ปี 2561-2562 ตั้งเป้าจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่ม MAI และเพิ่มบริการภายในประเทศไทยให้ดีที่สุด โดยปรับปรุงข้อมูลให้ลงลึก แม่นยำที่สุดและสร้างรีวิวเยอะที่สุด      

ในยุคที่สังคมได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว แต่ทุกอย่างยังคงใช้พื้นฐานในการดำรงเหมือนเดิม ไม่ว่าจะเรื่อง เครื่องแต่งกาย ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัยและ อาหาร ทั้งหมดเป็นปัจจัยสำคัญและขาดไม่ได้

วันนี้เราจะเห็นการแข่งขันกันมากขึ้นความหลากหลายมากในธุรกิจที่เกี่ยวกับปัจจัยสี่และปัจจัยสี่ที่คิดว่ามีการแข่งขันที่สูงที่สุดคงไม่พ้น อาหาร สงครามเรื่องอาหารเป็นสงครามที่ไม่มีวันจบ หลายธุรกิจ หรือ เหล่า SMEs ก็พยายามจะตีโจทย์นี้ให้แตก ถ้าทำร้านอาหารรับรองได้ว่า เหนื่อยจนเลือดตากระเด็นหมดตัว จึงทำให้มีธุรกิจที่เกี่ยวกับร้านอาหารแต่ไม่ใช่ร้านอาหารเกิดขึ้นในที่นี้ขอแนะนำ “Wongnai” อ่านว่า “วงใน”

Wongnai เว็บที่ให้บริการค้นหาร้านอาหารฝีมือคนไทยโดยถือว่าเป็น startup ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดอันหนึ่ง จากเว็บพัฒนาต่อเนื่องมาเป็นแอปพลิเคชันในมือถือที่ติดตัวของคนไทยที่ชอบการกิน  ในแอปพลิเคชันมีการแนะนำร้านอาหาร โดยมีรายละเอียดของร้านอาหารที่อยู่ในประเทศไทย เช่น ตำแหน่งร้าน อาหาร บรรยากาศ ที่สำคัญที่สุดคือ มีการรีวิวอาหารและร้านอาหารจากลูกค้าที่ใช้บริการจริงๆที่ ด้วยจำนวนของร้านอาหารในระบบเกือบสองแสนร้าน และมีรีวิวอาหารจำนวนหลายแสนวิวและมีสมาชิกอยู่ประมาณเกือบ สามล้านคน มีผู้เข้ามาดูข้อมูลประมาณร้อยล้านหน้าต่อเดือน

มาถึงนี้ก็ทำให้ SMEs หลายคนสนใจแล้วว่า Wongnai ทำอย่างไรที่ช่วยในธุรกิจของตัวเองไปได้ดีขนาดนี้  และอะไร คือเคล็ดลับความสำเร็จนี้ วันนี้ผมจะมาเล่าให้ เหล่า SMEs ทั้งหลายได้ฟังกัน

ธุรกิจของ Wongnai

  • Wongnai ครองตลาดระบบค้นหา และรีวิวร้านอาหารในไทย
  • Wongnai Beauty   คือบริการรีวิวเรื่องความสวยความงามและสปา พร้อมทั้งแนะนำสถานที่เกี่ยวกับความงามในกรุงเทพ
  • Wongnai &LINEMAN Delivery คือการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ออนไลน์ใน Wongnai  เอาใจคนเมืองที่ไม่สะดวกในการเดินทางสามารถสั่งอาหารออนไลน์ได้ง่ายสะดวกและรวดเร็ว โดยเอาข้อมูลจาก Wongnaiเอง
  • Wongnai & Alipay คือมีบริการจ่ายเงินออนไลน์ของจีนในเครือ Alibaba  และ TrueMoney  เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มาจ่ายสินค้าและบริการในร้านอาหารในประเทศไทย
  • Wongnai Cooking  คือช่องทางใหม่ที่ตอบโจทย์คนรักการทำอาหารโดยให้บริการ ค้นหาสูตรอาหาร วิธีทำ  วัตถุดิบ และจะมีการบอกทั้งส่วนผสม และมีวิดีโอสอนทำอาหารอีกด้วย

