คอร์สเรียนออนไลน์จัดเป็น Digital asset ชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบันครับ คอร์สเรียนออนไลน์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงก็เปรียบได้กับขุมทรัพย์ที่ให้คุณเก็บเกี่ยวได้ไม่รู้จบนั่นก็เพราะเพียงการลงทุนครั้งเดียวเท่านั้น คอร์สเรียนนี้ก็จะทำหน้าที่เป็น “passive income” เรียกเงินเข้าสู่กระเป๋าของคุณไปได้ตลอด การทำคอร์สเรียนออนไลน์จึงเป็นเป้าหมายของใครหลายๆ คนที่อยากจะมีสินทรัพย์ทำเงินให้ได้เก็บกินเพื่อให้ตนเองใกล้เคียงกับคำว่า “อิสรภาพทางการเงิน” ได้ในที่สุด แต่กระนั่นก็ใช่ว่าจะทุกคนที่ประสบความสำเร็จในการทำคอร์สเรียนออนไลน์ครับ หากคุณคิดว่าการทำคอร์สออนไลน์นั้นเป็นเพียงแค่ถ่ายคลิปเพื่อบอกเล่าสิ่งที่คุณเชี่ยวชาญแล้วอัพลงสู่แพลตฟอร์มเท่านั้น คุณกำลังคิดผิดอย่างมหันต์เพื่อให้คุณประสบความสำเร็จในการสร้างคอร์สออนไลน์วันนี้เรามีคำแนะนำมาฝากครับ

8 ขั้นตอนทำคอร์สออนไลน์สอนอาชีพสร้างรายได้เสริมในแบบ “Passive Income”

1. สำรวจทักษะความรู้ ความสามารถและความชำนาญที่เรามี

สิ่งแรกที่คุณควรจะทำก่อนการสร้างคอร์สออนไลน์ก็คือ สำรวจว่าคุณมีความสามารถมีความรู้และเชี่ยวชาญในเรื่องใดมากเป็นพิเศษ โดยอาจเป็นเรื่องใกล้ตัวของคุณ หรือสิ่งที่เป็นอาชีพของคุณที่คุณทำแล้วประสบความสำเร็จ หรือแม้กระทั่งเรื่องที่เป็นที่สนใจของคนอื่นแต่คุณมีความรู้มากพอที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวนั้นๆ ออกมาให้คนอื่นเข้าใจได้ ตัวอย่างคอร์สออนไลน์ที่พบเห็นกันมากในปัจจุบันเช่น คอร์สสอนทำอาหารคอร์สสอนถ่ายภาพ คอร์สสอนเรื่องภาษี หรือแม้กระทั่งคอร์สสอนเรียนพิเศษ ถ้าคุณสำรวจแล้วพบความสามารถที่โดดเด่นที่พอจะนำมาทำเงินสร้างรายได้ด้วยการทำคอร์สเรียนออนไลน์ได้ นี่ก็คือบันไดก้าวแรกของคุณ

2. กำหนดหัวข้อที่จะนำมาทำเป็นคอร์สสอน

เมื่อคุณรู้แล้วว่าคุณมีความสามารถด้านใดที่พอจะนำมาแบ่งปันกับผู้อื่นได้ให้คุณลองกำหนดดูว่าในสิ่งที่คุณรู้นั้นคุณสามารถนำสิ่งที่คุณรู้ในส่วนใดมาทำเป็นคอร์สได้หากคุณคิดไม่ออกให้ลองคิดย้อนกลับว่าในสิ่งที่คุณรู้และเชี่ยวชาญนั้นมีเรื่องใดที่เป็นสิ่งที่คนอื่นอยากจะรู้หรือว่าเรื่องใดที่เมื่อคุณถ่ายทอดไปแล้วสามารถช่วยแก้ปัญหาให้กับเขาได้ สิ่งเหล่านั้นก็คือสิ่งที่คุณสามารถนำมาทำเป็นหัวข้อที่จะสอนได้ ลองลิสต์หัวข้อย่อยต่างๆ ออกมาแล้วเรียงตามลำดับความสำคัญ คุณจะมีหัวข้อในการสอนแยกย่อยออกมาได้อีกมาก

3. กำหนดกรอบเนื้อหา วางสารบัญเนื้อหาย่อยๆ ที่จะสอน

เมื่อคุณได้หัวข้อย่อยที่จะทำการสอนแล้ว สิ่งที่คุณควรจะทำเป็นอันดับถัดมาก็คือกำหนดกรอบของเนื้อหาในแต่ละหัวข้อว่าคุณจะสอนในเรื่องใดบ้างการทำแบบนี้จะคล้ายกับเวลาคุณทำสารบัญของหนังสือครับ การวางกรอบเนื้อหาที่รัดกุมจะทำให้เมื่อคุณทำการสอนจริงเนื้อหาจะต่อเนื่องและไหลลื่นและคุณจะไม่หลงประเด็นหรือวนเนื้อหาไปมาครับ อย่าลืมทำสคริปต์คร่าวๆ ว่าแต่ละเนื้อหาคุณจะสอนอะไรบ้างคุณจะได้ไม่ตกหล่นประเด็นเมื่อต้องสอนจริง

