ประวัติและธุรกิจของคุณหมู ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ เจ้าของแอพพลิเคชั่น Ookbee

คุณหมูจบปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งแต่อายุ 10 ขวบ ก็เริ่มมีความสนใจในศาสตร์คอมพิวเตอร์ ได้ฝึกเขียนโปรแกรมตั้งแต่เด็ก โดยในช่วงที่ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1-2 คุณหมู ได้ทำงานอาชีพเสริมประกอบคอมพิวเตอร์ และต่อมาได้ก่อตั้งบริษัทรับจ้างเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

เริ่มนำเสนอที่จะสร้างแอพพลิเคชั่นรูปแบบ E-Book ให้กับทางนิตยสาร และสำนักพิมพ์ต่างๆ โดยได้นำเสนอ Revenue Model ที่แปลกใหม่ เป็นการแบ่งรายได้เปอร์เซ็นต์การขายแต่ละครั้ง ให้กับทางสำนักพิมพ์ซึ่งก็ได้ความสนใจเป็นอย่างมาก ในปีต่อมาจึงได้สร้างแอพพลิเคชั่นร้านหนังสือออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ชื่อว่า Ookbee ปัจจุบันมีผู้ใช้กว่า 10 ล้านคนอยู่ในหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์

ประสบการณ์ที่เคยเจอปัญหานั้น คุณหมูเล่าว่าเคยทำเว็บอีคอมเมิร์ซ Ookbee Mall (ห้างสรรพสินค้าออนไลน์) แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากไม่มีความชำนาญเพียงพอ ประกอบกับผู้เล่นอีคอมเมิร์ซส่วนใหญ่ เป็นรายใหญ่จากต่างประเทศมีเงินลงทุนหลายพันล้าน ขณะที่บริษัท Ookbee Mall มีเงินลงทุน 100-200 ล้านเท่านั้น

เมื่อดำเนินธุรกิจไม่ได้นานก็หมดเงิน ไม่สามารถแข่งขันกับรายใหญ่ได้ แต่ตอนที่ไม่ประสบผลสำเร็จ พยายามคิดว่าได้เรียนรู้อะไรกลับมามากกว่า และคิดว่าเงินที่ขาดทุนไปเป็นค่าการศึกษา เพื่อนำกลับมาเป็นบทเรียนและปรับปรุงในครั้งหน้าต่อไป

ปัจจุบันคุณหมู ได้เปิดกองทุน 500 TukTuks ขนาด 1,000 ล้านบาท ร่วมกับคุณกระทิง พูลผล โดยคุณหมูทำหน้าที่เป็น Fund manager หรือผู้จัดการกองทุน ไปเจรจาระดมทุนจากนักธุรกิจรายใหญ่ในประเทศไทย นำเงินทุนที่เรียกว่า Seed Fund (เงินทุนก้อนแรก) ไปลงทุนในสตาร์ทอัพที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี โดยบริษัทจะมีทีมงานคอยคัดเลือกสตาร์ทอัพเบื้องต้นให้ก่อนประมาณ 10 แห่ง

หลังจากนั้นจะนัดให้เข้ามา Pitching โดยปัจจุบัน บริษัท 500 TukTuks มี Unicorn (สตาร์ทอัพที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ) อยู่ 16 ตัว เช่น บริษัทแกรบ (GRAB รถแท็กซี่) บริษัท CANVA (แอพพลิเคชั่นแต่งภาพ) เป็นต้น ผลตอบแทนที่ Ookbee และบริษัท 500 TukTuks ได้รับมา นำไปลงทุนในออมทรัพย์, หุ้น, กองทุนต่างๆ, รวมถึงกองทุน LP (Limited Partners กองทุนของ Venture Capital) และ Cryptocurrency (เงินดิจิทัล, สินทรัพย์ดิจิตัลซึ่งออกให้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน)

