จะทำลงทุนซื้อแฟรนไชส์ทั้งที ต้องดูแฟรนไชส์ดีๆ จะได้ไม่ต้องมีปัญหาภายหลัง
แล้วจะเลือกอย่างไรดีหละ ??
ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สังคมเปลี่ยนผู้คนปรับเปลี่ยนตัวเองตามไป ไม่ว่าชีวิตประจำวัน สภาพแวดล้อมและรวมไปถึงอาชีพทั่วไป ตอนนี้ใครที่ที่ทำงานเพียงอาชีพเดียวเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงมากเพราะในสังคมไม่มีอะไรที่แน่นนอนตายตัว วันดีคืนดีงานที่ทำอยู่อาจจะเจ๊งได้ นั้นทำให้หลายคนเริ่มหาอาชีเสริมเพื่อเป็นการประกันความเสี่ยง และอาชีพทที่สามารถตอบโจทย์คนกลุ่มนี้ได้หนึ่งในนั้นคือ ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise)
ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) เป็นหนึ่งช่องทางการทำธุรกิจอย่างหนึ่งที่เป็นลักษณะเจ้าของสิทธิ์ (Franchisor) คือเจ้าของสิทธิ์ ผู้ถ่ายทอดวิทยาการ การทำธุรกิจทุกอย่างให้แก่ ผู้รับสิทธิ์ (Franchisee) คือผู้จ่ายค่าธรรมเนียม ในการใช้ชื่อการค้า ซึ่งผู้รับสิทธิ์จะได้รับสิทธิ์ในการบริหารธุรกิจตามระบบแฟรนไชส์ของเจ้าของสิทธิ์ ซึ่งกำหนดโดยเจ้าของสิทธิ์ ให้ผู้รับสิทธิ์แฟรนไชส์ในการใช้เครื่องหมายการค้า การขายสินค้า ข้อมูลความลับทางการค้า และทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเจ้าของสิทธิ์ โดยที่มีเจ้าของสิทธิ์คอยให้ความช่วยเหลือผู้รับสิทธิ์ในการบริหารธุรกิจ โดยที่ผู้รับสิทธิ์จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมตามข้อตกลงการอนุญาตให้ใช้สิทธิประโยชน์
ในปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจากนักลงทุนทั้งกลุ่มหน้าใหม่และหน้าเก่า เหตุผลงง่ายที่มีคนสนใจลงทุนคือเป็นธุรกิจที่ง่ายและสะดวกในการลงทุน อีกทั้งความเสี่ยงที่ถือว่าต่ำกว่าการลงทุนด้วยตนเอง
ประเภทของธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับนิยมในประเทศไทยมีดังนี้
-ธุรกิจขายอาหารและเครื่องดื่ม
-ธุรกิจการศึกษา
-ธุรกิจบริการ
-ธุรกิจร้านค้าปลีก
-ธุรกิจบริการเติมเงินและตู้หยอดเหรียญ
-ธุรกิจความงาม
วิธีการเลือกแฟรนไชส์ที่น่าลงทุน
สำหรับการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าลงทุนได้อย่างเหมาะสมนั้น เป็นปัญหาใหญ่อีกปัญหาของนักลงทุนหลายๆคน เลือกไม่ถูก ไม่มีความรู้ เงินทุนจำกัด หรือไม่มีความมั่นใจ ดังนั้นวันนี้เราจึงนำเคล็ดลับหลักการเลือกแฟรนไชส์ที่น่าลงทุนมาให้ได้อ่านกัน
1.จุดเด่นที่แตกต่าง
ลักษณะแฟรนไชส์ที่น่าสนใจอันดับแรกที่ต้องมองคือจุดเด่นตามด้วยความแตกต่าง สองสิ่งนี้เป็นตัวบ่งบอกได้ว่า ธุรกิจมีอนาคต เพราะการประกอบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จนั้นสิ่ง ที่สำคัญนั้นทุกธุรกิจย่อมมีจุดเด่นที่แตกต่าง แต่นั้นต้องเป็นที่ต้องการของลูกค้าด้วยเช่นกัน ลูกค้ามีความต้องการที่หลากหลายไม่จำกัด หลายธุรกิจล้วนมีความแตกต่างกัน แต่อยู่ที่ว่า “จุดเด่นคือสิ่งที่ตอบโจทย์” ให้กับลูกค้าแค่ไหน