เริ่มเรื่องของคน “วงใน”

Wongnai เริ่มจากกลุ่มคนสี่คนที่เป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกันสมัยเรียนวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Wongnaiได้แนวคิดจาก Yelp ซึ่งได้ริเริ่มมาจาก คุณยอด ชินสุภัคกุล ที่ปัจจุบันมีตำแหน่งเป็น CEO  ตอนนั้นไปเรียนต่อที่อเมริกาและใช้บริการของ Yelp  เป็นเว็บไซต์แนะนำร้านอาหารที่ต่างๆอยู่เป็นประจำ หลังจากนั้นยอดได้กลับมาที่เมืองไทยได้สังเกตเห็นว่าเว็บที่ให้บริการแบบ Yelp  ไม่มีในเมืองไทย คุณยอดได้ร่วมกับเพื่อนอีก 3 คน คือภัทราวุธ ซื่อสัตยาศิลป์ (CTO), ศุภฤทธิ์ กฤตยาเกียรณ์ (Software Architect), วรวีร์ สัตยวินิจ (Development Manager)

ต้นปี 2553 ทั้งสี่คนได้ เริ่มต้นพัฒนา Wongnai.com ขึ้นมาโดยใช้เวลาเวลาหลังเลิกงานหลังจากแต่ละคนเสร็จจากงานประจำ และมีการประชุมออนไลน์กันทุกอาทิตย์ จนประมาณหกเดือนหลังเว็บ Wongnai.com ก็เสร็จสมบูรณ์พร้อมให้บริการ

ปี 2553-2555 ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากในการเริ่มต้นครั้งแรกไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เม็ดเงินด้านการโฆษณาได้มาน้อยมีบ้างไม่มีบ้าง แต่ด้วยความมั่นใจว่า Wongnai สามารถที่จะเติบโตได้ก็ประคับประคองด้วยเงินทุนส่วนตัวจนกระทั้งผ่านไปได้ประมาณสองปีถึงจะมีรายได้จากการขายโฆษณา โดยมีสมาชิกอยู่ประมาณ 30,000 คน

ปี 2556 Wongnai ได้รับเงินทุนจาก Recruit Strategic Partners โดย Wongnai  ได้นำเงินทุนเข้ามาช่วยพัฒนาข้อมูลร้านอาหารให้ดียิ่งขึ้นอีกทั้งยังเพิ่มความแม่นยำของตำแหน่งของร้านค้าเพิ่มขึ้น และเพิ่มเนื้อหาให้มีพื้นที่ครอบคลุมจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ  ตอนนั้น Wongnai มีผู้ใช้งานเกิน 500,000 คนและมีข้อมูลร้านค้าไม่ต่ำกว่า 100,000 ร้าน.ประเทศไทย

ปี 2557 ได้รับเงินทุนจาก Recruit Strategic Partners อีกครั้งโดยได้ขยายกิจการเพิ่มเติม จากเดิมที่มีการรวบรวมข้อมูลร้านอาหารเพียงอย่างเดียวก็ได้ก้าวไปสู่ตลาดเพื่อความสวยความงาม โดยออกแอพที่ชื่อ Wongnai เป็นแอ๊พที่เป็นการรีวิวพวกร้านเสริมสวยกับสถาบันเสริมความงาม ได้รับการตอบรับอย่างดีจากทางคนอ่าน เพียงไม่นานก็มีการติดต่อเข้ามาลงโฆษณามากมาย

 ปี 2559 Wongnai ได้ร่วมมือกับ LINE MAN โดยเอาฐานข้อมูลร้านอาหารจาก Wongnai เพิ่มบริการในสามารถสั่งซื้อผ่าน LINE MAN จำนวนร้านค้า 10,000 ร้านทั่วกรุงเทพ ทีมีอยู่ในฐานข้อมูลมีทั้งรายละเอียด คะแนนการรีวิว รวมไปถึงตำแหน่งและระยะทางเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งาน

