เมื่อ E-Commerce ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในทุกอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับธุรกิจรูปแบบเดิม หากไม่มีการปรับตัวและไม่มีนวัตกรรมที่ดีพอที่จะแข่งขัน อาจส่งผลให้ธุรกิจถึงขั้นต้องปิดกิจการลงได้ การนำ Digital มาช่วยในการ Transform ธุรกิจของตนเอง ถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างศักยภาพในการแข่งขัน แต่ก็มีหลายองค์กรที่ทำไปแล้วกลับพบว่ามีบางส่วนที่ติดขัด หนักสุดถึงขั้นล้มเหลว เราจึงได้รวบรวม 11 สาเหตุหลักที่ทำให้การทำ Digital Transformation ไม่ประสบความสำเร็จ  

1.การไม่กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน

ถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้ประกอบการหลายท่าน เพราะคิดว่าการทำจะแก้ไขปัญหาทุกอย่างที่กำลังเผชิญอยู่ได้ จึงทำให้ขาดการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนตั้งแต่แรก ถ้าผู้ประกอบการไม่ทำความเข้าใจในเบื้องต้น  ก็จะเกิดความล้มเหลวในการทำได้

2.การไม่กำหนดทิศทาง

ผู้ประกอบการหลายท่านอาจจะมีเป้าหมายในการทำ แต่ไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะเดินไปในทิศทางไหนก่อน ในเรื่องของการทำ  นั้นสามารถทำได้หลายวิธี และหลายทิศทาง หากไม่มีการกำหนดทิศทาง วางยุทธศาสตร์ให้ชัดเจน เมื่อถึงเวลาลงมือทำอาจนำไปสู่ความล้มเหลวได้

3.การต่อต้าน

จริงๆแล้วการทำเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงกระบวนการและวัฒนธรรมการทำงานขององค์กร ปัญหาที่เกิดขึ้น บางครั้งมาจากกระบวนการสื่อสารที่ไม่ทั่วถึงภายในองค์กร บุคลากรในองค์กรไม่เข้าใจว่ากำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง หลายคนจึงเกิดการต่อต้าน และคิดว่าอาจเกิดความไม่มั่นคงต่อหน้าที่การทำงานที่กำลังทำอยู่ จึงต้องส่งเสริมให้บุคลากรค่อยๆเรียนรู้เทคโนโลยี ตามขอบข่ายหน้าที่อย่างเหมาะสม ยิ่งเกิดการต่อต้านมาก ยิ่งทำให้การทำสื่อสารยากลำบากมากขึ้น

4.ความกลัว

การทำจะมีปัญหาใหญ่ค่อนข้างมากสำหรับบุคลากรในองค์กรกลุ่มหนึ่งที่มีอายุการทำงานค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะองค์กรที่ดำเนินกิจการมานานหลายสิบปี บุคลากรอาจเกิดปัญหาในเรื่องของการกลัวการใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ในเรื่องที่ตัวเองไม่ถนัด จนเกิดความกังวลถึงความไม่มั่นคงต่ออาชีพการงานของตัวเอง

5.ความเคยชิน

อีกหนึ่งปัญหาของการทำหลายครั้งที่มีการตกลงกันชัดเจนภายในองค์กรว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไร จะทำอะไรบ้าง อยากจะปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานโดยเอาดิจิทัลเข้ามาช่วย แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ บุคลากรยังคงเคยชินกับการทำงานในรูปแบบเดิมๆอยู่ การเปลี่ยนแปลงไปสู่กระบวนการทำงานใหม่โดยใช้ดิจิทัลจึงเป็นอุปสรรคอย่างมาก เปรียบเสมือนการเคลื่อนย้ายภูเขาทั้งลูกไปยังที่ตั้งใหม่ เป็นงานที่ต้องอาศัยพลังงานอย่างมากทั้งตัวผู้ประกอบการเอง และพนักงานทุกคน