2.มีการถ่ายทอดความรู้ที่ถูกต้อง
การถ่ายถอดความรู้ของแฟรนไชส์ นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญไม่น้อยเพราะถึงแม้เราจะมีจุดเด่นและความแตกต่างจากคู่แข่ง แต่ถ้าการถ่ายถอดความรู้ไม่ดี ปัญหาตามมาแน่นอน ต่อให้มีวัตถุดิบที่ดีแค่ไหนแต่ถ้าจัดการผลิตโดยไม่มีการถ่ายถอดความรู้ที่ถูกต้องและไม่เป็นระบบ นั้นเป็นสาเหตุที่ธุรกิจไม่ประสบกับความสำเร็จได้ ยกตัวอย่างร้านไก่ทอด ที่ได้เนื้อไก่ที่มีคุณภาพสูง มีสูตรเครื่องปรุงที่ดี แต่หากไม่มีวิธีการถ่ายถอดความรู้เกี่ยวกับการทอดไก่ที่เหมาะสม หรือการผสมเครื่องปรุงที่ถูกวิธีนั้นเป็นไปได้ยากที่สินค้าจะขายได้ เครื่องปรุงและวิธีการทอด นั้นคือความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดมา
3.มีความสำเร็จที่ผ่านมา
ธุรกิจ ซื้อแฟรนไซส์ ไม่เพียงแต่มีความแตกต่างและองค์ความรู้ระบบดีพอ แต่ต้องมีความสำเร็จที่ผ่านมา หรืออาจจะเรียกว่า “ผลงาน”
ยิ่งถ้าผลงานดีมากมันเป็นการความมั่นใจของผู้รับสิทธิ์แฟรนไซส์ เราสังเกตได้ว่าเจ้าของสิทธิ์แฟรนไซส์ ที่ประสบความสำเร็จ จึงมักมีราคาที่สูงหรือมีราคาที่ค่อนข้างแพง ดังนั้นความมั่นใจเดียวที่ผู้รับสิทธิ์แฟรนไซส์ ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงแต่ความเสี่ยงนั้นต้องตั้งอยู่บนความน่าเชื่อถือในความสำเร็จที่ผ่านมา ถ้าต้อจ่ายแพงแต่ขอให้มีผลงานก็รับได้
4.มีประสบการณ์นานพอ
ประสบการณ์นานพอเป็นสิ่งที่ผู้รับสิทธิ์แฟรนไซส์ควรใส่ใจต่อธุรกิจนั้นๆ ถ้าแฟรนไซส์นั้นๆได้ผ่านมรสุมทางธุรกิจมามากแค่ไหนหรือต้องเจอกับเหตุการณ์ทางธุรกิจใดไหนมา โดยที่สามารถผ่านมาได้ ธุรกิจแฟรนไซส์นี้มีความน่าเชื่อถือเพียงพอให้กับเรา แต่อนาคตเป็นสิ่งที่อาจจะไม่แน่นอน เราไม่สามารถทำนายอนาคตได้ว่าธุรกิจนั้นจะไปได้ดีหรือเปล่า เพียงแต่นี้อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ลดความเสี่ยงได้ระดับหนึ่งให้กับผู้รับสิทธิ์ได้ทางหนึ่ง จากประสบการณ์ที่ยาวนานพอนั้นสามารถที่จะเอาทั้งข้อดีและข้อเสียมาประยุกต์ใช้จนประสบความสำเร็จ
5.ชื่อเสียงสำคัญ
ชื่อเสียงที่ดีของแฟรนไชส์ถือได้ว่าเป็นลักษณะหนึ่งที่จำเป็นและสำคัญที่สุดของธุรกิจ แฟรนไชส์ ชื่อเสียงเปรียบได้กับใบประกาศทางสังคม ที่สามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินเลือกแฟรนไชส์ทั้งนี้เพราะชื่อเสียงที่ดีของแฟรนไชส์ แสดงให้เห็นถึงความนิยมของลูกค้าที่มีต่อธุรกิจ เช่น ตัวสินค้า การให้บริการ ความสามารถบุคลากร ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นตัวกำหนดชื่อเสียงของแฟรนไซส์นั้นๆได้เป็นอย่างดี ถ้าเราเลือกแฟรนไซส์ที่มีชื่อเสียงดี นั้นหมายความว่าเราสามารถหาลูกค้าได้ง่ายขึ้น เป็นที่ยอมรับได้ง่าย และมีความน่าเชื่อถือด้วย เป็นใครเขาก็อยากซื้อของกับคนที่ชื่อเสียงที่ดี