ปี 2560 Wongnai ได้ร่วมมือกับ  Alipay ผู้ให้บริการจ่ายเงินออนไลน์ในเครือ Alibaba  ของประเทศจีน และ TrueMoney ในการจ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E–payment ให้กับค่าสินค้าและบริการของร้านอาหารผ่านแอปพลิเคชันพลิเคชัน Alipay wallet  กับร้านอาหารในประเทศไทยสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย

Wongnai เพิ่ม Wongnai Cooking  เพิ่มขึ้นเพื่อเป็นช่องทางใหม่ที่ตอบโจทย์ให้กับผู้ที่รักชอบการทำอาหารภายในแอปพลิเคชันพลิเคชัน Wongnai เพิ่มช่องทางให้ผู้ที่อยากค้นหาสูตรอาหารสามารถเข้ามาค้นหาได้ทั้งตามประเภทอาหาร วัตถุดิบ  สูตรอาหาร ส่วนผสม วิธีทำ รวมทั้งมีวิดีโอสอนทำอีกด้วย และต่อไปจะให้สมาชิก ของ Wongnai ร่วมส่งสูตรอาหารเข้ามาเพื่อ ได้รับคะแนน และรีวิวสูตรอาหาร เป็นการเพิ่มชุมชนใหม่สำหรับคนรักอาหารเพิ่มขึ้น

Wongnai เข้าซื้อ  Blognone และ Brand Inside  เพื่อขยายคอนเทนต์ของตัวเองให้เพิ่มมาก Wongnai ได้มองเห็นโอกาสการเติบโตในอนาคตโดยเข้าซื้อ  Blognone เป็นเว็บไซต์ไอทีที่ดำเนินกิจการมากว่า 12 ปี มีผู้ใช้เป็นลำดับต้นๆของประเทศไทย ส่วน BrandInside ที่เว็บธุรกิจน้องใหม่ที่ได้นำข้อมูลในเชิง ไอเดีย มุมมอง แนวคิด นวัตกรรมใหม่ๆ ด้านธุรกิจ ทั้งจากในและต่างประเทศ จนเป็นที่ได้รับความนิยม

ปี 2561-2562 ตั้งเป้าจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่ม MAI และเพิ่มบริการภายในประเทศไทยให้ดีที่สุด โดยปรับปรุงข้อมูลให้ลงลึก แม่นยำที่สุดและสร้างรีวิวเยอะที่สุด

ปัจจุบัน Wongnai ได้มี Local Offices จำนวน 6 แห่งทั่วประเทศไทย

  1. น้าอ้วนชวนหิวby Wongnai “ จังหวัดเชียงใหม่”
  2. Facebook Page “ชลบุรีกินอะไรดี?”  จังหวัดชลบุรี
  3. “ร้านอร่อยหาดใหญ่ by wongnai”  จังหวัดสงขลา
  4. “ภูเก็ตหรอยแรง by Wongnai”  จังหวัดภูเก็ต
  5. “ WeKorat by Wongnai “ จังหวัดนครราชสีมา
  6. Facebook Page “ขอนแก่น กินอะไรดี?”  จังหวัดขอนแก่น

กลยุทธ์ Wongnai ที่ไม่ธรรมดา

1.จังหวะ พลิกชีวิต

ตอน WONGNAI เริ่มสร้างตัวก่อนปี 2012 ตอนนั้นยังไม่เติบโตเพราะการใช้อินเตอร์เน็ตบนสมาร์ทโฟนยังช้าและเข้าถึงได้ลำบากทำให้มีผู้ใช้ค่อนข้างน้อยและหลังจากที่เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตได้พัฒนาไปสู่ 3G  คนใช้อินเตอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนมากขึ้น ทำให้ WONGNAI ได้รับความนิยมในหมู่คนไทยมากขึ้น เพราะเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น โดยที่ทำแอปพลิเคชันพลิเคชั่นได้มีการพัฒนารองรับอยู่แล้วเพียงแต่จังหวะที่ยังไม่มา ฉะนั้นต้องถามตัวเองว่าสตาร์ทอัพของคุณเป็นที่ต้องการของคนในเวลาที่ถูกต้องด้วยหรือไม่

