ในรอบปีที่ผ่านมาวิกฤติการระบาดของโรคโควิด-19 ได้สร้างบาดแผลให้กับทั้งผู้ประกอบการและมนุษย์เงินเดือนไม่น้อยเลยทีเดียว ในขณะที่ปัญหาเก่ายังไม่ทันจะคลี่คลายดี การระบาดในระลอกใหม่ก็กำลังสร้างแรงสั่นสะเทือนอีกครั้ง เพราะผู้คนยังคงจำภาพของวิกฤติที่ผ่านมาได้ดี การเตรียมตัวและแผนการต่าง ๆ จึงเริ่มถูกปัดฝุ่นนำกลับมาใช้อีกครั้ง การลงทุนเองก็เป็นหนึ่งในวิธีการที่สำคัญที่ถูกนำมาใช้แก้ปัญหาวิกฤติที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ เพราะการลงทุนคือการสร้างรายได้เพื่อมาทดแทนรายได้เดิมที่ลดลงไปจากปัญหาที่เกิดขึ้น แต่กระนั้นในช่วงวิกฤติเช่นนี้การลงทุนด้วยเงินทุนจำนวนที่ไม่สูงมากนักจึงน่าจะเป็นคำตอบของการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด หากคุณมีเงิน 1 แสนบาทและอยากจะนำมาลงทุนในปี 2021 นี้แต่ไม่รู้จะลงทุนอะไรดี บทความนี้มีคำแนะนำดี ๆมาฝาก
6 การลงทุน มีเงิน 100000 ลงทุนอะไรดี ทำยังไงให้งอกเงย ?
1. ลงทุนในสินทรัพย์ในตลาดทุนเช่นหุ้นหรือกองทุนรวม
แม้การลงทุนในหุ้นหรือกองทุนรวมที่นำเงินลงทุนไปลงทุนในหุ้นอีกต่อหนึ่งจะมีความผันผวนสูงก็ตาม แต่การลงทุนในสินทรัพย์เช่นหุ้นนี้ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการลงทุนที่น่าสนใจและสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ลงทุนไม่น้อย หากว่าผู้ลงทุนนั้น “มีความรู้และความเข้าใจในตลาดและสินทรัพย์เช่นหุ้นนี้เป็นอย่างดี” การลงทุนในสินทรัพย์อย่างหุ้นหรือกองทุนรวมมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ตั้งแต่การเก็งกำไรไปจนถึงการเก็บสะสมหุ้นเพื่อรับเงินปันผล แต่กระนั้นเพราะเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง นอกจากที่ผู้ลงทุนจะต้องใช้ความรู้และความเข้าใจในการลงทุน เงินทุนที่นำมาลงทุนเองก็ควรจะเป็นเงินเย็นที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่คุณจริง ๆ
2. ลงทุนในสลากออมสินหรือสลาก ธกส.
สำหรับผู้ที่ไม่นิยมความเสี่ยงแต่ยังอยากให้เงินทุนที่มีอยู่นั้นงอกเงย ยิ่งในช่วงที่วิกฤติโควิด-19กำลังรุมเร้าจนไม่อาจคาดเดาทิศทางอะไรได้ในอนาคต แม้การลงทุนในสลากออมสินหรือสลาก ธกส. จะได้ผลตอบแทนที่ไม่สูงมากนัก แต่ก็ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำและเหมาะมากที่จะเป็นที่พักเงินในช่วงสั้นๆ (สลากออมสินมีรุ่นอายุ 1 ปีและสลาก ธกส. มีรุ่นอายุ 2ปี) แต่นอกจากการได้รับผลตอบแทนตามปกติ สลากทั้ง 2 ประเภทนี้ยังให้ผู้ลงทุนมีสิทธิ์ลุ้นรางวัลต่าง ๆในแต่ละงวด ซึ่งอาจเรียกได้ว่านอกจากจะอุ่นใจ ปลอดภัยสูงก็ยังมีสิทธิ์ถูกรางวัลได้อีกด้วย การลงทุนในสลากทั้ง 2 ประเภทนี้จึงเหมาะกับผู้ที่ไม่อยากเสี่ยงสูญเสียเงินก้อนรวมถึงผู้ที่มีเงินทุนและต้องการพักเงินในช่วงสั้น ๆเพื่อรอทิศทางที่ชัดเจนก่อนตัดสินใจขยับขยายการลงทุนไปยังแหล่งอื่น ๆ
