หนี้ครัวเรือนท่วมหัว โชคดีอัตราการจ้างงานปี 2566 ฟื้นตัว

สำนักข่าว กรุงเทพธุรกิจ ได้รายงานเรื่องสภาพัฒน์ชี้อัตราการจ้างงานไทยฟื้นชัดเจน แต่หนี้ครัวเรือนยังน่าห่วง จับตา หนี้เสียหรือ NPL เพิ่มโดยมีรายละเอียดดังนี้

อัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้นในเกือบทุกอุตสาหกรรม

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแถลงเกี่ยวกับสถานการณ์การจ้างงานและสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของประเทศไทยในไตรมาสที่ 4/2565 โดยตามรายงานระบุว่าสถานการณ์ด้านแรงงานของไทยมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนในทุกด้านโดยกลับมาใกล้เคียงกับในช่วงก่อนเกิดโควิดซึ่งมีการจ้างงานรวม 39.6 ล้านคนเป็นการขยายตัวถึง 1.5% ส่วนอัตราการว่างงานลดลงเหลือ 1.32% หรือประมาณ 4.6 แสนคนซึ่งลดลงจากในช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 1.96%

อัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นถึง 3.4 % โดยเป็นการเพิ่มในสาขาเกี่ยวกับโรงแรม ภัตตาคาร การค้าส่งและค้าปลีกซึ่งมาจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว รวมถึงมีการจ้างงานในภาคการขนส่งและการผลิตด้วยจากผู้ประกอบการที่ยังคงเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต แต่สำหรับภาคเกษตรการจ้างงานกลับหดตัวลง 3.4%  จากปัญหาอุทกภัยรวมถึงการย้ายสาขาของแรงงาน

ชั่วโมงการทำงานก็มีการปรับตัวดีขึ้นโดยภาพรวมและภาคเอกชนจะเฉลี่ยอยู่ที่ 42.6 และ 46.5 ชั่วโมง/สัปดาห์ มีผู้ทำงานล่วงเวลาเพิ่มขึ้นกว่า 6.3 ล้านคน นอกจากนี้ผู้ว่างงานแฝงและผู้เสมือนว่างงานลดลงกว่า 28% และ 19%  ตามลำดับ

หากดูสถานการณ์แรงงานตลอดปี 2565 เราจะพบผู้มีงานทำกว่า 392. ล้านคนโดยขยายตัวขึ้น 1% การจ้างงานนอกภาคเกษตรขยายตัว 2% จากการเปิดรับนักท่องเที่ยวและการส่งออกที่ขยายตัวจากปีก่อน แต่ภาคการเกษตรกรรมการจ้างงานหดตัวลง 1.2% จากผลกระทบของอุทกภัยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2565 และการเคลื่อนย้ายแรงงานไปสู่สาขาที่ฟื้นตัวได้ดี

ประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไปเกี่ยวกับการจ้างงานคือ

– การจ้างงานในภาคการส่งออกและโอกาสในการหางานของเด็กจบใหม่ เพราะเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปและมีความไม่แน่นอนสูงซึ่งมีผลกระทบต่อจ้างงานในสาขาที่เกี่ยวข้องและกระทบต่อการหางานของเด็กจบใหม่

– ภาระค่าครองชีพจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง

– ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการท่องเที่ยวซึ่งยังมีความต้องการแรงงานอีกประมาณ 1 หมื่นตำแหน่ง ใน 60 จังหวัด

หนี้ครัวเรือนยังมีความน่ากังวล

สำหรับหนี้ ครัวเรือนในไตรมาสสามปี 2565 พบการการขยายตัวของหนี้ในทุกประเภทสินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นเป็น 11.8% จากไตรมาสก่อนที่ 8.8% และสินเชื่อบุคคลภายใต้การกำกับขยายตัวเพิ่มเป็น 21.4% ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนที่อยู่ที่ 25%

แต่สิ่งที่น่ากังวลก็คือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือNPL มีมูลค่ารวมกว่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งมีกลุ่มที่เคยเป็นลูกหนี้ที่ดีแต่ได้รับผลกระทบจากโควิดจนกลายเป็นหนี้เสียแม้ว่าสถานการณ์โควิดจะคลี่คลายแล้วก็ตามโดยหนี้กลุ่มนี้อยู่ที่ 4 แสนล้านบาทซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าเมื่อเทียบกับไตรมาสหนึ่งปี 2565 และจำนวนบัญชีที่เป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้นเป็น 4.7 ล้านบัญชีจาก 4.3 ล้านบัญชีของไตรมาสก่อนหน้าซึ่งเกือบ 60% เป็นสินเชื่อส่วนบุคคล

ในไตรมาสสามปี 2565 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.90 ล้านล้านบาทเพิ่มขึ้น 3.9% จาก 3.5% ของไตรมาสก่อน

สำหรับคุณภาพสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ยังคงทรงตัวโดยหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในไตรมาสสี่ปี 2565 มีสัดส่วน 2.62% เป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและตลาดแรงงานที่ปรับตัวดีขึ้น

ขณะที่สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อจีดีพีลดลงจาก 88.1% จากไตรมาสที่ผ่านมาเหลือ 86.8% เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและตลาดแรงงานที่ปรับตัวดีขึ้น

อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาสินเชื่อกล่าวถึงพิเศษ (SML) หรือสินเชื่อค้างชำระน้อยกว่า 3 เดือน พบว่าสินเชื่อรถยนต์มีสัดส่วนสูงถึง 13.7% ของสินเชื่อรวม

จากข้อมูลเครดิตบูโรพบว่าลูกหนี้เสียจากผลกระทบของโควิดยังมีจำนวนที่สูงแม้สถานการณ์จะคลี่คลายลงซึ่งในระยะถัดไปมีประเด็นที่ต้องติดตามและให้ความสำคัญ คือ

– การเร่งปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ที่เริ่มมีสัญญาณการผิดชำระหนี้เพื่อลดความเสี่ยงในการตกชั้นของลูกหนี้ที่มีจำนวนมาก

– การมีมาตรการเฉพาะเจาะจงในการช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้เสียจากผลกระทบของโควิดเพื่อลดจำนวนลูกหนี้เสียไม่ให้เพิ่มขึ้น

ที่มา:  https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1055872

ประเด็นสำคัญในเรื่องหนี้ ครัวเรือน ท่วมหัว โชคดีอัตราการจ้างงานปี 2566 ฟื้นตัว

ผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงโควิดที่ผ่านมาทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงักและส่งผลกระทบต่อหลาย ๆ ภาคส่วนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด แต่เมื่อสถานการณ์โควิดเริ่มดีจึ้น รัฐบาลผ่อนปรนนโยบายต่าง ๆ มากขึ้นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจกลับมาเดินหน้าต่อได้อีกครั้ง เราเริ่มเห็นการกลับมาจ้างงานในหลาย ๆ อุตสาหกรรมมากขึ้นโดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยวอันเป็นผลมาจากการกลับมาของนักท่องเที่ยวอีกครั้งหลังจากที่ห่างหายไปเกือบ 3 ปี

ในช่วงที่คนได้รับผลกระทบจากการตกงานภาคการเกษตรคือภาคอุตสาหกรรมที่มีคนแห่กันเข้าไปหางานทำกันมากที่สุด แต่ทว่าด้วยโครงสร้างรายได้ที่ไม่แน่นอนประกอบกับปัญหาอุทกภัยเมื่อปีที่แล้วดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ภาคอุนสาหกรรมอื่น ๆ เริ่มประกาศรับคนเข้าทำงานเราจึงเห็นการเคลื่อนตัวของแรงงานออกจากจากภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และคาดว่าก็ยังจะมีแนวโน้มเช่นนี้ไปอีกสักพัก

แม้อัตราการจ้างงานจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นแต่ทว่าเรื่องของหนี้เสียหรือ NPL เองก็มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเช่นกันเพราะเศรษฐกิจยังไม่ได้กลับมาในเชิงบวกอย่างเต็มรูปแบบทำให้กลุ่มลูกหนี้ที่ไม่เคยมีประวัติหนี้เสียต้องประสบปัญหาผิดนัดชำระ ซึ่งส่วนมากก็มาจากผลกระทบที่ต่อเนื่องมาจากช่วงของการระบาดที่ผ่านมา

และเมื่อรวมกับภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทำให้ค่สครองชีพสูงขึ้นหนี้บัตรเครดิตจึงกลายเป็นหนี้ NPL มากที่สุดและถัดมาก็คือหนี้การผ่อนชำระค่างวดรถยนต์

สิ่งที่รัฐบาลควรทำก็คือการออกมาตรการเพื่อให้การช่วยเหลือโดยเฉพาะลูกหนี้ชั้นดีที่ไม่เคยผิดนัดชำระที่เริ่มส่งสัญญาณการผิดนัดชำระ มาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ จะช่วยบรรเทาภาระหนี้กลุ่มนี้ได้มาก

เช่นเดียวกับลูกหนี้เอง หากเริ่มรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถชำระหนี้ได้ก็ควรจะเข้าไปขอเจรจากับทสงเจ้าหนร้เพื่อพูดคุยหาทางออกร่วมกัน อย่าปล่อยให้เกิดการผิดนัดชำระโดยเด็ดขาดเพราะผลกระทบที่ตามมาก็อาจมากจนลูกหนี้ได้รับความเสียหายอย่างคาดไม่ถึง

สรุปอัตราเงินสมทบประกันสังคม 2564 ล่าสุด