2. มุมมองที่กว้างไกล

Wongnai ไม่ได้สื่อถึงร้านอาหารเพียงอย่างเดียว เพียงแต่เริ่มจากร้านอาหารก่อนและในปัจจุบัน Wongnai ยังข้ามไปยังการรีวิว คลินิก สปา ซาลอน ยังไม่รวมถึงอนาคตที่มีการรีวิวอื่นๆตามมาและอาจมีอะไรใหม่ๆที่จะเกิดขึ้น

3. ไม่แตกต่างก็ทำเงิน

Wongnai สร้างจากแรงบันดาลใจจาก Yelp.com แต่ก็ประสบความสำเร็จได้ในประเทศไทยได้ โดยที่แนวคิดนี้มีอยู่แล้วแต่เสริมโดยหาช่องว่างทางการตลาดที่ไปต่อในอนาคตได้

4. ทีมงานสำคัญ

Wongnai ได้มีทีมงานที่สร้างงานออกมาตรงตามความต้องการชัดเจน และเป็นทีมที่สร้างผลิตภัณฑ์ได้ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม ถ้ามีปัญหาก็สามารถพูดคุยได้ง่ายและสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด:

5. ข้อมูล

Wongnai ตอนเริ่มแรกนั้นยังไม่มีผู้ใช้เข้ามามากนัก จึงจำเป็นที่ต้องไปลงชิมในแต่ละร้านต่างๆเอง เขียนรีวิว ทำคลิปเอง เขียนบล็อก และเมื่อมีคนมาเขียนรีวิวก็มีทีมงานเข้าไปตอบเพื่อกระตุ้นให้คนเข้ามาเขียนเพิ่มเพื่อสร้างสีสันต์มากขึ้น

6. ทุน

Wongnai ตอนเริ่มแรก ยังไม่มีรายได้จากโฆษณาทำให้ทางทีมงานต้องรับงานอื่นเข้ามา เช่นรับจ้างพัฒนาซอพแวร์ ภายนอกเพื่อหาเงินสนับสนุนใน

7.สภาพแวดล้อม

Wongnai มีการรีวิวในหลากหลายพื้น ในหลายจังหวัด ทำให้การเข้าถึงท้องถิ่นในแต่ละที่นั้นไม่เหมือนกัน การเลือกรีวิวในแต่ละที่ต้องตรงตามความชอบของคนท้องถิ่นด้วย

8.ความมีส่วนร่วม

Wongnai สร้างการรีวิวให้เป็นเหมือนเกมส์ โดยจัดอันดับการรีวิวของแต่ละพื้นที่ ใครเขียนมากก็ขึ้นอันดับสูง ทำให้มีการแข่งขันเกิดขึ้นกับผู้ใช้ ผู้ใช้ที่อยู่อันดับต้นๆก็พยายามเขียนรีวิวมากๆเพื่อที่จะรักษาตำแหน่ง ผู้ใช้หลายคนก็พยายามเขียนมากขึ้นเพื่อขึ้นไปตำแหน่งสูงๆ

แนวคิด จาก Wongnai สู่ SMEs

แนวทางของ Wongnai นั้นถือเป็นแนวทางที่น่าสนใจและเหมาะสำหรับนำมาประยุกต์ใช้กับแนวทาง SMEs ได้โดยมีหลักการ 3 ข้อ

1.มองโลกให้กว้าง

การทำธุรกิจนั้นต้องมีการมองให้กว้างและไกล ในการทำธุรกิจทุกครั้งนั้น SMEs ต้องพยายามหามองหา “ช่องว่างทางการตลาด” ให้เจอ เพราะนั้นคือช่องทางที่ SMEs แทรกเข้าไปได้ ผู้ใดผ่านเข้าช่องทางนั้นได้คือผู้พบขุมทรัพย์  ช่องว่างทางการตลาดคือช่องว่างแห่งความรวย