6.ธุรกิจที่ดีต้องเติบโต
ธุรกิจที่มีการเติบโตในระบบแฟรนไชส์นั้นหมายถึงธุรกิจที่โอกาสได้ไปต่อในอนาคต นั้นไม่ได้หมายความว่าแฟรนไชส์มีการขยายสาขาเพิ่มจำนวนมากขึ้น เพียงอย่างเดียวแต่ต้องเป็นการเติบโตของความต้องการของลูกค้า ในที่นี้อาจหมายถึงการยอมรับของลูกค้ามากยิ่งขึ้น ดูจากยอดขายของสาขาด้วยว่ามียอดขายเพิ่มขึ้นมากขึ้นแค่ไหน โดยหามีการขยายสาขาและยอดขายเพิ่มมากขึ้นตามมาด้วยนั้นทำให้เรารู้ได้ในทันที่ว่าธุรกิจนี้นั้นเป็น “ธุรกิจที่มีอนาคต”
7.พัฒนาและปรับปรุงเสมอ
ในโลกปัจจุบันความต้องการของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ในธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวเองตามอีกทั้งการแข่งขันที่มีมากขึ้นตามมาการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพของธุรกิจ นั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ล้วนแต่มีการพัฒนาปรับปรุงระบบ สินค้า การบริการ รวมถึงรูปแบบต่างๆ ให้ดีขึ้นและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคอยู่เสมอ ตัวอย่างของร้านสะดวกซื้อจะศึกษาและสำรวจความต้องการของลูกค้าโดยการพิจารณาดูรายการสินค้าต่างๆ ในร้านอยู่เสมอว่าว่า ชนิดไหนขายได้ ชนิดไหนขายไม่ได้ และหาสินค้าใหม่ที่เป็นที่ต้องการของลูกค้าเพื่อสร้างรายได้ในร้านให้มากขึ้น เป็นต้น ดังนั้นการพิจารณาว่าแฟรนไชส์ ใดมีลักษณะข้อดีนี้หรือไม่ จึงเป็นสิ่งที่อาจจะสังเกตได้ยากแต่เราจะดูได้จากประวัติการดำเนินงานที่ผ่านมาว่า แฟรนไชส์ นั้นมีการปรับปรุงสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้นหรือไม่ เช่น มีสินค้าใหม่ออกมาไหม มีบริการใหม่ๆ มีการปรับปรุงรูปแบบบริการ มีการพัฒนาระบบให้ทันสมัย นั้นเป็นตัวอย่างที่ทำให้เราได้เห็นการพัฒนาได้ชัดเจน
8.ค่าใช้จ่าย
ค่าการตลาดถือเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างเพราะค่าแฟรนไชส์แต่ละธุรกิจมีค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าสิทธิระยะยาวและค่าส่งเสริมการตลาด ที่แตกต่างกันผู้ซื้อต้องรู้และเข้าใจว่าค่าใช้จ่ายในสัดส่วนเท่าไหร่อย่างไร ผู้ลงทุนควร เข้าใจให้ถ่องแท้จะได้คาดการต้นทุนและกำไรได้แม่นยำ
9.การบริหารจัดการที่ดี
การบริหารจัดการที่ดีทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จไปได้แต่หามีการจัดการไม่มีต่อให้ธุรกิจที่ดีแค่ไหนก็ยากที่จะประสบความสำเร็จได้ โดยมีระบบการบริหาร 5 ระบบดังนี้
1.Front Operation คือระบบการดำเนินงานหน้าร้าน
เจ้าของสิทธิ์ แฟรนไชส์ต้องมีการเข้าไปตรวจสอบและควบคุมเกี่ยวกับ การดำเนินงานหน้าร้านต่างๆ เช่น มาตรฐานการปฏิบัติงานในร้านกระบวนการปฏิบัติงานในร้าน กระบวนการปฏิบัติงานประจำ หน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละตำแหน่ง การบริการของพนักงาน กระบวนการเปลี่ยน คืน สินค้า การจัดการเงินสด การแก้ปัญหาเบื้องต้น กรณีเหตุฉุกเฉินป้องกันการโจรกรรม รายการตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้จัดการร้าน รายงานสรุปยอดขายประจำวัน ทั้งหมดถือเป็นระบบหลักที่กลไกสำคัญที่เป็นตัวคอยสนับสนุนระบบแฟรนไชส์
