คาดเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% % ในการประชุมสัปดาห์หน้า  

สำนักข่าวฐานเศรษฐกิจได้รายงานเรื่องวิกฤตสภาพเป็นเหตุทำให้คาดกันว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยเพียง 0.25% ในการประชุมสัปดาห์หน้าโดยมีรายละเอียดดังนี้

มีการคาดการณ์กันว่าธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดจะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวาระการประชุมเดือนมีนาคมนี้แม้ว่าดัชนีผู้บริโภคหรือ CPI ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาจะชะลอตัวลงมาตั้งแต่เดือนมกราคมก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงตัวเลขเงินเฟ้อกลับพบว่าตัวเลขดังกล่าวยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าเป้าหมายที่เฟดต้องการที่ระดับ 2% เท่านั้น

และจากวิกฤตสภาพคล่องของธนาคารในช่วงที่ผ่านมาทำให้มีการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในรอบนี้เพียง 0.25% เท่านั้นแทนการปรับขึ้น 0.50% ตามที่มีการคาดการณ์ก่อนหน้านี้เพราะความกังวลว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่รุนแรงจะส่งผลกระทบต่อภาคธนาคารที่กำลังเผชิญวิกฤตสภาพคล่องอยู่ในขณะนี้

เทรด forex ให้ได้วันละ 1000 บาท

จากการคาดการณ์ของนักลงทุนมีการให้น้ำหนักถึง 83.4% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ 0.25% ไปสู่ระดับ 4.75-5.00% ในการประชุมวันที่ 21-22 มีนาคมที่จะถึงนี้และให้น้ำหนักเพียง 16.6% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 4.50-4.75%

นอกจากนี้ในรอบการประชุมเดือนพฤษภาคมนักลงทุนคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ไปสู่ระดับ 5.00-5.25% ก่อนที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ระดับ 4.75-5.00% ในเดือนมิถุนายนและอาจมีการปรับลดอีกครั้งที่ 0.25% สู่ระดับ 4.50-4.75% ในเดือนกันยายน

นอกจากการคาดการณ์ตัวเลขอัตราดอกเบี้ยยังมีรายงานตัวเลขดัชนีผู้บริโภคหรือ CPI จากกระทรวงแรงงานสหรัฐซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ประจำเดือนกุมภาพันธ์พบว่าดัชนี CPI ทั่วไปซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงานมีการปรับตัวขึ้น 6.0% ในเดือนกุมภาพันธ์เมื่อเทียบกับตัวเลขรายปีซึ่งมีความสอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ซึ่งชะลอตัวจากระดับ 6.2% ในเดือนมกราคม แต่เมื่อเทียบรายเดือนดัชนี CPI ทั่วไปมีการปรับตัวขึ้น 0.4% ในเดือนกุมภาพันธ์สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 0.5% ในเดือนมกราคม

ส่วนดัชนี CPI พื้นฐานซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงานมีการปรับตัวขึ้น 5.5% ในเดือนกุมภาพันธ์เมื่อเทียบกับตัวเลขรายปีซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขที่คาดการณ์ของนักวิเคราะห์โดยมีการชะลอตัวจากระดับ 5.6% ในเดือนมกราคม

แต่เมื่อเทียบรายเดือนดัชนี CPI พื้นฐานมีการปรับตัวขึ้น 0.5% ในเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.4% จากระดับ 0.4% ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา

ไทม์ไลน์ในการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดตลอดทั้งปี 2565 มาจนถึงครั้งล่าสุด เป็นดังนี้

ปี 2565

วันที่ 25-26 ม.ค.     คงดอกเบี้ยที่ระดับ 0.00-0.25%

วันที่ 15-16 มี.ค.     ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% สู่ 0.25-0.50%

วันที่ 3-4 พ.ค.        ขึ้นดอกเบี้ย 0.50% สู่ 0.75-1.00%

วันที่ 14-15 มิ.ย.     ขึ้นดอกเบี้ย 0.75% สู่ 1.50-1.75%

วันที่ 26-27 ก.ค.     ขึ้นดอกเบี้ย 0.75% สู่ 2.25-2.50%

วันที่ 20-21 ก.ย.     ขึ้นดอกเบี้ย 0.75% สู่ 3.00-3.25%

วันที่ 1-2 พ.ย.        ขึ้นดอกเบี้ย 0.75% สู่ 3.75-4.00%

วันที่ 13-14 ธ.ค.     ขึ้นดอกเบี้ย 0.50% สู่ 4.25-4.50%

ปี 2566

วันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ. ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% สู่ 4.50-4.75%

ที่มา: https://www.thansettakij.com/finance/financial-banking/558975

ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับข่าวคาดเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมสัปดาห์หน้า  

วิธีการเทรด Forex สำหรับผู้เริ่มต้น

ผลกระทบจากการปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นจากธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดถือว่าส่งผลกระทบอย่างหนักกว่าที่คาดคิดสำหรับระบบธนาคาร เพราะก่อให้เกิดภาวะขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรงจนทำให้ธนาคาร 2 แห่งต้องปิดกิจการลงภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน

จากดอกเบี้ยเพียงประมาณ 0.25 % เมื่อต้นปี 2565 ที่ทะยานไปอยู่ในระดับ 4.50-4.75% เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เหล่านี้คือต้นทุนที่ทำให้เจ้าของกิจการพาณิชย์รายย่อยต้องแบกรับและทำให้สภาพคล่องของกิจการลดลงจนนำไปสู่เหตุการณ์ที่ลูกค้าของธนาคารแห่กันไปถอนเงินสดออกมาเพื่อพยุงกิจการของตนเองจนส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ขาดสภาพคล่องจนล่มสลายและกลายเป็นวิกฤตการเงินที่ใหญ่ครั้งหนึ่งที่ทางสหรัฐต้องเผชิญ

แม้ว่าภาพรวมดัชนีผู้บริโภคจะชะลอตัวลงแต่กระนั้นก็มีข่าวให้ได้ยินว่าระดับเงินเฟ้อของสหรัฐยังไม่เป็นไปตามแผนการที่เฟดวางเอาไว้คือยังไม่ปรับตัวลงมาที่ระดับ 2% นี่จึงเป็นเหตุผลที่มองว่าเฟดเองยังคงต้องปรับดอกเบี้ยขึ้นอีกแต่อาจไม่รุนแรงเท่ากับครั้งก่อนหน้าเพราะผลกระทบต่อระบบการเงินที่เกิดขึ้นนั่นเอง

สำหรับประเทศไทยเองทางธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงไม่ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นมากนักก็ตามแต่ผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัวของสหรัฐก็ยังมีอยู่และส่งผลต่อทั้งค่าเงิน การส่งออกที่ยังคงมีความผันผวนอยู่ดังนั้นเจ้าของกิจการจึงต้องติดตามข่าวสารและบทวิเคราะห์อยู่เสมอเพื่อเตรียมรับสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจในปีนี้