ถ้าติดแบล็คลิสต์แล้วสามารถยื่นเรื่องขอกู้หรือสมัครบัตรการเงินอะไรได้บ้าง แม้ว่าสถาบันการเงินจะเข้มงวดเรื่องการปล่อยสินเชื่อและอนุมัติบัตรเครดิตมากขึ้นจากยอดหนี้เสียที่พุ่งขึ้นอย่างน่าใจหาย แต่ก็ใช่ว่าคนที่ติดแบล็คลิสต์จะทำอะไรไม่ได้เลย ยังมีบัตรบางประเภทที่เปิดโอกาสให้คนติดแบล็คลิสต์สมัครได้
“แบล็คลิสต์” คำนี้คนที่ต้องการทำธุรกรรมกู้ยืมกับสถาบันการเงินนั้นย่อมคุ้นหูกันดี แต่หลายๆ คนก็ยังงงๆ กันอยู่ว่าแท้จริงแล้วอะไรคือ “แบล็คลิสต์” ถ้าติดแบล็คลิสต์แล้วจะเป็นอย่างไร ต้องทำอย่างไร แล้วจะติดนานกี่ปี
เท่าที่ผ่านมาเรามักเข้าใจกันง่ายๆ ว่าการติดแบล็คลิสต์ก็คือการที่บุคคลนั้นมีปัญหาทางด้านการเงิน ด้วยการมีปัญหาในการผ่อนชำระหนี้กับสถาบันการเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หนี้ส่วนบุคคล บ้าน รถ บัตรเครดิต ซึ่งการผิดนัดชำระบัตรเครดิตเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดแบล็คลิสต์ในอันดับต้นๆ เลยทีเดียว อีกกรณีหนึ่งที่มักถูกมองข้ามแต่ก็กลายเป็นหายได้ไม่น้อยเลยก็คือ การเป็นผู้ค้ำประกัน ไม่ว่าจะเป็น เงินกู้เพื่อการศึกษา, กู้ซื้อรถ, กู้ซื้อบ้าน, กู้ทำงาน ถ้ามีชื่อเราเป็นผู้ค้ำประกันแล้วผู้กู้ตัวจริงเกิดเบี้ยวหนี้ขึ้นมา คนที่มีชื่อเป็นผู้กู้จะต้องเป็นคนรับผิดชอบ และอีกหนึ่งกรณีที่หลายๆ คนไม่รู้ก็คือ “นิติบุคคลก็ติดแบล็คลิสต์ได้” ซึ่งจะถูกเก็บข้อมูลไว้ในระบบนานถึง 5 ปีเลยทีเดียว
ข้อมูลการติดแบล็คลิสต์เราติดอยู่ที่ไหน
ถ้าจะให้อธิบายถึงการติดแบล็คลิสต์ให้เป็นทางการขึ้นมาอีกสักนิดก็ต้องบอกว่า แบล็คลิสต์ นั้นคือฐานข้อมูลที่อยู่ในระบบบูโรที่คอยบันทึกข้อมูลเครดิตทางด้านการเงินของเรา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันการเงินได้นำข้อมูลนั้นไปใช้วิเคราะห์ว่าผู้ยื่นขอกู้มีศักยภาพในการผ่อนชำระมากพอหรือไม่ เพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดจากการผิดชำระได้และการเป็นหนี้สูญได้ ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่นี้คือ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ
โดยรายงานสถานะสินเชื่อ จะแบ่งออกเป็นระยะเวลา ไม่ถึง 30 วัน แต่มีค่าปรับ ค้างชำระ 31 – 60 วัน ค้างชำระ 61 – 90 วัน และค้างชำระ 91-120 วันหรือมากกว่า หรือไม่เกิดการชำระหนี้ขึ้นเลย (จงใจไม่ชำระ) เมื่อใครก็ตามทำการขอสินเชื่อสถาบันการเงินก็จะเข้าไปดูประวัติการชำระหนี้ของคนๆ นั้น หากมีประวัติการผิดนัดชำระหนี้ มีหนี้สินคงค้างยังไม่เกิดการชำระให้สิ้นสุด หรือมีสภาพคล่องในการชำระหนี้ไม่เพียงพอก็จะถูกสถาบันการเงินปฏิเสธการให้สินเชื่อ เป็นเหมือนการโดนขึ้นบัญชีดำคนที่ชำระหนี้ไม่ตรงกำหนดนั่นเอง
จะแก้แบล็คลิสต์เริ่มต้นที่ตรงไหน
แต่ทุกอย่างย่อมแก้ไขได้ เมื่อติดแบล็คลิสต์ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ให้ถือเป็นประสบการณ์ที่จะไม่ทำให้เกิดซ้ำอีก เพราะยังมีวิธีปลดล็อคการติดแบล็คลิสต์ด้วยการสร้างประวัติการเงินขึ้นมาใหม่ ในเมื่อปัญหาเกิดจากการที่เราไม่ได้ชำระหนี้ก็ต้องแก้ที่ปัญหาให้ตรงจุดติดค้างหนี้กับสถาบันการเงินไหนอยู่ให้เข้าไปพบพูดคุยเพื่อหาทางออกในการชำระเงินร่วมกัน ในกรณีที่เราไม่มีเงินมากพอที่จะชำระได้ทั้งหมดในคราวเดียวก็สามารถเจรจาต่อรองกับสถาบันการเงินให้ยืดระยะเวลาการจ่ายเป็นการผ่อนจ่ายเป็นงวดๆ