กรณีของ Wongnai  จะเห็นว่า ได้นำแนวคิดจากYelp ของต่างประเทศ โดยคิดว่าในประเทศไทยยังไม่มี ถ้ามีก็อาจจะมีเพียงทิศทางเดียว แต่ Wongnai  เปิดทางผู้ใช้แนะนำและแสดงความคิดเห็นของร้านอาหารแต่ละแห่งเอง

2.ความอดทนและทนอด

การดำเนินธุรกิจอาจจะใช้เวลานานกว่าจะสำเร็จ และอาจต้องเสียเงินกว่าธุรกิจจะมีเป็นที่รู้จักมันอาจจะใช้เวลา หนึ่งวัน หนึ่งเดือน หรือหนึ่งปี เราต้องอดทนและทนต่อสภาวะยากลำบากได้ ถ้าทิศทางนั้นเป็นทิศทางที่ใช่

กรณีของ Wongnai  เมื่อตอนทำเว็บตอนเริ่มต้นก็ประสบปัญหาจากการมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ และยังมีคู่แข่งอยู่มากมาย  Wongnai ต้องเอาเงินทุนส่วนตัวเอามาเป็นค่าใช้จ่ายตลอดเวลา 2ปีและสถานการณ์ดีขึ้น  เพราะ Wongnai มีชื่อเสียงมากขึ้น มีผู้คนเข้ามาใน Wongnai มากขึ้นทำให้มีรายได้จากค่าโฆษณาเพิ่มจนเติบโตขึ้นได้

3.ความซื่อสัตย์

ความซื่อสัตย์นั้นต้องมีทั้งต่อตนเองและต่อลูกค้า การที่ SMEs เริ่มทำธุรกิจนั้นเริ่มแรกยังไม่มีชื่อเสียงเท่าไหร่ แต่สิ่งหนึ่งที่จะสร้างให้ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการสนใจเราได้คือ “ความซื่อสัตย์”

ถ้าเราทำธุรกิจไม่เป็นธรรมกับลูกค้า สักวันเมื่อลูกค้าจับได้ทุกอย่างก็จบ

กรณีของ Wongnai จะมีความซื่อสัตย์ต่อการรีวิวทุกรีวิวไม่ว่าจะเป็นของ Wongnai เองหรือจะเป็นของผู้ใช้ ไม่มีการเรียกร้องร้านอาหารเพื่อเรียกเงิน หรือรับเงินมาปรับคะแนนรีวิวให้สูงขึ้น เพราะ Wongnai ถือว่าการรีวิวที่เกิดขึ้นคือการรีวิวจากผู้รับบริการนั้นจริงๆ ทำให้ผู้คนให้ความเชื่อใจในการรีวิวของ Wongnai มาก

สรุป

ปัจจุบัน Wongnai มีสมาชิก 3 ล้านคน มีผู้เข้าใช้งานประมาณ 8 ล้านครั้งในหนึ่งเดือน ทำให้เราเห็นว่า Wongnai ได้ขยับตัวเองเข้าสู่กลุ่มเว็บคอนเทนต์ระดับแถวหน้าของเมืองไทยไปเป็นที่เรียบร้อย เราเห็นได้ว่าการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของ Wongnai จากเริ่มที่มีแต่การรีวิวร้านอาหาร รีวิวร้านเสริมความงาม  มีบริการส่งอาหาร รับชำระเงินผ่าน Alipay  รีวิวการทำอาหารและการซื้อเว็บไซด์ Blognone และ BrandInside  เว็บไซด์ชื่อดังทั้งสอง เพื่อเป็นสื่อที่ให้กับ Wongnai เพื่อขยายตัวเองให้กว้างมากยิ่งขึ้น ต่อไปอนาคต

ถ้า Wongnai ได้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เราคงได้เห็น Wongnai ขยายธุรกิจตัวเองใหญ่ออกมาอีกหลายเท่าตัว ต่อไปถ้าเราก็อาจได้เห็นป้าย  Wongnai Review แทนป้ายของเหล่า “ป้ายชวนชิม” ทั้งหลายก็ได้ใครจะรู้ อะไรก็เกิดขึ้นได้ในยุดเทรน์แห่งดิจิตอล.