[ad_1]
วันนี้ (20 ก.พ.60 ) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ได้ตรวจพบว่า บริษัท เพย์ออล กรุ๊ป จำกัด ให้บริการแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือภายใต้ชื่อ “PayAll” ประกอบธุรกิจอันเข้าข่ายเป็นการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) โดยไม่ได้รับอนุญาต จากธนาคารแห่งประเทศไทย
ความจริงปรากฏ
บริษัท PayAll มักนำเสนอตนในฐานะ FinTech Startup ที่ให้บริการทางการเงิน แก่ประชาชนทั่วไป แต่พบว่าลักษณะการให้บริการเข้าข่าย MLM หรือการขายตรงมากกว่า ก่อนหน้านี้ทีมงาน Techsauce จึงได้เคยเขียนบทความนำเสนอเรื่องนี้ เพื่อชี้แจงแก่ประชาชน ให้ระวัง MLM ที่โปรโมทว่าตนเป็น Startup เพื่อดึงดูดความสนใจเด็กรุ่นใหม่
อันที่จริงแล้ว PayAll เองก็ให้เบริการทางทางเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ อย่างที่เคยระบุไว้ว่าตนเป็น FinTech
แต่สิ่งที่ผิดคือ การให้บริการโดยไม่ได้รับอนุญาต
e-Money หรือ e-Wallet จำเป็นต้องมีใบอนุญาต
สำหรับ PayAll มีการให้ผู้ใช้บริการสมัครเป็นสมาชิกในแอปพลิเคชัน และเติมเงินล่วงหน้าเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) เพื่อนำ e-Money ดังกล่าวไปใช้ในการชำระค่าสินค้าหรือบริการจากร้านค้าต่าง ๆ ที่กำหนด
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ประกอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ. 2551 (พ.ร.ฎ. e-Payment) และประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ประกอบประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 (การประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งเป็นความผิดและมีโทษตามกฎหมายดังกล่าว
ธปท. ในฐานะผู้ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตาม พ.ร.ฎ. e-Payment และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามประกาศกระทรวงการคลังข้างต้น ให้ดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษเพื่อดำเนินคดีกับบริษัท เพย์ออล กรุ๊ป จำกัด และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเมื่อวันที่ 20 ก.พ.60 ธปท. ได้ดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในความผิดตามกฎหมายดังกล่าว
คุณสมบัติตามกฏหมาย
หมายเหตุ: ธปท. เรียกบริการนี้ว่ารวมๆ ว่า e-Money แต่ขอให้ผู้อ่านเข้าใจว่า หมายถึงบริการแบบ e-Wallet ที่ต้องเติมเงินเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ล่วงหน้า ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงบริการ Payment gateway
โดย e-Wallet หรือ ธุรกิจที่มีการรับเงินล่วงหน้าจากประชาชนทั่วไปในวงกว้าง จะต้องได้รับอนุญาตจากทางการก่อนเริ่มประกอบธุรกิจ กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดและที่สำคัญมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการ เช่น
- ต้องมีทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้วตามที่กำหนด และดำรงฐานะทางการเงินและสภาพคล่องเพื่อให้บริการ e-Money ได้อย่างต่อเนื่อง และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้บริการ
- ต้องมีการเก็บรักษาเงินของผู้ใช้บริการที่เติมเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์อย่างรัดกุม โดยต้องฝากไว้ที่สถาบันการเงิน และแยกบัญชีไว้ต่างหากจากเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจ
- ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การคุ้มครองผู้บริโภค เช่น การรักษาความลับของข้อมูลผู้ใช้บริการการคืนเงินให้ผู้ใช้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนด และการแก้ไขข้อร้องเรียน เป็นต้น
วิธีตรวจสอบ
ธปท. แนะนำให้ประชาชน ร้านค้า และสถานประกอบการ เลือกใช้บริการ e-Money จากผู้ประกอบธุรกิจให้บริการ e-Money ที่ได้รับอนุญาตจากทางการเท่านั้น รวมทั้งควรศึกษาเงื่อนไขของการใช้บริการและดำเนินการเพื่อรักษาสิทธิของตนเอง
สามารถดูรายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตได้ที่นี่: https://taokaemai.com/wp-content/uploads/2017/02/ListofeMoneyProvider.pdf
ที่มา: bot.or.th
The post PayAll ประกอบธุรกิจ e-Money โดยไม่ได้รับอนุญาต ธปท. เข้าดำเนินคดี พร้อมแนะนำสำหรับปชช. ในการตรวจสอบ appeared first on Techsauce.
[ad_2]
ขอบคุณข่าวสารธุรกิจ techsauce.co
บริการอบรม ให้คำปรึกษาการทำธุรกิจออนไลน์ ฝึกอบรมภายในบริษัท แบบตัวต่อตัว การทำ Content Marketing,การโฆษณา Facebook,การโฆษณา Tiktok,การตลาด Line OA และการทำสินค้าให้คนหาเจอบน Google
บริการดูแลระบบการตลาดออนไลน์ให้ทั้งระบบ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสารความรู้การทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ Add Line id :@taokaemai
รับชมคลิป VDO ความรู้ด้านการตลาด กรณีศึกษาธุรกิจ แหล่งเงินทุนน่าสนใจ ติดตามได้ที่ช่อง Youtube : Taokaemai เพื่อนคู่คิดธุรกิจ SME