สรุปบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เดือน ธ.ค. 65 ล่าสุด จ่ายอะไรได้บ้าง

กรมบัญชีกลางอัปเดตบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เดือน ธ.ค. 65 ส่วนใหญ่เพื่อช่วยค่าครองชีพประชาชน

โดยผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เดือน ธ.ค. 65 สามารถนำไปใช้จ่ายได้ดังต่อไปนี้

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เดือน ธ.ค. 65

ทุกวันที่ 1 ของเดือน (ไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และไม่สะสมในเดือนถัดไป)

วงเงินซื้อสินค้า 200/300 บาทต่อเดือน
ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 100 บาทต่อ 3 เดือน (25 ต.ค. – ธ.ค. 65)
ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ประกอบด้วย
1. ค่าโดยสารรถ บขส. 500 บาทต่อเดือน

2. ค่าโดยสารรถไฟ 500 บาทต่อเดือน

3. ค่าโดยสารรถ ขสมก./รถไฟฟ้า (MRT/BTS/ARL) 500 บาทต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่อาศัยอยู่ในเขต กทม. และปริมณฑล)

ทุกวันที่ 18 ของเดือน (สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และสะสมในเดือนถัดไปได้)

เงินชดเชยค่าไฟฟ้า ไม่เกิน 315 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ได้ลงทะเบียนกับ กฟน. กฟภ. และกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 315 บาทต่อเดือน)
เงินชดเชยตามจำนวนเงินที่ชำระค่าน้ำประปา ไม่เกิน 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ได้ลงทะเบียนกับ กปน. กปภ. ที่ใช้น้ำประปาไม่เกิน 315 บาทต่อเดือน จะได้รับเงินคืนค่าน้ำประปาไม่เกิน 100 บาท (ที่ได้ชำระเงินแล้ว) ส่วนที่เกินจาก 100 บาท ผู้ถือบัตรฯ เป็นผู้ชำระเอง)

ทุกวันที่ 22 ของเดือน (สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และสะสมในเดือนถัดไปได้)

เงินเพิ่มเบี้ยความพิการ 200 บาทต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่มีบัตรประจำตัวคนพิการและได้รับเงินเบี้ยความพิการ)

สำหรับยอดการใช้จ่ายเดือน พ.ย. 2565 กรมบัญชีกลางได้เบิกจ่ายเงินให้แก่ร้านค้าที่ผู้มีสิทธินำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไปชำระค่าสินค้าอุปโภคบริโภค ค่าเดินทาง และค่าก๊าซหุงต้ม ตั้งแต่วันที่ 1 – 30 พ.ย. 2565

สวัสดิการที่ให้เป็นวงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เดือน ธ.ค. 65

1.1 วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค 3.53 พันล้านบาท

1.2 วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 50.2 ล้านบาท

1.3 วงเงินค่าโดยสาร ขสมก./BTS/MRT/Airport rail link 22.7 ล้านบาท

1.4 วงเงินค่าโดยสารรถบริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) 7.98 ล้านบาท

1.5 วงเงินค่าโดยสารรถไฟ 18.79 ล้านบท

รวมจำนวนเงิน 3.63 พันล้านบาท

สวัสดิการที่ให้ผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (e-Money)

2.1 มาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ระยะที่ 1-2) 157,400 บาท

2.2 มาตรการสนับสนุนค่าใช่จ่ายช่วงปลายปี 191,500 บาท

2.3 มาตรการช่วยเหลือค่าเช่าบ้านสำหรับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย 18,400 บาท

2.4 มาตรการช่วยเหลือค่าเดินทางไปรับการรักษาพยาบาลฯ 31,000 บาท

2.5 มาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้า 168 ล้านบาท

2.6 มาตรการบรรเทาภาระค่าน้ำประปา 17.5 ล้านบาท

2.7 มาตรการชดเชยเงินให้แก่ผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

โดยใช้ข้อมูลจากจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มฯ (ระยะที่ 1 – 2) 1,007.24 บาท

2.8 มาตรการเพิ่มเบี้ยคนพิการ ช32,600 บาท

2.9 มาตรการบรรเทาภาระค่าครองชีพให้แก่เกษตรกร ช88,000 บาท

2.10 มาตรการบรรเทาค่าใช้จ่ายของพ่อแม่ช่วงเปิดปีการศึกษา 52,000 บาท

2.11 มาตรการพยุงการบริโภคของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 1,119,500 บาท

2.12 มาตรการมอบเงินช่วยเหลือสำหรับผู้สูงอายุ 82,500 บาท

2.13 มาตรการช่วยเหลือการเลี้ยงดูบุตรแก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 20,100 บาท

2.14 การเติมเงินเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ในบัตรวงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคที่จำเป็น 325,100 บาท

2.15 มาตรการเงินเพิ่มเบี้ยความพิการ ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2563 215 ล้านบาท

รวมจำนวนเงิน 403 ล้านบาท

รวมจำนวนเงินทั้งสิ้น 4,034 ล้านบาท

 

สรุปอัตราเงินสมทบประกันสังคม 2564 ล่าสุด