3. ลงทุนขายสินค้าออนไลน์
เมื่อโลกเข้าสู่ยุคออนไลน์ การขายสินค้าออนไลน์จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางการลงทุนที่น่าสนใจในปัจจุบัน เพราะเมื่อคนเรายังต้องกินต้องใช้และต้องการบริโภคสินค้าต่าง ๆ การขายสินค้าจึงยังเป็นธุรกิจที่ยังคงเติบโตไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใดก็ตาม และยิ่งเราอยู่ในยุคของ New Normal จากปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 การขายสินค้าออนไลน์จึงยิ่งตอบโจทย์การลงทุนได้มากทีเดียว หากคุณเริ่มต้นคิดที่จะขายสินค้าออนไลน์จริง ๆ ลองสำรวจหาความชอบขอบคุณเสียก่อน ว่าคุณชอบสินค้าอะไรเป็นพิเศษเพราะความชอบนอกจากจะทำให้คุณเข้าใจสินค้านั้นดี คุณยังจะอยู่กับมันได้นานอย่างมีความสุข เรื่องถัดมาที่คุณต้องคิดก็คือสินค้าที่คุณชอบและอยากขายนั้นยังเป็นสินค้ากระแสและเป็นที่ต้องการหรือมีกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ เพราะลำพังความชอบเพียงอย่างเดียวแต่สินค้าไม่เป็นกระแสหรือไม่ได้รับความนิยมก็อาจทำให้คุณขายสินค้าได้ลำบาก เรื่องสุดท้ายที่คุณจะต้องคิดก็คือคุณจะขายสินค้าโดยไปรับมาขายต่อหรือการสร้างแบรนด์เป็นของตนเอง เพราะทั้ง 2 อย่างนี้มีรูปแบบการทำการตลาดที่แตกต่างกัน หากคุณชอบค้าขายเป็นทุนเดิม การขายสินค้าออนไลน์ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางการลงทุนที่น่าสนใจเช่นกัน
4. ลงทุนในแฟรนไชส์
หากพูดถึงธุรกิจแฟรนไชส์ ภาพจำที่หลาย ๆคนมักจะนึกถึงคือธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนที่ค่อนข้างสูง เพราะเรามักจะนึกถึงแต่แฟรนไชส์แบรนด์ใหญ่ ๆที่จำเป็นต้องเสียค่าแฟรนไชส์ในราคาสูงทั้งที่ความเป็นจริงแล้วธุรกิจแฟรนไชส์ในปัจจุบันไม่ได้มีค่าใช้จ่ายที่สูงเลย หลายแฟรนไชส์มีราคาเริ่มต้นเพียงแค่หลักหมื่นเสียด้วยซ้ำ ข้อดีของการทำธุรกิจแฟรนไชส์คือการมีคู่มือความสำเร็จที่แบรนด์นั้น ๆสั่งสมมาเป็นองค์ความรู้ให้กับผู้ที่อยากทำธุรกิจแต่ไม่มีประสบการณ์ได้นำมาทำตาม นอกจากนี้เรายังได้วัตถุดิบที่ได้มาตรฐานเดียวกันกับทางแบรนด์รวมไปถึงฐานลูกค้าที่เหนียวแน่นของทางแบรนด์มาเป็นของคุณโดยที่คุณไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ตั้งแต่แรก เพียงแค่คุณมีเงินลงทุนในหลักแสนคุณก็สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีสินค้าคุณภาพสูงได้แล้ว และที่สำคัญคุณยังสามารถทำธุรกิจแฟรนไชส์เป็นรายได้เสริมควบคู่กับการทำงานประจำที่จะทำให้คุณมีรายได้มากกว่า 1 ทางอีกด้วย
5. ลงทุนสร้างคอร์สออนไลน์
