ผ่านไปแล้วสำหรับการ “เคาน์ดาวน์” เข้าสู่ปี 2561 …
ผมขอถือโอกาสกราบสวัสดีปีใหม่ ผู้อ่านทุกท่าน ขอให้มีความสุข ค้าขายร่ำรวย ปังๆ ตลอดปีครับ โย่ว…
ฉลองปีใหม่แล้วก็กลับมาลุยกับชีวิต และธุรกิจกันต่อครับ …
บทความครั้งก่อน ผมได้เล่าที่มาของ “แบล็คลิสต์” และ “เครดิตบูโร” ให้ได้ทราบกันแล้ว
และสรุปสิ่งที่คุณควรให้ความสำคัญ … คือ “เครดิตบูโร” นะครับ …
เมื่อคุณค้างชำระหนี้ … “เครดิตบูโร” จะปรากฏรายการค้างชำระเช่นกัน !!
พูดแบบบ้านๆ คือ “ทำอะไร .. ก็ได้อย่างนั้น” (จริงๆ)
ดังนั้น โปรดฟังทางนี้ !! (ไม่ใช่ “โปรดฟังอีกครั้ง” นะครับ)
เราจะมาแก้ไขด้วยวิธีที่ถูกต้อง … เอาแบบ เนื้อๆ เน้นๆ กันเลย …
ทั้งแก้ปัญหาหนี้ค้างชำระ และ ชีวิตกับธุรกิจของคุณก็ยังเดินต่อได้ด้วย !!
ก่อนเริ่มภารกิจ เราต้องกำหนดกลยุทธ์กันก่อน …
“รู้เรา รู้เขา” คือชื่อของแผนปฏิบัติการครั้งนี้ !!
“รู้เรา”
ก่อนสิ่งอื่นใด…โปรดปฏิบัติดังนี้ !! … (ห้ามข้ามขั้นตอน ไม่ใช่เล่นเกมส์ โกงเกมส์ไม่ได้นะ อิอิ)
ให้คุณเอาตัวเลข “รายได้ ต้นทุนกิจการและค่าใช้จ่ายของคุณ” มากางดูให้ละเอียด
จะนับนิ้ว ดีดลูกคิด หรือกดเครื่องคิดเลข ไม่ว่ากัน แต่ย้ำว่า “คำนวณให้ละเอียด” ครับ
เมื่อคำนวณเสร็จสรรพ … คุณจะได้ตัวเลขที่เรียกว่า “เงินคงเหลือ” เป็นรายเดือน
บางคนเพิ่งถึงบางอ้อ … ตั้งแต่ทำธุรกิจมา เพิ่งจะรู้ว่าเหลือเงินเดือนละเท่าไหร่ !! (ไม่ขำ)
บางคนหนักกว่า … ตั้งแต่ทำธุรกิจมา เพิ่งจะรู้ว่าเงินไม่เหลือเลย !! (นี่ยิ่งไม่ขำ)
เห็นป่ะ !! รู้เรา รู้ชัดเลย !!
คุณจะรู้ทั้ง “เงินคงเหลือ” และ สาเหตุที่ “เงินไม่เหลือ”
ใคร “เงินไม่เหลือ” ย้อนกลับไปปรับต้นทุนและค่าใช้จ่ายอีกครั้ง … ส่วนไหนยังลดได้อีก จัดมา !!
ส่วนใครที่ “เงินเหลือ” จะมาก จะน้อย ตัวเลขที่คุณเห็นนี้ คือ “ความสามารถชำระหนี้ปัจจุบัน”
แล้วจดบันทึกทั้งหมดไว้ … อย่าทดไว้ในใจ เดี๋ยวจะลืม คิดอีกรอบอาจไม่ได้เท่าเดิม 555+
เมื่อได้ตัวเลขแล้ว มาดูภาระหนี้ของคุณครับ …
ลองดูว่า คุณ … อยู่ในกลุ่มลูกหนี้ ประเภทไหน ??
กลุ่มที่ 1 คือ หนี้ที่ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน (ยังไม่เป็น NPL)
ตามหลักการ คุณยังไม่เป็นหนี้ NPL นะครับ … (ถ้าเข้าใจผิดมาก่อนหน้านี้ ก็เข้าใจซะใหม่)
กลุ่มที่ 2 คือ หนี้ที่ค้างชำระตั้งแต่ 3 เดือน ขึ้นไป (ลูกหนี้ NPL)
ดูให้ดีนะ แล้วรีบเข้ากลุ่มให้ถูกต้อง !!