วิธีการเลือกสตาร์ทอัพที่จะลงทุน

คุณหมูมีแนวคิดในการเลือกสตาร์ทอัพว่าหากเป็น “บริษัทที่ใหญ่แล้ว” ก็จะพิจาณาจากตัวเลขบัญชีงบการเงิน แต่หากเป็น “บริษัทเล็ก” ก็พิจารณาว่าเป็นคนเก่ง คนดี หรือไม่ สามารถขายเก่ง มีความเป็นผู้นำหรือไม่ สามารถติดต่อพูดคุยได้หรือไม่ เนื่องจากสตาร์ทอัพทำงานคนเดียวไม่ได้ ต้องหาคนเก่งมาทำงานให้ เพราะแม้ว่าใส่เงินไปมากแค่ไหน แต่หากหา  คนเก่งมาทำงานด้วยกันไม่ได้ บริษัทแห่งนั้นจะไม่ประสบความสำเร็จ

โดยสตาร์ทอัพหากสนใจสามารถติดต่อ500 TukTuks ได้ทั้งเฟซบุ๊กและเว็บไซต์ แต่ข้อสำคัญ คือ สตาร์ทอัพเหล่านั้น “ต้องลงมือทำก่อน” ดังคำพูดที่ว่า “Ideas are cheap. Execution is everything” หมายถึง การหาไอเดียใหม่ๆ ทำได้ไม่ยาก แต่ต้องลงมือทำอย่างจริงจัง ถึงจะนำไอเดียไปสู่ผลสำเร็จได้จริง การมีแค่ไอเดียมันธรรมดาไป เพราะไม่ได้ลงมือทำ นั้นแสดงว่าคุณก็ไม่ได้จริงจังอะไร เงื่อนไขหรือปัญหาของสตาร์ทอัพคือ มีเงินแค่นี้ มีเวลาแค่นี้ แต่ได้ลงมือทำอะไรไปแล้ว

กรณีที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จของ 500 TukTuks

กรณีสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จ เช่น บริษัทโพเมโล (POMELO ธุรกิจเสื้อผ้า) บริษัท โอมิเซะ (Omise ธุรกิจให้บริการ Payment Gateway) บริษัทโอเอ็มจี (OMG : OmiseGO ธุรกิจ Cryptocurrency) บริษัทฟีโนมีนา (FINNOMENA ธุรกิจให้คำแนะนำด้านเงินการลงทุน)

สำหรับกรณีบริษัทที่ปิดตัวไปหรืออยู่ในสภาพที่เรียกว่า “ซอมบี้” ซึ่งหมายถึงภาวะธุรกิจที่ไม่ตายแต่เลี้ยงไม่โต มีจำนวนไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะเป็น Marketplace เนื่องจากเมื่อต้องแข่งขันกับผู้เล่นจากต่างประเทศซึ่งมีเงินลงทุนจำนวนมาก ส่งผลให้นักลงทุนส่วนใหญ่ ไม่กล้าจะมาลงทุนด้วยเนื่องจากคาดว่าสตาร์ทอัพเหล่านี้จะสู้ไม่ได้

เส้นทางของสตาร์ทอัพ

เริ่มแรกสตาร์ทอัพ อาจจะลงทุนด้วยเงินลงทุนของตัวเอง หรืออาจร่วมกับนักลงทุนอย่าง Angel ต่อมาจะเป็นเงินลงทุน Seed Fund ซึ่งมีเม็ดเงินประมาณ 3-5 ล้านบาท และอาจจะมีการเพิ่มหมวดลงทุนไปอีก หลังจากนี้ จะเรียกเป็นการลงทุนระดับ Serie A (ในประเทศไทยเม็ดเงินประมาณ 10-100 ล้านบาท), Serie B และ Serie C ไปเรื่อยๆ ขึ้นกับระยะเวลาและขนาดธุรกิจไซด์

โดยจะมีศัพท์ที่เรียกว่า Cash runway ซึ่งหมายถึง ระยะเวลาที่สตาร์ทอัพสามารถอยู่รอดได้ โดยไม่มีรายได้ก่อนที่เงินสดเป็นศูนย์ ทำให้สตาร์ทอัพต้องหาทางระดมทุนไปเรื่อยๆ ก่อนที่เงินจะหมด การวัดมูลค่าของสตาร์ทอัพ จะเกิดขึ้นเมื่อมีนักลงทุนใส่เงินกลับไป ปกติแล้วนักลงทุนจะนิยมลงทุนในตลาดใหญ่ เช่น อินโดนีเซีย หรือสิงคโปร์ มากกว่า ทำให้มองข้ามสตาร์ทอัพในประเทศไทยไป