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีทักษะที่เยี่ยมยอดในบางเรื่องที่น่าสนใจ ลองนำทักษะเหล่านั้นไปแปรเปลี่ยนเป็นรายได้ก็ดูน่าสนใจไม่น้อย ช่องทางหนึ่งที่คุณสามารถเปลี่ยนทักษะที่น่าสนใจไปเป็นรายได้นั่นก็คือการทำคอร์สสอนออนไลน์นั่นเอง โดยสิ่งที่คุณต้องลงทุนก็คืออุปกรณ์บันทึกภาพและเสียงที่ได้มาตรฐานกับการเปิดแพลตฟอร์มขึ้นมาเป็นของตนเองหรือการไปขอใช้บริการแพลตฟอร์มสำเร็จรูปที่เกี่ยวข้องกับการทำคอร์สออนไลน์ ยิ่งในยุคนี้ที่ทุกคนตระหนักถึง New Normal คอร์สออนไลน์ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจและเหมาะกับสถานการณ์ในช่วงนี้ที่สุด
6. ลงทุนในทักษะและความรู้ใหม่ๆเพื่อต่อยอดไปเป็นการหารายได้ในอนาคต
หากคุณยังคิดไม่ออกว่าคุณจะนำเงินแสนที่คุณมีไปลงทุนอะไรดี ทางเลือกที่น่าสนใจอีกหนึ่งทางก็คือ “นำไปลงทุนในความรู้และทักษะที่สามารถต่อยอดเป็นการสร้างรายได้ในอนาคต” ในปัจจุบันมีคอร์สออนไลน์มากมายที่เปิดสอนเพื่อเพิ่มพูนทักษะและความสามารถของคุณตามแต่ความสนใจไม่ว่าจะเป็นคอร์สฝึกภาษา คอร์สสอนการทำอาหาร คอร์สสอนการลงทุน คอร์สสอนการถ่ายภาพ ซึ่งทักษะที่น่าสนใจเหล่านี้คุณสามารถเรียนรู้เพื่อต่อยอดไปเป็นอาชีพเสริมเพื่อหารายได้ในอนาคต หรือสามารถต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าให้ตัวเองในงานประจำก็ได้เช่นกัน การลงทุนในความรู้จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจที่เราอยากจะแนะนำให้แก่คุณ
ทั้ง 6 การลงทุน มีเงิน 100000 ลงทุนอะไรดี ที่เรานำมาเสนอนี้เป็นเพียงตัวอย่างการลงทุนส่วนหนึ่งที่น่าสนใจเท่านั้น ยังคงมีการลงทุนในรูปแบบอื่น ๆให้คุณได้เลือกลงทุนอีกหลายอย่าง ซึ่งการลงทุนในแต่ละอย่างก็มีข้อดี ข้อเสียและความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งคุณจำเป็นต้องศึกษาให้ถ่องแท้ก่อนเสมอก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน แต่เชื่อหรือไม่ ว่าแม้ทุกการลงทุนจะมีความเสี่ยงแต่ก็ยังไม่อาจสู้ความเสี่ยงของการไม่ลงทุนทำอะไรเลย เพราะที่สุดแล้วผู้ที่ไม่ลงทุนทำให้เงินของตนงอกเงยท้ายที่สุดเงินที่เขามีจะด้อยค่าเพราะไม่อาจเอาชนะได้แม้กระทั่ง”เงินเฟ้อ”
บริการอบรม ให้คำปรึกษาการทำธุรกิจออนไลน์ ฝึกอบรมภายในบริษัท แบบตัวต่อตัว การทำ Content Marketing,การโฆษณา Facebook,การโฆษณา Tiktok,การตลาด Line OA และการทำสินค้าให้คนหาเจอบน Google
บริการดูแลระบบการตลาดออนไลน์ให้ทั้งระบบ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสารความรู้การทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ Add Line id :@taokaemai
รับชมคลิป VDO ความรู้ด้านการตลาด กรณีศึกษาธุรกิจ แหล่งเงินทุนน่าสนใจ ติดตามได้ที่ช่อง Youtube : Taokaemai เพื่อนคู่คิดธุรกิจ SME