4. สร้างสไลต์หรือสื่อประกอบการสอนต่างๆ มาใช้ในการสอน

การสอนโดยไม่มีการขึ้นสไลต์หรือสื่อประกอบการสอน การสอนนั้นจะขาดความน่าสนใจทำให้คอร์สนั้นดูน่าเบื่อและไม่น่าติดตาม ดังนั้นก่อนที่คุณจะสอนจริงๆ คุณควรทำสื่อประกอบการสอนก่อนเสมอสื่อประกอบการสอนที่ดีต้องเป็นสไลต์ที่มีหัวข้อที่คุณจะพูดรวมกับประโยคขยายเพียงไม่เกิน 7 บรรทัดเพราะตัวอักษรที่มากเกินไปไม่เป็นผลดีต่อการสอนนั้น หากมีรูปประกอบหรือแผนภูมิ แผนผังต่างๆ จะเพิ่มความน่าสนใจให้มากขึ้น

5. วางแผนเรื่องการทำการตลาด

เมื่อคุณวางแผนในการสร้างเนื้อหาแล้ว อย่าลืมวางแผนในการทำการตลาดเสียก่อนแล้วคุณจะได้รู้ว่าเมื่อถึงเวลาปล่อยคอร์สลงแพลตฟอร์มคุณควรทำอย่างไรต่อเพื่อให้คอร์สของคุณถูกพบเห็น มีความน่าสนใจและสร้างรายได้ให้คุณได้จริง ในขั้นตอนนี้คุณควรสำรวจว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณส่วนใหญ่อยู่ตรงไหนคุณจะใช้สื่อโซเชี่ยลใดบ้างในการช่วยโปรโมทคอร์สคุณอาจใช้การโปรโมทล่วงหน้าเพื่อสร้างการรับรู้ว่าคุณกำลังจะมีคอร์สเรียนที่น่าสนใจในอนาคตเพื่อให้ผู้ที่สนใจทำการติดตามคุณก็ได้

6. เริ่มถ่ายทำวิดีโอและตัดต่อวิดีโอออกมาเป็นคอร์ส

ในขั้นตอนนี้คุณต้องใส่ใจในทุกๆ ส่วนในกระบวนการผลิตครับ ตั้งแต่เนื้อหาความต่อเนื่องไหลลื่น อุปกรณ์ที่ใช้บันทึกภาพและเสียงคุณควรจะทดสอบทุกอย่างให้พร้อมใช้งานจริงก่อนเริ่มถ่ายทำครับ เพราะความผิดพลาดไม่ว่าจะเป็นทางเทคนิคหรือความผิดพลาดส่วนบุคคลย่อมหมายถึงเวลาที่คุณเสียไปโดยเปล่าประโยชน์และต้นทุนที่จะสูงขึ้นอย่างที่คุณไม่คาดคิด

7. นำคอร์สที่เสร็จเรียบร้อยลงสู่แพลตฟอร์มที่คุณจะขาย

เมื่อคุณผ่านกระบวนการผลิตและตรวจสอบความถูกต้องจนเป็นที่น่าพอใจแล้วขั้นตอนถัดมาคือการนำคอร์สที่สำเร็จปล่อยลงสู่แพลตฟอร์มที่คุณจะทำการขาย ในปัจจุบันมีแพลตฟอร์มเด่นๆ ที่ได้รับความนิยมอยู่ 3 รูปแบบคือ ทางเฟซบุ๊ค ทาง E-Learning Center หรือทางหน้าเว็บไซต์ของตนเอง ทุกๆ แพลตฟอร์มก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันซึ่งคุณจะต้องเปรียบเทียบและชั่งน้ำหนักแต่ละส่วนให้ดีครับ แพลตฟอร์มใดที่คุณรู้สึกถึงความเหมาะสมมากที่สุดก็ให้เลือกใช้บริการจากแพลตฟอร์มนั้น

8. เริ่มทำการตลาดเพื่อโปรโมตคอร์สและสร้างยอดขาย

แม้ว่าคุณจะปล่อยคอร์สของคุณลงไปยังแพลตฟอร์มที่เลือกแล้ว งานของคุณยังไม่จบเสียทีเดียวคุณควรเริ่มทำการตลาดเพื่อโปรโมทคอร์สของคุณให้ถูกพบเห็นเป็นที่รู้จักให้มากที่สุด ช่องทางที่ดีที่สุดในการโปรโมทคอร์สออนไลน์ก็คือการทำการตลาดออนไลน์ครับ หมั่นทำการตลาดอย่างสม่ำเสมอแล้วคอร์สเรียนออนไลน์ของคุณจะเป็นที่รู้จักและสร้างยอดขายอย่างน่าพอใจให้แก่คุณ ทั้งหมดนี้ก็คือขั้นตอนในการทำคอร์สเรียนออนไลน์ digital asset ที่จะสร้าง passive income
ให้คุณอย่างต่อเนื่อง การทำคอร์สเรียนออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จสิ่งสำคัญคือให้คุณคิดว่าคุณกำลังแบ่งปันความรู้ที่คุณมีให้แก่ผู้อื่นครับ อย่าพยายามมองว่าตัวเองกำลังขายความรู้แล้วคุณจะทุ่มเททำมันออกมาจากใจจริงที่อยากจะให้อยากจะแบ่งปัน แล้วคอร์สเรียนของคุณจะมีคุณภาพและมีคุณค่าในสายตาของผู้เรียนครับ

บริการอบรม ให้คำปรึกษา ทำการตลาดออนไลน์ ทำคอร์สออนไลน์ ทั้งแบบรูปแบบองค์กร กลุ่ม และ ตัวต่อตัวContent Marketing ธุรกิจประกันชีวิต