2. Inventory Control คือ การควบคุมสินค้าคงคลัง
เป็นระบบการสั่งสินค้าเข้าร้าน โดยต้องบริหารจัดการสินค้าที่ต้องมีขายในร้าน และหาซื้อมาทดแทน สั่งสินค้าเผื่ออย่างไร ให้คุ้มค่า กระบวนการสั่งสินค้าใหม่เข้ามาแล้ว ต้องมีสินค้าเก่าออกด้วย ธุรกิจไม่ควรเก็บสต็อกสินค้าไว้มาก เพราะยิ่งเก็บไว้มาก ก็ยิ่งทำให้สินค้าเก่าหมดอายุ และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และพื้นที่ในการจัดเก็บ ถ้าระบบเหล่านี้ดีผู้รับสิทธิ์ก็จะไม่ปวดหัวและสามารถกำหนดแผนงานได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ
3. Staff Control คือการควบคุมบุคลากร
เป็นระบบที่ไว้สำหรับบริหารสาขาในเรื่อง วิธีการสรรหาพนักงานเข้ามาทำงาในร้านสาขา กระบวนการฝึกอบรมพนักงานใหม่ วิธีการทำอย่างไรให้ลูกน้องเชื่อฟัง ทำอย่างไรให้ลูกน้องอยู่นาน ไม่ลาออก และทำให้บุคคลทำงานได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพต่อไป
4. Customer Management
คือ ระบบการบริหารลูกค้า ต้องดูว่าเจ้าของสิทธิ์ดูแลสาขาตัวเองอย่างไร สาขามีระบบการบริหารลูกค้าดีแค่ไหน ใครเป็นลูกค้าประจำของร้าน รูปแบบการให้บริการอย่างไร มีการทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ ประทับใจ และกลับมาใช้บริการอีก รวมมีเทคนิคการบริการลูกค้าอย่างไร ให้สามารถเอาชนะคู่แข่ง สามารถดึงดูดลูกค้าเข้าร้านค้าได้ และร้านค้ามีแนวทางการรับคำร้องเรียนของลูกค้าอย่างไรบ้าง
5. Sales Analysis คือระบบวิเคราะห์ยอดขาย
ต้องดูว่าเจ้าของสิทธิ์มีวิธีการตรวจสอบและวิเคราะห์ยอดขายของร้านสาขาอย่างไร มีการจัดทำรายงานประจำวันที่ เกี่ยวกับข้อมูลการขายในแต่ละวัน รวมถึงข้อมูลสินค้าต่างๆ ให้เจ้าของสิทธิ์ธุรกิจแฟรนไชส์ทราบ รวมถึงรายงานประจำเดือน ที่ข้อมูลสรุปจากรายงานประจำเดือน และรายงานอื่นๆ ที่เป็นข้อมูลเรื่องของประสิทธิภาพการทำงาน ข้อมูลของสมาชิก และข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ด้านต่างๆ การวิเคราะห์ยอดขายของร้านสาขานั้น รวมไปถึงการควบคุมกระแสเงินสด ทำการตลาดและกิจกรรมส่งเสริมการขาย การควบคุมสินค้าคงคลัง ข้อมูลการขายสินค้าแต่ละประเภท เพราะนั้นทำให้รับรู้ถึงยอดขาย และผลกำไร ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จได้ต้อง มีความมั่นคง และแข็งแกร่ง เจ้าของสิทธิ์ธุรกิจแฟรนไชส์ต้องให้ความสำคัญกับการบริหารร้านค้าของผู้รับสิทธิ์ด้วย บริหารจัดการต้องให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน นั้นยิ่งทำให้สาขาอื่นประสบความสำเร็จเหมือนกับสาขาต้นแบบ
10.สัญญาที่ต้องสนใจ