เมื่อได้ตัวเลขแล้ว จัดกลุ่มกันแล้ว ก็ถึงเวลา … “รู้เขา” แล้วครับ !!
“รู้เขา”
ก็คือ … รู้จักวิธีการที่ธนาคารใช้เพื่อ “แก้ไขปัญหานี้ค้างชำระ”
ธนาคาร และ สถาบันการเงิน มีวิธีการหลักอยู่ 3 วิธี ดังนี้ …
วิธีที่ 1 การผ่อนปรนเงื่อนไขชำระหนี้
วิธีนี้ … สำหรับลูกหนี้กลุ่มที่ 1 (ยังไม่เป็น NPL) ครับ !!
ธนาคารจะผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ ให้คุณ เช่น …
ลดจำนวนเงินผ่อนชำระต่อเดือน ลดอัตราดอกเบี้ย ขยายระยะเวลาสินเชื่อ ฯลฯ …
เป็นไงล่ะ นี่แค่เริ่มต้นนะ “ออปชั่น” ยังมากขนาดนี้ !!
คุณอาจได้รับ “ออปชั่น” ทั้งหมด หรือ เฉพาะบางข้อ … ก็แล้วแต่กรณีครับ
ธนาคารจะพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นกับคุณ หรือ ที่ภาษาคุณหมอ เรียกว่า “วินิจฉัยโรค”
แล้วจึงกำหนดเงื่อนไขที่เหมาะสมให้แก่คุณ …
สิ่งที่คุณทำการบ้านมา จะได้ใช้ประโยชน์ตอนนี้ล่ะครับ !!
“ความสามารถชำระหนี้ปัจจุบัน” ที่คุณคำนวณมานั่นแหละ …
จ่ายได้เดือนละเท่าไหร่ และจะจ่ายเพิ่มได้เมื่อไหร่ กางโพยให้ธนาคารดูไปเลย …
วิธีที่ 2 การปรับปรุงโครงสร้างหนี้
วิธีนี้ … สำหรับลูกหนี้กลุ่มที่ 2 (ลูกหนี้ NPL) ครับ !!
วิธีการ และ เงื่อนไขทุกๆ อย่าง เหมือนวิธีที่ 1 ทุกประการ …
แต่ช้าก่อน !! … หากคุณตัดสินใจจรดปากกาทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้
และชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไขใน 3 งวดแรกติดต่อกัน
คุณจะเปลี่ยนสถานะจากลูกหนี้ NPL เป็นลูกหนี้ปกติทันที !!
วิธีนี้ … ถึงแม้คุณจะเป็นหนี้ที่ถูกฟ้องดำเนินคดีแล้ว ก็สามารถทำได้นะครับ !!
เป็นไงล่ะ !! วิธีแรกคิดว่าให้ “ออปชั่น” มาก !! แล้วนะ
วิธีที่ 2 ยังให้ “มากกว่า” ซะอีก !! (มากกว่าโฆษณาขายของทางทีวีด้วย อิอิ)
อ่านถึงตรงนี้ … คุณอาจมีคำถามอยากถามผมใช่ไหม ?? …
ทำแบบนี้ “ธนาคารได้ประโยชน์ แล้วตรูล่ะได้อะไร ??”
ตอบดังๆ เลยครับ “ก็ได้จ่ายหนี้ไง 555+”
แต่ … อ่านต่อก่อนครับ !! อย่าเพิ่งว่าผม “กวน teen @#@#!!”
สิ่งที่คุณจะได้รับจากการทำตามวิธีที่บอกไปนั้น
นอกจากสถานะลูกหนี้ NPL จะกลับกลายเป็นหนี้ปกติแล้ว …
คุณยังได้รับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงด้วย !!
จากอัตราผิดเงื่อนไข เป็นอัตราปกติ ทันที ในวันทำสัญญา !!
บอกให้คุณรู้ไว้ครับ … ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่กำลังพูดถึงนี้ …
ต่างกันไม่น้อยกว่า 5%-10% ต่อปี (ขึ้นอยู่กับประเภทของสินเชื่อ)
และ … อย่าลืมนะครับ … เรื่องประวัติการชำระหนี้ใน “เครดิตบูโร” ก็จะดีตามด้วย
ชำระน้อยกว่าเดิม แต่เป็นการชำระที่ไม่ผิดกติกาแล้วครับ …
ดังนั้นคุณก็ไม่ต้องกังวลกับ “เครดิตบูโร” อีกต่อไป !!
และหากคุณชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไขเป็นเวลา 3 ปี
บอกได้เลยครับ ประวัติที่ปรากฏใน “เครดิตบูโร” ของคุณสวย วิ้งงง … แน่นอน !!
เพิ่มเติมให้อีกหน่อยครับ … ในระหว่างการชำระหนี้ตามวิธีดังกล่าว
หากคุณมีความจำเป็นต้องการใช้สินเชื่อ …
ไม่ต้องกลัวว่า จะไม่มีธนาคารไหนพิจารณาสินเชื่อให้คุณ !!
แนะนำให้ลองศึกษาข้อมูลจาก ธนาคาร หรือ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐครับ !!
เพราะถึงแม้คุณจะอยู่ในช่วงผ่อนชำระตามวิธีที่กล่าวมาทั้งหลาย …
แต่ยังสามารถรับการพิจารณาสินเชื่อจากสถาบันการเงินเหล่านี้ได้ตามนโยบายของภาครัฐครับ …
ก็บอกแล้ว การแก้ปัญหา ต้องใช้เวลา และ ความอดทน …
เห็นป่ะ !! ชีวิตกับธุรกิจของคุณยังเดินต่อได้ … (จั่วหัวก็บอกอยู่แระ)
มาต่อกันให้จบ อีก 1 วิธีสุดท้ายครับ …
วิธีที่ 3 ชำระหนี้ปิดบัญชีโดยขอลดหนี้บางส่วน
หรือที่คุณเคยได้ยินกันว่า “แฮร์ คัท (Hair Cut)” นั่นแหละ …
แต่ไม่ได้เกี่ยวกับการ “ตัดผม” เลยสักนิด 555+
วิธีที่ 3 นี้ ขอแนะนำเป็น “ออปชั่น” ต่อเนื่องหลังจากคุณได้ทำวิธีที่ 2 แล้ว
จะทำวิธีนี้หรือไม่ ก็แล้วแต่กำลังของคุณๆ แต่ละคนครับ … เอาที่สบายใจ …
เมื่อคุณชำระหนี้ไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง หากคุณพร้อมและมีความสามารถที่จะทำได้
อาจขอเจรจาปิดบัญชีสินเชื่อ ด้วยวิธี “ชำระหนี้ทั้งหมดโดยขอลดหนี้บางส่วน”
ผมเชื่อว่า ธนาคารจะยินดีรับพิจารณาเงื่อนไขที่คุณเสนอ …
แหม !! ก็ชำระดีต่อเนื่องมาตลอด ถึงเวลาอยากเป็นอิสระแล้ว แต่ขอลดหนี้บ้าง นิ โหน่ยย …
มีหรือที่ธนาคารจะไม่รับฟัง ?? เพียงแต่จะลดให้มากน้อยเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับการเจรจาครับ …
คุณอาจเคยได้ยินและแนะนำกันแบบผิดๆ ให้ค้างชำระนานๆ แล้วจึงขอลดยอดหนี้
บอกได้เลยครับ !! ไม่มีรายไหน จบได้ง่ายๆ สักราย … (เจ็บตัวแถมเรื่องไม่จบ)
สรุปที่อธิบายทั้งหมด เพื่อต้องการให้คุณรู้ว่า …
“ทุกปัญหามีทางออก แต่การแก้ปัญหาต้องทำความเข้าใจกับสิ่งที่ถูกต้องก่อน”
“ต้องใช้เวลา และความอดทน” ด้วยครับ …
ถึงจะติด “เครดิตบูโร” แต่ชีวิตของคุณยังเดินต่อได้แน่นอน ถ้าแก้ไขอย่างถูกวิธี !!
บริการอบรม ให้คำปรึกษาการทำธุรกิจออนไลน์ ฝึกอบรมภายในบริษัท แบบตัวต่อตัว การทำ Content Marketing,การโฆษณา Facebook,การโฆษณา Tiktok,การตลาด Line OA และการทำสินค้าให้คนหาเจอบน Google
บริการดูแลระบบการตลาดออนไลน์ให้ทั้งระบบ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสารความรู้การทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ Add Line id :@taokaemai
รับชมคลิป VDO ความรู้ด้านการตลาด กรณีศึกษาธุรกิจ แหล่งเงินทุนน่าสนใจ ติดตามได้ที่ช่อง Youtube : Taokaemai เพื่อนคู่คิดธุรกิจ SME