เมื่อเจรจากับทางสถาบันการเงินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งสำคัญที่เราต้องทำให้ได้คือ การตรงต่อเวลา นัดชำระกี่งวด เมื่อไหร่ ก็ต้องชำระตรงตามกำหนด เพื่อเป็นการสร้างประวัติการเงินที่ดีน่าเชื่อถือขึ้นมาใหม่ หลังจากนั้นเราก็มีหน้าที่ต้องเช็คเครดิตของตัวเองกับ บริษัท ข้อมูลแห่งชาติ จำกัด (www.ncb.co.th) ว่ารายชื่อของเราหลุดจากแบล็คลิสต์แล้วหรือยัง ซึ่งในเว็บไซต์ของ บริษัท ข้อมูลแห่งชาติ จำกัด จะมีข้อมูลแลความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ให้เราได้อ่านอีกเยอะ
แต่ก็ใช่ว่าเมื่อเราชำระหนี้ครบตรงตามกำหนดแล้วจะหลุดจากแบล็คลิสต์ในทันที เพราะโดยปกติแล้วข้อมูลจะถูกเก็บอยู่ในระบบ 3 ปี (36 รอบบัญชี) จึงจะได้รับการปรับสถานะใหม่ นี่คือเหตุผลว่า ทำไมเราจึงควรมีระเบียบด้านการเงินเพราะต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ไขข้อมูลนานพอดู
มีบัตร หรือ สินเชื่อสำหรับคนติดแบล็คลิสต์อย่าเพิ่งหมดกำลังใจ
เรื่องที่หลายๆ คนอยากรู้ก็คือ ถ้าติดแบล็คลิสต์แล้วสามารถยื่นเรื่องขอกู้หรือสมัครบัตรการเงินอะไรได้บ้าง แม้ว่าสถาบันการเงินจะเข้มงวดเรื่องการปล่อยสินเชื่อและอนุมัติบัตรเครดิตมากขึ้นจากยอดหนี้เสียที่พุ่งขึ้นอย่างน่าใจหาย แต่ก็ใช่ว่าคนที่ติดแบล็คลิสต์จะทำอะไรไม่ได้เลย ยังมีบัตรบางประเภทที่เปิดโอกาสให้คนติดแบล็คลิสต์สมัครได้ เช่น บัตรเงินสด สินเชื่อรายย่อยสำหรับผู้มีประวัติติดแบล็คลิสต์ สินเชื่อส่วนบุคคลสำหรับผู้มีประวัติติดแบล็คลิสต์ กับบางธนาคารที่มีนโยบายหรือแคมเปญในการปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ที่ติดแบล็คลิสต์ตามเงื่อนไขที่แต่ละธนาคารกำหนด แต่ส่วนมากแล้วต้องเป็นบุคคลที่ได้มีการผ่อนชำระหนี้เก่าเรียบร้อยแล้วแต่รายชื่อยังคงค้างอยู่ในระบบ ส่วนการกู้สินเชื่อเพื่อขอซื้อรถขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละสถาบันการเงิน บางกรณีบริษัทไฟแนนซ์อาจอนุมัติให้กู้ได้แต่ก็อาจต้องเจอกับดอกเบี้ยที่สูงขึ้นด้วย
วินัยทางการเงินสำคัญที่สุดสำหรับการบริหารเงิน และหนี้สิน
ทั้งหมดที่ว่ามาจะเห็นได้ว่าการมีวินัยและละเอียดรอบคอบด้านการเงินนั้นมีความสำคัญมากๆ เพราะการเกิดปัญหาเพียงครั้งเดียวก็จะมีรายชื่อติดอยู่ในแบล็คลิสต์นานถึง 3 ปี โดยไม่มียอดเงินมาเป็นตัวตัดสิน หมายความว่าจำนวนเงินที่เป็นปัญหานั้นจะมากหรือน้อยก็ต้องเจอสถานการณ์เดียวกัน ดังนั้นการฝึกตัวเองให้มีวินัยทางการเงินและรู้จะละเอียดรอบคอบจึงสำคัญมาก
ดังนั้น ก่อนสร้างหนี้จึงจำเป็นต้องรู้ศักยภาพของตัวเองก่อนว่ามีศักยภาพมากพอที่จะผ่อนชำระได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่ รู้จักคำว่าพอโดยเฉพาะการมีบัตรเครดิตที่ไม่จำเป็นจะต้องมีหลายใบ การมีบัตรเครดิตเสริมหรือการค้ำประกันให้บุคคลอื่น ต้องคอยติดตามการชำระหนี้ของบุคคลเหล่านั้นอยู่เสมอ เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นจะได้แก้ไขได้ทันเวลาก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาทั้งๆ ที่เราไม่ได้เป็นผู้ก่อ
“วินัยทางการเงินสำคัญมากสำหรับทุกคน และคัญที่สุดสำหรับผู้ประกอบการ”
บริการอบรม ให้คำปรึกษาการทำธุรกิจออนไลน์ ฝึกอบรมภายในบริษัท แบบตัวต่อตัว การทำ Content Marketing,การโฆษณา Facebook,การโฆษณา Tiktok,การตลาด Line OA และการทำสินค้าให้คนหาเจอบน Google
บริการดูแลระบบการตลาดออนไลน์ให้ทั้งระบบ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสารความรู้การทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ Add Line id :@taokaemai
รับชมคลิป VDO ความรู้ด้านการตลาด กรณีศึกษาธุรกิจ แหล่งเงินทุนน่าสนใจ ติดตามได้ที่ช่อง Youtube : Taokaemai เพื่อนคู่คิดธุรกิจ SME