สัญญาแฟรนไชส์ ถือเป็นสัญญาที่กฎหมายมิได้กำหนดรูปแบบไว้ แต่ควรทำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีข้อกำหนดต่างๆ ในสัญญา เช่น พื้นที่ จะอนุญาตให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ดำเนินการในเขตพื้นที่ใดได้บ้าง ค่าธรรมเนียม สิทธิและหน้าที่ การให้การสนับสนุนผู้ได้รับสิทธิ์ระยะเวลาสัญญา สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องระบุในสัญญาแฟรนไชส์ให้ครบถ้วนที่สุด แม้ว่าเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์หลายรายจะรู้ดีว่า หน้าที่การทำสัญญาแฟรนไชส์เป็นงานของนักกฎหมาย ทนายความเป็นคนร่าง แต่ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ ก็ต้องมีความรู้ในเรื่องสัญญาแฟรนไชส์อยู่บ้าง เพื่อเป็นผู้ให้แนวทางกับทนายความ ว่าต้องการให้สัญญาแฟรนไชส์บังคับใช้ในเรื่องอะไรบ้าง ลองมาดูความรู้เกี่ยวกับสัญญาที่ที่ผู้รับสิทธิ์ควรมีความรู้ดัง 12ข้อต่อไปนี้
1.เครื่องหมายการค้า
การใช้เครื่องหมายการค้าต้องระบุรายการของเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาของเจ้าของสิทธิ์ ไว้ทั้งหมดในสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในกรรมสิทธิ์
2.การให้สิทธิ์แฟรนไชส์และระยะเวลาของสัญญา
รวมไปถึง ค่าธรรมเนียม และการโอนสิทธิ์ ต้องระบุรายละเอียดต่างๆให้ถูกต้อง รูปแบบร้านแฟรนไชส์ สถานที่ตั้ง ขนาดสาขา ขอบเขตของการใช้ประโยชน์จากเครื่องหมายการค้า และทรัพย์สินทางปัญญา ระยะเวลาของสัญญา ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ และค่าธรรมเนียมอื่นๆ
3.หน้าที่ของผู้ เจ้าของสิทธิ์
ต้องปฏิบัติอะไรบ้าง และดำเนินการ เพื่อให้ผู้ได้รับสิทธิ์ สามารถประกอบการร้านแฟรนไชส์ได้ตามสัญญา
4.หน้าที่ผู้ได้รับสิทธิ์
เป็นการระบุถึงสิ่งต้องปฏิบัติและยึดถือ เพื่อให้สามารถประกอบการร้านแฟรนไชส์ได้ตามสัญญา เช่น ซื้อสินค้า วัตถุดิบจากเจ้าของสิทธิ์เท่านั้น
5.มาตรฐานและเงื่อนไขทางเทคนิค
เป็นการบอกถึงกระบวนการต่างๆ ทั้งในด้านการผลิต การจัดจำหน่าย การให้บริการ การฝึกอบรม การเงินการบัญชีและการบริหารร้าน แฟรนไชส์ ที่ทั้งสองฝ่ายต้องทำข้อตกลงร่วมกัน
6.ค่าตอบแทนการใช้สิทธิ์
คือค่าตอบแทนการใช้สิทธิ์เป็นเงินเพื่อแลกกับการที่ได้โอกาสในการใช้สิทธิ์ประกอบการร้านแฟรนไชส์ โดยเงินดังกล่าวอาจเรียกเก็บตามสัดส่วนของยอดขายในแต่ละเดือน หรือตามแต่ตกลงกัน
7.การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย
เป็นการระบุเงื่อนไขและรูปแบบของการทําโฆษณาและการส่งเสริมการขาย รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย ที่เจ้าของสิทธิ์จะเรียกเก็บจากผู้ได้รับสิทธิ์
8.การประกันภัย
ต้องมีการระบุถึงรูปแบบการทำประกันภัยที่ผู้ได้รับสิทธิ์ ต้องดําเนินการเพื่อเป็นการคุ้มครองรายได้ ค่าใช้จ่าย และผลของความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบการร้านแฟรนไชส์
