ลดหย่อนภาษี 2565 มีอะไรบ้าง ? เช็คสิทธิ์ลดหย่อนภาษี 2565 ที่นี่
การวางแผน ลดหย่อนภาษี 2565 มีอะไรบ้าง เป็นวิธีที่จะทำให้เราได้เงินภาษีคืน และประหยัดเงินในกระเป๋าของเราเองได้มากขึ้น วิธีลดหย่อนภาษีที่เราเลือกก็ถือเป็นผลประโยชน์กับเราด้วย ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในกองทุนรวม การซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ การซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือแม้กระทั่งซื้อสินค้า บริการ ต่าง ๆ ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
ค่าลดหย่อนภาษีที่กฎหมายได้ระบุไว้ เป็นสิ่งที่ภาครัฐเห็นว่าเป็นภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในชีวิต หรือเป็นสิทธิพิเศษที่รัฐต้องการจะสนับสนุน เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมบางอย่าง โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงใน ทุก ๆ ปี ลดหย่อนภาษี 2565 มีอะไรบ้าง ผู้เสียภาษีจึงควรติดตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขในแต่ละปี เพื่อที่จะได้วางแผนลดหย่อนภาษีได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และประหยัดงบในกระเป๋าไปได้อีกมาก
ลดหย่อนภาษี 2565 มีอะไรบ้าง ?
1.ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
ค่าลดหย่อนในกลุ่มนี้ สามารถนำค่าลดหย่อนส่วนตัวมาหักลดหย่อนได้เลย 60,000 บาท ส่วนค่าลดหย่อนอื่นๆ เกี่ยวกับครอบครัว หากเข้าเงื่อนไขก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ดังนี้
1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
2. คู่สมรส 60,000 บาท สำหรับสามี-ภรรยาที่จดทะเบียนสมรส และเป็นคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ หรือยื่นแบบฯ รวมกัน
3. ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรหักสูงสุดไม่เกินปีละ 60,000 บาท โดยมีเงื่อนไขคือ
3.1 ต้องมีใบรับรองแพทย์และใบเสร็จรับเงินจากสถานพยาบาลที่เกิดขึ้นจริงในช่วงวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 65
3.2 สามีใช้สิทธินี้ได้ หากภรรยาไม่มีรายได้ หรือมีรายได้แต่ยื่นแบบฯ รวมกัน
4. ค่าลดหย่อนบุตร 30,000 บาท/คน โดยมีเงื่อนไขคือ
4.1 ต้องเป็นบุตรตามกฎหมาย
4.2 บุตรบุญธรรมใช้ได้ไม่เกิน 3 คน
4.3 บุตรอายุไม่เกิน 20 ปี
4.4 ในกรณีที่บุตรอายุ 21-25 ปี ต้องกำลังศึกษาในระดับชั้น ปวส.ขึ้นไป
4.5 บุตรมีเงินเดือนในปีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท
5. บุตรคนที่ 2 ขึ้นไป ลดหย่อนได้ 60,000 บาท/คน โดยมีเงื่อนไขคือ
5.1 เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ.2561
5.2 บุตรอายุไม่เกิน 20 ปี
5.3 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
6. ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา อายุ 60 ปีขึ้นไป (คนละ) 30,000 บาท ไม่เกิน 4 คน รวม 120,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
6.1 บิดา-มารดา อายุ 60 ปีขึ้นไป
6.2 มีเงินได้ในปีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท
6.3 บัตรสามารถใช้สิทธิ์ได้เพียงคนเดียว
7. อุปการะผู้พิการหรือทุพพลภาพ 60,000 บาท/คน โดยมีเงื่อนไขคือ
7.1 ผู้พิการต้องมีบัตรประจำตัวผู้พิการ
7.2 ผู้พิการมีเงินได้ในปี 2565 ไม่เกิน 30,000 บาท
2.ค่าลดหย่อนกลุ่มประกันและการลงทุน
ค่าลดหย่อนในกลุ่มประกันและการลงทุน ผู้มีรายได้สามารถนำค่าใช้จ่ายที่ได้ทำประกันไว้ และรายจ่ายที่นำไปลงทุนกับหน่วยงานต่างๆ รวบรวมนำมาลดหย่อนภาษีได้ แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
1. เงินสมทบประกันสังคม แบ่งตามประเภทเงินสมทบคือ
1.1 ผู้ประกันตนมาตรา 33 ลดหย่อนได้สูงสุด 6,300 บาท (จากปกติ 9,000 บาท) เนื่องจากมีการปรับลดเงินสมทบประกันสังคมในเดือน พ.ค.-ก.ค. และเดือน ต.ค.-ธ.ค. 65
1.2 ผู้ประกันตนมาตรา 39 ลดหย่อนได้สูงสุด 3,585 บาท เนื่องจากมีการปรับลดเงินสมทบประกันสังคมในเดือน พ.ค.-ก.ค. และเดือน ต.ค.-ธ.ค. 65
1.3 ผู้ประกันตนมาตรา 40 ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 644-2,760 บาท เนื่องจากมีการปรับลดเงินสมทบตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ค. 65
2. ประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากที่มีประกันชีวิต ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีเงื่อนไขคือ
2.1 มีความคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
2.2 มีผลตอบแทนคืนไม่เกิน 20% ของดอกเบี้ย
2.3 เมื่อรวมกับประกันสุขภาพตนเอง ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
3. ประกันสุขภาพตนเอง ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท แต่เมื่อรวมเบี้ยประกันชีวิต ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
4. ประกันสุขภาพบิดา-มารดา ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
4.1 บิดา-มารดามีเงินได้ในปี 2565 ไม่เกิน 30,000 บาท
4.2 บุตรบุญธรรมใช้สิทธิ์ไม่ได้
4.3 บุตรหลายคนหารเฉลี่ยกันได้
5. ประกันชีวิตคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
5.1 สามี-ภรรยาต้องจดทะเบียนสมรส
5.2 ต้องมีสถานะเป็นสามี-ภรรยาตลอดทั้งปี
6. ประกันชีวิตบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
7. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
8. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กบข. / สงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
9. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) 13,200 บาท
10. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
ทั้งนี้ เมื่อรวมเงินที่ซื้อทั้งหมดในข้อ 6-10 ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
3.ค่าลดหย่อนกลุ่มบริจาค
ค่าลดหย่อนในกลุ่ม “บริจาค” กับบางหน่วยงาน สามารถนำมาลดหย่อนได้ถึง 2 เท่า บางหน่วยงานที่รับบริจาคลดหย่อนได้ไม่เกิน 10% ซึ่งประกอบด้วยดังนี้
1. บริจาคสนับสนุนการศึกษา การกีฬาเพื่อประโยชน์สาธารณะ และโรงพยาบาลรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนอื่นแล้ว โดยมีเงื่อนไขคือ
1.1 ต้องเป็นสถานศึกษาที่ ศธ. กำหนด
1.2 ต้องเป็นสถานพยาบาลของราชการ
1.3 ต้องเป็นหน่วยงานด้านกีฬาที่สังกัดสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย
1.4 บริจาคผ่าน e-Donation เท่านั้น
2. บริจาคเงินเพื่อสาธารณกุศล ลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนอื่นแล้ว
3. เงินบริจาคแก่พรรคการเมือง 10,000 บาท
4. เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่บริจาคจริง และรวมกับเงินบริจาคอื่น ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่นแล้ว
4.กลุ่มพิเศษ (จากมาตรการรัฐ)
1. ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยสูงสุด 100,000 บาท
2. โครงการช้อปดีมีคืน ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท โดยจะต้องซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่จด VAT และออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้ และซื้อสินค้าภายในระยะเวลาที่รัฐบาลกำหนด
สามารถยื่นภาษีที่ไหนได้บ้าง
ผู้มีรายได้จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือกลุ่มที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 (ผู้มีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว) และแบบ ภ.ง.ด.90 (ผู้มีรายได้อื่นๆ ที่นอกเหนือจากเงินเดือน) ซึ่งสามารถวางแผนภาษีบุคคลธรรมดาได้ที่นี่
โดยยื่นภาษีได้ด้วยตนเองแบบกระดาษได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 และยื่นออนไลน์ได้ถึงวันที่ 10 เมษายน 2566 ผ่าน เว็บไซต์กรมสรรพากร
บริการอบรม ให้คำปรึกษาการทำธุรกิจออนไลน์ ฝึกอบรมภายในบริษัท แบบตัวต่อตัว การทำ Content Marketing,การโฆษณา Facebook,การโฆษณา Tiktok,การตลาด Line OA และการทำสินค้าให้คนหาเจอบน Google
บริการดูแลระบบการตลาดออนไลน์ให้ทั้งระบบ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสารความรู้การทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ Add Line id :@taokaemai
รับชมคลิป VDO ความรู้ด้านการตลาด กรณีศึกษาธุรกิจ แหล่งเงินทุนน่าสนใจ ติดตามได้ที่ช่อง Youtube : Taokaemai เพื่อนคู่คิดธุรกิจ SME