[ad_1]
โลกเราเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกวัน บริษัทประกันเองก็ถึงเวลาที่ต้องปรับตัว ไม่นานมานี้เราจะเห็นได้ว่า บริษัทประกันยักษ์ใหญ่ของประเทศไทยหลายเจ้าได้จับมือกับ บริษัท startup หรือลงทุนให้กับบริษัท startup เช่น กรุงเทพประกันภัย ที่จับมือกับ frank.co.th บริษัท startup เพื่อให้บริการขายประกันรถยนต์ หรือ เมืองไทยประกันชีวิตจับมือกับ dtac Accelarate เปิด “Fuchsia” อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ พร้อมทั้งเลือก “เฮลท์ แอท โฮม” (Health at Home) สตาร์ทอัพเฮลท์เทค
ตัวอย่างจากต่างประเทศ
TROV: Platform ที่สามารถซื้อประกันสำหรับสิ่งของ ที่คุณสามารถปรับแต่งกรมธรรม์ ทั้งหมดได้ใน app เดียว ซึ่งเป็นพันธมิตรกับบริษัทประกันแอกซ่าที่ได้ให้บริการในประเทศอังกฤษ ซึ่งตอนนี้มีเป้าหมายที่จะจับมือกับบริษัทประกัน Suncorp ในออสเตรเลีย
เพิ่มเติม : trov.com
EMBROKER: Platform โบรกเกอร์ประกันออนไลน์ที่ให้บริการขายประกันให้ธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลงทุนโดย 500 Startups, Bee Partners, FinTech Collective, Vertical Venture Partners มีเป้าหมายว่าประกันเป็นเรื่องไม่ยาก เพียงแค่เข้าผ่านเว็ปไซต์ก็สามารถเลือกซื้อประกันที่ธุรกิจคุณต้องการรับมือกับความเสี่ยงได้
เพิ่มเติม: embroker.com
Ladder Financial: ประกันชีวิตออนไลน์รูปแบบใหม่ ก่อตั้งด้วย Jamie Hale อดีตผู้ร่วมก่อตั้ง กองทุน Aldenwood Jeff Merkel และ Jack Dubie อดีตวิศวกรของ Dropbox ลงทุนด้วย Lightspeed Venture Partners, 8 Partners, NYCA Partners, Barney Schauble เป้าหมายเพื่อให้ประกันชีวิตเป็นเรื่องง่าย ตั้งแต่การเลือกเปรียบเทียบ จนถึงการซื้อ
เพิ่มเติม : ladderlife.com
สาเหตุที่บริษัทประกัน ร่วมมือกับ Startup
ผู้บริโภคสมัยนี้ได้มีความต้องการที่สูงขึ้น ซึ่งความต้องการนี้ไม่ใช่ความต้องการทางปริมาณ แต่เป็นความต้องการทางคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นบริการที่เร็วขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการมากขึ้น ทุกวันนี้เราไม่ต้องเดินออกไปหน้าปากซอยให้วุ่นวาย เราเพียงแค่ไม่กี่คล้กเราก็สามารถเรียกรถแท็กซี่มาจอดหน้าบ้านได้ภายในไม่กี่นาที และนี่คือสาเหตุให้บริษัท Startup และประกันจับมือกัน เพื่อ
1.พัฒนา user experience: Startup ช่วยพัฒนา User Experience หรือการทำให้ผู้ใช้เข้าถึงประกันได้ง่ายขึ้นโดยเทคโนโลยี เช่นการใช้ chat box ในหน้าเว็บไซต์ ที่ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงคนขายประกันได้ง่าย มีอะไรก็สอบถามได้เลย ไม่ต้องโทรหา และคุยยาวให้เสียเวลา ถ่าย vdo ตอนเคลม หรือจะเป็นเทคโนโลยี telematics
