Goldman Sachs ปรับลด GDP สหรัฐ เหลือ 1.2%  จากความตึงเครียดของวิกฤตที่เกิดกับธนาคารขนาดเล็กซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจของสหรัฐ

สำนักข่าว CNBC ได้รายงานเรื่อง Goldman Sachs ปรับลดประมาณการ GDP ลงจากความตึงเครียดของวิกฤตที่เกิดกับธนาคารขนาดเล็กซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจของสหรัฐโดยมีรายละเอียดดังนี้

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา Goldman Sachs ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐในปี 2566 โดยอ้างอิงกับการลดลงของสินเชื่อจากธนาคารขนาดเล็กและขนาดกลางท่ามกลางความวุ่นวายปั่นป่วนของระบบการเงินในขณะนี้

Goldman Sachs ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตลง 0.3 จุดเหลือเพียง 1.2% ภายใต้การคาดการณ์ว่าธนาคารขนาดเล็กจะพยายามรักษาสภาพคล่องไว้ในกรณีที่ลูกค้าต้องการถอนเงินฝากที่ฝากไว้ในธนาคาร ซึ่งนำไปสู่การมาตรการที่เข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของธนาคารกับผู้ที่มาขอสินเชื่อ

เทรด forex ให้ได้วันละ 1000 บาท

มาตรการการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดนี้อาจส่งผลกระทบต่ออุปสงค์รวมซึ่งจะนำไปสู่การฉุดรั้งการเติบโตของ GDP ซึ่งเห็นผลชัดเจนในไตรมาสที่ผ่านมา

ธนาคารขนาดกลางและขนาดย่อมมีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐเป็นอย่างมาก โดยนักวิเคราะห์ได้ระบุเอาไว้ว่าผลกระทบจากการปล่อยสินเชื่อทั้งหมดมีแนวโน้มที่จะปรากฏชัดเจนอยู่ในธนาคารขนาดกลางและขนาดย่อม

ธนาคารที่มีสินทรัพย์น้อยกว่า 250,000 ล้านดอลลาร์ กว่า 50% เป็นสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์และอุตสาหกรรมของสหรัฐ 60% เป็นสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย 80% เป็นสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ และ 45% เป็นของสินเชื่อผู้บริโภค

หลังจากการล่มสลายของธนาคารสองแห่งล่าสุด คือธนาคารในซิลิคอนวัลลีย์และธนาคารซิกเนเจอร์นั้นคิดเป็นสัดส่วนเพียง 1% ของการปล่อยสินเชื่อของธนาคารทั้งหมด Goldman Sachs ตั้งข้อสังเกตว่าการให้ยืมหุ้นอยู่ที่ 20% สำหรับธนาคารที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูง และ 7% สำหรับธนาคารที่มีส่วนแบ่งต่ำของเงินฝากที่ประกัน FDIC

หน่วยงานกำกับดูแลได้เข้าควบคุมธนาคารทั้งสองแห่งเมื่อต้นสัปดาห์นี้และทำให้มั่นใจว่าผู้ฝากเงินจะเข้าถึงเงินฝากของพวกเขาได้อย่างเต็มที่ผ่านกองทุนประกันเงินฝากของ FDIC แต่ในขณะที่ผู้ฝากเงินจำนวนมากไม่มีประกันเนื่องจากวงเงินประกันสูงสุด 250,000 ดอลลาร์

นักวิเคราะห์สันนิษฐานว่าธนาคารขนาดเล็กที่มีส่วนแบ่งเงินฝากที่อยู่ภายใต้ FDIC ต่ำจะลดการปล่อยสินเชื่อใหม่ลง 40% และธนาคารขนาดเล็กอื่น ๆ จะลดการปล่อยสินเชื่อใหม่ลง 15% ซึ่งส่งผลให้การปล่อยสินเชื่อทั้งหมดของธนาคารลดลง 2.5%

ผลของการเข้มงวดจะส่งผลกระทบเช่นเดียวกันกับการเติบโตของอุปสงค์ซึ่งมีผลกระทบเหมือนกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 ถึง 50 จุดพื้นฐาน

ที่มา: https://www.cnbc.com/2023/03/15/goldman-sachs-cuts-gdp-forecast-because-of-stress-on-small-banks.html

ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจจากข่าว  Goldman Sachs ปรับลด GDP สหรัฐ เหลือ 1.2%  จากความตึงเครียดของวิกฤตที่เกิดกับธนาคารขนาดเล็กซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจของสหรัฐ

เริ่มมีผลกระทบที่เป็นเสมือนดาบสองคมจากความพยายามในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อด้วยนโยบายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารกลางสหรัฐกันบ้างแล้วจากการล่มสลายของธนาคารที่มีส่วนสำคัญในการให้สินเชื่อ

จากความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ธนาคารต่าง ๆ เริ่มรักษาเงินสำรองไว้เพื่อป้องกันการขาดสภาพคล่องหากเกิดเหตุที่ลูกค้าพร้อมใจกันแห่มาถอนเงินสดจนทำให้ธนาคารประสบปัญหาเช่นเดียวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับซิลิคอนวัลเล่ย์และซิกเนเจอร์

เพราะต้องรักษาสภาพคล่องเอาไว้เช่นนี้เองจึงทำให้การตัดสินใจอนุมัติสินเชื่อเป็นไปได้ยากมากขึ้น เมื่อสินเชื่อไม่ได้รับการอนุมัติแน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบไม่น้อยทีเดียวต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและทำให้การประมาณการตัวเลข GDP ที่ตั้งเอาไว้ต้องถูกปรับลดลงมาเช่นกัน

แม้ว่าธนาคารที่ล่มสลายลงไปจะมีตัวเลขสินเชื่อรวมกันไม่มาก แต่ผลจากความแตกตื่นของผู้คนก็อาจกลายเป็นโมเดลที่กระทบไปยังธนาคารอื่น ๆ ได้จึงทำให้ธนาคารต่าง ๆ ต้องมีมาตรการป้องกันเอาไว้

เมื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ก็เป็นสิ่งที่ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องคำนึงถึงมาตรการต่อไปแต่กระนั้นก็ยังมีความเป็นไปได้ที่ว่าทางเฟดจะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อกดภาวะเงินเฟ้อให้ลงมาอยู่ในระดับที่ต้องการก่อนแล้วจึงค่อยปรับลดอัตราดอกเบี้ยในภายหลัง

เรายังไม่รู้แน่ขัดว่าผลกระทบที่ตามมานี้จะกินเวลายาวนานแค่ไหนและจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกอย่างไรบ้างดังนั้นสิ่งที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต้องทำก็คือการติดตามข่าวสารอย่างสม่ำเสมอเพื่อจะได้วางแผนการรับมืออย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบตามมาในภายหลัง