คำว่าพอเพียงเป็นคำที่ใครหลายคนเคยได้ยินมานานพอสมควร ความพอเพียง.เป็นปรัชญาที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงได้ชี้นำแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด ความพอเพียงนั้นหมายถึงความพอประมาณ มีเหตุมีผล การเดิน สายกลาง ฯลฯ คนไทยหลายคนฟังแต่มีน้อยคนที่ได้ยิน

ผมเป็นคนหนึ่งที่รู้จักคำว่า “ความพอเพียง” เพียงผ่านหูแต่ไม่ได้ยินในความหมายอย่างลึกซึ่ง ฟังผ่านเข้าไปในหูซ้ายและทะลุออกหูขวา ตัวเองคิดว่าสิ่งที่ทำนั้นถูกต้องและเหมาะสม จนกระทั้งมีอยู่มาวันหนึ่งวันที่ผมทำงานจนอายุ35 ปี ผมเปิดลิ้นชักที่โต๊ะทำงานและเหลือบไปเห็นสมุดบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์เล่มหนึ่งตั้งทิ้งไว้ล่างสุด หน้าสมุดเขียนด้วยลายมือตัวเองว่า “Saving”  สมุดบัญชีเงินฝากที่ผมตั้งใจจะเก็บไว้ตั้งแต่เริ่มทำงานมีความฝันว่าจะมีเงินเก็บไว้ใช้แต่ความจริงมันไม่เป็นอย่างนั้น ผมเปิดหน้าสุดท้ายของสมุดเงินฝากเล่มนั้นขึ้น มีความรู้สึกภายในก้นบึ้งแห่งจิตใจมากระทุ้งเข้าในใจผมว่า ทำงานมาเป็นสิบปีเงินเหลือศูนย์บาทกับเศษสตางค์ ความรู้สึกที่ว่าน้ำตาตกใจเกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัว สิ่งที่เห็นคือเงินฝากเหลือไม่ถึงร้อยบาท ทำไมถึงเป็นแบบนี้ ชีวิตมันบัดซบอะไรขนาดนี้ หรือเป็นเพราะหนี้สินที่จำเป็น หรือเสียให้กับความอยากของตนเองหรือสิ่งที่เรียกว่า “สิ่งจอมปลอกเปลือกนอก” มากเกินไปของใช้ราคาแพง อาหารจานหรู ของใช้บ้าบอที่ไม่จำเป็นต่อตัวเอง มานานหลายปี จนผมเหลือเงินในบัญชีเกือบเท่ากับศูนย์บาทกับเศษสตางค์นิดหน่อย

ปัญหาของผมไม่ได้หมาดไปตามเงินเก็บที่มีเหลือแต่มันมีตามหลังมายาวเป็นหางว่าวเช่น ค่าใช้จ่ายของลูกทั้งค่าเทอม ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในบ้านที่เพิ่มขึ้น ปัญหาทางการเงินผมหนักมากจนผมมีความเครียดสะสมมากขึ้นและงานที่ทำได้ดีก็ไม่ดี กินไม่ได้ นอนไม่หลับเหมือนแต่ก่อนเป็นแบบนี้มาเป็นเดือน จนวันหนึ่งผมไปรอรับลูกที่โรงเรียนอนุบาล ผมจูงลูกชายเดินผ่านร้านขายของหน้าโรงเรียนเห็นเด็กๆกำลังแย่งกันซื้อของเล่น ลูกชายผมหันมาถามผมว่า “พ่ออยากซื้อของเล่น” ผมหันตอบว่า “ของเล่นที่บ้านเราก็มีนะ” ลูกชายเริ่มงอแง “ก็ผมอยากได้ เพื่อนๆในห้องมีกันทุกคน” ผมเริ่มโมโหและดุลูกไปว่า “ของเล่นไม่จำเป็นตอนนี้กลับบ้านก่อน” ลูกชายก็ร้องไห้ ผมจูงลูกชายเดินไปขึ้นรถ แต่ความจริงในใจผมก็อยากจะซื้อของเล่นให้ลูกแต่ผมไม่มีเงินเหลือเลยแม้แต่บาทเดียว นั้นเป็นครั้งแรกที่ผมสมเพชตัวเองมากที่สุด

 

คืนนั้นผมตื่นขึ้นกลางดึกเพราะด้วยความเครียด เสียงข้อความเตือนดังขึ้นกลางดึก ผมเปิดโทรศัพท์มือถือขึ้นอ่านข้อความที่ผ่านสังคมออนไลน์ได้อ่านข้อความต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องมีสาระและเรื่องที่มีสาระที่อยู่มากมายในสังคมออนไลน์แต่ผมก็ได้ไปสะดุดตาเข้ากับเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจเรื่องเกี่ยวกับนาฬิกาเข้า เมื่อเข้าไปอ่านก็พบว่าเป็นเรื่องเล่าของท่านดร.สุเมธ ตันติเวชกุลเรื่อง “นาฬิกา” ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จากงานสัมมนา “ถอดรหัส ‘ธรรมดีที่พ่อทำ’ พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน” ที่ดร.สุเมธเป็นองค์ปาฐกมีความตอนหนึ่งว่า “ครั้งหนึ่ง ดร.สุเมธ พยายามจะแอบดูว่าพระองค์ท่านใส่นาฬิกายี่ห้ออะไร จนพระองค์ท่านรู้สึกได้ว่าดร.สุเมธ พยายามอยากจะดูยี่ห้อ ท่านจึงยื่นข้อพระหัตถ์มาให้ดูตรงหน้า จึงทราบว่าพระองค์ ท่านใส่นาฬิการาคาเพียงเรือนละ 750 บาทเท่านั้น ซึ่งก็เดินตรงเหมือนกันกับนาฬิกาเรือนแพง “ และท่านยังเล่าต่อว่า “แม้กระทั่งฉลองพระองค์ก็ทรงมีไม่กี่ชุด ทรงใช้จนเปื่อยซีด แต่พวกเรามักคิดว่า การมีแบบเหลือกินเหลือใช้จึงจะดี เพราะคนสมัยนี้เริ่มไม่เอา “เกษตรกรรม” แต่เลือกที่จะทำ “อุตส่าหากรรม” (เป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นเอง แทนคำว่าอุตสาหกรรม) สุดท้าย อนาคตก็จะอดกิน ” มาถึงจุดที่ทำให้ผมสำนักได้ว่าขนาดพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชท่านทรงใช้นาฬิกาเรือนไม่กี่ร้อยสะท้อนให้เห็นว่าพระองค์ท่านทรงเป็นแบบอย่างของความพอเพียงโดยแท้จริง

เวลาผ่านไป 3 ปีที่ผมได้เริ่มตามความพอเพียงแบบอย่างพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผมพบความจริงที่ว่า ความพอเพียงเป็นทางแห่งความสุขของชีวิต จากแต่ก่อนเป็นหนี้ไม่มีความสุข ตอนนี้หนี้เริ่มเบาบาง เงินเก็บเริ่มมี ความอยากน้อย ความโลภน้อย ความทุกข์ใจน้อย เห็นใครมีอะไรก็ไม่มีใจใคร่อยากมีอยากได้ มีความสุขเพิ่มขึ้น กินอิ่มนอนหลับ หากจะพูดตามจริงว่าความสุขที่แท้จริงเริ่มต้นได้จาก “ความพอเพียง”


บทความโดย ผู้เข้ารับการอบรมโครงการ “เปลี่ยน Content ให้เป็นเงิน รุ่น 1

คุณ ทศม วงศ์ช่วยwww.facebook.com/indy.mango.3

https://www.facebook.com/bluesea.sk

 

—————————————————————————————————————————–