือนใบเบิกทางสู่ความสำเร็จ แผนธุรกิจดี ๆ เหมือนตัวแทนของเราที่บอกให้ธนาคารรู้ว่า เราจะทำอะไร และธนาคารจะมั่นใจได้แค่ไหนที่จะได้เงินคือจากร้านอาหารของเรา