2.เก็บข้อมูลมาเพื่อคำนวณความเสี่ยง : การบริหารความเสี่ยงคือหัวใจของบริษัทประกัน บริษัทประกันต้องคำนวนณค่าเบี้ยประกันไม่ให้เกินค่าความเสียหายที่ต้องรับผิดชอบ ถ้าความเสียหายมากกว่าเงินค่าเบี้ย บริษัทประกันก็ต้องขาดทุน เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีที่นำว่าช่วยวิเคราะห์ความเสี่ยง เพื่อบริหารความเสี่ยงได้จึงเป็นที่ต้องการของบริษัทประกัน ไม่ว่าจะเป็นการเอาข้อมูลในชีวิตประจำวันมาคาดการณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งทำให้บริษัทประกันรู้ว่าจะรับมือความเสี่ยงอย่างไร และสามาถปรับลดราคาเบี้ยประกันให้เหมาะสมกับความเสี่ยงของแต่ละคน
3.ป้องกันความเสียหาย: การป้องกันความเสี่ยงคือการลดค่าใช้จ่ายของบริษัทประกัน อุปกรณ์ป้องกันความเสี่ยงจึงเป็นที่ต้องการของบริษัทประกัน เช่น sensor ต่างๆ ในตัวบ้าน หรือ ตัวลด เพื่อลดอุบติเหตุ เช่นเดียวกับ activity tracker ที่มีแคมเปญให้คนออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงแล้วลดโรคภัยต่างๆ
ประกันกับนวัตกรรมใหม่ๆ ในอนาคต
ปัจจุบันในชีวิตเรามีเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาตลอด เข้ามาส้รางความสามารถใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ๆ แล้วยังสร้างโอกาสในการตลาดใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น รถยนต์ไร้คนขับ ซึ่งคาดกันว่าจะทำให้ตลาดประกันรถยนต์เล็กลงในอนาคต หมายความว่าบริษัทประกันต้องปรับตัว อาจจะเป็นการปรับให้ตัวเองเป็น ประกันเฉพาะด้าน แทนที่จะเป็นประกันรถยนต์ธรรมดาทั่วไป ความเสี่ยงในอนาคต จะไม่ใช่สิ่งที่คาดไม่ถึง แต่จะเป็นสิ่งที่เฉพาะทาง และอาจจะเฉพาะคน
สรุป
ในโลกที่เปลี่ยนไป บริษัทประกันก็ต้องปรับตัวตาม ซึ่งการหันมาพึ่งเทคโนโลยีนำมาวิเคราะห์ผู้บริโภคเพื่อให้ความเสี่ยงน้อยลง ต้นทุนในการชดเชยความเสี่ยงต่างๆ น้อยลง เช่น activity trackers โดรนที่ติดเซนเซอร์ ระบบ IoT และ เก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อมาวิเคราะห์ เป็น Big Data และผู้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่นนี้ก็มีหลายอย่างที่มาจากบริษัท Startup
บทความนี้เป็น Guest Post จาก
ประกันรถยนต์ออนไลน์ที่จริงใจที่สุดในโลก
The post Startup กำลังเข้าสู่วงการประกัน: ตัวอย่าง และสาเหตุ appeared first on Techsauce.
[ad_2]
ขอบคุณข่าวสารธุรกิจ techsauce.co
บริการอบรม ให้คำปรึกษาการทำธุรกิจออนไลน์ ฝึกอบรมภายในบริษัท แบบตัวต่อตัว การทำ Content Marketing,การโฆษณา Facebook,การโฆษณา Tiktok,การตลาด Line OA และการทำสินค้าให้คนหาเจอบน Google
บริการดูแลระบบการตลาดออนไลน์ให้ทั้งระบบ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสารความรู้การทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ Add Line id :@taokaemai
รับชมคลิป VDO ความรู้ด้านการตลาด กรณีศึกษาธุรกิจ แหล่งเงินทุนน่าสนใจ ติดตามได้ที่ช่อง Youtube : Taokaemai เพื่อนคู่คิดธุรกิจ SME