6.การสร้างการมีส่วนร่วม

หลายครั้งที่การทำเกิดจากตัวผู้บริหาร ผู้ประกอบการ มีความต้องการและเล็งเห็นถึงความจำเป็น กระบวนการที่สำคัญคือ การสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นภายในองค์กรให้ได้ ฝ่ายบริหารจะต้องมีความเข้าใจเรื่องนี้อย่างถ่องแท้ ส่วนฝ่ายการเงินต้องเรียนรู้เช่นกัน เพราะการทำจะต้องมีการลงทุน มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเกิดขึ้น หลายครั้งเมื่อมีค่าใช้จ่าย แต่ยังไม่เห็นผลลัพธ์ในเชิงตัวเลขย้อนกลับมาต่อองค์กร ดังนั้นการสร้างการมีส่วนร่วมในองค์กร จำเป็นจะต้องให้ทุกฝ่ายเข้าใจว่าการทำ มีความจำเป็นเพียงใด ทุกฝ่ายต้องมีส่วนร่วมในการทำมากน้อยแค่ไหน ทุกคนต้องเข้าใจว่าองค์กรกำลังจะไปในทิศทางใด ดำเนินไปได้อย่างไร

7.การทำครึ่งๆกลางๆ

เมื่อทำไปสักระยะนึงแล้ว อาจจะยังไม่ได้ออกดอกออกผลให้เห็น ทำให้ผู้ประกอบการบางท่านอาจถอดใจ ทำได้แค่ครึ่งๆกลางๆ ยังไปไม่ถึงที่สุด ยังทำไม่สำเร็จ จึงตัดสินใจหยุดทำ หรือทำไปแล้วคิดว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นประสบความสำเร็จแล้ว ซึ่งจริงๆนี่อาจเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการทำงานเท่านั้น

8.ผู้บริหารใจร้อน

ผู้บริหารบางท่านอยากเห็นความสำเร็จอย่างรวดเร็ว เลยตัดสินใจเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานทีเดียวพร้อมกันทั้งองค์กร โดยที่ไม่มองว่าแผนกหรือหน่วยงานไหนมีความเหมาะสมในการทำก่อน ส่งผลให้เกิดปัญหาในการทำงานที่ค่อนข้างเยอะ เจอปัญหาพร้อมกันหลายทิศทางเกินกว่าจะรับมือไหว

9.ให้ความสำคัญกับเครื่องมือมากเกินไป

เครื่องมือดิจิทัลที่นำมาใช้ในการ ทำ Digital Transformation ไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่ทำให้กระบวนการนี้ประสบความสำเร็จ ในปัจจุบันมีเครื่องมือให้เลือกใช้มากมายตามความเหมาะสมกับธุรกิจ อย่ามุ่งเน้นไปที่การใช้เครื่องมือมากเกินไป เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการหลงทางได้

10.การทำ Digital Transformation จะไม่สำเร็จได้ในวันเดียว

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการทำ Digital Transformation ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว กว่าที่คนในองค์กรจะเข้าใจ เรียนรู้ ลงมือทำ และปรับตัวได้นั้นต้องอาศัยระยะเวลา ระหว่างนั้นอาจจะเจอกับปัญหาให้ตามแก้ไข ดั่งสำนวนที่ว่า “กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียว” องค์กรก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงภายในชั่วข้ามคืนได้เช่นกัน

11.ไม่ทำอย่างต่อเนื่อง

 Digital Transformation เป็นกระบวนการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น การเข้าสู่กระบวนการขายโดยใช้ดิจิทัล การขายเป็นเพียงแค่กระบวนการ แต่เป้าหมายคือ ทำให้เกิดยอดขายจากการเข้าสู่ดิจิทัล ซึ่งยอดขายที่ว่านี้ต้องเพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ อย่าลืมว่าคู่แข่ง เทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราจึงหยุดทำต่อไม่ได้เช่นกัน

ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กที่มีหน้าร้านซื้อมาขายไป ธุรกิจผลิตสินค้าเพื่อขายส่งหรือขายปลีกไปจนถึงธุรกิจบริการต่างก็เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการแข่งขันทางธุรกิจ ผู้ประกอบการจึงต้องเตรียมความพร้อมและมีส่วนร่วมต่อการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ในส่วนของการทำต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนตั้งแต่แรก ควรรู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหนก่อน อย่าทำทีเดียวทั้งหมด ไม่เช่นนั้นอาจเกิดความผิดพลาดจนนำไปสู่ความล้มเหลวได้

บริการอบรม ให้คำปรึกษา Digital Marketing & Brand Storytelling ทั้งแบบรูปแบบองค์กร กลุ่ม และ ตัวต่อตัวการทำ Digital Transformation