ความต้องการให้ภาครัฐช่วยสตาร์ทอัพในประเทศไทยอย่างไร

หลายภาคส่วนอาจเข้ามาช่วยเหลือสตาร์ทอัพในรูปแบบต่างๆ ได้ แต่ “สตาร์ทอัพ” ควรคิดช่วยตัวเองก่อนที่จะให้ภาครัฐบาลมาช่วย โดยสิ่งสำคัญที่สตาร์ทอัพต้องมีก่อน 3 อย่าง คือ เวลา เงิน และ Passion หลายภาคส่วน เช่น “คนไทย” ด้วยกันก็อาจจะใช้สินค้าหรือบริการ หรือ “คนที่เก่งแล้ว” อาจจะมาช่วยเหลือ ให้ความร่วมมือกับสตาร์ทอัพได้ หรือ “กลุ่มคนที่มีเงิน” แต่ไม่มีเวลาก็อาจจะมาลงทุนในสตาร์ทอัพได้ สำหรับ “ภาครัฐบาล” สิ่งสำคัญที่สุด คือ อยากให้ช่วยอำนวยความสะดวกด้านกฎหมาย กฎระเบียบในการลงทุน

เทคโนโลยี disrupted ใดที่จะมีผลกระทบต่อประเทศไทย

คุณหมูคิดว่าเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับ “ออนไลน์” เช่น การเรียนการศึกษาออนไลน์ อย่างโปรแกรมซูม เห็นได้ว่าออนไลน์ทำให้  คนเรียนรู้ได้อย่างรวมเร็ว ช่วงหลังๆ มีหลักสูตรสอนออนไลน์ เริ่มทำเป็นคอร์สสั้นๆ หรือมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ เปิดให้เรียนฟรีผ่านออนไลน์ สรุปก็คือ “การศึกษาบวกกับออนไลน์” อีกประเด็นหนึ่งคือ “สังคมผู้สูง” ที่ประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก ก้าวเข้าสู่สังคมผู้อายุแล้ว

บทเรียนจากประสบการณ์การทำงาน Startup ที่ผ่านมา

  • “พัฒนาตัวเอง” ลงทุนด้วยตัวเอง หากลงทุนมากพอ ก็จะมีคนอื่นมาร่วมลงทุนกับเราด้วย เพราะนักลงทุนต้องการลงทุนในสตาร์ทอัพที่ดีมีอนาคต
  • “โฟกัสสิ่งที่อยู่ตรงหน้า” ไม่จำเป็นต้องมองระยะยาว เนื่องจากปัจจุบันเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ต้องมีความสามารถในการตัดสินในระยะสั้น เมื่อเห็นทางตัน ก็สามารถเบรคได้ทันท่วงที และหากเห็นโอกาส ก็สามารถปรับทิศทางไปทันทีเช่นกัน
  • “ลงมือทำตอนนี้” ให้ทำต่อไป ในภายหลังจะได้ไม่เสียใจที่ไม่ได้ทำ

ขอบคุณข้อมูลจากคลิป


ผลงาน ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรเขียนบทความสร้างรายได้รุ่นสู้โควิด 2020

กางเกงมวยไทย

คุณ Jinalyst


บริการอบรม ให้คำปรึกษาการทำธุรกิจออนไลน์  ฝึกอบรมภายในบริษัท แบบตัวต่อตัว การทำ  Content  Marketing,การโฆษณา  Facebook,การโฆษณา  Tiktok,การตลาด  Line  OA และการทำสินค้าให้คนหาเจอบน Google

บริการดูแลระบบการตลาดออนไลน์ให้ทั้งระบบ 
คอร์สเรียนออนไลน์ผ่าน Facebook Group