9.บัญชีงบการเงิน รายงาน และการตรวจสอบ
ต้องมีการระบุเกี่ยวกับรูปแบบทางการบัญชีและการเงิน ที่ผู้ได้รับสิทธิ์ ต้องดำเนินการ รวมถึงการเปิดโอกาสเจ้าของสิทธิ์สามารถเข้าตรวจสอบทางการบัญชีและการเงินได้
10.การผิดสัญญา การเลิกสัญญา
และข้อกำหนดภายหลังการสิ้นสุดสัญญา ต้องมีการระบุถึงเงื่อนไขและกรณีต่างๆ ที่นำไปสู่การผิดสัญญา การเลิกสัญญา และผลที่เกิดขึ้นหากมีการผิดสัญญาและการเลิกสัญญา
11.เอกสารสัญญา
เป็นการระบุถึงการมีหรือได้รับเอกสารสัญญาของเจ้าของสิทธิ์และผู้ได้รับสิทธิ์ โดยถูกต้องตามหลักกฎหมาย
12.การจัดการข้อพิพาท
เป็นการระบุถึงเงื่อนไขและการดำเนินการ ในกรณีที่เกิดข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งระหว่างเจ้าของสิทธิ์และผู้ได้รับสิทธิ์ หากมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นเกี่ยวกับสัญญาแฟรนไชส์ฉบับนี้ คู่สัญญาทั้งสองต้องตกลงระหว่างกัน จะต้องทำการฟ้องร้องและดำเนินคดีที่ไหน หากเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา แต่ทางที่ดี การจัดทำสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ในแต่ละกรณี ควรได้รับคำปรึกษาและคำแนะนำจากนักกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญ ถือเป็นวิธีการดีที่สุด ในการป้องกันความเสียหายและข้อผิดพลาดที่อาจเกิดตามมาได้ภายหลัง และต้องจำไว้เสมอว่าก่อนที่ทำสัญญาอะไรไปต้องมีทนายหรือนักกฎหมายให้คำปรึกษาเสมอ
สรุป 10 ข้อควรพิจารณาในการเลือกลงทุนซื้อแฟรนไชส์
จากที่กล่าวมาแล้วคงจะช่วยให้ท่านเข้าใจลักษณะของธุรกิจแฟรนไชส์มากขึ้นและนั้นเป็นตัวช่วยให้เราเลือกว่าจะลงทุน ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดีควรมีคุณสมบัติที่ดีควรเป็นอย่างไร การซื้อธุรกิจแฟรนไชส์มาทำนั้นไม่ยากเกินไปถ้าเข้าใจมันดีและเริ่มลงมือทำ ใครเข้าใจและเลือกที่จะทำก่อนก็มีสิทธิ์ที่ก้าวน้ำคนอื่นได้ก่อน ดังคำกล่าวที่ว่า “เก่งไม่กลัว แต่กลัวช้า”
สำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ ที่ต้องการหาผู้ซื้อแฟรนไชส์ ขยายสาขาให้มากยิ่งขึ้น
ลงแนะนำแฟรนไชส์น่าลงทุนกับ Taokaemai.com เว็บไซต์ที่มีผู้เข้ามาชมเว็บกว่าวันละ 5,000 คน หรือว่า 150,000 คนต่อเดือน
เพื่อเข้ามาหาธุรกิจที่น่าสนใจ เรียนรู้วิธีการทำธุรกิจ > ลงทะเบียน
บริการอบรม ให้คำปรึกษาการทำธุรกิจออนไลน์ ฝึกอบรมภายในบริษัท แบบตัวต่อตัว การทำ Content Marketing,การโฆษณา Facebook,การโฆษณา Tiktok,การตลาด Line OA และการทำสินค้าให้คนหาเจอบน Google
บริการดูแลระบบการตลาดออนไลน์ให้ทั้งระบบ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสารความรู้การทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ Add Line id :@taokaemai
รับชมคลิป VDO ความรู้ด้านการตลาด กรณีศึกษาธุรกิจ แหล่งเงินทุนน่าสนใจ ติดตามได้ที่ช่อง Youtube : Taokaemai เพื่อนคู่คิดธุรกิจ SME